โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียืนยันการใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาททำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ถือเป็นการสิ้นเปลือง แต่เป็นการสร้างงานในประเทศ และประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่าควรจะแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ
วันนี้ เมื่อเวลา 11.10 น. พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คุยนอกทำเนียบกับทีมโฆษกรัฐบาล” ทางคลื่น FM 92.5 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะให้มีการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าสิ้นเปลืองงบประมาณ ว่า การใช้เงินจำนวน 2,000 ล้านบาทเพื่อจะทำประชามติเป็นเรื่องที่ควรทำ เนื่องจากประเทศมีความแตกแยกทางความคิดในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาก คนที่ต่อต้านก็พยายามที่จะต่อต้านไม่ต้องการให้มีการแก้ไข ส่วนคนที่คิดว่าควรแก้ไขก็ต้องการให้มีการแก้ไข แต่ประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตย คำว่า “ประชาธิปไตย” หมายความว่าตัดสินโดยเสียงข้างมาก ถ้าเป็นระบอบเผด็จการคือตัดสินโดยผู้นำ ความจริงหน้าที่ในการแก้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่ประชาชนก็มีสิทธิจะออกความคิดเห็นได้ และผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ นักการเมือง หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จะต้องรับฟังเสียงข้างมาก ฝ่ายที่ต้องการแก้คือ ส.ส. ก็ยื่นญัตติเรื่องนี้เข้าสภา ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือนกว่าจะเปิดสมัยประชุมสภา แต่นายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่าเพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจและทราบความต้องการของประชาชน จึงเสนอให้มีการทำประชามติ โดยจะใช้เวลา 4-5 วัน และสามารถจะออกเป็นพระราชกำหนดเพื่อทำประชามติได้ ส่วนงบประมาณจำนวน 2,000 ล้านบาทที่จะใช้ทำประชามตินั้น ก็จะหมุนเวียนอยู่ในประเทศและเป็นการสร้างงานในประเทศ เพราะฉะนั้น ไม่ได้เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ และประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียืนยันด้วยว่า รัฐบาลไม่ได้ห่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน เพราะรัฐบาลชุดนี้ทำงานอยู่ตลอดเวลาไม่ได้นิ่งเฉย ขณะที่การแก้รัฐธรรมนูญนั้น รัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เพียงแต่เสนอด้วยวาจาเท่านั้น และส่งเรื่องไปให้ ส.ส.ที่เกี่ยวข้อง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เมื่อเวลา 11.10 น. พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คุยนอกทำเนียบกับทีมโฆษกรัฐบาล” ทางคลื่น FM 92.5 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะให้มีการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าสิ้นเปลืองงบประมาณ ว่า การใช้เงินจำนวน 2,000 ล้านบาทเพื่อจะทำประชามติเป็นเรื่องที่ควรทำ เนื่องจากประเทศมีความแตกแยกทางความคิดในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาก คนที่ต่อต้านก็พยายามที่จะต่อต้านไม่ต้องการให้มีการแก้ไข ส่วนคนที่คิดว่าควรแก้ไขก็ต้องการให้มีการแก้ไข แต่ประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตย คำว่า “ประชาธิปไตย” หมายความว่าตัดสินโดยเสียงข้างมาก ถ้าเป็นระบอบเผด็จการคือตัดสินโดยผู้นำ ความจริงหน้าที่ในการแก้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่ประชาชนก็มีสิทธิจะออกความคิดเห็นได้ และผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ นักการเมือง หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จะต้องรับฟังเสียงข้างมาก ฝ่ายที่ต้องการแก้คือ ส.ส. ก็ยื่นญัตติเรื่องนี้เข้าสภา ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือนกว่าจะเปิดสมัยประชุมสภา แต่นายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่าเพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจและทราบความต้องการของประชาชน จึงเสนอให้มีการทำประชามติ โดยจะใช้เวลา 4-5 วัน และสามารถจะออกเป็นพระราชกำหนดเพื่อทำประชามติได้ ส่วนงบประมาณจำนวน 2,000 ล้านบาทที่จะใช้ทำประชามตินั้น ก็จะหมุนเวียนอยู่ในประเทศและเป็นการสร้างงานในประเทศ เพราะฉะนั้น ไม่ได้เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ และประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียืนยันด้วยว่า รัฐบาลไม่ได้ห่วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน เพราะรัฐบาลชุดนี้ทำงานอยู่ตลอดเวลาไม่ได้นิ่งเฉย ขณะที่การแก้รัฐธรรมนูญนั้น รัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เพียงแต่เสนอด้วยวาจาเท่านั้น และส่งเรื่องไปให้ ส.ส.ที่เกี่ยวข้อง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--