นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการเปิดเวทีประชาพิจารณ์แผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ปี 2551-2554 พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่องการสร้างเสริมสันติวิธีในสังคมไทยด้วยเอกลักษณ์ของชาติ
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการเปิดเวทีประชาพิจารณ์แผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ปี 2551-2554 พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การสร้างเสริมสันติวิธีในสังคมไทยด้วยเอกลักษณ์ของชาติ" และมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดเรียงความ คำขวัญ และข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ รวม 179 รางวัล
การจัดเวทีประชาพิจารณ์แผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ปี 2551-2554 เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันวิจัยพัฒนาและศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยโยนก และสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม หรือให้ข้อมูลต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ปี 2551-2554 ซึ่งได้ดำเนินการแล้วใน 4 ภูมิภาค รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตั้งแต่ต้นปี 2551 โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ผู้แทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน สมาคมนิยมไทย ผู้แทนเวทีประชาพิจารณ์ฯ ในแต่ละภูมิภาค และผู้รับรางวัล ทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาค รวมประมาณ 350 คน
โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานเปิดเวทีประชาพิจารณ์ร่างแผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติในวันนี้ ซึ่งโครงการจัดทำแผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนแม่บทดังกล่าว ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดเวทีประชาคมและเวทีประชาพิจารณ์ทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศ การจัดการประกวดเรียงความ คำขวัญและข้อเสนอแนะ ซึ่งตรงกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่างๆ ในภาครัฐ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและตระหนักในความรับผิดชอบเพื่อจะได้ช่วยกันคุ้มครองป้องกันเอกลักษณ์ของชาติให้เข้มแข็งยั่งยืนสืบไป
การจัดโครงการจัดทำแผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ โดยการจัดกระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและนำเอาแนวคิด แนวทาง ความต้องการและข้อเสนอแนะมาเป็นหลักในการร่างแผนแม่บทดังกล่าว นับเป็นความพยายามที่สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาล และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ที่ต้องการส่งเสริมการพัฒนาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการช่วยกันส่งเสริมผลักดันให้กิจกรรมการพัฒนาเกิดขึ้นจากความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ดังนั้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า "แผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ พุทธศักราช 2551-2554" จะมียุทธศาสตร์สอดคล้องกับนโยบายของรัฐและแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "การสร้างสันติวิธีในสังคมไทยด้วยเอกลักษณ์ของชาติ" ว่า ความขัดแย้งในสังคมไทยมีอยู่ 4 กลุ่มหลักคือ 1) ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ที่ต้องการการปฏิรูปทางวัฒนธรรม โดยมุ่งเป้าหมายไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 2) ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ต้องการการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยมุ่งเป้าหมายไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 3) ความขัดแย้งระหว่างยุคสมัย หรือช่องว่างระหว่างวัย ที่ต้องการการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ถ้อยทีถ้อยอาศัย และเลิกแนวความคิดปิดกั้น 4) ความขัดแย้งระดับโลก ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้ไม่ใช่ความขัดแย้งใหม่ แต่เป็นความขัดแย้งในโครงสร้างเดิมที่มีรายละเอียดแตกต่างกัน
ทั้งนี้ เอกลักษณ์ของชาติหมายถึง ลักษณะจำเพาะที่เป็นหลัก หรือเป็นที่สุดในความเป็นชาติ เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาได้อย่างแยบยล และการแสวงหาเอกลักษณ์สามารถแบ่งเป็น 2 ยุค คือ ยุคหลอมรวม และยุคหลากหลาย ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคหลากหลาย หรือเรียกว่ากระบวนทัศน์ที่สอง ดังนั้น เอกลักษณ์ของชาติจึงเป็นเครื่องมือในการแสวงหายุทธวิธีในการสร้างสันติวิธีในสังคมไทย ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) วิถีทางอยู่ร่วมกันโดยสันติ 2) การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ 3) การแสวงหาความรู้และความเข้าใจ ดังที่ว่า
เอกลักษณ์คือศักดิ์ศรีการมีแสง คือเรี่ยวแรงของประเทศทุกเขตขัณฑ์
ประกาศนามความเป็นเราอย่างเท่าทัน เป็นอนันต์เนื่องไปในใจเรา
เอกลักษณ์ต้องผลักดันเกิดสันติ คอยตำหนิอวดโอ่ก็โง่เขลา
ทุกสิ่งให้ได้เห็นว่าเป็น "เรา" ถ้าแบ่ง "เขา" อยู่อย่างนั้น ไม่มั่นคง
เอกลักษณ์ของเราเราภูมิใจ เอกลักษณ์ของใครใครก้อหลง
สันติภาพธงนำให้ดำรง โลกธำรงได้เพราะเรารักเท่ากัน
เปิดโอกาสให้คนอื่นได้ชื่นจิต เอกลักษณ์ต้องอย่าคิดเรื่องปิดกั้น
มุทิตาจิตล้ำต้องสำคัญ ถ้าสร้างสรรค์หลากหลายไม่ตายลง
แสวงหาความรู้ความเข้าใจ เอกลักษณ์อยู่ที่ไหนเราเสริมส่ง
หาจุดรวมร่วมกันอย่างบรรจง โลกนี้คงปลอดภัยอยู่ในธรรม
เอกลักษณ์ศักดิ์ศรีของมนุษย์ เปรียบประดุจทุ่นลอยไม่ถอยต่ำ
ไม่สับสนอลหม่านการกระทำ เป็นผู้นำผู้ตามก็งามใจ
เอกลักษณ์คือศักดิ์ศรีการมีแสง เสริมความแกร่งนคราน่าจะหาไหน
ช่วยบ่งบอกในโลกกว้างและทางไกล เราคนไทยย่อมมีศักดิ์ในจักรวาล
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการเปิดเวทีประชาพิจารณ์แผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ปี 2551-2554 พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การสร้างเสริมสันติวิธีในสังคมไทยด้วยเอกลักษณ์ของชาติ" และมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดเรียงความ คำขวัญ และข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ รวม 179 รางวัล
การจัดเวทีประชาพิจารณ์แผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ปี 2551-2554 เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันวิจัยพัฒนาและศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยโยนก และสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม หรือให้ข้อมูลต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ปี 2551-2554 ซึ่งได้ดำเนินการแล้วใน 4 ภูมิภาค รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตั้งแต่ต้นปี 2551 โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ผู้แทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน สมาคมนิยมไทย ผู้แทนเวทีประชาพิจารณ์ฯ ในแต่ละภูมิภาค และผู้รับรางวัล ทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาค รวมประมาณ 350 คน
โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานเปิดเวทีประชาพิจารณ์ร่างแผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติในวันนี้ ซึ่งโครงการจัดทำแผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนแม่บทดังกล่าว ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดเวทีประชาคมและเวทีประชาพิจารณ์ทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศ การจัดการประกวดเรียงความ คำขวัญและข้อเสนอแนะ ซึ่งตรงกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่างๆ ในภาครัฐ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและตระหนักในความรับผิดชอบเพื่อจะได้ช่วยกันคุ้มครองป้องกันเอกลักษณ์ของชาติให้เข้มแข็งยั่งยืนสืบไป
การจัดโครงการจัดทำแผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ โดยการจัดกระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและนำเอาแนวคิด แนวทาง ความต้องการและข้อเสนอแนะมาเป็นหลักในการร่างแผนแม่บทดังกล่าว นับเป็นความพยายามที่สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาล และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ที่ต้องการส่งเสริมการพัฒนาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการช่วยกันส่งเสริมผลักดันให้กิจกรรมการพัฒนาเกิดขึ้นจากความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ดังนั้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า "แผนแม่บทการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ พุทธศักราช 2551-2554" จะมียุทธศาสตร์สอดคล้องกับนโยบายของรัฐและแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "การสร้างสันติวิธีในสังคมไทยด้วยเอกลักษณ์ของชาติ" ว่า ความขัดแย้งในสังคมไทยมีอยู่ 4 กลุ่มหลักคือ 1) ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ที่ต้องการการปฏิรูปทางวัฒนธรรม โดยมุ่งเป้าหมายไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 2) ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ต้องการการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยมุ่งเป้าหมายไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 3) ความขัดแย้งระหว่างยุคสมัย หรือช่องว่างระหว่างวัย ที่ต้องการการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ถ้อยทีถ้อยอาศัย และเลิกแนวความคิดปิดกั้น 4) ความขัดแย้งระดับโลก ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้ไม่ใช่ความขัดแย้งใหม่ แต่เป็นความขัดแย้งในโครงสร้างเดิมที่มีรายละเอียดแตกต่างกัน
ทั้งนี้ เอกลักษณ์ของชาติหมายถึง ลักษณะจำเพาะที่เป็นหลัก หรือเป็นที่สุดในความเป็นชาติ เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาได้อย่างแยบยล และการแสวงหาเอกลักษณ์สามารถแบ่งเป็น 2 ยุค คือ ยุคหลอมรวม และยุคหลากหลาย ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคหลากหลาย หรือเรียกว่ากระบวนทัศน์ที่สอง ดังนั้น เอกลักษณ์ของชาติจึงเป็นเครื่องมือในการแสวงหายุทธวิธีในการสร้างสันติวิธีในสังคมไทย ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) วิถีทางอยู่ร่วมกันโดยสันติ 2) การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ 3) การแสวงหาความรู้และความเข้าใจ ดังที่ว่า
เอกลักษณ์คือศักดิ์ศรีการมีแสง คือเรี่ยวแรงของประเทศทุกเขตขัณฑ์
ประกาศนามความเป็นเราอย่างเท่าทัน เป็นอนันต์เนื่องไปในใจเรา
เอกลักษณ์ต้องผลักดันเกิดสันติ คอยตำหนิอวดโอ่ก็โง่เขลา
ทุกสิ่งให้ได้เห็นว่าเป็น "เรา" ถ้าแบ่ง "เขา" อยู่อย่างนั้น ไม่มั่นคง
เอกลักษณ์ของเราเราภูมิใจ เอกลักษณ์ของใครใครก้อหลง
สันติภาพธงนำให้ดำรง โลกธำรงได้เพราะเรารักเท่ากัน
เปิดโอกาสให้คนอื่นได้ชื่นจิต เอกลักษณ์ต้องอย่าคิดเรื่องปิดกั้น
มุทิตาจิตล้ำต้องสำคัญ ถ้าสร้างสรรค์หลากหลายไม่ตายลง
แสวงหาความรู้ความเข้าใจ เอกลักษณ์อยู่ที่ไหนเราเสริมส่ง
หาจุดรวมร่วมกันอย่างบรรจง โลกนี้คงปลอดภัยอยู่ในธรรม
เอกลักษณ์ศักดิ์ศรีของมนุษย์ เปรียบประดุจทุ่นลอยไม่ถอยต่ำ
ไม่สับสนอลหม่านการกระทำ เป็นผู้นำผู้ตามก็งามใจ
เอกลักษณ์คือศักดิ์ศรีการมีแสง เสริมความแกร่งนคราน่าจะหาไหน
ช่วยบ่งบอกในโลกกว้างและทางไกล เราคนไทยย่อมมีศักดิ์ในจักรวาล
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--