นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน ครั้งที่ 2 / 2551 โดยภายหลังการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานการแถลงข่าวที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน ครั้งที่ 2 / 2551 โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานการแถลงข่าว ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร สรุปผลการประชุมดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำเนินแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งในส่วนของรางรถไฟเดิมขนาด 1 เมตร หรือ Meter Gate ระยะทาง 4,000 กิโลเมตร ในวงเงิน 30,000 ล้านบาทโดยมอบหมายให้ไปพิจารณาในรายละเอียด แล้วเริ่มดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมรางเก่า แก้ไขจุดเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนกับรถยนต์ทำให้รถตกราง สร้างรางคู่ในจุดที่ติดขัดรอการหลีก โดยปรับปรุงให้มีระบบความปลอดภัย ซึ่งในขณะนี้ได้มีการเดินหน้าดำเนินการแล้วในเส้นทางแหลมฉบัง — ลาดกระบัง และวันนี้ที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการเพิ่มในเส้นทางแก่งคอย เพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่กรุงเทพมหานคร
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาเชื่อมโยงอนุภูมิภาคในรถไฟรางคู่ระบบ Standard Gate ขนาดราง 1.435 เมตร โดยเห็นชอบให้ดำเนินการใน 4 เส้นทาง ระยะทาง 2,344 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนขั้นต้นประมาณ 300,000 ล้านบาท เพื่อให้สามารถเชื่อมกับรางรถไฟของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จีน พม่า และลาว ทั้งนี้ มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยไปพิจารณารูปแบบการลงทุนร่วมกับภาคเอกชน โดยเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จมีนโยบายจะสร้างนิคมอุตสาหกรรมตลอดเส้นทางเพื่อกระจายอุตสาหกรรมออกไปสู่ภูมิภาคด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยไปศึกษาการดำเนินการนำรถไฟที่มีความเร็วปานกลางประมาณ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และให้บริการในรูปแบบที่ทันสมัย ไปวิ่งให้บริการประชาชนในเส้นทางที่ต้องใช้ความรวดเร็วใน 4 หัวเมืองหลักที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเป็นจำนวนมาก ได้แก่ หัวหิน ระยอง พัทยา จันทบุรี ขึ้นสู่นครราชสีมา นครสวรรค์ เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการการเดินทางโดยรถไฟแทนรถยนต์และเครื่องบิน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน ครั้งที่ 2 / 2551 โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานการแถลงข่าว ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร สรุปผลการประชุมดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำเนินแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งในส่วนของรางรถไฟเดิมขนาด 1 เมตร หรือ Meter Gate ระยะทาง 4,000 กิโลเมตร ในวงเงิน 30,000 ล้านบาทโดยมอบหมายให้ไปพิจารณาในรายละเอียด แล้วเริ่มดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมรางเก่า แก้ไขจุดเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนกับรถยนต์ทำให้รถตกราง สร้างรางคู่ในจุดที่ติดขัดรอการหลีก โดยปรับปรุงให้มีระบบความปลอดภัย ซึ่งในขณะนี้ได้มีการเดินหน้าดำเนินการแล้วในเส้นทางแหลมฉบัง — ลาดกระบัง และวันนี้ที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการเพิ่มในเส้นทางแก่งคอย เพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่กรุงเทพมหานคร
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาเชื่อมโยงอนุภูมิภาคในรถไฟรางคู่ระบบ Standard Gate ขนาดราง 1.435 เมตร โดยเห็นชอบให้ดำเนินการใน 4 เส้นทาง ระยะทาง 2,344 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนขั้นต้นประมาณ 300,000 ล้านบาท เพื่อให้สามารถเชื่อมกับรางรถไฟของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จีน พม่า และลาว ทั้งนี้ มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยไปพิจารณารูปแบบการลงทุนร่วมกับภาคเอกชน โดยเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จมีนโยบายจะสร้างนิคมอุตสาหกรรมตลอดเส้นทางเพื่อกระจายอุตสาหกรรมออกไปสู่ภูมิภาคด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยไปศึกษาการดำเนินการนำรถไฟที่มีความเร็วปานกลางประมาณ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และให้บริการในรูปแบบที่ทันสมัย ไปวิ่งให้บริการประชาชนในเส้นทางที่ต้องใช้ความรวดเร็วใน 4 หัวเมืองหลักที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเป็นจำนวนมาก ได้แก่ หัวหิน ระยอง พัทยา จันทบุรี ขึ้นสู่นครราชสีมา นครสวรรค์ เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการการเดินทางโดยรถไฟแทนรถยนต์และเครื่องบิน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--