นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อพิจารณามาตรการด้านเศรษฐกิจเพื่อรองรับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากในตลาดโลก
วันนี้ เวลา 17.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อพิจารณามาตรการด้านเศรษฐกิจเพื่อรองรับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากในตลาดโลก โดยภายหลังการประชุม นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงผลการประชุมที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร สรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2551 ในไตรมาสที่ 1 ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รายงานโดยสรุปว่า ในไตรมาสที่ 1 เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 6 โดยมีการส่งออกและการใช้จ่ายของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 มากกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่เติบโตเพียงร้อยละ 0.5 เป็นต้น ทั้งนี้ มีข้อจำกัดที่ต้องระมัดระวังคือราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากตั้งแต่ปลายปี 2550 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 เป็นร้อยละ 5 โดยเฉพาะในเดือนเมษายนที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.2 นอกจากนี้ การใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐยังไม่สามารถเร่งรัดได้เต็มที่ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่เป็นค่าใช้จ่ายสมทบร่วมกันสองปีงบประมาณ
ที่ประชุมได้ประเมินเรื่องผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากราคาน้ำมันและค่าเงินบาท โดยเมื่อพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหาร ราคาน้ำมันและค่าโดยสารในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีสัดส่วนที่ทำให้มีน้ำหนักในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อรวมกันถึง 58 เปอร์เซ็นต์ ที่ประชุมจึงได้วิเคราะห์ถึงการใช้พลังงานของไทย พบว่าการใช้พลังงานในการขนส่งส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทางถนนมากถึง 76 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เป็นการขนส่งทางอากาศ 16 เปอร์เซ็นต์ ทางน้ำ 7 เปอร์เซ็นต์ และทางรางเพียง 0.4 เปอร์เซ็นต์ โดยเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้พลังงานน้ำมันต่อ 1 ลิตรแล้วพบว่า จะขนส่งทางบกได้ 25 ตัน ซึ่งเป็นการขนส่งที่มีประสิทธิภาพน้อยเมื่อเทียบกับการขนส่งทางรางที่ได้ถึง 85 ตัน และทางน้ำที่ขนส่งได้ 217 ตัน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า ที่ประชุมได้ระดมความเห็นอย่างกว้างขวางในมาตรการต่าง ๆ ที่ได้วิเคราะห์จากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเน้นเรื่องแนวทางการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการดูแลรายได้ของผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการเร่งรัดการลงทุนต่าง ๆ ของภาครัฐ ที่มีรายละเอียดต่าง ๆ เช่น เรื่องการประหยัดพลังงาน จะมีการเปิดแอร์เพิ่มอุณหภูมิขึ้นจาก 25 องศา เป็น 26 องศา ซึ่งจะเริ่มต้นในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องเป็นผู้นำร่องในการประหยัดพลังงาน ทั้งแนวทางโครงการนำร่องให้ข้าราชการทำงานที่บ้านตามความเหมาะสม และการปรับเปลี่ยนรถยนต์ราชการให้ใช้แก๊สเอ็นจีวี โดยจะมีการเข้มงวดติดตามการใช้พลังงานของหน่วยราชการอย่างจริงจัง
พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้หารือเรื่องการใช้พลังงานทดแทน คือ แก๊สเอ็นจีวี และน้ำมัน E85 โดยในส่วนของแก๊สเอ็นจีวี กระทรวงพลังงานจะเร่งรัดการวางท่อแก๊สตามแนวเส้นทางคมนาคมสายหลักทั่วประเทศเพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน)จะเป็นผู้ลงทุน ซึ่งจะมีการขยายการก่อสร้างสถานีแม่และสถานีตามแนวท่อแก๊ส จาก 185 แห่งเป็น 355 แห่งภายในสิ้นปี 2551 นอกจากนี้จะมีการเพิ่มรถขนส่งแก๊สเอ็นจีวีเพื่อสนับสนุนการขยายสถานีจากเดิม 411 คันเป็น 900 คันภายในสิ้นปีนี้ด้วย ทั้งนี้ การให้บริการแก๊สเอ็นจีวีมีเป้าหมายการให้บริการกับรถยนต์ได้ 122,370 คันในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมีรถยนต์ที่ใช้เอ็นจีวีอยู่ 71,014 คัน (ข้อมูล ณ วันที่17 เมษายน 2551) นอกจากนี้ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) จะสนับสนุนให้รถแท็กซี่เปลี่ยนการใช้แก๊สแอลพีจีเป็นเอ็นจีวี เพิ่มเป็น 42,750 คัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จากที่มีรถแท็กซี่ได้เปลี่ยนมาใช้เอ็นจีวีแล้ว 21,176 คัน
สำหรับมาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้มีการใช้แก๊สเอ็นจีวี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการขยายระยะเวลายกเว้นอากรขาเข้าสำหรับถังบรรจุแก๊สและอุปกรณ์ควบคุม ออกไปอีก 4 ปี จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็น 31 ธันวาคม 2555 รวมทั้งจะมีการขยายการปรับลดอากรขาเข้าสำหรับรถโดยสารเอ็นจีวี ในลักษณะแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 0 ออกไปอีก 4 ปี จากเดิมที่กำหนดสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็น 31 ธันวาคม 2555 และจะมีการขยายเวลาการลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์เอ็นจีวีแบบ Retrofit จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 22 ออกไปอีก 3 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
ในส่วนของน้ำมัน E85 ขณะนี้มีผู้ผลิตเอทานอลทั้งหมด 11 ราย มีกำลังการผลิตรวม 1.5 ล้านลิตร แต่มีผู้ผลิตจริงในขณะนี้ 8 ราย เฉลี่ยการผลิตวันละ 900,000 ลิตรซึ่งเมื่อนำไปผสมทำเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ทำให้สามารถผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ได้วันละ 8 ล้านลิตร ซึ่งยังมีผู้ที่เตรียมการลงทุนทำเอทานอลในปี 2552 อีก 11 ราย โดยเมื่อผลิตออกมาแล้วจะมีกำลังการผลิตรวมทั้งหมด 2.5 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งจะมีปริมาณเพียงพอแน่นอน ซึ่งในส่วนของน้ำมัน E85 นี้ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จะนำร่องในการเปิดสถานี E85 ประมาณ 30 — 50 สถานีภายใน 3 — 6 เดือน หลังจากนั้นจะขยายตามความต้องการของตลาด โดยที่เรื่องโครงสร้างราคาของ E85 จะให้มีส่วนต่างของราคามากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำมันเบนซิน 95 และในส่วนของรถยนต์ขณะนี้มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 3 ราย คือ จีเอ็ม ฟอร์ด และวอลโว่ พร้อมจะนำเข้ารถยนต์ที่ประกอบสำเร็จรูปได้หลังจากนี้ประมาณ 3 — 4 เดือน และพร้อมจะเปิดสายพานการผลิตประกอบรถยนต์ในประเทศได้ประมาณอีก 18 เดือน ด้านค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นมีความพร้อมที่จะดำเนินการภายใน 2 ปี โดยในส่วนของมาตรการภาษี กระทรวงการคลังจะไปดูแลเรื่องการลดภาษีสรรพสามิตในรถยนต์ E85 ที่นำเข้า เพื่อให้มีแรงจูงใจในการซื้อจากผู้บริโภคไปจนกว่าจะสามารถผลิตภายในประเทศได้ ซึ่งกระทรวงการคลังจะสรุปเรื่องอัตราภาษีขั้นสุดท้ายอีกครั้ง ทั้งนี้ หากมีการส่งเสริมการใช้ E85 ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจะทำให้ประเทศไทยลดการใช้น้ำเบนซินได้เป็นมูลค่าประมาณ 97,000 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า ในส่วนของมาตรการเพิ่มรายได้ภาคประชาชน จะมีการเพิ่มจำนวนเงินและขอบข่ายของผู้ได้รับเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ จะมีมาตรการเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากงบประมาณ SML ให้เร็วที่สุดเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและรายได้ของชุมชน มีการเร่งรัดโครงการปีแห่งการลงทุนและปีแห่งการท่องเที่ยว เป็นต้น โดยมาตรการทั้งหมดนี้ จะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 17.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อพิจารณามาตรการด้านเศรษฐกิจเพื่อรองรับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากในตลาดโลก โดยภายหลังการประชุม นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงผลการประชุมที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร สรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2551 ในไตรมาสที่ 1 ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รายงานโดยสรุปว่า ในไตรมาสที่ 1 เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 6 โดยมีการส่งออกและการใช้จ่ายของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 มากกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่เติบโตเพียงร้อยละ 0.5 เป็นต้น ทั้งนี้ มีข้อจำกัดที่ต้องระมัดระวังคือราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากตั้งแต่ปลายปี 2550 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 เป็นร้อยละ 5 โดยเฉพาะในเดือนเมษายนที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.2 นอกจากนี้ การใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐยังไม่สามารถเร่งรัดได้เต็มที่ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่เป็นค่าใช้จ่ายสมทบร่วมกันสองปีงบประมาณ
ที่ประชุมได้ประเมินเรื่องผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากราคาน้ำมันและค่าเงินบาท โดยเมื่อพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหาร ราคาน้ำมันและค่าโดยสารในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีสัดส่วนที่ทำให้มีน้ำหนักในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อรวมกันถึง 58 เปอร์เซ็นต์ ที่ประชุมจึงได้วิเคราะห์ถึงการใช้พลังงานของไทย พบว่าการใช้พลังงานในการขนส่งส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทางถนนมากถึง 76 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เป็นการขนส่งทางอากาศ 16 เปอร์เซ็นต์ ทางน้ำ 7 เปอร์เซ็นต์ และทางรางเพียง 0.4 เปอร์เซ็นต์ โดยเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้พลังงานน้ำมันต่อ 1 ลิตรแล้วพบว่า จะขนส่งทางบกได้ 25 ตัน ซึ่งเป็นการขนส่งที่มีประสิทธิภาพน้อยเมื่อเทียบกับการขนส่งทางรางที่ได้ถึง 85 ตัน และทางน้ำที่ขนส่งได้ 217 ตัน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า ที่ประชุมได้ระดมความเห็นอย่างกว้างขวางในมาตรการต่าง ๆ ที่ได้วิเคราะห์จากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเน้นเรื่องแนวทางการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการดูแลรายได้ของผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการเร่งรัดการลงทุนต่าง ๆ ของภาครัฐ ที่มีรายละเอียดต่าง ๆ เช่น เรื่องการประหยัดพลังงาน จะมีการเปิดแอร์เพิ่มอุณหภูมิขึ้นจาก 25 องศา เป็น 26 องศา ซึ่งจะเริ่มต้นในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องเป็นผู้นำร่องในการประหยัดพลังงาน ทั้งแนวทางโครงการนำร่องให้ข้าราชการทำงานที่บ้านตามความเหมาะสม และการปรับเปลี่ยนรถยนต์ราชการให้ใช้แก๊สเอ็นจีวี โดยจะมีการเข้มงวดติดตามการใช้พลังงานของหน่วยราชการอย่างจริงจัง
พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้หารือเรื่องการใช้พลังงานทดแทน คือ แก๊สเอ็นจีวี และน้ำมัน E85 โดยในส่วนของแก๊สเอ็นจีวี กระทรวงพลังงานจะเร่งรัดการวางท่อแก๊สตามแนวเส้นทางคมนาคมสายหลักทั่วประเทศเพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน)จะเป็นผู้ลงทุน ซึ่งจะมีการขยายการก่อสร้างสถานีแม่และสถานีตามแนวท่อแก๊ส จาก 185 แห่งเป็น 355 แห่งภายในสิ้นปี 2551 นอกจากนี้จะมีการเพิ่มรถขนส่งแก๊สเอ็นจีวีเพื่อสนับสนุนการขยายสถานีจากเดิม 411 คันเป็น 900 คันภายในสิ้นปีนี้ด้วย ทั้งนี้ การให้บริการแก๊สเอ็นจีวีมีเป้าหมายการให้บริการกับรถยนต์ได้ 122,370 คันในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมีรถยนต์ที่ใช้เอ็นจีวีอยู่ 71,014 คัน (ข้อมูล ณ วันที่17 เมษายน 2551) นอกจากนี้ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) จะสนับสนุนให้รถแท็กซี่เปลี่ยนการใช้แก๊สแอลพีจีเป็นเอ็นจีวี เพิ่มเป็น 42,750 คัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จากที่มีรถแท็กซี่ได้เปลี่ยนมาใช้เอ็นจีวีแล้ว 21,176 คัน
สำหรับมาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้มีการใช้แก๊สเอ็นจีวี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการขยายระยะเวลายกเว้นอากรขาเข้าสำหรับถังบรรจุแก๊สและอุปกรณ์ควบคุม ออกไปอีก 4 ปี จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็น 31 ธันวาคม 2555 รวมทั้งจะมีการขยายการปรับลดอากรขาเข้าสำหรับรถโดยสารเอ็นจีวี ในลักษณะแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 0 ออกไปอีก 4 ปี จากเดิมที่กำหนดสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็น 31 ธันวาคม 2555 และจะมีการขยายเวลาการลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์เอ็นจีวีแบบ Retrofit จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 22 ออกไปอีก 3 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
ในส่วนของน้ำมัน E85 ขณะนี้มีผู้ผลิตเอทานอลทั้งหมด 11 ราย มีกำลังการผลิตรวม 1.5 ล้านลิตร แต่มีผู้ผลิตจริงในขณะนี้ 8 ราย เฉลี่ยการผลิตวันละ 900,000 ลิตรซึ่งเมื่อนำไปผสมทำเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ทำให้สามารถผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ได้วันละ 8 ล้านลิตร ซึ่งยังมีผู้ที่เตรียมการลงทุนทำเอทานอลในปี 2552 อีก 11 ราย โดยเมื่อผลิตออกมาแล้วจะมีกำลังการผลิตรวมทั้งหมด 2.5 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งจะมีปริมาณเพียงพอแน่นอน ซึ่งในส่วนของน้ำมัน E85 นี้ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จะนำร่องในการเปิดสถานี E85 ประมาณ 30 — 50 สถานีภายใน 3 — 6 เดือน หลังจากนั้นจะขยายตามความต้องการของตลาด โดยที่เรื่องโครงสร้างราคาของ E85 จะให้มีส่วนต่างของราคามากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำมันเบนซิน 95 และในส่วนของรถยนต์ขณะนี้มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 3 ราย คือ จีเอ็ม ฟอร์ด และวอลโว่ พร้อมจะนำเข้ารถยนต์ที่ประกอบสำเร็จรูปได้หลังจากนี้ประมาณ 3 — 4 เดือน และพร้อมจะเปิดสายพานการผลิตประกอบรถยนต์ในประเทศได้ประมาณอีก 18 เดือน ด้านค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นมีความพร้อมที่จะดำเนินการภายใน 2 ปี โดยในส่วนของมาตรการภาษี กระทรวงการคลังจะไปดูแลเรื่องการลดภาษีสรรพสามิตในรถยนต์ E85 ที่นำเข้า เพื่อให้มีแรงจูงใจในการซื้อจากผู้บริโภคไปจนกว่าจะสามารถผลิตภายในประเทศได้ ซึ่งกระทรวงการคลังจะสรุปเรื่องอัตราภาษีขั้นสุดท้ายอีกครั้ง ทั้งนี้ หากมีการส่งเสริมการใช้ E85 ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจะทำให้ประเทศไทยลดการใช้น้ำเบนซินได้เป็นมูลค่าประมาณ 97,000 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า ในส่วนของมาตรการเพิ่มรายได้ภาคประชาชน จะมีการเพิ่มจำนวนเงินและขอบข่ายของผู้ได้รับเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ จะมีมาตรการเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากงบประมาณ SML ให้เร็วที่สุดเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและรายได้ของชุมชน มีการเร่งรัดโครงการปีแห่งการลงทุนและปีแห่งการท่องเที่ยว เป็นต้น โดยมาตรการทั้งหมดนี้ จะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--