นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กพต. ซึ่งเห็นชอบแผนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2551-2554 ตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวงเงิน 58,039.353 ล้านบาท
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 2/2551 โดยมี ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลโท วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พลตำรวจโท อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม
นายกรัฐมนตรีแจ้งให้ที่ประชุมทราบผลการเดินทางไปปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 ที่ประชุมยังได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานในมาตรการ/แผนงาน/โครงการ ดังนี้ การร่วมทุนกับภาคเอกชนในการจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมทหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการในการรักษานักลงทุนในพื้นที่ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ มาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสัตว์น้ำ การพัฒนาด่านชายแดน การส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล การเพิ่มประสิทธิภาพยางพารา การพัฒนาการศึกษา การก่อสร้างโรงพยาบาลกรงปินัง จังหวัดยะลา การแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี การจัดตั้งศูนย์ปราบปรามประมงทะเลปัตตานี การจัดตั้งศูนย์สันติภาพ การพัฒนาศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ และการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่ประชุมเห็นชอบแผนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2551-2554 ตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวงเงิน 58,039.353 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การคุ้มครองความปลอดภัย อำนวยความเป็นธรรมเพื่อความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐ และสร้างภูมิคุ้มกันแก่คนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 36 โครงการ 2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้แก่ผู้มีรายได้น้อยให้พึ่งตนเองได้ จำนวน 83 โครงการ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต จำนวน 104 โครงการ 4) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจของพื้นที่และการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ จำนวน 135 โครงการ และ 5) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ซึ่งเป็นการปรับปรุงระเบียบ กฎหมายต่างๆ ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้แผนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2551-2554 เป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 โดยให้ส่วนราชการที่มีแผนงาน/โครงการ ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ บรรจุแผนงาน/โครงการดังกล่าวไว้ในแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ และทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2552-2554 และให้จังหวัดบรรจุแผนงาน/โครงการดังกล่าวไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดของแต่ละจังหวัด ทั้งนี้ ให้สำนักงบประมาณใช้แผนพัฒนาในเขตพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2552-2554 เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาเป็นพิเศษในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2554
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. เป็นเจ้าภาพหลักเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือแนวทางจัดตั้งศูนย์ประสานงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหน่วยงานระดับศูนย์หรือสำนักในทุกกระทรวงและกรมหลักที่มีบทบาทสำคัญ เพื่อเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อกระทรวง รวมทั้งการประสานนโยบายและการดำเนินการกับ ศอ.บต. คณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจฯ (กพต.) และหน่วยงานต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" และนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 2/2551 โดยมี ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลโท วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พลตำรวจโท อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม
นายกรัฐมนตรีแจ้งให้ที่ประชุมทราบผลการเดินทางไปปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 ที่ประชุมยังได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานในมาตรการ/แผนงาน/โครงการ ดังนี้ การร่วมทุนกับภาคเอกชนในการจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมทหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการในการรักษานักลงทุนในพื้นที่ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ มาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสัตว์น้ำ การพัฒนาด่านชายแดน การส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล การเพิ่มประสิทธิภาพยางพารา การพัฒนาการศึกษา การก่อสร้างโรงพยาบาลกรงปินัง จังหวัดยะลา การแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี การจัดตั้งศูนย์ปราบปรามประมงทะเลปัตตานี การจัดตั้งศูนย์สันติภาพ การพัฒนาศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ และการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่ประชุมเห็นชอบแผนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2551-2554 ตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวงเงิน 58,039.353 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การคุ้มครองความปลอดภัย อำนวยความเป็นธรรมเพื่อความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐ และสร้างภูมิคุ้มกันแก่คนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 36 โครงการ 2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้แก่ผู้มีรายได้น้อยให้พึ่งตนเองได้ จำนวน 83 โครงการ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต จำนวน 104 โครงการ 4) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจของพื้นที่และการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ จำนวน 135 โครงการ และ 5) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ซึ่งเป็นการปรับปรุงระเบียบ กฎหมายต่างๆ ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้แผนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2551-2554 เป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 โดยให้ส่วนราชการที่มีแผนงาน/โครงการ ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ บรรจุแผนงาน/โครงการดังกล่าวไว้ในแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ และทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2552-2554 และให้จังหวัดบรรจุแผนงาน/โครงการดังกล่าวไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดของแต่ละจังหวัด ทั้งนี้ ให้สำนักงบประมาณใช้แผนพัฒนาในเขตพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2552-2554 เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาเป็นพิเศษในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2554
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. เป็นเจ้าภาพหลักเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือแนวทางจัดตั้งศูนย์ประสานงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหน่วยงานระดับศูนย์หรือสำนักในทุกกระทรวงและกรมหลักที่มีบทบาทสำคัญ เพื่อเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อกระทรวง รวมทั้งการประสานนโยบายและการดำเนินการกับ ศอ.บต. คณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจฯ (กพต.) และหน่วยงานต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" และนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--