นายกรัฐมนตรีเผยผลหารือกับนายกรัฐมนตรีพม่า ย้ำทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันพัฒนาในหลายด้าน เตรียมจับมือประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มผลผลิตข้าวเพื่อตั้งราคาขายเอง
เมื่อเวลา 11.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้สัมภาษณ์ถึงผลการหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีพม่าว่า ในการหารือครั้งนี้ได้มีความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันของทั้งสองประเทศ ซึ่งพม่ามีทีท่าเปิดประตูให้ไทยเป็นเพื่อนที่ดี ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา ต่อไปไทยจะทำงานร่วมกับพม่า จีน ลาว ในโครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยเป็นการลงทุนร่วมกัน เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย ซึ่งด้านเหนือมีภูมิประเทศที่สวยงามก็จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และจะมีการก่อสร้างถนนจากท่าเรือน้ำลึกทวายเข้ามาถึงชายแดนประเทศไทยเป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร และต่อเข้ามาอีก 20 กิโลเมตรก็จะมาเชื่อมกับทางรถไฟของไทย นอกจากนี้จะมีการวางท่อก๊าซไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทั้งนี้ในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปพบกับนายหู จิ่น เทา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะหารือกันถึงเรื่องการเชื่อมเส้นทางรถไฟที่จะสร้างขึ้นใหม่ จากคุนหมิงมาที่หลวงน้ำทา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เข้ามายังอำเภอภาชี ก่อนออกไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และสิ้นสุดที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งโครงการดังกล่าวจะลงมือทำโดยไม่ช้า
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้หารือเรื่องการร่วมมือสร้างเขื่อน 2 แห่ง ที่อยู่ทางตอนเหนือของพม่า ซึ่งจะลงมือทันที และพม่ายังมีโครงการจะเปิดนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งพม่าอยากให้ไทยเข้าไปลงทุนทำเขื่อนผลิตไฟฟ้าอีก 600 เมกกะวัตต์ทางตอนใต้ และพม่ายังสนใจโครงการปลูกพืชทดแทนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้วิธีนำพืชเมืองหนาวมาปลูกหมุนเวียนแทนฝิ่น รวมทั้งได้เจรจาเรื่องปัญหาคนพม่าที่หลบหนีเข้าเมือง ซึ่งทางพม่าต้องการให้คนเหล่านี้ถือพาสปอร์ตอย่างถูกต้อง แต่คนพม่าที่เข้ามาในประเทศไทยก็ไม่อยากกลับประเทศ ทั้งนี้ ทางการพม่ายืนยันว่าจะไม่มีอันตรายใด ๆ อย่างไรก็ตาม วันนี้ยังไม่ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการทำการเกษตรแบบมีสัญญา เนื่องจากพม่ายังไม่ได้นำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ได้มีการลงนามสัญญาM 9 ซึ่งเป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติ และยังได้หารือถึงความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดด้วย นอกจากนี้ได้หารือถึงเรื่องการปลูกข้าว ซึ่งคุยกันว่าทำไมเวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า ไม่ตกลงจับมือกันว่าใครผลิตได้เท่าไรแล้วมาตั้งราคา
“ผมเสนอความคิดไปเบื้องต้น โดยขอให้พม่าให้ความร่วมมือด้วย ซึ่งพม่าบอกว่าผลผลิตข้าวของพม่าเพียงพอกับการบริโภค แต่ไม่ส่งออก แต่เราอยากให้เพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น จะได้มาช่วยกันขาย อย่างไรก็ตาม คงไม่รวมกลุ่มกันในลักษณะประเทศโอเปค เพราะจะน่าเกลียดเกินไป เราเป็นประเทศเล็ก ๆ เพียง 5 ประเทศ ก็มาตั้งราคาร่วมกัน ทั้งนี้ในการหารือครั้งต่อไปเราอาจจะช่วยพม่าให้ผลิตข้าวให้มากขึ้น” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ต่อข้อถามว่า ได้มีการหารือเรื่องกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มีการหารือแบบสองต่อสองกับนายกรัฐมนตรีพม่า ซึ่งพม่าได้ลำดับความให้ฟัง โดยยืนยันว่าต้องการให้เห็นว่าเขาก็รักประชาธิปไตย แม้ประชาธิปไตยเขาอาจจะไม่เต็มใบ แต่พม่าก็จะมีการลงประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะใช้เวลา 2 ปีถึงจะจัดให้มีการเลือกตั้ง เพราะพม่าต้องใช้เวลาในการตั้งพรรคการเมือง เพื่อต่อไปทหารจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว ทั้งนี้ในเดือนธันวาคมนี้จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนก็จะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารืออีกครั้ง โดยผู้นำทั้ง 10 ประเทศก็จะหารือร่วมกัน เมื่อเข้าใจตรงกันต่อไปก็จะพูดเสียงเดียวกัน คนที่ตำหนิติเตียนพม่าจะได้ฟัง 9 ประเทศว่าทำไมถึงได้เข้าใจพม่า ซึ่งการหารือครั้งนี้จะรวมจีนและอินเดียด้วย
ต่อข้อถามว่า พม่าได้ยืนยันหรือไม่ว่าจะมีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พม่าเขาไม่ได้ปล่อยนางออง ซาน ซูจี เขาบอกว่าจะเอาไว้บนหิ้ง เพราะไม่อยากยุ่งเกี่ยวอะไร แต่ต่างชาติไม่ยอมรับเรื่องนี้ เราเห็นว่าถ้าจะเอาไว้บนหิ้งก็ไม่เห็นจะเป็นไร ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญพม่าได้เขียนกันไว้แล้วว่า ห้ามคนที่มีสามีต่างชาติลงสมัครรับเลือกตั้ง นี่คือประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 11.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้สัมภาษณ์ถึงผลการหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีพม่าว่า ในการหารือครั้งนี้ได้มีความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันของทั้งสองประเทศ ซึ่งพม่ามีทีท่าเปิดประตูให้ไทยเป็นเพื่อนที่ดี ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา ต่อไปไทยจะทำงานร่วมกับพม่า จีน ลาว ในโครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยเป็นการลงทุนร่วมกัน เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย ซึ่งด้านเหนือมีภูมิประเทศที่สวยงามก็จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และจะมีการก่อสร้างถนนจากท่าเรือน้ำลึกทวายเข้ามาถึงชายแดนประเทศไทยเป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร และต่อเข้ามาอีก 20 กิโลเมตรก็จะมาเชื่อมกับทางรถไฟของไทย นอกจากนี้จะมีการวางท่อก๊าซไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทั้งนี้ในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปพบกับนายหู จิ่น เทา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะหารือกันถึงเรื่องการเชื่อมเส้นทางรถไฟที่จะสร้างขึ้นใหม่ จากคุนหมิงมาที่หลวงน้ำทา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เข้ามายังอำเภอภาชี ก่อนออกไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และสิ้นสุดที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งโครงการดังกล่าวจะลงมือทำโดยไม่ช้า
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้หารือเรื่องการร่วมมือสร้างเขื่อน 2 แห่ง ที่อยู่ทางตอนเหนือของพม่า ซึ่งจะลงมือทันที และพม่ายังมีโครงการจะเปิดนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งพม่าอยากให้ไทยเข้าไปลงทุนทำเขื่อนผลิตไฟฟ้าอีก 600 เมกกะวัตต์ทางตอนใต้ และพม่ายังสนใจโครงการปลูกพืชทดแทนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้วิธีนำพืชเมืองหนาวมาปลูกหมุนเวียนแทนฝิ่น รวมทั้งได้เจรจาเรื่องปัญหาคนพม่าที่หลบหนีเข้าเมือง ซึ่งทางพม่าต้องการให้คนเหล่านี้ถือพาสปอร์ตอย่างถูกต้อง แต่คนพม่าที่เข้ามาในประเทศไทยก็ไม่อยากกลับประเทศ ทั้งนี้ ทางการพม่ายืนยันว่าจะไม่มีอันตรายใด ๆ อย่างไรก็ตาม วันนี้ยังไม่ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการทำการเกษตรแบบมีสัญญา เนื่องจากพม่ายังไม่ได้นำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ได้มีการลงนามสัญญาM 9 ซึ่งเป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติ และยังได้หารือถึงความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดด้วย นอกจากนี้ได้หารือถึงเรื่องการปลูกข้าว ซึ่งคุยกันว่าทำไมเวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า ไม่ตกลงจับมือกันว่าใครผลิตได้เท่าไรแล้วมาตั้งราคา
“ผมเสนอความคิดไปเบื้องต้น โดยขอให้พม่าให้ความร่วมมือด้วย ซึ่งพม่าบอกว่าผลผลิตข้าวของพม่าเพียงพอกับการบริโภค แต่ไม่ส่งออก แต่เราอยากให้เพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น จะได้มาช่วยกันขาย อย่างไรก็ตาม คงไม่รวมกลุ่มกันในลักษณะประเทศโอเปค เพราะจะน่าเกลียดเกินไป เราเป็นประเทศเล็ก ๆ เพียง 5 ประเทศ ก็มาตั้งราคาร่วมกัน ทั้งนี้ในการหารือครั้งต่อไปเราอาจจะช่วยพม่าให้ผลิตข้าวให้มากขึ้น” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ต่อข้อถามว่า ได้มีการหารือเรื่องกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มีการหารือแบบสองต่อสองกับนายกรัฐมนตรีพม่า ซึ่งพม่าได้ลำดับความให้ฟัง โดยยืนยันว่าต้องการให้เห็นว่าเขาก็รักประชาธิปไตย แม้ประชาธิปไตยเขาอาจจะไม่เต็มใบ แต่พม่าก็จะมีการลงประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะใช้เวลา 2 ปีถึงจะจัดให้มีการเลือกตั้ง เพราะพม่าต้องใช้เวลาในการตั้งพรรคการเมือง เพื่อต่อไปทหารจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว ทั้งนี้ในเดือนธันวาคมนี้จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนก็จะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารืออีกครั้ง โดยผู้นำทั้ง 10 ประเทศก็จะหารือร่วมกัน เมื่อเข้าใจตรงกันต่อไปก็จะพูดเสียงเดียวกัน คนที่ตำหนิติเตียนพม่าจะได้ฟัง 9 ประเทศว่าทำไมถึงได้เข้าใจพม่า ซึ่งการหารือครั้งนี้จะรวมจีนและอินเดียด้วย
ต่อข้อถามว่า พม่าได้ยืนยันหรือไม่ว่าจะมีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พม่าเขาไม่ได้ปล่อยนางออง ซาน ซูจี เขาบอกว่าจะเอาไว้บนหิ้ง เพราะไม่อยากยุ่งเกี่ยวอะไร แต่ต่างชาติไม่ยอมรับเรื่องนี้ เราเห็นว่าถ้าจะเอาไว้บนหิ้งก็ไม่เห็นจะเป็นไร ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญพม่าได้เขียนกันไว้แล้วว่า ห้ามคนที่มีสามีต่างชาติลงสมัครรับเลือกตั้ง นี่คือประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--