โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวของประเทศที่ล่าสุดนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นยกเลิกเที่ยวไทยแล้วถึงร้อยละ 80
วันนี้ (7 มิ.ย.) เวลา 11.10 น. พลตำรวจโทวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คุยนอกทำเนียบกับทีมโฆษกรัฐบาล” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่า ขณะนี้รัฐบาลพยายามเจรจาให้กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนย้ายไปชุมนุมในสถานที่ที่เหมาะสม เนื่องจากการชุมนุมได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน นักเรียน ที่ต้องสัญจรไปมา และเห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมฯ ได้เรียกร้องสำเร็จไปแล้ว ทั้งเรื่องการคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ และการลาออกจากตำแหน่งของ นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แต่พบว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามสร้างประเด็นการโจมตีรัฐบาล โดยเฉพาะการถูกออกหมายจับของอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดำเนินการถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม และรัฐบาลไม่ได้แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือเลือกปฏิบัติ
“อย่างกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกร้องเรียนก็มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม เพราะฉะนั้น การใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายนั้น อยากจะให้เข้าใจว่าเราอยู่ภายใต้ประเทศเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่ผ่านมาในระยะเวลา 10 วันของการชุมนุมประชาชน นักเรียน พระ ได้รับความเดือดร้อนมาก และอยากจะเรียนว่าไม่ใช่รัฐบาลละเลยทอดทิ้งไม่แก้ปัญหาในเรื่องนี้ แต่รัฐบาลได้เตรียมการตามขั้นตอนต่าง ๆ ไว้แล้วตามกฎหมาย แต่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเจรจา หากสำเร็จกลุ่มผู้ชุมนุมก็ย้ายสถานที่ออกไป” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเรียกร้องพรรคการเมืองที่ให้การสนับสนับกลุ่มผู้ชุมนุมฯ ว่า ไม่ควรใช้วิธีดังกล่าว เพราะรัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้ง มีประชาชนให้การสนับสนุน ควรให้รัฐบาลได้ทำหน้าที่บริหารประเทศ ขณะเดียวกัน หากในอนาคต พรรคการเมืองที่สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ได้เป็นรัฐบาลแล้ว มีการชุมนุมประท้วงไม่เห็นด้วย ประเทศจะเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้น นอกจากนี้ การชุมนุมที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นด้านการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้ง เยอรมนี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซึ่งได้ขอชะลอการลงทุนในไทยออกไป โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ล่าสุดได้รับข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นได้ยกเลิกการท่องเที่ยวในประเทศไทยถึงร้อยละ 80 ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร อาทิ โรงแรม พนักงาน ร้านอาหาร ร้านอัญมณี และธุรกิจการบิน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (7 มิ.ย.) เวลา 11.10 น. พลตำรวจโทวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คุยนอกทำเนียบกับทีมโฆษกรัฐบาล” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่า ขณะนี้รัฐบาลพยายามเจรจาให้กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนย้ายไปชุมนุมในสถานที่ที่เหมาะสม เนื่องจากการชุมนุมได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน นักเรียน ที่ต้องสัญจรไปมา และเห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมฯ ได้เรียกร้องสำเร็จไปแล้ว ทั้งเรื่องการคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ และการลาออกจากตำแหน่งของ นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แต่พบว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามสร้างประเด็นการโจมตีรัฐบาล โดยเฉพาะการถูกออกหมายจับของอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดำเนินการถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม และรัฐบาลไม่ได้แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือเลือกปฏิบัติ
“อย่างกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกร้องเรียนก็มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม เพราะฉะนั้น การใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายนั้น อยากจะให้เข้าใจว่าเราอยู่ภายใต้ประเทศเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่ผ่านมาในระยะเวลา 10 วันของการชุมนุมประชาชน นักเรียน พระ ได้รับความเดือดร้อนมาก และอยากจะเรียนว่าไม่ใช่รัฐบาลละเลยทอดทิ้งไม่แก้ปัญหาในเรื่องนี้ แต่รัฐบาลได้เตรียมการตามขั้นตอนต่าง ๆ ไว้แล้วตามกฎหมาย แต่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเจรจา หากสำเร็จกลุ่มผู้ชุมนุมก็ย้ายสถานที่ออกไป” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเรียกร้องพรรคการเมืองที่ให้การสนับสนับกลุ่มผู้ชุมนุมฯ ว่า ไม่ควรใช้วิธีดังกล่าว เพราะรัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้ง มีประชาชนให้การสนับสนุน ควรให้รัฐบาลได้ทำหน้าที่บริหารประเทศ ขณะเดียวกัน หากในอนาคต พรรคการเมืองที่สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ได้เป็นรัฐบาลแล้ว มีการชุมนุมประท้วงไม่เห็นด้วย ประเทศจะเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้น นอกจากนี้ การชุมนุมที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นด้านการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้ง เยอรมนี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซึ่งได้ขอชะลอการลงทุนในไทยออกไป โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ล่าสุดได้รับข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นได้ยกเลิกการท่องเที่ยวในประเทศไทยถึงร้อยละ 80 ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร อาทิ โรงแรม พนักงาน ร้านอาหาร ร้านอัญมณี และธุรกิจการบิน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--