แท็ก
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการกฤษฎีกา
นายสมัคร สุนทรเวช
ทำเนียบรัฐบาล
กระทรวงกลาโหม
นายกรัฐมนตรี
นายกัฐมนตรีระบุขณะนี้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบกฎหมายประชามติปี 41 ว่ายังมีผลใช้บังคับหรือไม่ หากใช้ไม่ได้ ก็รอ กกต.จัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
วันนี้ (27 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้รับฟังความเห็นของนายกรัฐมนตรี เห็นชอบที่จะให้มีการลงประชามติ เมื่อตรวจสอบกับทางคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วมีกฎหมายประชามติ ซึ่งออกไว้ตั้งแต่ปี 2541 และมีข้อถกเถียงกันว่ากฎหมายฉบับนี้จะหายไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะ เป็นกฎหมายลูกหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจึงได้ขอให้คณะกรรมการกฤษฎีการับเรื่องนี้ไปตรวจสอบ ถ้าเรื่องกลับมาได้เร็วก็จะใช้กฎหมายฉบับนี้ดำเนินการ แต่ถ้ากลับมาไม่ได้เร็วจะออกพระราชกำหนด อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาเปิดก็ต้องนำพระราชกำหนดเข้าสภา และเมื่อเข้าสภาก็คาดการณ์ได้ว่าจะมีผู้คนทำให้เรื่องนี้เดินหน้าต่อไปไม่ได้ โดยการเอาเรื่องไปส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะไม่มีอนาคตว่าจะทำประชามติได้เมื่อไร
ส่วนช่องทางที่จะทำได้อีกช่องทาง คือ ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ให้ความเห็นว่า กกต. กำลังทำกฎหมายเรื่องนี้ เพราะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 และกฎหมายนี้กำลังจะเสร็จ ซึ่ง กกต.จะช่วยทำให้เสร็จก่อนสภาเปิดประชุมสมัยวิสามัญ และจะเอากฎหมายฉบับนี้เข้าสู่ที่ประชุมสมัยวิสามัญ เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็จะส่งให้วุฒิสภา หากวุฒิสภายินดีจะพิจารณาให้ เราก็จะขยายเวลาการประชุมสมัยวิสามัญออก แต่ถ้าวุฒิสภาบอกว่ายังไม่อยากพิจารณาก็จะรอจนถึงเดือนกรกฎาคม เมื่อสภาเปิด วุฒิสภาก็ต้องพิจารณาตรงนั้น กฎหมายเสร็จแล้วก็จะทำประชามติ ระหว่างนี้ที่สภาปิดเดือนครึ่ง เรื่องก็ยังคาอยู่ในสภา เมื่อสภาเปิดก็จะทำกฎหมายนี้เป็นวาระแรก ถ้าทำได้สำเร็จก็จะได้ลงประชามติ
“ฉะนั้น จะอธิบายให้ฟังชัดเจนว่า ตรวจสอบกฎหมายเดิม กฤษฎีกาต้องรับเอาไปดูให้ ว่าตกลงยังอยู่หรือไม่ ถ้าอยู่ส่งกลับมาก็จะใช้กฎหมายฉบับนี้เพื่อดำเนินการลงประชามติ เพราะต้องใช้กฎหมายรองรับ มีระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไม่มีศักดิ์ศรีพอที่จะเอาไปทำ เดี๋ยวจะมีคนโต้แย้ง หากจะใช้พระราชกำหนดก็จะทำให้เจอทางตันเสียก่อน เพราะจะมีคนที่ไม่อยากให้ทำ ยักย้ายส่งไปให้ศาลพิจารณา ก็ไม่รู้จะมีอนาคตเมื่อไร ตกลงเราจะเลือก 2 ทาง คือ รอกฤษฎีกาแจ้งให้ทราบว่าทำได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็จะทำอีกทาง คือ รอของ กกต. โดย กกต.จะส่งไประหว่างเปิดวิสามัญ เมื่อผ่านตรงนี้ได้เสร็จก็จะส่งให้วุฒิสภาโดยประสานกับประธานวุฒิสภา ถ้าท่านจะพิจารณาให้ก็จะยืดเวลาการประชุมสภาสมัยวิสามัญออกไป แต่ถ้าจะรอสภาเปิด เราก็จะรอ ตกลงยืนยันกับครม.ว่า ให้ทำประชามติเพื่อตัดประเด็นการถกเถียงทั้งหลายทั้งปวง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า เมื่อมีประชามติแล้วหากไม่แก้ ก็ต้องเลิกเรื่องนี้ไปเลย ถ้าแก้ก็ขอให้รู้ว่า การแก้จะอยู่ในความดูแลของคนที่รับเลือกตั้งมา ทั้งแต่งตั้ง 74 เลือกตั้ง 76 และเลือกตั้งอีก 480 จะเป็นคนดูแลเรื่องนั้น จะเสนอขึ้นไปอย่างไรก็สุดแท้แต่ คนทั้งหมดนี้จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าเรื่องใดจะผ่านได้หรือไม่ได้ มาตราไหนควรจะแก้หรือไม่ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหญ่โต ถ้าเรื่องไม่ควรแก้คนทั้ง 2 ซีกนั้นจะเป็นคนวินิจฉัยว่าเขาจะไม่แก้ การเสนอย่อมเสนอได้ แต่อาจจะไม่ผ่าน เพราะไปทีละมาตรา ขอให้เข้าใจเรื่องเท่านั้น อะไรที่ไม่สมควรแก้ ไม่ผ่านก็แก้ไม่ได้ แต่สิ่งที่สมควรแก้ก็มี ฉะนั้นเวลา 45 วัน คือ ต้องการจะให้มีการรณรงค์ ใครที่ให้แก้ก็รณรงค์หาเสียงให้แก้ ใครไม่ให้แก้ก็รณรงค์หาเสียงไม่ให้แก้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบ 2,000 ล้านบาท เพื่อจัดทำประชามติหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องกฎหมายต้องเสร็จก่อน เงินมีอยู่แล้ว ส่วนจะให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคพลังประชาชนถอนญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ต้อง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังตอบข้อซักถามถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะใช้พระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรดำเนินการกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพื่อสลายการชุมนุมว่า ตอบไปแล้วว่าแม้แต่คิดยังไม่เคย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (27 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้รับฟังความเห็นของนายกรัฐมนตรี เห็นชอบที่จะให้มีการลงประชามติ เมื่อตรวจสอบกับทางคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วมีกฎหมายประชามติ ซึ่งออกไว้ตั้งแต่ปี 2541 และมีข้อถกเถียงกันว่ากฎหมายฉบับนี้จะหายไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะ เป็นกฎหมายลูกหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจึงได้ขอให้คณะกรรมการกฤษฎีการับเรื่องนี้ไปตรวจสอบ ถ้าเรื่องกลับมาได้เร็วก็จะใช้กฎหมายฉบับนี้ดำเนินการ แต่ถ้ากลับมาไม่ได้เร็วจะออกพระราชกำหนด อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาเปิดก็ต้องนำพระราชกำหนดเข้าสภา และเมื่อเข้าสภาก็คาดการณ์ได้ว่าจะมีผู้คนทำให้เรื่องนี้เดินหน้าต่อไปไม่ได้ โดยการเอาเรื่องไปส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะไม่มีอนาคตว่าจะทำประชามติได้เมื่อไร
ส่วนช่องทางที่จะทำได้อีกช่องทาง คือ ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ให้ความเห็นว่า กกต. กำลังทำกฎหมายเรื่องนี้ เพราะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 และกฎหมายนี้กำลังจะเสร็จ ซึ่ง กกต.จะช่วยทำให้เสร็จก่อนสภาเปิดประชุมสมัยวิสามัญ และจะเอากฎหมายฉบับนี้เข้าสู่ที่ประชุมสมัยวิสามัญ เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็จะส่งให้วุฒิสภา หากวุฒิสภายินดีจะพิจารณาให้ เราก็จะขยายเวลาการประชุมสมัยวิสามัญออก แต่ถ้าวุฒิสภาบอกว่ายังไม่อยากพิจารณาก็จะรอจนถึงเดือนกรกฎาคม เมื่อสภาเปิด วุฒิสภาก็ต้องพิจารณาตรงนั้น กฎหมายเสร็จแล้วก็จะทำประชามติ ระหว่างนี้ที่สภาปิดเดือนครึ่ง เรื่องก็ยังคาอยู่ในสภา เมื่อสภาเปิดก็จะทำกฎหมายนี้เป็นวาระแรก ถ้าทำได้สำเร็จก็จะได้ลงประชามติ
“ฉะนั้น จะอธิบายให้ฟังชัดเจนว่า ตรวจสอบกฎหมายเดิม กฤษฎีกาต้องรับเอาไปดูให้ ว่าตกลงยังอยู่หรือไม่ ถ้าอยู่ส่งกลับมาก็จะใช้กฎหมายฉบับนี้เพื่อดำเนินการลงประชามติ เพราะต้องใช้กฎหมายรองรับ มีระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไม่มีศักดิ์ศรีพอที่จะเอาไปทำ เดี๋ยวจะมีคนโต้แย้ง หากจะใช้พระราชกำหนดก็จะทำให้เจอทางตันเสียก่อน เพราะจะมีคนที่ไม่อยากให้ทำ ยักย้ายส่งไปให้ศาลพิจารณา ก็ไม่รู้จะมีอนาคตเมื่อไร ตกลงเราจะเลือก 2 ทาง คือ รอกฤษฎีกาแจ้งให้ทราบว่าทำได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็จะทำอีกทาง คือ รอของ กกต. โดย กกต.จะส่งไประหว่างเปิดวิสามัญ เมื่อผ่านตรงนี้ได้เสร็จก็จะส่งให้วุฒิสภาโดยประสานกับประธานวุฒิสภา ถ้าท่านจะพิจารณาให้ก็จะยืดเวลาการประชุมสภาสมัยวิสามัญออกไป แต่ถ้าจะรอสภาเปิด เราก็จะรอ ตกลงยืนยันกับครม.ว่า ให้ทำประชามติเพื่อตัดประเด็นการถกเถียงทั้งหลายทั้งปวง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า เมื่อมีประชามติแล้วหากไม่แก้ ก็ต้องเลิกเรื่องนี้ไปเลย ถ้าแก้ก็ขอให้รู้ว่า การแก้จะอยู่ในความดูแลของคนที่รับเลือกตั้งมา ทั้งแต่งตั้ง 74 เลือกตั้ง 76 และเลือกตั้งอีก 480 จะเป็นคนดูแลเรื่องนั้น จะเสนอขึ้นไปอย่างไรก็สุดแท้แต่ คนทั้งหมดนี้จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าเรื่องใดจะผ่านได้หรือไม่ได้ มาตราไหนควรจะแก้หรือไม่ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหญ่โต ถ้าเรื่องไม่ควรแก้คนทั้ง 2 ซีกนั้นจะเป็นคนวินิจฉัยว่าเขาจะไม่แก้ การเสนอย่อมเสนอได้ แต่อาจจะไม่ผ่าน เพราะไปทีละมาตรา ขอให้เข้าใจเรื่องเท่านั้น อะไรที่ไม่สมควรแก้ ไม่ผ่านก็แก้ไม่ได้ แต่สิ่งที่สมควรแก้ก็มี ฉะนั้นเวลา 45 วัน คือ ต้องการจะให้มีการรณรงค์ ใครที่ให้แก้ก็รณรงค์หาเสียงให้แก้ ใครไม่ให้แก้ก็รณรงค์หาเสียงไม่ให้แก้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบ 2,000 ล้านบาท เพื่อจัดทำประชามติหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องกฎหมายต้องเสร็จก่อน เงินมีอยู่แล้ว ส่วนจะให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคพลังประชาชนถอนญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ต้อง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังตอบข้อซักถามถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะใช้พระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรดำเนินการกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพื่อสลายการชุมนุมว่า ตอบไปแล้วว่าแม้แต่คิดยังไม่เคย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--