นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน ครั้งที่ 20 (The 20th ASEAN Labour Ministers )หัวข้อ "การส่งเสริม ปรับปรุง เพื่อนำไปสู่การมีงานทำที่มีคุณค่าให้กับกลุ่มแรงงานที่เสียเปรียบ" Promotion and Enhancement of Decent Work for the Vulnerable Categories of Labour) ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
ช่วงเช้า เวลา 8.30 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เดินทางถึงโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ โดยนางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจากประเทศจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นายฮวน โซมาเวีย ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ นายนิโคลัส แดมเม็น รองเลขาธิการอาเซียน เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ณ ห้องอมรินทร์ 2 และ 3 เพื่อแนะนำตัวอย่างไม่เป็นทางการ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความห่วงใยต่อภัยธรรมชาติในพม่า พร้อมกล่าวแสดงความชื่นชมสหภาพพม่า ที่ร่วมส่งผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย
จากนั้น นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังห้องประชุมเพื่อกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน ครั้งที่ 20 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน ครั้งที่ 20 การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงานถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้กรอบอาเซียนที่กำหนดขึ้นมาเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านแรงงานทั้งภายในและภายนอกอาเซียน นายกรัฐมนตรีเชื่อว่าเมื่อยกร่างธรรมนูญอาเซียนและยกร่างประชาคมความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเสร็จสมบูรณ์และประเทศสมาชิกได้ให้การรับรองและลงนามในช่วงปลายปีนี้ที่กรุงเทพมหานคร เราจะได้เห็นความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือด้านแรงงานเพิ่มขึ้น
การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน ครั้งที่ 20 จะหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหัวข้อเรื่อง “การส่งเสริม ปรับปรุง เพื่อนำไปสู่การมีงานทำที่มีคุณค่าให้กับกลุ่มแรงงานที่เสียเปรียบ” การกำหนดหัวข้อดังกล่าวได้ดำเนินการอย่างเหมาะสมแก่เวลาและตอบสนองต่อความท้าทายที่เป็นปัญหาในขณะนี้ สำหรับในเรื่องนี้ประเทศไทยขอสนับสนุนอาเซียนและ ILO ในการส่งเสริมการทำงานที่มีคุณค่าสำหรับประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานในรูปแบบที่เสียเปรียบหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในตลาดแรงงาน อาทิ แรงงานสตรี คนหางานที่เป็นเยาวชน และแรงงานคนพิการ เป็นต้น
การประชุมในหัวข้อเรื่องนี้มีความสำคัญต่อภูมิภาคอาเซียนเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงระหว่างปี 2005-2006 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศกลุ่มอาเซียนมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 5.7 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งการเติบโตดังกล่าวเป็นที่น่าพอใจแม้ว่าไม่อาจเปรียบเทียบกับกรณีของอินเดียและจีนได้ก็ตาม ในส่วนของการขจัดปัญหาความยากจนพบว่า กลุ่มอาเซียนสามารถลดจำนวนคนยากจนได้ อย่างไรก็ตาม ในปี 2006 จากกำลังแรงงานทั้งหมด 263 ล้านคน ในอาเซียนมีจำนวนเกือบ 150 ล้านคน ที่มีรายได้เพียง 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน และในจำนวนนี้ มีประชากรถึง 28.5 ล้านคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์เส้นความยากจน หรือมีรายได้น้อยกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน
หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้เห็นตัวเลขดังกล่าว ประเทศไทยตระหนักว่าปัญหาของอาเซียนไม่ใช่ประเด็นเรื่องการขาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่เป็นเพราะแรงงานของอาเซียนเองมีปัญหาทำงานไม่มีผลิตภาพและไม่สามารถใช้แรงงานของตนได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้แรงงานมีรายได้ไม่พอเพียงที่จะบรรลุถึงการทำงานที่มีคุณค่า
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในปัจจุบันนี้การจ้างงานใหม่จำนวนมากในอาเซียนที่ช่วยเพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจอยู่ในภาคเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ ประชากรที่เข้าสู่ภาคเศรษฐกิจนอกระบบเนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือริเริ่มธุรกิจของตนเองได้ภายใต้กรอบของภาคในระบบ นอกจากนั้นแรงงานยังคิดว่าการเข้าทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคนอกระบบหรือออกจากระบบง่ายกว่าภาคเศรษฐกิจในระบบและยังมีต้นทุนสำหรับการลงทุนต่ำ
ด้วยเหตุนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศจึงมีการจ้างงานนอกระบบที่อยู่นอกภาคเกษตรกรรมถึง 60 เปอร์เซ็นต์ และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานที่ไม่มีปากมีเสียงและด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบ อีกทั้งยังทำงานที่ขาดผลิตภาพเพราะเขาขาดทักษะฝีมือ นอกจากนั้นยังยากต่อการเข้าถึงข้อมูล ตลาด สินเชื่อ การฝึกอบรม และประกันสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานสตรีและเยาวชนมีสถานภาพการทำงานไม่มั่นคง ต้องหางานทำโดยประกอบอาชีพอิสระ หรือไม่ก็ช่วยทำงานในครอบครัวโดยไม่มีรายได้ หรือไม่ก็ทำงานประเภทหาเช้ากินค่ำ
อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ประเด็นปัญหาที่ยกขึ้นกล่าวข้างต้น ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตในระดับโลกและรูปแบบการจ้างงานใหม่ๆ ปรากฏการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดแรงงานในทุกภาคส่วนของโลกไม่เว้นแม้แต่กับประเทศซึ่งมีระบบตลาดแรงงานที่เข้มแข็งหรือมีกฎเกณฑ์ครอบคลุมเป็นอย่างดีไว้แล้วก็ตาม เพราะฉะนั้นปัญหานี้จึงไม่อาจพิจารณาว่าเป็นเพียงแค่ปัญหาชั่วคราวหรือปรากฏการณ์ที่ตกค้างได้อีกต่อไป ที่ผ่านมา ILO มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้มากและถือเป็นหน่วยงานแรกซึ่งใช้คำว่า “ภาคนอกระบบ” เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วมา
นอกจากนั้นในการประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ 78 ในปี 1991 ได้มีการอภิปรายถึงวิกฤตในเรื่องแรงงานนอกระบบที่นำมาซึ่งความเห็นแตกต่างระหว่างการสร้างงานที่มีคุณภาพ (ซึ่งสร้างได้ไม่มากนัก) กับจำนวนตำแหน่งงานที่สร้างขึ้นมาแต่ขาดการคุ้มครองเพื่อรองรับแรงงานซึ่งไม่มีทางเลือกทางอื่น และจำเป็นต้องทำงานอะไรก็ได้ที่มีโอกาส เนื่องจากแรงงานในอาเซียนนั้นยากจนเกินไปที่จะอยู่เฉย ๆ ได้โดยไม่ทำงาน
ประเทศไทยให้ความสำคัญในระดับต้น ๆ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคน นายกรัฐมนตรี เชื่อว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และหากพิจารณาถึงเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goal) และปฏิญญา ILO ว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานแล้ว จะเห็นความก้าวหน้าในเชิงปริมาณซึ่งประเทศไทยสามารถลดจำนวนประชากรยากจนให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ด้านสุขภาพและรายได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเชิงคุณภาพยังมีช่องว่างที่จะต้องรีบแก้ไขหรือลดช่องว่างลงสำหรับแรงงานบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างแรงงานในเมืองกับชนบท หรือแรงงานในระบบกับนอกระบบ
สำหรับบทบาทของอาเซียนนั้น นายกรัฐมนตรีต้องขอขอบคุณสำนักเลขาธิการอาเซียนและประเทศสมาชิกที่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอโครงการด้านแรงงาน และขอขอบคุณรัฐบาลประเทศสิงคโปร์ที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนเมื่อ 2 ปีที่แล้วซึ่งได้เสนอจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาผลกระทบการบูรณาการของอาเซียนที่มีต่อตลาดแรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค สำหรับสิงคโปร์ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในสิ้นปีนี้
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีขอขอบคุณประเทศหุ้นส่วนของอาเซียนทั้ง 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่ยังคงให้ความสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังแรงงานในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานกลุ่มด้อยโอกาสและยังไม่ได้รับการคุ้มครองที่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พวกเราอาเซียนได้เห็นการทำงานของ ILO ในการช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานด้อยโอกาสให้บรรลุถึงเป้าหมายการทำงานที่มีคุณค่าและความพยายามที่จะผลักดันให้ทุกประเทศปฏิบัติตามแนวทาง “งานที่มีคุณค่า” (Decent Work) ซึ่งงานที่มีคุณค่านั้นแม้จะเป็นเพียงแค่เป้าหมายหรือจุดหมายที่ต้องไปให้ถึง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว Decent Work ได้กลายเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญสำหรับประเทศสมาชิกในการนำไปออกมาตรการกำกับดูแลตลาดแรงงาน เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานในประเทศของตนสามารถปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้ โดยกำหนดมาตรการยืดหยุ่นในตลาดแรงงานเพื่อให้กำลังแรงงานสามารถปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงกล่าวโดยสรุปคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นสามารถมีบทบาทสำคัญในการแนะนำ สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ และร่วมมือกัน
อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขปัญหาแรงงานกลุ่มด้อยโอกาสที่มีประสิทธิผลควรคำนึงถึงและเข้าถึงปัญหาระดับรากหญ้า สิ่งหนึ่งที่ภาคเศรษฐกิจนอกระบบมีร่วมกันก็คือ แรงงานยังขาดการคุ้มครองที่พอเพียงและยังอยู่นอกระบบของกฎเกณฑ์ที่ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีฐานะเสียเปรียบ เนื่องจากไม่มีอำนาจต่อรองเทียบเท่ากับภาคเศรษฐกิจในระบบ ความสัมพันธ์ในการจ้างงานก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มด้อยโอกาส
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขจัดอุปสรรคเชิงโครงสร้างดังกล่าวออกไปด้วยการตระหนักและบูรณาการพวกเขาเข้ามาสู่กรอบของกระแสหลักอย่างถูกต้องและเป็นธรรม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีไม่มีข้อสงสัยเลยว่าการประชุมครั้งนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนที่ผ่านมา ที่ทำให้พวกเรามีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และยังผลักดันเจตนารมณ์ของอาเซียนในการดำเนินงานตามข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นด้านแรงงานทั้งในเวทีการประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศด้านแรงงานอื่น ๆ ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีหวังจะได้ทราบและเห็นการประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามที่กำหนดไว้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ช่วงเช้า เวลา 8.30 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เดินทางถึงโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ โดยนางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจากประเทศจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นายฮวน โซมาเวีย ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ นายนิโคลัส แดมเม็น รองเลขาธิการอาเซียน เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ณ ห้องอมรินทร์ 2 และ 3 เพื่อแนะนำตัวอย่างไม่เป็นทางการ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความห่วงใยต่อภัยธรรมชาติในพม่า พร้อมกล่าวแสดงความชื่นชมสหภาพพม่า ที่ร่วมส่งผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย
จากนั้น นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังห้องประชุมเพื่อกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน ครั้งที่ 20 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน ครั้งที่ 20 การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงานถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้กรอบอาเซียนที่กำหนดขึ้นมาเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านแรงงานทั้งภายในและภายนอกอาเซียน นายกรัฐมนตรีเชื่อว่าเมื่อยกร่างธรรมนูญอาเซียนและยกร่างประชาคมความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเสร็จสมบูรณ์และประเทศสมาชิกได้ให้การรับรองและลงนามในช่วงปลายปีนี้ที่กรุงเทพมหานคร เราจะได้เห็นความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือด้านแรงงานเพิ่มขึ้น
การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน ครั้งที่ 20 จะหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหัวข้อเรื่อง “การส่งเสริม ปรับปรุง เพื่อนำไปสู่การมีงานทำที่มีคุณค่าให้กับกลุ่มแรงงานที่เสียเปรียบ” การกำหนดหัวข้อดังกล่าวได้ดำเนินการอย่างเหมาะสมแก่เวลาและตอบสนองต่อความท้าทายที่เป็นปัญหาในขณะนี้ สำหรับในเรื่องนี้ประเทศไทยขอสนับสนุนอาเซียนและ ILO ในการส่งเสริมการทำงานที่มีคุณค่าสำหรับประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานในรูปแบบที่เสียเปรียบหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในตลาดแรงงาน อาทิ แรงงานสตรี คนหางานที่เป็นเยาวชน และแรงงานคนพิการ เป็นต้น
การประชุมในหัวข้อเรื่องนี้มีความสำคัญต่อภูมิภาคอาเซียนเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงระหว่างปี 2005-2006 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศกลุ่มอาเซียนมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 5.7 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งการเติบโตดังกล่าวเป็นที่น่าพอใจแม้ว่าไม่อาจเปรียบเทียบกับกรณีของอินเดียและจีนได้ก็ตาม ในส่วนของการขจัดปัญหาความยากจนพบว่า กลุ่มอาเซียนสามารถลดจำนวนคนยากจนได้ อย่างไรก็ตาม ในปี 2006 จากกำลังแรงงานทั้งหมด 263 ล้านคน ในอาเซียนมีจำนวนเกือบ 150 ล้านคน ที่มีรายได้เพียง 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน และในจำนวนนี้ มีประชากรถึง 28.5 ล้านคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์เส้นความยากจน หรือมีรายได้น้อยกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน
หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้เห็นตัวเลขดังกล่าว ประเทศไทยตระหนักว่าปัญหาของอาเซียนไม่ใช่ประเด็นเรื่องการขาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่เป็นเพราะแรงงานของอาเซียนเองมีปัญหาทำงานไม่มีผลิตภาพและไม่สามารถใช้แรงงานของตนได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้แรงงานมีรายได้ไม่พอเพียงที่จะบรรลุถึงการทำงานที่มีคุณค่า
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในปัจจุบันนี้การจ้างงานใหม่จำนวนมากในอาเซียนที่ช่วยเพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจอยู่ในภาคเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ ประชากรที่เข้าสู่ภาคเศรษฐกิจนอกระบบเนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือริเริ่มธุรกิจของตนเองได้ภายใต้กรอบของภาคในระบบ นอกจากนั้นแรงงานยังคิดว่าการเข้าทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคนอกระบบหรือออกจากระบบง่ายกว่าภาคเศรษฐกิจในระบบและยังมีต้นทุนสำหรับการลงทุนต่ำ
ด้วยเหตุนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศจึงมีการจ้างงานนอกระบบที่อยู่นอกภาคเกษตรกรรมถึง 60 เปอร์เซ็นต์ และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานที่ไม่มีปากมีเสียงและด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบ อีกทั้งยังทำงานที่ขาดผลิตภาพเพราะเขาขาดทักษะฝีมือ นอกจากนั้นยังยากต่อการเข้าถึงข้อมูล ตลาด สินเชื่อ การฝึกอบรม และประกันสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานสตรีและเยาวชนมีสถานภาพการทำงานไม่มั่นคง ต้องหางานทำโดยประกอบอาชีพอิสระ หรือไม่ก็ช่วยทำงานในครอบครัวโดยไม่มีรายได้ หรือไม่ก็ทำงานประเภทหาเช้ากินค่ำ
อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ประเด็นปัญหาที่ยกขึ้นกล่าวข้างต้น ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตในระดับโลกและรูปแบบการจ้างงานใหม่ๆ ปรากฏการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดแรงงานในทุกภาคส่วนของโลกไม่เว้นแม้แต่กับประเทศซึ่งมีระบบตลาดแรงงานที่เข้มแข็งหรือมีกฎเกณฑ์ครอบคลุมเป็นอย่างดีไว้แล้วก็ตาม เพราะฉะนั้นปัญหานี้จึงไม่อาจพิจารณาว่าเป็นเพียงแค่ปัญหาชั่วคราวหรือปรากฏการณ์ที่ตกค้างได้อีกต่อไป ที่ผ่านมา ILO มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้มากและถือเป็นหน่วยงานแรกซึ่งใช้คำว่า “ภาคนอกระบบ” เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วมา
นอกจากนั้นในการประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ 78 ในปี 1991 ได้มีการอภิปรายถึงวิกฤตในเรื่องแรงงานนอกระบบที่นำมาซึ่งความเห็นแตกต่างระหว่างการสร้างงานที่มีคุณภาพ (ซึ่งสร้างได้ไม่มากนัก) กับจำนวนตำแหน่งงานที่สร้างขึ้นมาแต่ขาดการคุ้มครองเพื่อรองรับแรงงานซึ่งไม่มีทางเลือกทางอื่น และจำเป็นต้องทำงานอะไรก็ได้ที่มีโอกาส เนื่องจากแรงงานในอาเซียนนั้นยากจนเกินไปที่จะอยู่เฉย ๆ ได้โดยไม่ทำงาน
ประเทศไทยให้ความสำคัญในระดับต้น ๆ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคน นายกรัฐมนตรี เชื่อว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และหากพิจารณาถึงเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goal) และปฏิญญา ILO ว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานแล้ว จะเห็นความก้าวหน้าในเชิงปริมาณซึ่งประเทศไทยสามารถลดจำนวนประชากรยากจนให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ด้านสุขภาพและรายได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเชิงคุณภาพยังมีช่องว่างที่จะต้องรีบแก้ไขหรือลดช่องว่างลงสำหรับแรงงานบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างแรงงานในเมืองกับชนบท หรือแรงงานในระบบกับนอกระบบ
สำหรับบทบาทของอาเซียนนั้น นายกรัฐมนตรีต้องขอขอบคุณสำนักเลขาธิการอาเซียนและประเทศสมาชิกที่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอโครงการด้านแรงงาน และขอขอบคุณรัฐบาลประเทศสิงคโปร์ที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนเมื่อ 2 ปีที่แล้วซึ่งได้เสนอจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาผลกระทบการบูรณาการของอาเซียนที่มีต่อตลาดแรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค สำหรับสิงคโปร์ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในสิ้นปีนี้
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีขอขอบคุณประเทศหุ้นส่วนของอาเซียนทั้ง 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่ยังคงให้ความสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังแรงงานในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานกลุ่มด้อยโอกาสและยังไม่ได้รับการคุ้มครองที่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พวกเราอาเซียนได้เห็นการทำงานของ ILO ในการช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานด้อยโอกาสให้บรรลุถึงเป้าหมายการทำงานที่มีคุณค่าและความพยายามที่จะผลักดันให้ทุกประเทศปฏิบัติตามแนวทาง “งานที่มีคุณค่า” (Decent Work) ซึ่งงานที่มีคุณค่านั้นแม้จะเป็นเพียงแค่เป้าหมายหรือจุดหมายที่ต้องไปให้ถึง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว Decent Work ได้กลายเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญสำหรับประเทศสมาชิกในการนำไปออกมาตรการกำกับดูแลตลาดแรงงาน เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานในประเทศของตนสามารถปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้ โดยกำหนดมาตรการยืดหยุ่นในตลาดแรงงานเพื่อให้กำลังแรงงานสามารถปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงกล่าวโดยสรุปคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นสามารถมีบทบาทสำคัญในการแนะนำ สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ และร่วมมือกัน
อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขปัญหาแรงงานกลุ่มด้อยโอกาสที่มีประสิทธิผลควรคำนึงถึงและเข้าถึงปัญหาระดับรากหญ้า สิ่งหนึ่งที่ภาคเศรษฐกิจนอกระบบมีร่วมกันก็คือ แรงงานยังขาดการคุ้มครองที่พอเพียงและยังอยู่นอกระบบของกฎเกณฑ์ที่ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีฐานะเสียเปรียบ เนื่องจากไม่มีอำนาจต่อรองเทียบเท่ากับภาคเศรษฐกิจในระบบ ความสัมพันธ์ในการจ้างงานก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มด้อยโอกาส
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขจัดอุปสรรคเชิงโครงสร้างดังกล่าวออกไปด้วยการตระหนักและบูรณาการพวกเขาเข้ามาสู่กรอบของกระแสหลักอย่างถูกต้องและเป็นธรรม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีไม่มีข้อสงสัยเลยว่าการประชุมครั้งนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนที่ผ่านมา ที่ทำให้พวกเรามีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และยังผลักดันเจตนารมณ์ของอาเซียนในการดำเนินงานตามข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นด้านแรงงานทั้งในเวทีการประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศด้านแรงงานอื่น ๆ ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีหวังจะได้ทราบและเห็นการประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามที่กำหนดไว้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--