นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก (คอพ.) ครั้งที่ 2 / 2551
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก (คอพ.) ครั้งที่ 2 / 2551 โดยมี นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายพงศ์โพยม วาศภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวม 21 ราย และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ภายหลังการประชุม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการแถลงข่าวสรุปสาระสำคัญว่า ที่ประชุมวันนี้ได้หารือร่วมกันถึงการสนับสนุนให้ประชาชนผู้ใช้รถได้ใช้พลังงานทางเลือกทดแทนการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันดังนี้ คือ 1.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ได้มีการรณรงค์โฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนผู้ใช้รถยนต์ได้เติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้มากที่สุด ซึ่งจากข้อมูลขณะนี้พบว่าผู้ใช้รถยนต์ในปัจจุบันประมาณร้อยละ 50 ยังไม่เติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 2. ให้มีการพัฒนาพลังงานทางเลือกแก๊สโซฮอล์ E10 E20 E85 ให้เร็วที่สุด 3. บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะเร่งดำเนินการผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกแก๊สเอ็นจีวีเพื่อออกจำหน่ายให้กับประชาชนภายในปลายปีนี้เพิ่มขึ้น รวม 4 ราย แบ่งเป็นในระบบ Bi-fuel 3 ราย คือ โตโยต้า นิสสัน มิตซูบิชิ โดยโตโยต้าจะเน้นการผลิตเฉพาะรถแท็กซี่ก่อน ขณะที่ทาทามอเตอร์จะผลิตเฉพาะรถกระบะที่ใช้แก๊สเอ็นจีวีเพียงชนิดเดียว นอกจากนี้ ในส่วนของรถบรรทุกยี่ห้อฮีโน่ก็จะมีการจำหน่ายรถบรรทุกใช้แก๊สเอ็นจีวีประมาณกลางปี 2552 ด้วย ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่จำหน่ายรถยนต์ในระบบ Bi-fuel ในตลาดรถยนต์แล้ว 2 รายคือเมอร์ซีเดสเบนซ์และเชฟโรเล็ต
นอกจากนี้ รองปลัดกระทรวงพลังงานได้กล่าวถึงปัญหาการให้บริการของสถานีบริการแก๊สเอ็นจีวีที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการกับประชาชนในขณะนี้ว่า คณะกรรมการติดตามการดำเนินการขยายบริการและส่งเสริมการใช้แก๊สธรรมชาติในรถยนต์หรือเอ็นจีวี ได้ปรับแผนธุรกิจโดยเพิ่มการขยายสถานีบริการให้เพิ่มขึ้น จากที่ต้นปี 2551 มีประมาณ 160 สถานี โดยได้เพิ่มเป็น 200 สถานีแล้วในวันนี้ และจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปลายปีนี้เป็น 320 สถานี 420 สถานีในปลายปี 2552 และจะเพิ่มเป็น 725 สถานีทั่วประเทศภายในปี 2555 โดยขณะนี้มีปริมาณการให้บริการแก๊สวันละ 1,600 ตัน และจะเพิ่มเป็น 5,200 ตันต่อวันได้ในปลายปีนี้ ทั้งนี้ จะให้ดำเนินการเร่งรัดการบริการให้ทั่วถึงโดยเร็วที่สุด
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก (คอพ.) ครั้งที่ 2 / 2551 โดยมี นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายพงศ์โพยม วาศภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวม 21 ราย และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ภายหลังการประชุม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการแถลงข่าวสรุปสาระสำคัญว่า ที่ประชุมวันนี้ได้หารือร่วมกันถึงการสนับสนุนให้ประชาชนผู้ใช้รถได้ใช้พลังงานทางเลือกทดแทนการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันดังนี้ คือ 1.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ได้มีการรณรงค์โฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนผู้ใช้รถยนต์ได้เติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้มากที่สุด ซึ่งจากข้อมูลขณะนี้พบว่าผู้ใช้รถยนต์ในปัจจุบันประมาณร้อยละ 50 ยังไม่เติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 2. ให้มีการพัฒนาพลังงานทางเลือกแก๊สโซฮอล์ E10 E20 E85 ให้เร็วที่สุด 3. บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะเร่งดำเนินการผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกแก๊สเอ็นจีวีเพื่อออกจำหน่ายให้กับประชาชนภายในปลายปีนี้เพิ่มขึ้น รวม 4 ราย แบ่งเป็นในระบบ Bi-fuel 3 ราย คือ โตโยต้า นิสสัน มิตซูบิชิ โดยโตโยต้าจะเน้นการผลิตเฉพาะรถแท็กซี่ก่อน ขณะที่ทาทามอเตอร์จะผลิตเฉพาะรถกระบะที่ใช้แก๊สเอ็นจีวีเพียงชนิดเดียว นอกจากนี้ ในส่วนของรถบรรทุกยี่ห้อฮีโน่ก็จะมีการจำหน่ายรถบรรทุกใช้แก๊สเอ็นจีวีประมาณกลางปี 2552 ด้วย ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่จำหน่ายรถยนต์ในระบบ Bi-fuel ในตลาดรถยนต์แล้ว 2 รายคือเมอร์ซีเดสเบนซ์และเชฟโรเล็ต
นอกจากนี้ รองปลัดกระทรวงพลังงานได้กล่าวถึงปัญหาการให้บริการของสถานีบริการแก๊สเอ็นจีวีที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการกับประชาชนในขณะนี้ว่า คณะกรรมการติดตามการดำเนินการขยายบริการและส่งเสริมการใช้แก๊สธรรมชาติในรถยนต์หรือเอ็นจีวี ได้ปรับแผนธุรกิจโดยเพิ่มการขยายสถานีบริการให้เพิ่มขึ้น จากที่ต้นปี 2551 มีประมาณ 160 สถานี โดยได้เพิ่มเป็น 200 สถานีแล้วในวันนี้ และจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปลายปีนี้เป็น 320 สถานี 420 สถานีในปลายปี 2552 และจะเพิ่มเป็น 725 สถานีทั่วประเทศภายในปี 2555 โดยขณะนี้มีปริมาณการให้บริการแก๊สวันละ 1,600 ตัน และจะเพิ่มเป็น 5,200 ตันต่อวันได้ในปลายปีนี้ ทั้งนี้ จะให้ดำเนินการเร่งรัดการบริการให้ทั่วถึงโดยเร็วที่สุด
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--