นายกรัฐมนตรีกล่าวปราศรัยเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2551 ระบุรัฐบาลพร้อมดูแลการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้แรงงานทั่วประเทศ และช่วยเหลือแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นายกรัฐมนตรีกล่าวปราศรัยเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2551 ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ดังนี้
พี่น้องผู้ใช้แรงงานที่รักทุกท่าน
เนื่องในโอกาสที่ "วันแรงงานแห่งชาติ” ได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่งในวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 นี้
ในนามของรัฐบาล ขอส่งความปรารถนาดีมายังพี่น้องผู้ใช้แรงงานและครอบครัวทุกท่าน และขอถือโอกาสนี้เรียนพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกท่านให้ทราบว่า จากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง รัฐบาลได้มีความพยายามในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อดูแลสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและเกิดการพัฒนาตามแนวทาง “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้กำหนด มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ กล่าวคือ
1) มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
2) มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
3) มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอกชนไทย
อีกทั้งกำหนดมาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก กล่าวคือ (1) โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน หรือ SML (2) มาตรการเพิ่มเงินทุนและการจัดการเรียนรู้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (3) โครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน (4) โครงการธนาคารประชาชน โดยธนาคารออมสิน (5) โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธอส. และ (6) โครงการสินเชื่อเพื่อเกษตรกรของ ธ.ก.ส.
สำหรับมาตรการในการดูแลผู้ใช้แรงงาน รัฐบาลได้กำหนด มาตรการสำคัญเพื่อดูแลค่าจ้างและค่าตอบแทน คือ
1.การปรับปรุงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ทั่วประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 และจะได้ดำเนินการพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้งหนึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะปรับขึ้นในอัตราใดจึงจะเหมาะสม โดยไม่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่มากเกินไป
2. ส่งเสริมให้สถานประกอบการใช้แนวทางปรับอัตราค่าจ้างประจำปี 2550/2551ให้กับลูกจ้างที่ทำงานเกิน 1 ปีขึ้นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551
3. ส่งเสริมให้สถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างใช้ในสถานประกอบการเพื่อให้ลูกจ้างได้รับการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามผลิตภาพที่แรงงานทำได้เป็นประจำทุกปี
4. ส่งเสริมให้สถานประกอบการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในอัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน ใน 30 สาขาอาชีพที่ประกาศใช้แล้ว
สำหรับการช่วยเหลือแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีดังนี้
1. การสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจำนวน 9 ล้านคน ในสถานประกอบการ 381,506 แห่ง ได้รับการดูแลจ่ายประโยชน์ทดแทนในเรื่องการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ การคลอดบุตร ค่าเลี้ยงดูบุตร และค่าทำศพ ซึ่งมีผู้ประกันตนและผู้มีสิทธิของผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ดังกล่าวแล้วจำนวน 27.93 ล้านราย เป็นเงินทั้งสิ้น 32,226 ล้านบาท
รัฐบาลยังได้พิจารณาปรับปรุงการให้บริการประกันสังคมให้เป็นประโยชน์มากขึ้น โดยได้จัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์ในเรื่องคลอดบุตร การจ่ายค่ายาผู้ป่วยเอดส์ การจ่ายค่าทันตกรรม และการรักษาพยาบาลโรคสมอง การใช้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา และการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ
นอกจากนี้ยังได้ขยายฐานประกันสังคมไปสู่แรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความพร้อม เช่น ผู้ขับแท็กซี่ให้สมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้แล้ว เป็นต้น
2. การส่งเสริมการมีงานทำและคุ้มครองคนหางาน
ได้ดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลตลาดแรงงานและการจัดหางานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสรรหากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานของภาคอุตสาหกรรม ขณะนี้มีประชาชนได้รับบริการส่งเสริมการมีงานทำแล้วกว่า 6 แสนคน ตลอดจนขยายตลาดแรงงานของไทยในกลุ่มประเทศ EU ในสาขาอาชีพด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา และภาคบริการ
3. การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
ได้ดำเนินการพัฒนาแรงงานโดยร่วมมือกับภาคเอกชนฝึกยกระดับคุณภาพฝีมือแรงงาน และพัฒนานิสัยอุตสาหกรรม ทำให้ผลิตภาพการผลิตสูงขึ้นมีผู้ผ่านกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานประมาณ 3 ล้านคนเศษ
นอกจากนั้นยังได้ดำเนินการฝึกอาชีพให้แก่กลุ่มบุคคลพิเศษได้แก่ เช่น ผู้ประสบสาธารณภัย คนพิการ ผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง เป็นต้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเพิ่มโอกาสการมีงานทำ มีรายได้ให้มากขึ้นด้วย
4. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน
ได้ดำเนินการดูแลแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยส่งเสริมให้มีการจัดสวัสดิการมากขึ้น มีความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการประกาศเรื่อง “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” เป็นวาระแห่งชาติในปีนี้ เพื่อเร่งบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงานอย่างเป็นระบบ การจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เกิดขึ้นตามความประสงค์ของผู้ใช้แรงงาน ในขณะเดียวกันได้เร่งรัดส่งเสริมให้สถานประกอบการนำมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001 - 2546) ไปปฏิบัติให้ลูกจ้างได้มีสภาพการทำงาน สภาพการจ้างที่ดี และใช้เป็นหลักเกณฑ์การสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจระหว่างประเทศและลดการกีดกันทางการค้า
ในนามของรัฐบาล ขอขอบคุณพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกท่านที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการทำหน้าที่ของท่านอย่างเข้มแข็ง และขอให้คำมั่นว่าจะดำเนินการทุกวิถีทางอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น
สุดท้ายนี้ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ท่านเคารพนับถือ ตลอดจนพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจงดลบันดาลให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกท่าน พร้อมครอบครัว จงประสบแต่ความสุขความเจริญ บริบูรณ์ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา กำลังใจ เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองสืบไป และขอให้จงสมปรารถนาในสิ่งดีงามที่ท่านหวังไว้ทุกประการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวปราศรัยเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2551 ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ดังนี้
พี่น้องผู้ใช้แรงงานที่รักทุกท่าน
เนื่องในโอกาสที่ "วันแรงงานแห่งชาติ” ได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่งในวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 นี้
ในนามของรัฐบาล ขอส่งความปรารถนาดีมายังพี่น้องผู้ใช้แรงงานและครอบครัวทุกท่าน และขอถือโอกาสนี้เรียนพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกท่านให้ทราบว่า จากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง รัฐบาลได้มีความพยายามในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อดูแลสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและเกิดการพัฒนาตามแนวทาง “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้กำหนด มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ กล่าวคือ
1) มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
2) มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
3) มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอกชนไทย
อีกทั้งกำหนดมาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก กล่าวคือ (1) โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน หรือ SML (2) มาตรการเพิ่มเงินทุนและการจัดการเรียนรู้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (3) โครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน (4) โครงการธนาคารประชาชน โดยธนาคารออมสิน (5) โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธอส. และ (6) โครงการสินเชื่อเพื่อเกษตรกรของ ธ.ก.ส.
สำหรับมาตรการในการดูแลผู้ใช้แรงงาน รัฐบาลได้กำหนด มาตรการสำคัญเพื่อดูแลค่าจ้างและค่าตอบแทน คือ
1.การปรับปรุงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ทั่วประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 และจะได้ดำเนินการพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้งหนึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะปรับขึ้นในอัตราใดจึงจะเหมาะสม โดยไม่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่มากเกินไป
2. ส่งเสริมให้สถานประกอบการใช้แนวทางปรับอัตราค่าจ้างประจำปี 2550/2551ให้กับลูกจ้างที่ทำงานเกิน 1 ปีขึ้นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551
3. ส่งเสริมให้สถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างใช้ในสถานประกอบการเพื่อให้ลูกจ้างได้รับการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามผลิตภาพที่แรงงานทำได้เป็นประจำทุกปี
4. ส่งเสริมให้สถานประกอบการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในอัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน ใน 30 สาขาอาชีพที่ประกาศใช้แล้ว
สำหรับการช่วยเหลือแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีดังนี้
1. การสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจำนวน 9 ล้านคน ในสถานประกอบการ 381,506 แห่ง ได้รับการดูแลจ่ายประโยชน์ทดแทนในเรื่องการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ การคลอดบุตร ค่าเลี้ยงดูบุตร และค่าทำศพ ซึ่งมีผู้ประกันตนและผู้มีสิทธิของผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ดังกล่าวแล้วจำนวน 27.93 ล้านราย เป็นเงินทั้งสิ้น 32,226 ล้านบาท
รัฐบาลยังได้พิจารณาปรับปรุงการให้บริการประกันสังคมให้เป็นประโยชน์มากขึ้น โดยได้จัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์ในเรื่องคลอดบุตร การจ่ายค่ายาผู้ป่วยเอดส์ การจ่ายค่าทันตกรรม และการรักษาพยาบาลโรคสมอง การใช้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา และการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ
นอกจากนี้ยังได้ขยายฐานประกันสังคมไปสู่แรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความพร้อม เช่น ผู้ขับแท็กซี่ให้สมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้แล้ว เป็นต้น
2. การส่งเสริมการมีงานทำและคุ้มครองคนหางาน
ได้ดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลตลาดแรงงานและการจัดหางานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสรรหากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานของภาคอุตสาหกรรม ขณะนี้มีประชาชนได้รับบริการส่งเสริมการมีงานทำแล้วกว่า 6 แสนคน ตลอดจนขยายตลาดแรงงานของไทยในกลุ่มประเทศ EU ในสาขาอาชีพด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา และภาคบริการ
3. การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
ได้ดำเนินการพัฒนาแรงงานโดยร่วมมือกับภาคเอกชนฝึกยกระดับคุณภาพฝีมือแรงงาน และพัฒนานิสัยอุตสาหกรรม ทำให้ผลิตภาพการผลิตสูงขึ้นมีผู้ผ่านกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานประมาณ 3 ล้านคนเศษ
นอกจากนั้นยังได้ดำเนินการฝึกอาชีพให้แก่กลุ่มบุคคลพิเศษได้แก่ เช่น ผู้ประสบสาธารณภัย คนพิการ ผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง เป็นต้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเพิ่มโอกาสการมีงานทำ มีรายได้ให้มากขึ้นด้วย
4. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน
ได้ดำเนินการดูแลแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยส่งเสริมให้มีการจัดสวัสดิการมากขึ้น มีความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการประกาศเรื่อง “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” เป็นวาระแห่งชาติในปีนี้ เพื่อเร่งบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงานอย่างเป็นระบบ การจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เกิดขึ้นตามความประสงค์ของผู้ใช้แรงงาน ในขณะเดียวกันได้เร่งรัดส่งเสริมให้สถานประกอบการนำมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001 - 2546) ไปปฏิบัติให้ลูกจ้างได้มีสภาพการทำงาน สภาพการจ้างที่ดี และใช้เป็นหลักเกณฑ์การสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจระหว่างประเทศและลดการกีดกันทางการค้า
ในนามของรัฐบาล ขอขอบคุณพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกท่านที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการทำหน้าที่ของท่านอย่างเข้มแข็ง และขอให้คำมั่นว่าจะดำเนินการทุกวิถีทางอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น
สุดท้ายนี้ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ท่านเคารพนับถือ ตลอดจนพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจงดลบันดาลให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกท่าน พร้อมครอบครัว จงประสบแต่ความสุขความเจริญ บริบูรณ์ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา กำลังใจ เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองสืบไป และขอให้จงสมปรารถนาในสิ่งดีงามที่ท่านหวังไว้ทุกประการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--