แท็ก
งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
นายกรัฐมนตรี
โกวิท วัฒนะ
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งที่ 2/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมกองบัญชาการกองทัพไทย อาคารกองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งที่ 2/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ซึ่งภายหลังการประชุมรองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ที่ประชุมรับทราบกำหนดการยกสัปตปฎลเศวตฉัตรยอดพระเมรุ ตามที่ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ได้คำนวณฤกษ์ศุภมงคลการพิธียกสัปตปฎลเศวตฉัตรยอดพระเมรุ ดังนี้ กฤษ์เอก ในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2551 เวลา 16.59 น. เป็นประถมฤกษ์ ไปจนถึงเวลา 17. 29 น. เป็นที่สุดแห่งฤกษ์ กฤษ์โท ในวันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม 2551 เวลา 16. 29 เป็นประถมฤกษ์ ไปจนถึงเวลา 17 .59 น. ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกสัปตปฎลเศวตฉัตรยอดพระเมรุด้วยแล้ว ส่วนจะเป็นวันและเวลาใดสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พร้อมกันนี้ที่ประชุมรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและยานมาศ ได้ดำเนินการสิ่งก่อสร้างตามขั้นตอนแล้วทั้ง 12 ขั้นตอนที่กำหนด เช่น การออกแบบ เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม การเขียนแบบลวดลายและส่วนประกอบพระเมรุ การอนุรักษ์และซ่อมราชรถและพระยานมาศ การก่อสร้างพระเมรุ การออกแบบและจัดสร้างพระโกศจันทน์ รวมทั้งการออกแบบและเขียนฉากบังเพลิง เป้นต้น ซึ่งการดำเนินการต่าง ๆ ได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้เกือบร้อยละ 100 แล้ว คณะกรรมการฝ่ายจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ได้ดำเนินการจัดขบวนพระอิสริยยศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ จำนวน 6 ริ้วขบวน รวม 4 วัน ดังนี้ วันพระราชทานเพลิงพระศพฯ (วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551) จัด 3 ริ้วขบวน โดย ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศโดยพระยานมาศสามลำคาม จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระมหาพิชัยราชรถหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เส้นทางจากประตูศรีสุนทร ถนนมหาราช ถนนท้ายวัง และถนนสนามไชย ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศโดยพระมหาพิชัยราชรถ จากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามไปยังพระเมรุ เส้นทางจากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถนนสนามไชย ถนนราชดำเนินใน เข้าถนนกลางท้องสนามหลวง ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระโกศโดยพระยานมาศสามลำคานเวียนพระเมรุ โดยอุตราวัฎ (เวียนซ้าย) ครบ 3 รอบ แล้วเชิญพระโกศประดิษฐานบนพระเมรุ
วันเก็บพระอัฐิ (วันที่ 16 พฤศจิกายน 2551) จัด 1 ริ้วขบวน คือ ริ้วขบวนที่ 4 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน และเชิญพระสรีรางคารโดยพระวอสีวิกากาญจน์ เส้นทางจากถนนกลางท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระลาน เข้าประตูวิเศษไชยศรี ในพระบรม- มหาราชวัง
วันเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน (วันที่ 18 พฤศจิกายน) จัด 1 ริ้วขบวน คือ ริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน เส้นทางจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันบรรจุพระสรีรางคาร (วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551) จัด 1 ริ้วขบวน คือ ริ้วขบวนที่ 6 เชิญพระสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปบรรจุ ณ อนุสรณ์สถานรังสีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เส้นทางจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกประตูวิเศษไชยศรี ถนนหน้าพระลาน ถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี ถนนอัษฎางค์ และ ถนนราชบพิธ
ทั้งนี้ จะได้มีการฝึกซ้อมขบวนพระอิสริยยศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ในพื้นที่จริง ดังนี้ ในวันที่ 12 ตุลาคม 2551 เป็นการซ้อมริ้วขบวนที่ 1 - 3 ในวันที่ 19 ตุลาคม 2551 เป็นการซ้อมริ้วขบวนที่ 1 - 6 และในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เป็นการซ้อมใหญ่เสมือนจริง สำหรับการเชิญผู้ไปร่วมเฝ้าฯ นั้น ได้มีการดำเนินการภายในเขตรั้วราชวัติมณฑลพระราชพิธีฯ ท้องสนามหลวง ด้วยการจัดสร้างอาคารสำหรับเป็นที่นั่งเฝ้าฯ ได้จำนวนประมาณ 3,194 ที่นั่ง ประกอบด้วย พระที่นั่งทรงธรรม 1 อาคาร ศาลาลูกขุน 7 อาคาร ทับเกษตร 4 อาคาร และทิม 2 อาคาร ซึ่งเห็นสมควรมีการเรียนเชิญผู้ไปร่วมเฝ้าฯ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 โดยมีการออกบัตรเรียนเชิญไปร่วมเฝ้าฯ ใน 3 เวลา คือ เวลา 07.00 น. (การเชิญพระโกศออกพระเมรุ) เวลา 16.30 น. (พระราชทานเพลิงพระศพฯ) และ เวลา 22.00 น. (พระราชทานเพลิงพระศพฯ จริง) ซึ่งในแต่ละเวลาจะพิจารณากลุ่มบุคคลและจำนวนผู้ที่จะเรียนเชิญตามความเหมาะสม
สำหรับการจัดถวายดอกไม้จันทน์ของภาคประชาชนมีการดำเนินงาน 3 ลักษณะ คือ 1) การจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามซุ้มรับดอกไม้จันทน์จำนวน 8 ซุ้ม บริเวณท้องสนามหลวง 2) การจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามวัดต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) การจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามวัดต่างๆ ในส่วนภูมิภาค ส่วนการจัดแสดงมหรสพสมโภชงานออกพระเมรุ กำหนดจัดแสดง 3 เวที บริเวณท้องสนามหลวงด้านทิศเหนือ เริ่มการแสดงตั้งแต่เวลา 19.00 น. ของวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันรุ่งขึ้นของวันที่ 16 พฤศจิกายน 2551 ดังนี้ เวทีที่ 1 (ตั้งอยู่กลางท้องสนามหลวง) มีการแสดงหนังใหญ่และโขนเรื่องรามเกียรติ์ เวทีที่ 2 (ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีการแสดงวงดุริยางค์เยาวชน T.Y.O. (THAILAND YOUTH SYMPHONY ORCHESTRA) วงซิมโฟนีออร์เคสตร้าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วงดุริยางค์สากลของกรมศิลปากร NSO (NATIONAL SYPHONY ORCHESTRA) และวงดุริยางค์ผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร เวทีที่ 3 (ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามศาลฎีกา) มีการแสดงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณี หุ่นละครเล็กเรื่องกำเนิดพระคเณศร์ ของคณะโจหลุยส์ และละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์เสี่ยงว่าว - กุมภณฑ์ถวายม้า
คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานงานการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ได้มีการดำเนินการ ดังนี้ การจัดตั้งศูนย์สื่อมวลชน ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อบริการแก่สื่อมวลชน ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ ช่างภาพ นักข่าว นิตยสาร ที่ต้องการได้รับข้อมูล ความเคลื่อนไหวของการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ซึ่งจะเปิดให้บริการระหว่างวันที่ 12 — 25 พฤศจิกายน 2551 การจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดโทรทัศน์ ณ ห้องออกผลรางวัล สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการบูรณาการการทำงานระหว่างโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ 3 5 7 โมเดิร์นไนน์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ THAI TV GLOBAL NETWORK ซึ่งจะเปิดให้บริการระหว่างวันที่ 12 — 20 พฤศจิกายน 2551 การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ณ มณฑลพระราชพิธี ระหว่างวันที่ 18 — 30 พฤศจิกายน 2551
คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก ได้ดำเนินการโดยมอบหมาย 5 หน่วยงาน คือ สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จัดทำหนังสือที่ระลึกและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 รายการ คือ 1) ดีวีดีสารคดีพระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 2) พระปิยโสทรเชษฐภคนี : ร้อยกรองน้อมสำนึกพระกรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 3) จดหมายเหตุประชาชน : ข่าวสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์จากหนังสือพิมพ์ 4) เครื่องประกอบพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 5) จดหมายเหตุพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยกรมศิลปากร 6) พระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉบับอักษรเบรลล์ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 7) แผ่นพับพระประวัติ พระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 8) หนังสือพระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยสำนักราชเลขาธิการ และ 9) ศิลปกรรมพระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งหนังสือที่ระลึกและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนี้จะได้แจกให้ผู้ร่วมเฝ้าฯ โดยแจกเป็นบัตร รับหนังสือ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมกองบัญชาการกองทัพไทย อาคารกองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งที่ 2/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ซึ่งภายหลังการประชุมรองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ที่ประชุมรับทราบกำหนดการยกสัปตปฎลเศวตฉัตรยอดพระเมรุ ตามที่ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ได้คำนวณฤกษ์ศุภมงคลการพิธียกสัปตปฎลเศวตฉัตรยอดพระเมรุ ดังนี้ กฤษ์เอก ในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2551 เวลา 16.59 น. เป็นประถมฤกษ์ ไปจนถึงเวลา 17. 29 น. เป็นที่สุดแห่งฤกษ์ กฤษ์โท ในวันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม 2551 เวลา 16. 29 เป็นประถมฤกษ์ ไปจนถึงเวลา 17 .59 น. ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกสัปตปฎลเศวตฉัตรยอดพระเมรุด้วยแล้ว ส่วนจะเป็นวันและเวลาใดสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พร้อมกันนี้ที่ประชุมรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและยานมาศ ได้ดำเนินการสิ่งก่อสร้างตามขั้นตอนแล้วทั้ง 12 ขั้นตอนที่กำหนด เช่น การออกแบบ เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม การเขียนแบบลวดลายและส่วนประกอบพระเมรุ การอนุรักษ์และซ่อมราชรถและพระยานมาศ การก่อสร้างพระเมรุ การออกแบบและจัดสร้างพระโกศจันทน์ รวมทั้งการออกแบบและเขียนฉากบังเพลิง เป้นต้น ซึ่งการดำเนินการต่าง ๆ ได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้เกือบร้อยละ 100 แล้ว คณะกรรมการฝ่ายจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ได้ดำเนินการจัดขบวนพระอิสริยยศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ จำนวน 6 ริ้วขบวน รวม 4 วัน ดังนี้ วันพระราชทานเพลิงพระศพฯ (วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551) จัด 3 ริ้วขบวน โดย ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศโดยพระยานมาศสามลำคาม จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระมหาพิชัยราชรถหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เส้นทางจากประตูศรีสุนทร ถนนมหาราช ถนนท้ายวัง และถนนสนามไชย ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศโดยพระมหาพิชัยราชรถ จากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามไปยังพระเมรุ เส้นทางจากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถนนสนามไชย ถนนราชดำเนินใน เข้าถนนกลางท้องสนามหลวง ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระโกศโดยพระยานมาศสามลำคานเวียนพระเมรุ โดยอุตราวัฎ (เวียนซ้าย) ครบ 3 รอบ แล้วเชิญพระโกศประดิษฐานบนพระเมรุ
วันเก็บพระอัฐิ (วันที่ 16 พฤศจิกายน 2551) จัด 1 ริ้วขบวน คือ ริ้วขบวนที่ 4 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน และเชิญพระสรีรางคารโดยพระวอสีวิกากาญจน์ เส้นทางจากถนนกลางท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระลาน เข้าประตูวิเศษไชยศรี ในพระบรม- มหาราชวัง
วันเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน (วันที่ 18 พฤศจิกายน) จัด 1 ริ้วขบวน คือ ริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน เส้นทางจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันบรรจุพระสรีรางคาร (วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551) จัด 1 ริ้วขบวน คือ ริ้วขบวนที่ 6 เชิญพระสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปบรรจุ ณ อนุสรณ์สถานรังสีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เส้นทางจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกประตูวิเศษไชยศรี ถนนหน้าพระลาน ถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี ถนนอัษฎางค์ และ ถนนราชบพิธ
ทั้งนี้ จะได้มีการฝึกซ้อมขบวนพระอิสริยยศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ในพื้นที่จริง ดังนี้ ในวันที่ 12 ตุลาคม 2551 เป็นการซ้อมริ้วขบวนที่ 1 - 3 ในวันที่ 19 ตุลาคม 2551 เป็นการซ้อมริ้วขบวนที่ 1 - 6 และในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เป็นการซ้อมใหญ่เสมือนจริง สำหรับการเชิญผู้ไปร่วมเฝ้าฯ นั้น ได้มีการดำเนินการภายในเขตรั้วราชวัติมณฑลพระราชพิธีฯ ท้องสนามหลวง ด้วยการจัดสร้างอาคารสำหรับเป็นที่นั่งเฝ้าฯ ได้จำนวนประมาณ 3,194 ที่นั่ง ประกอบด้วย พระที่นั่งทรงธรรม 1 อาคาร ศาลาลูกขุน 7 อาคาร ทับเกษตร 4 อาคาร และทิม 2 อาคาร ซึ่งเห็นสมควรมีการเรียนเชิญผู้ไปร่วมเฝ้าฯ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 โดยมีการออกบัตรเรียนเชิญไปร่วมเฝ้าฯ ใน 3 เวลา คือ เวลา 07.00 น. (การเชิญพระโกศออกพระเมรุ) เวลา 16.30 น. (พระราชทานเพลิงพระศพฯ) และ เวลา 22.00 น. (พระราชทานเพลิงพระศพฯ จริง) ซึ่งในแต่ละเวลาจะพิจารณากลุ่มบุคคลและจำนวนผู้ที่จะเรียนเชิญตามความเหมาะสม
สำหรับการจัดถวายดอกไม้จันทน์ของภาคประชาชนมีการดำเนินงาน 3 ลักษณะ คือ 1) การจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามซุ้มรับดอกไม้จันทน์จำนวน 8 ซุ้ม บริเวณท้องสนามหลวง 2) การจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามวัดต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) การจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามวัดต่างๆ ในส่วนภูมิภาค ส่วนการจัดแสดงมหรสพสมโภชงานออกพระเมรุ กำหนดจัดแสดง 3 เวที บริเวณท้องสนามหลวงด้านทิศเหนือ เริ่มการแสดงตั้งแต่เวลา 19.00 น. ของวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันรุ่งขึ้นของวันที่ 16 พฤศจิกายน 2551 ดังนี้ เวทีที่ 1 (ตั้งอยู่กลางท้องสนามหลวง) มีการแสดงหนังใหญ่และโขนเรื่องรามเกียรติ์ เวทีที่ 2 (ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีการแสดงวงดุริยางค์เยาวชน T.Y.O. (THAILAND YOUTH SYMPHONY ORCHESTRA) วงซิมโฟนีออร์เคสตร้าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วงดุริยางค์สากลของกรมศิลปากร NSO (NATIONAL SYPHONY ORCHESTRA) และวงดุริยางค์ผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร เวทีที่ 3 (ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามศาลฎีกา) มีการแสดงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณี หุ่นละครเล็กเรื่องกำเนิดพระคเณศร์ ของคณะโจหลุยส์ และละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์เสี่ยงว่าว - กุมภณฑ์ถวายม้า
คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานงานการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ได้มีการดำเนินการ ดังนี้ การจัดตั้งศูนย์สื่อมวลชน ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อบริการแก่สื่อมวลชน ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ ช่างภาพ นักข่าว นิตยสาร ที่ต้องการได้รับข้อมูล ความเคลื่อนไหวของการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ซึ่งจะเปิดให้บริการระหว่างวันที่ 12 — 25 พฤศจิกายน 2551 การจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดโทรทัศน์ ณ ห้องออกผลรางวัล สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการบูรณาการการทำงานระหว่างโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ 3 5 7 โมเดิร์นไนน์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ THAI TV GLOBAL NETWORK ซึ่งจะเปิดให้บริการระหว่างวันที่ 12 — 20 พฤศจิกายน 2551 การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ณ มณฑลพระราชพิธี ระหว่างวันที่ 18 — 30 พฤศจิกายน 2551
คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก ได้ดำเนินการโดยมอบหมาย 5 หน่วยงาน คือ สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จัดทำหนังสือที่ระลึกและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 รายการ คือ 1) ดีวีดีสารคดีพระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 2) พระปิยโสทรเชษฐภคนี : ร้อยกรองน้อมสำนึกพระกรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 3) จดหมายเหตุประชาชน : ข่าวสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์จากหนังสือพิมพ์ 4) เครื่องประกอบพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 5) จดหมายเหตุพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยกรมศิลปากร 6) พระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉบับอักษรเบรลล์ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 7) แผ่นพับพระประวัติ พระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 8) หนังสือพระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยสำนักราชเลขาธิการ และ 9) ศิลปกรรมพระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งหนังสือที่ระลึกและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนี้จะได้แจกให้ผู้ร่วมเฝ้าฯ โดยแจกเป็นบัตร รับหนังสือ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--