นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดงานรวมพลคนสายด่วนเพื่อสังคม ขับเคลื่อนกระบวนการช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนให้ได้รับการเยียวยาและบรรเทาทุกข์ที่ทันต่อเหตุการณ์
วันนี้ เวลา 09.15 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดงานรวมพลคนสายด่วนเพื่อสังคม ขับเคลื่อนกระบวนการช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนให้ได้รับการเยียวยาและบรรเทาทุกข์ที่ทันต่อเหตุการณ์ โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่จะสร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงานร่วมกัน รวม 1,000 คน เข้าร่วมงาน จัดโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวรายงานโดยสรุปว่า รูปแบบการให้บริการแก่ประชาชน โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การให้ บริการผ่านทางโทรศัพท์ ที่จัดตั้งขึ้นตามภารกิจของหน่วยงานอย่างหลากหลาย ทั้งที่เป็นการให้ข้อมูล การรับแจ้งเหตุและรับเรื่องร้องเรียน โดยเฉพาะการให้บริการผ่านหมายเลขสายด่วน อาทิ 191 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1555 กรุงเทพมหานคร 1356 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1111 ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งการจัดให้มีโทรศัพท์สายด่วนในทุกหน่วยงานทำให้มีหมายเลขสายด่วนเป็นจำนวนมาก ประชาชนไม่สามารถจดจำได้หมดและเกิดความสับสน นอกจากนี้การปฏิบัติงานของหน่วยที่ให้บริการโทรศัพท์สายด่วน ยังขาดการประสานงานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการให้ความช่วยเหลือ หรืออาจเกิดความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ริเริ่มแนวคิดบูรณาการการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินการโทรศัพท์สายด่วน โดยประสานความร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของการเชื่อมโยงเครือข่าย (Network) ให้สามารถโอนสายไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ รวมทั้งส่งเสริมบุคลากรผู้ให้บริการผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วน ให้สามารถปฏิบัติงานได้เป็นระบบเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่าย ซึ่งจะสามารถขับเคลื่อนกระบวนการช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนให้ได้รับการเยียวยาและบรรเทาทุกข์ที่ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่น และความพร้อมในการปฏิบัติงานร่วมกันของเครือข่ายสายด่วนด้านความมั่นคง และสร้างสรรค์กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ที่ให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้มีส่วนร่วม รวมทั้งกระตุ้นสำนึกของประชาชนในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ด้วยการเฝ้าระวังและมีส่วนร่วมในการเตือนภัยทางสังคมผ่านทางโทรศัพท์ เพื่อสร้างสังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน จึงได้จัดงานรวมพลคนสายด่วนเพื่อสังคมขึ้น โดยมีกิจกรรมภายในงานและกิจกรรมต่อเนื่อง อาทิ การประกาศเจตนารมณ์ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ที่จะสร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงานร่วมกัน การจัดแสดงนิทรรศการ การรับแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย ผ่านทางโทรศัพท์สายด่วนด้านความมั่นคง ที่จำแนกเป็น 2 รูปแบบ คือ สายด่วนกรณีรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย (Emergency Call Center) และสายด่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุด่วนเหตุร้าย (Non - Emergency Call Center) โดยมีศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบการดำเนินการสายด่วนของรัฐบาล 1111
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดงานสรุปสาระสำคัญว่า งานในวันนี้เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะมีคนคิดทำ เมื่อก่อนถ้าโทรไปที่ไหนจะบอกว่าไม่ใช่เรื่องของผม ที่ภาษาโบราณว่าโยนกลอง ซึ่งที่กทม.ได้เคยแก้ไขปัญหาสายด่วน 1555 โดยไปจ้างคนนอกมาทำแทนคนกทม. รับเรื่องแล้วส่งต่อทำให้เป็นปัญหาเพราะไม่รู้เรื่องเหมือนคนกทม. ที่รู้ปัญหามองเห็นโครงสร้างทั้งหมด สุดท้ายก็ต้องใช้คนในมาปฏิบัติ ทั้งนี้ งานในวันนี้ดูดีทันสมัยแต่ควรบอกให้ชัดเจนว่าสายด่วนทั้งหมดมีกี่สายกี่หน่วยงานที่มารวมกัน และมีข้อสังเกตว่าในอดีตมีสายด่วนเลข 3 ตัวที่จำง่าย เช่น 191 125 193 แต่บัดนี้เปลี่ยนเป็นเลข 4 ตัว โดยสายด่วนของรัฐบาลวันนี้ใช้เลข 1111 ที่จริงควรจะจัดเลข 3 ตัวสำคัญ ๆ ไว้ประมาณ 10 ตัว เช่น 111 222 333 ให้กับหน่วยงานที่สำคัญ เพราะเลข 3 ตัวจะจดจำได้ง่ายกว่า แต่เมื่อทางเทคนิคบอกว่า 4 ตัวก็ต้องใช้ 4 ตัว
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการให้บริการสายด่วนในวันนี้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี บัดนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้โดดเดี่ยวแล้วจะไม่เดียวดายเมื่อโทรแจ้ง สายด่วนจะรวมกันช่วยเพราะจะโยงใยถึงกันหมด ซึ่งเป็นระบบที่ดีที่จะทำให้ระบบโยนกลองจะไม่มีอีกต่อไป
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการใช้งบประมาณในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า ไม่พบการรายงานถึงค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางเทคนิค อาจเป็นเพราะใช้งบประมาณจากส่วนงานหรือกระทรวงต่าง ๆ ที่รับผิดชอบให้ แต่มีการรายงานค่าใช้จ่ายของการจัดงานในวันนี้ ที่เป็นงบเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 งบรายจ่ายอื่นของศูนย์บริการประชาชน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีความเห็นเพิ่มเติมในส่วนของงบการประชาสัมพันธ์ในส่วนต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ อาทิ ค่าเช่าสถานที่และติดตั้งป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ในจุดชุมชน 4 จุด ระยะเวลา 3 เดือน ที่ใช้งบประมาณรวม 2.8 ล้านบาท ว่า การทำสติ๊กเกอร์แจกให้ทุกบ้านติดไว้หน้าบ้าน และแจกให้ติดไว้ท้ายรถยนต์ ก็อาจจะคุ้มค่ากว่าการติดตั้งป้ายโฆษณาดังกล่าว และจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมนิทรรศการที่บริเวณโถงกลาง ใน 3 โซนได้แก่ โซนสีแดง สายด่วนฉุกเฉิน โซนสีเขียว สายด่วนไม่ฉุกเฉิน และโซนสีเหลือง สายด่วนของรัฐบาล
ทั้งนี้ ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานที่ให้บริการสาธารณะ ดำเนินงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน และประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรเทาปัญหา ซึ่งสายด่วนของรัฐบาล หมายเลข 1111 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะร่วมงานกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) พัฒนาระบบการดำเนินการรับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารมาช่วยในการปฏิบัติงานรับเรื่องร้องเรียน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.15 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดงานรวมพลคนสายด่วนเพื่อสังคม ขับเคลื่อนกระบวนการช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนให้ได้รับการเยียวยาและบรรเทาทุกข์ที่ทันต่อเหตุการณ์ โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่จะสร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงานร่วมกัน รวม 1,000 คน เข้าร่วมงาน จัดโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวรายงานโดยสรุปว่า รูปแบบการให้บริการแก่ประชาชน โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การให้ บริการผ่านทางโทรศัพท์ ที่จัดตั้งขึ้นตามภารกิจของหน่วยงานอย่างหลากหลาย ทั้งที่เป็นการให้ข้อมูล การรับแจ้งเหตุและรับเรื่องร้องเรียน โดยเฉพาะการให้บริการผ่านหมายเลขสายด่วน อาทิ 191 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1555 กรุงเทพมหานคร 1356 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1111 ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งการจัดให้มีโทรศัพท์สายด่วนในทุกหน่วยงานทำให้มีหมายเลขสายด่วนเป็นจำนวนมาก ประชาชนไม่สามารถจดจำได้หมดและเกิดความสับสน นอกจากนี้การปฏิบัติงานของหน่วยที่ให้บริการโทรศัพท์สายด่วน ยังขาดการประสานงานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการให้ความช่วยเหลือ หรืออาจเกิดความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ริเริ่มแนวคิดบูรณาการการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินการโทรศัพท์สายด่วน โดยประสานความร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของการเชื่อมโยงเครือข่าย (Network) ให้สามารถโอนสายไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ รวมทั้งส่งเสริมบุคลากรผู้ให้บริการผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วน ให้สามารถปฏิบัติงานได้เป็นระบบเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่าย ซึ่งจะสามารถขับเคลื่อนกระบวนการช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนให้ได้รับการเยียวยาและบรรเทาทุกข์ที่ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่น และความพร้อมในการปฏิบัติงานร่วมกันของเครือข่ายสายด่วนด้านความมั่นคง และสร้างสรรค์กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ที่ให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้มีส่วนร่วม รวมทั้งกระตุ้นสำนึกของประชาชนในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ด้วยการเฝ้าระวังและมีส่วนร่วมในการเตือนภัยทางสังคมผ่านทางโทรศัพท์ เพื่อสร้างสังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน จึงได้จัดงานรวมพลคนสายด่วนเพื่อสังคมขึ้น โดยมีกิจกรรมภายในงานและกิจกรรมต่อเนื่อง อาทิ การประกาศเจตนารมณ์ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ที่จะสร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงานร่วมกัน การจัดแสดงนิทรรศการ การรับแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย ผ่านทางโทรศัพท์สายด่วนด้านความมั่นคง ที่จำแนกเป็น 2 รูปแบบ คือ สายด่วนกรณีรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย (Emergency Call Center) และสายด่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุด่วนเหตุร้าย (Non - Emergency Call Center) โดยมีศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบการดำเนินการสายด่วนของรัฐบาล 1111
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดงานสรุปสาระสำคัญว่า งานในวันนี้เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะมีคนคิดทำ เมื่อก่อนถ้าโทรไปที่ไหนจะบอกว่าไม่ใช่เรื่องของผม ที่ภาษาโบราณว่าโยนกลอง ซึ่งที่กทม.ได้เคยแก้ไขปัญหาสายด่วน 1555 โดยไปจ้างคนนอกมาทำแทนคนกทม. รับเรื่องแล้วส่งต่อทำให้เป็นปัญหาเพราะไม่รู้เรื่องเหมือนคนกทม. ที่รู้ปัญหามองเห็นโครงสร้างทั้งหมด สุดท้ายก็ต้องใช้คนในมาปฏิบัติ ทั้งนี้ งานในวันนี้ดูดีทันสมัยแต่ควรบอกให้ชัดเจนว่าสายด่วนทั้งหมดมีกี่สายกี่หน่วยงานที่มารวมกัน และมีข้อสังเกตว่าในอดีตมีสายด่วนเลข 3 ตัวที่จำง่าย เช่น 191 125 193 แต่บัดนี้เปลี่ยนเป็นเลข 4 ตัว โดยสายด่วนของรัฐบาลวันนี้ใช้เลข 1111 ที่จริงควรจะจัดเลข 3 ตัวสำคัญ ๆ ไว้ประมาณ 10 ตัว เช่น 111 222 333 ให้กับหน่วยงานที่สำคัญ เพราะเลข 3 ตัวจะจดจำได้ง่ายกว่า แต่เมื่อทางเทคนิคบอกว่า 4 ตัวก็ต้องใช้ 4 ตัว
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการให้บริการสายด่วนในวันนี้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี บัดนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้โดดเดี่ยวแล้วจะไม่เดียวดายเมื่อโทรแจ้ง สายด่วนจะรวมกันช่วยเพราะจะโยงใยถึงกันหมด ซึ่งเป็นระบบที่ดีที่จะทำให้ระบบโยนกลองจะไม่มีอีกต่อไป
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการใช้งบประมาณในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า ไม่พบการรายงานถึงค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางเทคนิค อาจเป็นเพราะใช้งบประมาณจากส่วนงานหรือกระทรวงต่าง ๆ ที่รับผิดชอบให้ แต่มีการรายงานค่าใช้จ่ายของการจัดงานในวันนี้ ที่เป็นงบเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 งบรายจ่ายอื่นของศูนย์บริการประชาชน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีความเห็นเพิ่มเติมในส่วนของงบการประชาสัมพันธ์ในส่วนต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ อาทิ ค่าเช่าสถานที่และติดตั้งป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ในจุดชุมชน 4 จุด ระยะเวลา 3 เดือน ที่ใช้งบประมาณรวม 2.8 ล้านบาท ว่า การทำสติ๊กเกอร์แจกให้ทุกบ้านติดไว้หน้าบ้าน และแจกให้ติดไว้ท้ายรถยนต์ ก็อาจจะคุ้มค่ากว่าการติดตั้งป้ายโฆษณาดังกล่าว และจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมนิทรรศการที่บริเวณโถงกลาง ใน 3 โซนได้แก่ โซนสีแดง สายด่วนฉุกเฉิน โซนสีเขียว สายด่วนไม่ฉุกเฉิน และโซนสีเหลือง สายด่วนของรัฐบาล
ทั้งนี้ ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานที่ให้บริการสาธารณะ ดำเนินงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน และประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรเทาปัญหา ซึ่งสายด่วนของรัฐบาล หมายเลข 1111 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะร่วมงานกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) พัฒนาระบบการดำเนินการรับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารมาช่วยในการปฏิบัติงานรับเรื่องร้องเรียน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--