คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอนุมัติเงิน 2,000 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการรถโดยสารกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 0.5 ต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงเครื่องยนต์เดิมให้สามารถใช้ NGV ได้
วันนี้ เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ครั้งที่ 1/2551 สรุปดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงพลังงานดำเนินโครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์ NGV ระยะที่ 2 โดยมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งและรถรับจ้างสาธารณะที่ต้องการดัดแปลงหรือติดตั้งอุปกรณ์ใช้ NGV ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงเดิม เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และเป็นการชะลอการขอขึ้นค่าโดยสารรอบใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติเงิน 2,000 ล้านบาท ให้สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นำไปจัดสรรให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการดังกล่าว ที่จะนำไปให้ผู้ประกอบการรถโดยสารและหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องการคมนาคมขนส่ง อาทิ รถ ขสมก. รถร่วม ขสมก. และรถแท็กซี่ เป็นต้น กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 0.5 ต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงเครื่องยนต์เดิมให้สามารถใช้ NGV ได้ ซึ่งคาดว่าจะมีกลุ่มผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และรถโดยสารอื่นๆ นำรถเข้าร่วมโครงการฯ ติดตั้ง NGV เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3,000 คัน โดยจะใช้ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตภายในประเทศปีละประมาณ 3,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 100 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่าทดแทนการนำเข้าไม่ต่ำกว่าปีละ 1,930 ล้านบาทแล้ว ยังเป็นการช่วยลดคาร์บอนมอนอไซด์ประมาณปีละ 3,200 ตัน และลดปริมาณผงฝุ่นจากเขม่าควันดำปีละประมาณ 280 ตันด้วย
อนึ่ง ภาครัฐได้กำหนดเป้าหมายให้เร่งส่งเสริมการใช้ NGV ทดแทนน้ำมันเบนซินและดีเซลให้ได้ถึงร้อยละ 20 ภายในปี 2555 ซึ่งคาดว่าจะมีรถยนต์ใช้ NGV เพิ่มเป็น 240,000 คัน รถบรรทุกโดยสาร 88,000 คัน และมีสถานีบริการ NGV รวม 725 แห่งทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบอนุมัติให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการใช้จ่ายเงินของ "โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3" โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมถึงภาคประชาชน และให้ พพ. สามารถโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไปแล้ว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ "โครงการสินเชื่อพลังงานครัวเรือน" ในวงเงิน 1,057.5 ล้านบาท เพื่อจัดสรรให้สถาบันการเงินและนำไปปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชน สำหรับจัดซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงโดยไม่คิดอัตราดอกเบี้ย โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1) การขอซื้อสินเชื่อต้องเป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ทุกชนิด อุปการณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเบอร์ 5 ที่ได้ปรับปรุงมาจากอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงเบอร์ 5 และอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในครัวเรือนที่ พพ. เห็นชอบ 2) วงเงินสินเชื่อสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ตามข้อ 1) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ยกเว้นเครื่องปรับอากาศให้ในวงเงินตามที่จ่ายจริง 1 เครื่องขนาดไม่เกิน 18,000 BTUต่อชั่วโมง ในวงเงิน 30,000 บาท 3) สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทั้งนี้คาดว่าภาคประชาชนไม่น้อยกว่า 75,000 ครัวเรือน ได้รับสินเชื่อเพื่อซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ครั้งที่ 1/2551 สรุปดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงพลังงานดำเนินโครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์ NGV ระยะที่ 2 โดยมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งและรถรับจ้างสาธารณะที่ต้องการดัดแปลงหรือติดตั้งอุปกรณ์ใช้ NGV ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงเดิม เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และเป็นการชะลอการขอขึ้นค่าโดยสารรอบใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติเงิน 2,000 ล้านบาท ให้สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นำไปจัดสรรให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการดังกล่าว ที่จะนำไปให้ผู้ประกอบการรถโดยสารและหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องการคมนาคมขนส่ง อาทิ รถ ขสมก. รถร่วม ขสมก. และรถแท็กซี่ เป็นต้น กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 0.5 ต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงเครื่องยนต์เดิมให้สามารถใช้ NGV ได้ ซึ่งคาดว่าจะมีกลุ่มผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และรถโดยสารอื่นๆ นำรถเข้าร่วมโครงการฯ ติดตั้ง NGV เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3,000 คัน โดยจะใช้ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตภายในประเทศปีละประมาณ 3,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 100 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่าทดแทนการนำเข้าไม่ต่ำกว่าปีละ 1,930 ล้านบาทแล้ว ยังเป็นการช่วยลดคาร์บอนมอนอไซด์ประมาณปีละ 3,200 ตัน และลดปริมาณผงฝุ่นจากเขม่าควันดำปีละประมาณ 280 ตันด้วย
อนึ่ง ภาครัฐได้กำหนดเป้าหมายให้เร่งส่งเสริมการใช้ NGV ทดแทนน้ำมันเบนซินและดีเซลให้ได้ถึงร้อยละ 20 ภายในปี 2555 ซึ่งคาดว่าจะมีรถยนต์ใช้ NGV เพิ่มเป็น 240,000 คัน รถบรรทุกโดยสาร 88,000 คัน และมีสถานีบริการ NGV รวม 725 แห่งทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบอนุมัติให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการใช้จ่ายเงินของ "โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3" โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมถึงภาคประชาชน และให้ พพ. สามารถโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไปแล้ว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ "โครงการสินเชื่อพลังงานครัวเรือน" ในวงเงิน 1,057.5 ล้านบาท เพื่อจัดสรรให้สถาบันการเงินและนำไปปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชน สำหรับจัดซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงโดยไม่คิดอัตราดอกเบี้ย โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1) การขอซื้อสินเชื่อต้องเป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ทุกชนิด อุปการณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเบอร์ 5 ที่ได้ปรับปรุงมาจากอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงเบอร์ 5 และอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในครัวเรือนที่ พพ. เห็นชอบ 2) วงเงินสินเชื่อสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ตามข้อ 1) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ยกเว้นเครื่องปรับอากาศให้ในวงเงินตามที่จ่ายจริง 1 เครื่องขนาดไม่เกิน 18,000 BTUต่อชั่วโมง ในวงเงิน 30,000 บาท 3) สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทั้งนี้คาดว่าภาคประชาชนไม่น้อยกว่า 75,000 ครัวเรือน ได้รับสินเชื่อเพื่อซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--