นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2551 CO2 Kick The Habit! Towards a Low Carbon Economy ลดวิกฤติโลกร้อน: เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2551 CO2 Kick The Habit! Towards a Low Carbon Economy ลดวิกฤติโลกร้อน: เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ จัดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับพันธมิตรต่างๆ กว่า 60 หน่วยงาน ทั้งจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานการจัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2551 ว่า โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเน็ป ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อให้ประเทศต่างๆ ใช้เป็นวาระในการสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญระดับโลก และร่วมกันรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลกับประชาชนผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยในปี 2551 นี้ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันใช้หัวข้อรณรงค์ต่อเนื่องกับภาวะวิกฤตปัญหาโลกร้อน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ตั้งเป็นประเด็นสำหรับการรณรงค์ในภาษาไทยว่า "ลดวิกฤติโลกร้อน: เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ" เพื่อสื่อสารให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิต รวมทั้งกระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนของสังคมเร่งดำเนินการลดปัญหาการปลดปล่อยคาร์บอนที่เป็นสาเหตุหลักของปัญหาโลกร้อน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้มีการรณรงค์เรื่องการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดกิจกรรมรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2551 ระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายน 2551 ประกอบด้วย งานสัมมนาทางวิชาการและการจัดแสดงนิทรรศการ อาทิ โครงการพระราชดำริกับการลดปัญหาภาวะโลกร้อนเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิทรรศการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอน และการแสดงผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเห็นว่า จากภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งละลาย จะส่งผลให้น้ำท่วมโลก ซึ่งสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนคือก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ประเทศไทยถูกประเมินว่าเป็นประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 31 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคอาเซียน โดยร้อยละ 10 ของก๊าซเรือนกระจกเกิดจากคน ส่วนอีกร้อยละ 90 ของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยไปเกิดจากกิจกรรมสำคัญ 3 ส่วนคือ ภาคพลังงาน ร้อยละ 50 ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 23 และภาคป่าไม้ ร้อยละ 17 นั่นหมายความว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเจริญพอสมควร
ในสมัยก่อนเราใช้พลังงานไฟฟ้าจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดคาร์บอน ทั้งถ่านหินและต้นไม้ ประเทศไทยจึงได้สนับสนุนให้ผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยระบบไฮโดรหรือการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากน้ำเพื่อหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดคาร์บอนมาแล้ว 40 ปี โดยผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังน้ำจากเขื่อนต่างๆ อาทิ เขื่อนภูมิพลจุน้ำได้ถึง 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เชื่อนสิริกิติ์จุน้ำได้ถึง 9,750 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยลดการผลิตไฟฟ้าจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ร้อยละ 5 ตลอดจนได้รับประโยชน์ต่างๆ เช่น ช่วยป้องกันน้ำท่วม ช่วยปล่อยน้ำในเวลาทำการเกษตร นำมาผลิตพลังงานจากน้ำ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ รัฐบาลได้ร่วมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าระบบไฮโดร ทั้งเขื่อนน้ำงึม และเขื่อนน้ำเทิน
รัฐบาลถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะดำเนินการต่างๆ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน ดังนี้ 1) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนธุรกิจเอกชนและชุมชน ให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการปลูกและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง เพื่อเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในธรรมชาติ 2) สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3) รณรงค์ประหยัดการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน โดยให้หน่วยงานของรัฐบาลเป็นตัวอย่างอย่างเคร่งครัด เช่น ปรับระดับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในสำนักงานที่ 26 องศาเซลเซียส 4) ส่งเสริมการใช้รถยนต์ประเภท E85 ที่มีส่วนผสมของเอทานอลให้ได้ถึง ร้อยละ 60 ของปริมาณการใช้ทั้งหมด ภายในปี 2554 ซึ่งจะทำให้ลดปริมาณการใช้น้ำมันเป็นมูลค่า 97,000 ล้านบาทต่อปี 5) ส่งเสริมให้ขับรถด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะถ้าในรอบปีเราขับรถด้วยระยะทาง 30,000 กิโลเมตร จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึงร้อยละ 20 6) มอบหมายให้หน่วยงานราชการเป็นผู้นำการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนทางการตลาดที่จะกระตุ้นให้ผู้ผลิตหันมาใส่ใจผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าอยากรณรงค์ให้คนไทยทุกคนร่วมกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สร้างเป้าหมายของตนเองในการลดปีละร้อยละ 10 โดยปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิตประจำวัน และขอบคุณทุกหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อม หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้รดน้ำต้นกวาดทองอันเป็นสัญลักษณ์ของการเปิดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2551
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2551 CO2 Kick The Habit! Towards a Low Carbon Economy ลดวิกฤติโลกร้อน: เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ จัดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับพันธมิตรต่างๆ กว่า 60 หน่วยงาน ทั้งจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานการจัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2551 ว่า โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเน็ป ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อให้ประเทศต่างๆ ใช้เป็นวาระในการสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญระดับโลก และร่วมกันรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลกับประชาชนผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยในปี 2551 นี้ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันใช้หัวข้อรณรงค์ต่อเนื่องกับภาวะวิกฤตปัญหาโลกร้อน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ตั้งเป็นประเด็นสำหรับการรณรงค์ในภาษาไทยว่า "ลดวิกฤติโลกร้อน: เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ" เพื่อสื่อสารให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิต รวมทั้งกระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนของสังคมเร่งดำเนินการลดปัญหาการปลดปล่อยคาร์บอนที่เป็นสาเหตุหลักของปัญหาโลกร้อน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้มีการรณรงค์เรื่องการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดกิจกรรมรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2551 ระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายน 2551 ประกอบด้วย งานสัมมนาทางวิชาการและการจัดแสดงนิทรรศการ อาทิ โครงการพระราชดำริกับการลดปัญหาภาวะโลกร้อนเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิทรรศการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอน และการแสดงผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเห็นว่า จากภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งละลาย จะส่งผลให้น้ำท่วมโลก ซึ่งสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนคือก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ประเทศไทยถูกประเมินว่าเป็นประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 31 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคอาเซียน โดยร้อยละ 10 ของก๊าซเรือนกระจกเกิดจากคน ส่วนอีกร้อยละ 90 ของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยไปเกิดจากกิจกรรมสำคัญ 3 ส่วนคือ ภาคพลังงาน ร้อยละ 50 ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 23 และภาคป่าไม้ ร้อยละ 17 นั่นหมายความว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเจริญพอสมควร
ในสมัยก่อนเราใช้พลังงานไฟฟ้าจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดคาร์บอน ทั้งถ่านหินและต้นไม้ ประเทศไทยจึงได้สนับสนุนให้ผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยระบบไฮโดรหรือการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากน้ำเพื่อหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดคาร์บอนมาแล้ว 40 ปี โดยผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังน้ำจากเขื่อนต่างๆ อาทิ เขื่อนภูมิพลจุน้ำได้ถึง 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เชื่อนสิริกิติ์จุน้ำได้ถึง 9,750 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยลดการผลิตไฟฟ้าจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ร้อยละ 5 ตลอดจนได้รับประโยชน์ต่างๆ เช่น ช่วยป้องกันน้ำท่วม ช่วยปล่อยน้ำในเวลาทำการเกษตร นำมาผลิตพลังงานจากน้ำ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ รัฐบาลได้ร่วมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าระบบไฮโดร ทั้งเขื่อนน้ำงึม และเขื่อนน้ำเทิน
รัฐบาลถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะดำเนินการต่างๆ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน ดังนี้ 1) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนธุรกิจเอกชนและชุมชน ให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการปลูกและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง เพื่อเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในธรรมชาติ 2) สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3) รณรงค์ประหยัดการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน โดยให้หน่วยงานของรัฐบาลเป็นตัวอย่างอย่างเคร่งครัด เช่น ปรับระดับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในสำนักงานที่ 26 องศาเซลเซียส 4) ส่งเสริมการใช้รถยนต์ประเภท E85 ที่มีส่วนผสมของเอทานอลให้ได้ถึง ร้อยละ 60 ของปริมาณการใช้ทั้งหมด ภายในปี 2554 ซึ่งจะทำให้ลดปริมาณการใช้น้ำมันเป็นมูลค่า 97,000 ล้านบาทต่อปี 5) ส่งเสริมให้ขับรถด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะถ้าในรอบปีเราขับรถด้วยระยะทาง 30,000 กิโลเมตร จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึงร้อยละ 20 6) มอบหมายให้หน่วยงานราชการเป็นผู้นำการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนทางการตลาดที่จะกระตุ้นให้ผู้ผลิตหันมาใส่ใจผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าอยากรณรงค์ให้คนไทยทุกคนร่วมกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สร้างเป้าหมายของตนเองในการลดปีละร้อยละ 10 โดยปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิตประจำวัน และขอบคุณทุกหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อม หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้รดน้ำต้นกวาดทองอันเป็นสัญลักษณ์ของการเปิดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2551
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--