พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2551
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2551 ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม รองนายกรัฐมนตรีได้แถลงผลการประชุมว่า
การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ถือเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล โดยบรรจุให้เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากเป็นทางเลือกที่มีศัยกภาพในการพัฒนาเกษตรของไทยอย่างยั่งยืน ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงและปลอดภัยในสุขภาพ รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและ ในประเทศในแถบยุโรป ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทย ที่จะได้พัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกที่มีการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตอาหารและสินค้าที่เป็นเกษตรอินทรีย์ เช่น ขณะนี้ผ้าฝายอินทรีย์ของไทย กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก
ในอนาคตประเทศไทยจะใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตอาหารให้น้อยลง โดยสัดส่วนการใช้ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยเคมี 30% ปุ๋ยอินทรีย์ 70% และจะค่อย ๆ ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงเรื่อย ๆ จนเลิกใช้ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในการผลิตสินค้าและอาหารที่ปลอดสารพิษ และขณะนี้จังหวัดสุรินทร์ ถือเป็นจังหวัดแรกที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของเกษตรอินทรีย์ และคณะกรรมการชุดนี้ กำลังเร่งพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคควบคู่กับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสุขภาพและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
สำหรับร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551-2554 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ นั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นบ้าน 3) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ 4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ องค์กรพัฒนาเอกชน และปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและดำเนินการวางระบบประสานงาน และการดำเนินงาน เพื่อกำกับดูแลเร่งรัดการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดความเรียบร้อย รวมทั้งกำหนดกรอบในการ ดำเนินการประเมินผล
การประชุมในวันนี้ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551-2554 พร้อมขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำ โครงการที่สำคัญ ภายใต้ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้และนวัตกรรม อาทิ โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล โครงการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรเพื่อสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานเกษตรอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โครงการอบรมผู้นำกลุ่มเกษตรกรแกนหลัก/ผู้บริหาร โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานให้เกิด ประสิทธิภาพมากขึ้น และมอบหมายหมายให้ฝ่ายเลขานุการร่วม ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการ ตามแผนปฏิบัติการฯ แล้วนำเสนอ คณะกรรมการฯ อีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2551 ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม รองนายกรัฐมนตรีได้แถลงผลการประชุมว่า
การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ถือเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล โดยบรรจุให้เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากเป็นทางเลือกที่มีศัยกภาพในการพัฒนาเกษตรของไทยอย่างยั่งยืน ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงและปลอดภัยในสุขภาพ รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและ ในประเทศในแถบยุโรป ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทย ที่จะได้พัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกที่มีการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตอาหารและสินค้าที่เป็นเกษตรอินทรีย์ เช่น ขณะนี้ผ้าฝายอินทรีย์ของไทย กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก
ในอนาคตประเทศไทยจะใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตอาหารให้น้อยลง โดยสัดส่วนการใช้ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยเคมี 30% ปุ๋ยอินทรีย์ 70% และจะค่อย ๆ ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงเรื่อย ๆ จนเลิกใช้ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในการผลิตสินค้าและอาหารที่ปลอดสารพิษ และขณะนี้จังหวัดสุรินทร์ ถือเป็นจังหวัดแรกที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของเกษตรอินทรีย์ และคณะกรรมการชุดนี้ กำลังเร่งพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคควบคู่กับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสุขภาพและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
สำหรับร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551-2554 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ นั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นบ้าน 3) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ 4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ องค์กรพัฒนาเอกชน และปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและดำเนินการวางระบบประสานงาน และการดำเนินงาน เพื่อกำกับดูแลเร่งรัดการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดความเรียบร้อย รวมทั้งกำหนดกรอบในการ ดำเนินการประเมินผล
การประชุมในวันนี้ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551-2554 พร้อมขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำ โครงการที่สำคัญ ภายใต้ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรู้และนวัตกรรม อาทิ โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล โครงการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรเพื่อสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานเกษตรอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โครงการอบรมผู้นำกลุ่มเกษตรกรแกนหลัก/ผู้บริหาร โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานให้เกิด ประสิทธิภาพมากขึ้น และมอบหมายหมายให้ฝ่ายเลขานุการร่วม ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการ ตามแผนปฏิบัติการฯ แล้วนำเสนอ คณะกรรมการฯ อีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--