นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทย" โดยมี นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ฝ่ายการเมืองภาคพลเมือง ผู้นำองค์กรภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ประมาณ 350 คน เข้าร่วมรับฟัง
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องจูปีเตอร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทย" โดยมี นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ฝ่ายการเมืองภาคพลเมือง ผู้นำองค์กรภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ประมาณ 350 คน เข้าร่วมรับฟัง จัดโดย คณะงานเฉพาะกิจดำเนินงานโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญและการปฎิรูปการเมือง (สรรป.)สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ถึงความ จำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เป็นข้อเสนอแนะทางออกของสังคมไทยอย่างสันติวิธี เพื่อนำเสนอต่อสภาที่ปรึกษาฯ คณะรัฐมนตรี และสาธารณะ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทย" ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลว่า ประเทศไทยเลือกระบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และมีระบบรัฐสภาตามแบบประเทศอังกฤษ ซึ่งรัฐธรรมนูญคือข้อกำหนดกฎหมายของบ้านเมือง ประเทศไทยนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญทั้งที่เป็นฉบับชั่วคราวและฉบับถาวร มาแล้ว 18 ฉบับ มีการยกร่าง แก้ไขเพิ่มเติมและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญถึง 30 กว่าครั้ง หมุนเวียนเป็นวงจรการเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่องในตลอด 76 ปี ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงประเด็นจุดอ่อนหรือจุดบกพร่องของ รธน.ปี 2550 ว่า ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นกฎหมายสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะแตะต้องมิได้ ในทางตรงข้าม การทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รวมทั้งสาระสำคัญที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน พร้อมทั้งมีการแก้ไข เพื่อให้เกิดความเหมาะสมทั้งในเรื่องหลักการ และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมด้วยกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นเรื่องปกติที่ควรได้รับการสนับสนุน เพราะอะไร ก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของโลกและของสังคมได้ ไม่เพียงจะเป็นปัญหา เท่านั้น แต่หากยังจะสร้างปัญหาให้แก่ส่วนอื่น ๆ ของสังคมด้วย
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือการแก้ไขจุดบกพร่องที่นำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย และเป็นประโยชน์ ต่อการเลือกตั้งในครั้งต่อไป แต่ถ้าไม่แก้ รธน.ปี 50 อาจจะมีปัญหาตามมาในอนาคต เมื่อมีโอกาสรัฐบาลจึงมี แนวคิดที่จะแก้ รธน.ฉบับปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลขอยืนยันว่า ไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้นจากการแก้ รธน.แต่ทำเพื่อการเลือกตั้งในครั้งต่อไป และเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองในวันข้างหน้า พร้อมกล่าวย้ำว่า รัฐธรรมนูญกินไม่ได้ ทาไม่ได้ แต่เป็นหัวใจของการปกครองบ้านเมือง ถ้า รธน.ไม่ดี ก็ควรทำให้ดีขึ้น
อนึ่ง การสัมมนาในช่วงเช้า ได้มีการอภิปรายเรื่อง สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทย โดย นายเสรี สุวรรณภานนท์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ดร.ปริญญา เทวานฤมิตกุล คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และมีการเปิดเวทีอภิปรายรับฟังความเห็น โดย ร้อยตรี วิจิตร อยู่สุภาพ ประธานคณะทำงานยุติธรรม สภาที่ปรึกษาฯ สำหรับช่วงบ่ายภายหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทยแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ได้อภิปรายต่อในหัวข้อเดียวกัน พร้อมทั้งได้มีการอภิปรายและเปิดเวที รับฟังความเห็น โดยผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และ 2540 ซึ่งดำเนินการอภิปรายโดย ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาฯ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องจูปีเตอร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทย" โดยมี นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ฝ่ายการเมืองภาคพลเมือง ผู้นำองค์กรภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ประมาณ 350 คน เข้าร่วมรับฟัง จัดโดย คณะงานเฉพาะกิจดำเนินงานโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญและการปฎิรูปการเมือง (สรรป.)สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ถึงความ จำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เป็นข้อเสนอแนะทางออกของสังคมไทยอย่างสันติวิธี เพื่อนำเสนอต่อสภาที่ปรึกษาฯ คณะรัฐมนตรี และสาธารณะ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทย" ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลว่า ประเทศไทยเลือกระบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และมีระบบรัฐสภาตามแบบประเทศอังกฤษ ซึ่งรัฐธรรมนูญคือข้อกำหนดกฎหมายของบ้านเมือง ประเทศไทยนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญทั้งที่เป็นฉบับชั่วคราวและฉบับถาวร มาแล้ว 18 ฉบับ มีการยกร่าง แก้ไขเพิ่มเติมและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญถึง 30 กว่าครั้ง หมุนเวียนเป็นวงจรการเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่องในตลอด 76 ปี ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงประเด็นจุดอ่อนหรือจุดบกพร่องของ รธน.ปี 2550 ว่า ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นกฎหมายสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะแตะต้องมิได้ ในทางตรงข้าม การทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รวมทั้งสาระสำคัญที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน พร้อมทั้งมีการแก้ไข เพื่อให้เกิดความเหมาะสมทั้งในเรื่องหลักการ และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมด้วยกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นเรื่องปกติที่ควรได้รับการสนับสนุน เพราะอะไร ก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของโลกและของสังคมได้ ไม่เพียงจะเป็นปัญหา เท่านั้น แต่หากยังจะสร้างปัญหาให้แก่ส่วนอื่น ๆ ของสังคมด้วย
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือการแก้ไขจุดบกพร่องที่นำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย และเป็นประโยชน์ ต่อการเลือกตั้งในครั้งต่อไป แต่ถ้าไม่แก้ รธน.ปี 50 อาจจะมีปัญหาตามมาในอนาคต เมื่อมีโอกาสรัฐบาลจึงมี แนวคิดที่จะแก้ รธน.ฉบับปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลขอยืนยันว่า ไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้นจากการแก้ รธน.แต่ทำเพื่อการเลือกตั้งในครั้งต่อไป และเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองในวันข้างหน้า พร้อมกล่าวย้ำว่า รัฐธรรมนูญกินไม่ได้ ทาไม่ได้ แต่เป็นหัวใจของการปกครองบ้านเมือง ถ้า รธน.ไม่ดี ก็ควรทำให้ดีขึ้น
อนึ่ง การสัมมนาในช่วงเช้า ได้มีการอภิปรายเรื่อง สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทย โดย นายเสรี สุวรรณภานนท์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ดร.ปริญญา เทวานฤมิตกุล คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และมีการเปิดเวทีอภิปรายรับฟังความเห็น โดย ร้อยตรี วิจิตร อยู่สุภาพ ประธานคณะทำงานยุติธรรม สภาที่ปรึกษาฯ สำหรับช่วงบ่ายภายหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทยแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ได้อภิปรายต่อในหัวข้อเดียวกัน พร้อมทั้งได้มีการอภิปรายและเปิดเวที รับฟังความเห็น โดยผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และ 2540 ซึ่งดำเนินการอภิปรายโดย ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาฯ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--