นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงสิทธิของผู้บริโภคตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ระหว่างการบรรยายเรื่อง "กระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคในมิติอัยการ"
วันนี้ (12 พฤษภาคม 2551) นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บรรยายพิเศษ เรื่อง “กระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคในมิติอัยการ” ณ เจ้าพระยาบอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค
“เราทุกคน ณ ที่นี้ ถือเป็นผู้บริโภค กันทุกคน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญของเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคคือการตระหนักรู้ในสิทธิ์ที่พึงจะมีในฐานะผู้บริโภค”
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงสิทธิของผู้บริโภคตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 5 ประการ คือ
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
ที่ผ่านมาผู้บริโภคมีปัญหาเรื่องการได้รับความไม่เป็นธรรมจากผู้ประกอบการถูกเอารัดเอาเปรียบ จนได้รับความเสียหาย เรื่องที่ได้รับข้อร้องเรียนมากที่สุดตามลำดับเป็นเรื่องโฆษณา สินค้าบริการ สัญญา และอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ในโอกาสนี้ถือเป็นการทำงานในยุคใหม่เน้นการบูรณาการ จึงขอความร่วมมืออัยการสูงสุดที่จะทำงานร่วมกันกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีนโยบายหลัก 4 ประเด็น เพื่อให้การทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนี้
1. ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค ต้องให้ความสำคัญและให้น้ำหนักไปที่ผู้บริโภคมากกว่าผู้ประกอบธุรกิจ เพราะผู้บริโภคเป็นผู้ที่ด้อยกว่าผู้ประกอบธุรกิจ
2. เร่งรัดการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคให้เป็นไปโดยรวดเร็ว
3. ให้พนักงานอัยการในส่วนภูมิภาค เน้นการสร้างความเข้มแข็งและการตระหนักรู้ถึงสิทธิของผู้บริโภคในชุมชน
4. ให้พนักงานอัยการเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคให้เจ้าหน้าที่ สคบ. เพื่อลดภาระการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (12 พฤษภาคม 2551) นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บรรยายพิเศษ เรื่อง “กระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคในมิติอัยการ” ณ เจ้าพระยาบอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค
“เราทุกคน ณ ที่นี้ ถือเป็นผู้บริโภค กันทุกคน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญของเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคคือการตระหนักรู้ในสิทธิ์ที่พึงจะมีในฐานะผู้บริโภค”
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงสิทธิของผู้บริโภคตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 5 ประการ คือ
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
ที่ผ่านมาผู้บริโภคมีปัญหาเรื่องการได้รับความไม่เป็นธรรมจากผู้ประกอบการถูกเอารัดเอาเปรียบ จนได้รับความเสียหาย เรื่องที่ได้รับข้อร้องเรียนมากที่สุดตามลำดับเป็นเรื่องโฆษณา สินค้าบริการ สัญญา และอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ในโอกาสนี้ถือเป็นการทำงานในยุคใหม่เน้นการบูรณาการ จึงขอความร่วมมืออัยการสูงสุดที่จะทำงานร่วมกันกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีนโยบายหลัก 4 ประเด็น เพื่อให้การทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนี้
1. ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค ต้องให้ความสำคัญและให้น้ำหนักไปที่ผู้บริโภคมากกว่าผู้ประกอบธุรกิจ เพราะผู้บริโภคเป็นผู้ที่ด้อยกว่าผู้ประกอบธุรกิจ
2. เร่งรัดการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคให้เป็นไปโดยรวดเร็ว
3. ให้พนักงานอัยการในส่วนภูมิภาค เน้นการสร้างความเข้มแข็งและการตระหนักรู้ถึงสิทธิของผู้บริโภคในชุมชน
4. ให้พนักงานอัยการเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคให้เจ้าหน้าที่ สคบ. เพื่อลดภาระการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--