นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน ครั้งที่ 2/2551
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน ครั้งที่ 2/2551 โดยมี พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วย ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้หารือที่ประชุมเกี่ยวกับการฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติว่า แม้ประเทศไทยจะมีแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ อ่างเก็บน้ำ คู คลอง หนอง บึง ซึ่งมีจำนวนกว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำดังกล่าวเกิดการตื้นเขิน ทำให้การกั้นเก็บน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภคของประชากรต้องอาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดดำเนินการจัดทำโครงการขุด ลอก แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยหาเจ้าภาพที่ชัดเจน เพื่อสำรวจและศึกษารายละเอียด พร้อมจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือและจัดหา งบประมาณในการขุดลอกฯ เพราะถือเป็นโครงการเร่งด่วนที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า การเดินทางไปเยือนประเทศจีนในช่วงปลายเดือนนี้ จะช่วยเจรจากับผู้นำของจีนให้หาผู้เชี่ยวชาญในการขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้โครงการดังกล่าวแล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อประชาชนจะได้ใช้แหล่งน้ำที่มีอยู่เดิมในเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจแหล่งน้ำ และให้ฝ่ายเลขาฯ ศึกษารายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ พร้อมจัดหางบประมาณในการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับแผนการผันน้ำเพื่อน้ำต้นทุนของประเทศ ตามที่ กรมทรัพยากรน้ำ และกรมชลประทานเสนอ ดังนี้ กรมทรัพยากรน้ำ เสนอแนวผันน้ำ 4 แนว ประกอบด้วย 1) อ่างเก็บน้ำยวมตอนล่าง - เขื่อนภูมิพล ผันน้ำจากเขื่อนน้ำยวมตอนล่างไปลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล 2) เขื่อนท่าแซะ - บางสะพาน ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนท่าแซะ จังหวัดชุมพร ไปยังนิคมอุตสาหกรรม อำเภอ บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) น้ำงึม - ห้วยหลวง - ลำปาว ผันน้ำจากท้ายเขื่อนน้ำงึม สปป.ลาว ลอดอุโมงค์ใต้แม่น้ำโขงมายังอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวง และต่อไปยังหนองหาน อำเภอ กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี 4) ฝายปากชม (เขื่อนผามอง) - อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ เป็นการนำน้ำจากฝากปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย แยกไปลงที่ฝายกุมภวาปี และไปยังเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
กรมชลประทาน เสนอแนวผันน้ำ 6 แนว ประกอบด้วย 1) เลย - ชี - มูล เพื่อชักน้ำโขง โดยแรง โน้มถ่วงเข้าแม่น้ำเลย ซึ่งมี 2 แนวคลองผันน้ำคือ ไปยังเขื่อนอุบลรัตน์ และไปทางทิศใต้ เพื่อไปยังลุ่มน้ำชีและ มูลตอนบน 2) กก - อิง - น่าน โดยใช้ฝายเชียงราย (มีอยู่เดิม) ทดน้ำไปแม่น้ำอิง - ไปแม่น้ำยาว แล้วผันไปยัง อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ 3) อ่างเก็บน้ำแม่แตง - อ่างเก็บน้ำแม่งัด - อ่างเก็บน้ำแม่กวง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ 4) เขื่อนศรีนครินทร์ - สะแกกรังและท่าจีน ผันน้ำจากอ่าง เก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ไปยังลุ่มน้ำสะแกกรังและลุ่มน้ำท่าจีน 5) แนวผันน้ำในประเทศในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อสร้างเครือข่ายน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคตะวันออก โดยการผันน้ำจากลุ่มน้ำข้างเคียงเข้ามาเป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้กับพื้นที่ ประกอบด้วย โครงการท่อฉะเชิงเทรา - อ่างเก็บน้ำบางพระ โครงการผันน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก -อ่างเก็บน้ำบางพระ โครงการปรับปรุงท่อฉะเชิงเทรา - อ่างเก็บน้ำบางพระ โครงการผันน้ำอ่างประแสร์ - อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และโครงการผันน้ำจากจันทบุรีไปยังระยอง (คลองวัดโตนด - อ่างเก็บน้ำประแสร์) 6) เขื่อนรัชชประภา - จังหวัดภูเก็ต โดยวางท่อส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน ครั้งที่ 2/2551 โดยมี พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วย ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้หารือที่ประชุมเกี่ยวกับการฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติว่า แม้ประเทศไทยจะมีแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ อ่างเก็บน้ำ คู คลอง หนอง บึง ซึ่งมีจำนวนกว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำดังกล่าวเกิดการตื้นเขิน ทำให้การกั้นเก็บน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภคของประชากรต้องอาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดดำเนินการจัดทำโครงการขุด ลอก แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยหาเจ้าภาพที่ชัดเจน เพื่อสำรวจและศึกษารายละเอียด พร้อมจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือและจัดหา งบประมาณในการขุดลอกฯ เพราะถือเป็นโครงการเร่งด่วนที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า การเดินทางไปเยือนประเทศจีนในช่วงปลายเดือนนี้ จะช่วยเจรจากับผู้นำของจีนให้หาผู้เชี่ยวชาญในการขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้โครงการดังกล่าวแล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อประชาชนจะได้ใช้แหล่งน้ำที่มีอยู่เดิมในเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจแหล่งน้ำ และให้ฝ่ายเลขาฯ ศึกษารายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ พร้อมจัดหางบประมาณในการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับแผนการผันน้ำเพื่อน้ำต้นทุนของประเทศ ตามที่ กรมทรัพยากรน้ำ และกรมชลประทานเสนอ ดังนี้ กรมทรัพยากรน้ำ เสนอแนวผันน้ำ 4 แนว ประกอบด้วย 1) อ่างเก็บน้ำยวมตอนล่าง - เขื่อนภูมิพล ผันน้ำจากเขื่อนน้ำยวมตอนล่างไปลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล 2) เขื่อนท่าแซะ - บางสะพาน ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนท่าแซะ จังหวัดชุมพร ไปยังนิคมอุตสาหกรรม อำเภอ บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) น้ำงึม - ห้วยหลวง - ลำปาว ผันน้ำจากท้ายเขื่อนน้ำงึม สปป.ลาว ลอดอุโมงค์ใต้แม่น้ำโขงมายังอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวง และต่อไปยังหนองหาน อำเภอ กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี 4) ฝายปากชม (เขื่อนผามอง) - อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ เป็นการนำน้ำจากฝากปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย แยกไปลงที่ฝายกุมภวาปี และไปยังเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
กรมชลประทาน เสนอแนวผันน้ำ 6 แนว ประกอบด้วย 1) เลย - ชี - มูล เพื่อชักน้ำโขง โดยแรง โน้มถ่วงเข้าแม่น้ำเลย ซึ่งมี 2 แนวคลองผันน้ำคือ ไปยังเขื่อนอุบลรัตน์ และไปทางทิศใต้ เพื่อไปยังลุ่มน้ำชีและ มูลตอนบน 2) กก - อิง - น่าน โดยใช้ฝายเชียงราย (มีอยู่เดิม) ทดน้ำไปแม่น้ำอิง - ไปแม่น้ำยาว แล้วผันไปยัง อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ 3) อ่างเก็บน้ำแม่แตง - อ่างเก็บน้ำแม่งัด - อ่างเก็บน้ำแม่กวง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ 4) เขื่อนศรีนครินทร์ - สะแกกรังและท่าจีน ผันน้ำจากอ่าง เก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ไปยังลุ่มน้ำสะแกกรังและลุ่มน้ำท่าจีน 5) แนวผันน้ำในประเทศในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อสร้างเครือข่ายน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคตะวันออก โดยการผันน้ำจากลุ่มน้ำข้างเคียงเข้ามาเป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้กับพื้นที่ ประกอบด้วย โครงการท่อฉะเชิงเทรา - อ่างเก็บน้ำบางพระ โครงการผันน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก -อ่างเก็บน้ำบางพระ โครงการปรับปรุงท่อฉะเชิงเทรา - อ่างเก็บน้ำบางพระ โครงการผันน้ำอ่างประแสร์ - อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และโครงการผันน้ำจากจันทบุรีไปยังระยอง (คลองวัดโตนด - อ่างเก็บน้ำประแสร์) 6) เขื่อนรัชชประภา - จังหวัดภูเก็ต โดยวางท่อส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--