แท็ก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
ตึกสันติไมตรี
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก ทำเนียบรัฐบาล
วันนี้ เวลา 15.00 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เฝ้ารับเสด็จฯ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน สรุปสาระสำคัญดังนี้
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเป็นที่ปรึกษาในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวันนี้ โดยในการประชุมฯ คณะกรรมการได้รายงานรายละเอียดต่าง ๆ ในการนี้ ทรงให้ข้อคิดว่าควรจะตกลงกันให้เรียบร้อยว่าจะเอาอะไรอย่างไร ทั้งนี้ ขอเรียนว่าสาเหตุที่คณะกรรมการฯ ไม่ได้เลือกวันไว้ตั้งแต่แรกเพราะเป็นการคิดแบบโบราณว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ วันใด สำนักพระราชวังจะแจ้งวันมา จึงจะนำวันมาทำการ ซึ่งพระเมรุจะเสร็จเรียบร้อยในเดือนตุลาคม 2551 คณะกรรมการจึงได้คาดว่าจะมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในเดือนพฤศจิกายน 2551 แต่เมื่อตกลงแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีรับสั่งว่าจะต้องเลือกวัน และทรงให้ดูปฏิทิน ซึ่งเมื่อดูเสร็จเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นว่าอยากจะให้งานทอดกฐิน และงานลอยกระทงซึ่งตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ของประชาชนเสร็จเรียบร้อยก่อน ที่ประชุมจึงได้เลือกวันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน เป็นวันงานพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน เป็นวันเชิญพระโกศออกพระเมรุมาศ และพระราชทานเพลิงพระศพฯ วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน เก็บพระอัฐิที่พระเมรุมาศ และวันจันทร์ที่ 17 ถึงวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน จะเป็นวันงานที่เกี่ยวกับพระอัฐิ คือ พระราชกุศลพระอัฐิ เชิญพระอัฐิ และบรรจุพระสรีรางคาร รวมเวลาการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ทั้งหมด 6 วัน ซึ่งเมื่อคณะกรรมการเลือกวันได้แล้ว ทรงให้ความเห็นต่าง ๆ แล้ว คณะกรรมการแต่ละฝ่ายของคณะกรรมการอำนวยการ ฯ ก็ได้รายงานความคืบหน้าการเตรียมการดำเนินการต่าง ๆ และได้ข้อสรุป
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในการนี้ คณะกรรมการได้กราบบังคมทูลว่า จะต้องขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกครั้ง เพื่อกราบบังคมทูลสรุปเมื่องานจะเสร็จเรียบร้อย และทรงมีพระราชดำรัสว่าเรื่องนี้น่าจะสำเร็จเรียบร้อยถ้าเราเลือกเวลากำหนดเสร็จเรียบร้อย
ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ในวันนี้คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ได้เสนอเรื่องเพื่อทราบและพิจารณาดังนี้
1. คณะกรรมการอำนวยการฯ รับทราบรูปแบบการจัดงานซึ่งยึดแนวทางเช่นเดียวกันกับเมื่อคราวการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งได้กำหนดการจัดงานไว้ 6 วัน ระหว่างวันที่ 14 — 19 พฤศจิกายน 2551 สำหรับการจัดงานพระราชพิธี 6 พิธี คือ งานพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ การเชิญพระโกศออกพระเมรุมาศ การถวายพระเพลิงพระบรมศพ ฯ การเก็บพระบรมอัฐิ การพระราชกุศลพระบรมอัฐิ การบรรจุพระราชสรีรางคาร และได้พิจารณาเห็นชอบให้มีการกำหนดริ้วขบวนพระราชอิสริยยศ รวม 6 ริ้วขบวน ดังนี้
วันพระราชทานเพลิงพระศพ ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศโดยพระยานมาศลำคานจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระมหาพิชัยราชรถหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศโดยพระมหาพิชัยราชรถจากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระโกศโดยพระยานมาศสามลำคานเวียนพระเมรุมาศโดยอุตราวัฏ (เวียนซ้าย) ครบ 3 รอบ แล้วเชิญพระโกศประดิษฐานบนพระเมรุมาศ
วันเก็บพระอัฐิ ริ้วขบวนที่ 4 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยานและพระราชสรีรางคารโดยพระวอสีวิกากาญจน์จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง
วันเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทภายหลังบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยานจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
วันบรรจุพระราชสรีรางคาร ริ้วขบวนที่ 6 เชิญพระราชสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรถยนต์พระที่นั่งไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
โดยการกำหนดริ้วขบวนพระราชอิสริยยศนี้ได้พิจารณาตามแนวทางเมื่อคราวการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ระหว่างวันที่ 9 — 14 มีนาคม 2539) ซึ่งจะได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยต่อไป
2. คณะกรรมการอำนวยการฯ รับทราบผลการดำเนินการก่อสร้างพระเมรุและอาคารประกอบต่าง ๆ รวมถึงการซ่อมบูรณะราชรถและพระยานมาศ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 8 มีนาคม 2551 โดยขณะนี้การก่อสร้างพระเมรุได้วางรากฐานและเสาตอม่อไปแล้วร้อยละ 95 งานวางคารและตงเหล็กแล้วเสร็จร้อยละ 80 ซึ่งคาดว่างานทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้ ในการนี้ ได้เห็นชอบให้กรมศิลปากรพิจารณาเตรียมการเกี่ยวกับการจัดแสดงมหรสพ โดยให้แบ่งเป็น 3 เวที คือ การแสดงโขน หนังใหญ่ 1 เวที การแสดงหุ่นกระบอกของกรมศิลปากรและหุ่นกระบอกจองคณะโจหลุยส์ 1 เวทีและการแสดงดนตรีสากล (ออเคสตาร์) และละคร 1 เวที
3. ที่ประชุมเห็นชอบให้คณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัยและการจราจร ดำเนินการประชาสัมพันธ์และจัดเส้นทางให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับการหมุนเวียนเข้าและออกจากบริเวณมณฑลพิธีฯ ของวันพระราชพิธีฯ ประชาสัมพันธ์การจราจรการห้ามจอดรถตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนพระราชพิธีฯ ปิดการจราจรตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันพระราชพิธีฯ นอกเขตพระนครปิดการจราจรตั้งแต่เวลา 05.00 น.
4. ที่ประชุมรับทราบการจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก เนื่องในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ จำนวน 9 รายการ คือ 1) แผ่นพับพระประวัติและพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ 2) หนังสือพระประวัติและพระกรณียกิจฯ 3) หนังสือจดหมายเหตุพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ 4) หนังสือเรื่องเครื่องประกอบพระอิสริยยศ 5) หนังสือร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติ 6) จดหมายเหตุประชาชน 7) หนังสือศิลปกรรมพระประวัติและพระกรณียกิจ 8) พระประวัติและพระกรณียกิจฯ ฉบับอักษรเบรลล์ และ 9) ดีวีดีสารคดีเฉลิมพระเกียรติเพื่อแจกจ่ายหนังสือให้กับผู้มาร่วมพิธี โดยแจกบัตรรับหนังสือ และจัดส่งไปยังหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ห้องสมุด คณะกรรมการ ฯลฯ
5. คณะกรรมการอำนวยการฯ รับทราบกรณีที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการดำเนินโครงการจัดทำเข็มที่ระลึกงานพระศพเพื่อการประดับและเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกแห่งความทรงจำ ตลอดจนเพื่อนำรายได้ภายหลังหักค่าใช้จ่ายสมทบทุน “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” โดยการจัดทำและการจัดจำหน่ายได้ขอให้กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้จัดทำเข็มที่ระลึกงานพระศพฯ พร้อมกล่องบรรจุ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำบล็อคต้นแบบของเข็มที่ระลึกและพิจารณาออกแบบกล่องบรรจุ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.00 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เฝ้ารับเสด็จฯ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน สรุปสาระสำคัญดังนี้
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเป็นที่ปรึกษาในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวันนี้ โดยในการประชุมฯ คณะกรรมการได้รายงานรายละเอียดต่าง ๆ ในการนี้ ทรงให้ข้อคิดว่าควรจะตกลงกันให้เรียบร้อยว่าจะเอาอะไรอย่างไร ทั้งนี้ ขอเรียนว่าสาเหตุที่คณะกรรมการฯ ไม่ได้เลือกวันไว้ตั้งแต่แรกเพราะเป็นการคิดแบบโบราณว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ วันใด สำนักพระราชวังจะแจ้งวันมา จึงจะนำวันมาทำการ ซึ่งพระเมรุจะเสร็จเรียบร้อยในเดือนตุลาคม 2551 คณะกรรมการจึงได้คาดว่าจะมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในเดือนพฤศจิกายน 2551 แต่เมื่อตกลงแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีรับสั่งว่าจะต้องเลือกวัน และทรงให้ดูปฏิทิน ซึ่งเมื่อดูเสร็จเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นว่าอยากจะให้งานทอดกฐิน และงานลอยกระทงซึ่งตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ของประชาชนเสร็จเรียบร้อยก่อน ที่ประชุมจึงได้เลือกวันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน เป็นวันงานพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน เป็นวันเชิญพระโกศออกพระเมรุมาศ และพระราชทานเพลิงพระศพฯ วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน เก็บพระอัฐิที่พระเมรุมาศ และวันจันทร์ที่ 17 ถึงวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน จะเป็นวันงานที่เกี่ยวกับพระอัฐิ คือ พระราชกุศลพระอัฐิ เชิญพระอัฐิ และบรรจุพระสรีรางคาร รวมเวลาการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ทั้งหมด 6 วัน ซึ่งเมื่อคณะกรรมการเลือกวันได้แล้ว ทรงให้ความเห็นต่าง ๆ แล้ว คณะกรรมการแต่ละฝ่ายของคณะกรรมการอำนวยการ ฯ ก็ได้รายงานความคืบหน้าการเตรียมการดำเนินการต่าง ๆ และได้ข้อสรุป
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในการนี้ คณะกรรมการได้กราบบังคมทูลว่า จะต้องขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกครั้ง เพื่อกราบบังคมทูลสรุปเมื่องานจะเสร็จเรียบร้อย และทรงมีพระราชดำรัสว่าเรื่องนี้น่าจะสำเร็จเรียบร้อยถ้าเราเลือกเวลากำหนดเสร็จเรียบร้อย
ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ในวันนี้คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ได้เสนอเรื่องเพื่อทราบและพิจารณาดังนี้
1. คณะกรรมการอำนวยการฯ รับทราบรูปแบบการจัดงานซึ่งยึดแนวทางเช่นเดียวกันกับเมื่อคราวการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งได้กำหนดการจัดงานไว้ 6 วัน ระหว่างวันที่ 14 — 19 พฤศจิกายน 2551 สำหรับการจัดงานพระราชพิธี 6 พิธี คือ งานพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ การเชิญพระโกศออกพระเมรุมาศ การถวายพระเพลิงพระบรมศพ ฯ การเก็บพระบรมอัฐิ การพระราชกุศลพระบรมอัฐิ การบรรจุพระราชสรีรางคาร และได้พิจารณาเห็นชอบให้มีการกำหนดริ้วขบวนพระราชอิสริยยศ รวม 6 ริ้วขบวน ดังนี้
วันพระราชทานเพลิงพระศพ ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศโดยพระยานมาศลำคานจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระมหาพิชัยราชรถหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศโดยพระมหาพิชัยราชรถจากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระโกศโดยพระยานมาศสามลำคานเวียนพระเมรุมาศโดยอุตราวัฏ (เวียนซ้าย) ครบ 3 รอบ แล้วเชิญพระโกศประดิษฐานบนพระเมรุมาศ
วันเก็บพระอัฐิ ริ้วขบวนที่ 4 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยานและพระราชสรีรางคารโดยพระวอสีวิกากาญจน์จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง
วันเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทภายหลังบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยานจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
วันบรรจุพระราชสรีรางคาร ริ้วขบวนที่ 6 เชิญพระราชสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรถยนต์พระที่นั่งไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
โดยการกำหนดริ้วขบวนพระราชอิสริยยศนี้ได้พิจารณาตามแนวทางเมื่อคราวการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ระหว่างวันที่ 9 — 14 มีนาคม 2539) ซึ่งจะได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยต่อไป
2. คณะกรรมการอำนวยการฯ รับทราบผลการดำเนินการก่อสร้างพระเมรุและอาคารประกอบต่าง ๆ รวมถึงการซ่อมบูรณะราชรถและพระยานมาศ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 8 มีนาคม 2551 โดยขณะนี้การก่อสร้างพระเมรุได้วางรากฐานและเสาตอม่อไปแล้วร้อยละ 95 งานวางคารและตงเหล็กแล้วเสร็จร้อยละ 80 ซึ่งคาดว่างานทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้ ในการนี้ ได้เห็นชอบให้กรมศิลปากรพิจารณาเตรียมการเกี่ยวกับการจัดแสดงมหรสพ โดยให้แบ่งเป็น 3 เวที คือ การแสดงโขน หนังใหญ่ 1 เวที การแสดงหุ่นกระบอกของกรมศิลปากรและหุ่นกระบอกจองคณะโจหลุยส์ 1 เวทีและการแสดงดนตรีสากล (ออเคสตาร์) และละคร 1 เวที
3. ที่ประชุมเห็นชอบให้คณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัยและการจราจร ดำเนินการประชาสัมพันธ์และจัดเส้นทางให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับการหมุนเวียนเข้าและออกจากบริเวณมณฑลพิธีฯ ของวันพระราชพิธีฯ ประชาสัมพันธ์การจราจรการห้ามจอดรถตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนพระราชพิธีฯ ปิดการจราจรตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันพระราชพิธีฯ นอกเขตพระนครปิดการจราจรตั้งแต่เวลา 05.00 น.
4. ที่ประชุมรับทราบการจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก เนื่องในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ จำนวน 9 รายการ คือ 1) แผ่นพับพระประวัติและพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ 2) หนังสือพระประวัติและพระกรณียกิจฯ 3) หนังสือจดหมายเหตุพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ 4) หนังสือเรื่องเครื่องประกอบพระอิสริยยศ 5) หนังสือร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติ 6) จดหมายเหตุประชาชน 7) หนังสือศิลปกรรมพระประวัติและพระกรณียกิจ 8) พระประวัติและพระกรณียกิจฯ ฉบับอักษรเบรลล์ และ 9) ดีวีดีสารคดีเฉลิมพระเกียรติเพื่อแจกจ่ายหนังสือให้กับผู้มาร่วมพิธี โดยแจกบัตรรับหนังสือ และจัดส่งไปยังหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ห้องสมุด คณะกรรมการ ฯลฯ
5. คณะกรรมการอำนวยการฯ รับทราบกรณีที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการดำเนินโครงการจัดทำเข็มที่ระลึกงานพระศพเพื่อการประดับและเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกแห่งความทรงจำ ตลอดจนเพื่อนำรายได้ภายหลังหักค่าใช้จ่ายสมทบทุน “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” โดยการจัดทำและการจัดจำหน่ายได้ขอให้กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้จัดทำเข็มที่ระลึกงานพระศพฯ พร้อมกล่องบรรจุ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำบล็อคต้นแบบของเข็มที่ระลึกและพิจารณาออกแบบกล่องบรรจุ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--