แท็ก
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ
นายสมัคร สุนทรเวช
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
ตึกไทยคู่ฟ้า
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ครั้งที่ 4/2551
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ครั้งที่ 4/2551 โดยมี นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วย
ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ข้าวและปริมาณข้าวคงเหลือในสต๊อกของรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ คาดการณ์ว่า ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2551 มีประมาณ 7.621 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนมีนาคม 2551 ที่คาดว่าจะมี 6.7 ล้านตันข้าวเปลือก ร้อยละ 13.27 และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณ 6.802 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.03 เนื่องจากราคาข้าวเปลือกในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรเพิ่มการเพาะปลูกข้าวนาปรังรุ่น 2 เพิ่มขึ้น ซึ่งจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป และคาดว่าจะมีปริมาณ 3.5 ล้านตันข้างเปลือก
สำหรับผลผลิตข้าวนาปี 2551/2552 กระทรวงเกษตรฯ ได้พยากรณ์ผลผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2551-2552 มีประมาณ 23.592 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.204 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 ส่วนผลผลิตต่อไร่ทั้งประเทศ 411 กก./ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีผลผลิตเฉลี่ยน 407 กก./ไร่ หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.98 และผลผลิตจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม และออกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2551 คิดเป็นร้อยละ 77 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
ภาวะราคาข้าว ในช่วงเดือนมิถุนายน 2551 ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากราคาข้าวตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นมากเป็นประวัติศาสตร์ และความแตกตื่นในการขาดแคลนข้าวหมดไป ทำให้ผู้ซื้อต่างรอดูสถานการณ์ราคาข้าวตลาดโลกซึ่งมีแนวโน้มจะอ่อนตัวลง เนื่องจากผลผลิตข้าวโลกออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารในประเทศมีแนวโน้มลดลง
สำหรับแนวโน้มราคาข้าวเปลือกและข้าวสารในช่วงเดือนมิถุนายน 2551 คาดว่าจะอ่อนตัวลง เนื่องจาก ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากขึ้น แม้ตลาดข้าวโลกยังมีความต้องการข้าวเพิ่มมากขึ้น แต่ประเทศผู้ส่งออกอย่างเวียดนามและอินเดียอาจจะยกเลิกห้ามการส่งออกในช่วงที่ผลผลิตในประเทศมีปริมาณสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มอ่อนตัวลง
การส่งออกข้าวปี 2551 กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ประมาณ 9.00 ล้านตันข้าวสาร เช่นเดียวกับกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 9.00 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2550 ปริมาณ 0.55 ล้านตันข้าวสาร โดยกรมการค้าต่างประเทศรายงานเบื้องต้นการส่งออกตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2551 มีปริมาณรวม 5.020 ล้านตัน มูลค่า จำนวน 84,976 ล้านบาท
ปริมาณข้าวคงเหลือ คณะกรรมการติดตามตรวจสอบปริมาณข้าวโครงการรับจำนำของรัฐบาล ซึ่งมี รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายวรารักษ์ ชั้นสามารถ) เป็นประธาน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 เพื่อติดตามการตรวจสอบปริมาณข้าวในสต๊อกของรัฐบาล ซึ่งผลการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ อคส.ประจำหน่วย (ตรวจสอบเป็นประจำทุกวัน) คณะกรรมการระดับจังหวัด (ตรวจสอบเป็นประจำทุกสัปดาห์) และการตรวจสอบของกรมการค้าภายใน (ตรวจสอบเดือนละครั้ง) พบว่า ปริมาณข้าวที่ตรวจนับมีปริมาณใกล้เคียงกับบัญชี
อคส. ได้รายงานปริมาณข้าวสารคงเหลือที่ปลอดภาระผูกพันในสต๊อกของรัฐบาล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 คิดในเทอมข้าวสารมีประมาณ 2,107,716 ตันข้าวสาร จำแนกเป็น ข้าวสารในโกดังกลางจำนวน 1,942,040 ตันข้าวสาร ข้าวเปลือกในโรงสีคิดในเทอมข้าวสาร จำนวน ประมาณ 97,520 ตันข้าวสาร และข้าวสารกัน ภาระ AFET จำนวน 68,156 ตันข้าวสาร ลดลงจากวันที่ 3 มีนาคม 2551 ซึ่งมีปริมาณ 2,150,293 ตันข้าวสาร (โกดังกลาง จำนวน 1,960,255 ตันข้าวสาร โรงสี จำนวน 121,881 ตันข้าวสาร และข้าวสารกันภาระ AFET จำนวน 68,156 ตันข้าวสาร) โดยปริมาณข้าวเปลือก/ข้าวสารที่โรงสีเปลี่ยนแปลงลดลง เนื่องจากเกษตรกรไถ่ถอนและโรงสี สีส่งมอบโกดังกลาง ส่วนปริมาณข้าวสารในโกดังกลางลดลงเนื่องจากจ่ายเป็นค่าปรับปรุงส่งมอบรัฐบาลอิหร่านและอินโดนีเซีย
สำหรับปริมาณข้าวคงเหลือในความครอบครองภาคเอกชนจากการสำรวจของจังหวัด คิดในเทอมข้าวสาร ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 รวมทั้งสิ้นประมาณ 3.032 ล้านตัน (ผู้ส่งออก 0.942 ล้านตัน โรงสี 1.245 ล้านตัน ขายส่ง 0.081 ล้านตัน ท่าข้าว 0.064 ล้านตัน และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ไม่แจ้งประมาณ 0.700 ล้านตัน)
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมรับทราบผลการประชุมหารือการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2551 ในการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า มติที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงการคลัง และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกร โดยให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% (ความชื้นไม่เกิน 15%) ตันละ 14,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียว (ความชื้นไม่เกิน 15%) ตันละ 9,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกที่มีความชื้นมากกว่า 15% ให้หักลดน้ำหนักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ปริมาณประมาณ 2 ล้านตัน ระยะเวลาไถ่ถอน 3 เดือน และจะมีการ แต่งตั้งคณะกรรมการในการกำกับดูแล 3 คณะต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ครั้งที่ 4/2551 โดยมี นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วย
ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ข้าวและปริมาณข้าวคงเหลือในสต๊อกของรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ คาดการณ์ว่า ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2551 มีประมาณ 7.621 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนมีนาคม 2551 ที่คาดว่าจะมี 6.7 ล้านตันข้าวเปลือก ร้อยละ 13.27 และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณ 6.802 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.03 เนื่องจากราคาข้าวเปลือกในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรเพิ่มการเพาะปลูกข้าวนาปรังรุ่น 2 เพิ่มขึ้น ซึ่งจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป และคาดว่าจะมีปริมาณ 3.5 ล้านตันข้างเปลือก
สำหรับผลผลิตข้าวนาปี 2551/2552 กระทรวงเกษตรฯ ได้พยากรณ์ผลผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2551-2552 มีประมาณ 23.592 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.204 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 ส่วนผลผลิตต่อไร่ทั้งประเทศ 411 กก./ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีผลผลิตเฉลี่ยน 407 กก./ไร่ หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.98 และผลผลิตจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม และออกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2551 คิดเป็นร้อยละ 77 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
ภาวะราคาข้าว ในช่วงเดือนมิถุนายน 2551 ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากราคาข้าวตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นมากเป็นประวัติศาสตร์ และความแตกตื่นในการขาดแคลนข้าวหมดไป ทำให้ผู้ซื้อต่างรอดูสถานการณ์ราคาข้าวตลาดโลกซึ่งมีแนวโน้มจะอ่อนตัวลง เนื่องจากผลผลิตข้าวโลกออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารในประเทศมีแนวโน้มลดลง
สำหรับแนวโน้มราคาข้าวเปลือกและข้าวสารในช่วงเดือนมิถุนายน 2551 คาดว่าจะอ่อนตัวลง เนื่องจาก ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากขึ้น แม้ตลาดข้าวโลกยังมีความต้องการข้าวเพิ่มมากขึ้น แต่ประเทศผู้ส่งออกอย่างเวียดนามและอินเดียอาจจะยกเลิกห้ามการส่งออกในช่วงที่ผลผลิตในประเทศมีปริมาณสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มอ่อนตัวลง
การส่งออกข้าวปี 2551 กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ประมาณ 9.00 ล้านตันข้าวสาร เช่นเดียวกับกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 9.00 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2550 ปริมาณ 0.55 ล้านตันข้าวสาร โดยกรมการค้าต่างประเทศรายงานเบื้องต้นการส่งออกตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2551 มีปริมาณรวม 5.020 ล้านตัน มูลค่า จำนวน 84,976 ล้านบาท
ปริมาณข้าวคงเหลือ คณะกรรมการติดตามตรวจสอบปริมาณข้าวโครงการรับจำนำของรัฐบาล ซึ่งมี รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายวรารักษ์ ชั้นสามารถ) เป็นประธาน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 เพื่อติดตามการตรวจสอบปริมาณข้าวในสต๊อกของรัฐบาล ซึ่งผลการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ อคส.ประจำหน่วย (ตรวจสอบเป็นประจำทุกวัน) คณะกรรมการระดับจังหวัด (ตรวจสอบเป็นประจำทุกสัปดาห์) และการตรวจสอบของกรมการค้าภายใน (ตรวจสอบเดือนละครั้ง) พบว่า ปริมาณข้าวที่ตรวจนับมีปริมาณใกล้เคียงกับบัญชี
อคส. ได้รายงานปริมาณข้าวสารคงเหลือที่ปลอดภาระผูกพันในสต๊อกของรัฐบาล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 คิดในเทอมข้าวสารมีประมาณ 2,107,716 ตันข้าวสาร จำแนกเป็น ข้าวสารในโกดังกลางจำนวน 1,942,040 ตันข้าวสาร ข้าวเปลือกในโรงสีคิดในเทอมข้าวสาร จำนวน ประมาณ 97,520 ตันข้าวสาร และข้าวสารกัน ภาระ AFET จำนวน 68,156 ตันข้าวสาร ลดลงจากวันที่ 3 มีนาคม 2551 ซึ่งมีปริมาณ 2,150,293 ตันข้าวสาร (โกดังกลาง จำนวน 1,960,255 ตันข้าวสาร โรงสี จำนวน 121,881 ตันข้าวสาร และข้าวสารกันภาระ AFET จำนวน 68,156 ตันข้าวสาร) โดยปริมาณข้าวเปลือก/ข้าวสารที่โรงสีเปลี่ยนแปลงลดลง เนื่องจากเกษตรกรไถ่ถอนและโรงสี สีส่งมอบโกดังกลาง ส่วนปริมาณข้าวสารในโกดังกลางลดลงเนื่องจากจ่ายเป็นค่าปรับปรุงส่งมอบรัฐบาลอิหร่านและอินโดนีเซีย
สำหรับปริมาณข้าวคงเหลือในความครอบครองภาคเอกชนจากการสำรวจของจังหวัด คิดในเทอมข้าวสาร ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 รวมทั้งสิ้นประมาณ 3.032 ล้านตัน (ผู้ส่งออก 0.942 ล้านตัน โรงสี 1.245 ล้านตัน ขายส่ง 0.081 ล้านตัน ท่าข้าว 0.064 ล้านตัน และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ไม่แจ้งประมาณ 0.700 ล้านตัน)
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมรับทราบผลการประชุมหารือการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2551 ในการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า มติที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงการคลัง และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกร โดยให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% (ความชื้นไม่เกิน 15%) ตันละ 14,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียว (ความชื้นไม่เกิน 15%) ตันละ 9,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกที่มีความชื้นมากกว่า 15% ให้หักลดน้ำหนักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ปริมาณประมาณ 2 ล้านตัน ระยะเวลาไถ่ถอน 3 เดือน และจะมีการ แต่งตั้งคณะกรรมการในการกำกับดูแล 3 คณะต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--