รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง สื่อ..ความหวังของเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมกำหนดยุทธศาสตร์สื่อกับการร่วมสร้างวัฒนธรรมครอบครัวคุณธรรม
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้อง 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง"สื่อ...ความหวังของเด็ก เยาวชนและ ครอบครัว" ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมกำหนดยุทธศาสตร์สื่อกับการร่วมสร้างวัฒนธรรมครอบครัวคุณธรรม โดยมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน ภาคธุรกิจ สภาเยาวชน ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟัง
โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า นับเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ผู้แทนจากองค์กรและหน่วยงานทุกภาคส่วนได้มีโอกาสมาหารือร่วมกันในเรื่องสื่อกับการสร้าง วัฒนธรรมคุณธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน และครอบครัว ซึ่งการประชุมครั้งนี้ เกิดจากการตระหนักร่วมกันของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและผศ.ดร.สุทิน นพเกตุ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่เห็นตรงกันถึงปัญหาของสื่อที่มีอิทธิพลต่อสังคม โดยเฉพาะผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ค่านิยมด้านการบริโภค ซึ่งล้วนเกิดจากความรู้ไม่เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชน ถึงเวลาแล้วที่สังคมจะต้องมีการตื่นตัว และตระหนักถึงผลที่นำไปสู่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในวัยต่าง ๆ ในทางที่ไม่เหมาะสมและน่าห่วงใยเป็นอย่างมาก
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาสังคมไทยเป็นสังคมที่ เอาตัวรอด คือรักลูกตัวเองมากกว่าลูกคนอื่น เพราะฉะนั้นการสร้างจิตสำนึกให้รักลูกคนอื่นให้เสมือนลูกหลานของตัวเอง จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันคิดและหาแนวทาง โดยเริ่มต้นจากจิตสำนึกก่อน และร่วมกันวางระบบสังคมไม่ใช่เป็นผู้ปฏิบัติการอย่างเดียว จากนั้นต้องมีการเตรียมการองค์ความรู้ทั้งในเชิงกระบวนการการทำงานผ่านสื่อภาครัฐที่มีเป็นจำนวนมาก ให้ทุกคนได้นำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาช่วยสนับสนุนในการทำกิจกรรมผ่านสื่อ โดยให้กิจกรรมมีการขับเคลื่อนด้วยสติปัญญาและองค์ความรู้ ไม่ใช่สัญชาตญาณของผู้ที่เกี่ยวข้องแต่เพียงอย่างเดียว รวมทั้งการขอความร่วมมือจากสื่อภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันจะต้องมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสื่อไทยและสื่อระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ระหว่างกันทั้งสองฝ่าย
พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า นอกจากรัฐบาลได้มีการปรับปรุงพัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ให้เป็นสถานีโทรทัศน์ NBT แล้ว ยังมีแนวคิดที่จะจัดตั้งสถานีโทรทัศน์กีฬา และสถานีโทรทัศน์อาเซียน ซึ่งสถานีโทรทัศน์อาเซียนจะดำเนินการด้านอาเซียน เป็นช่องวาไรตี้ ภาคภาษาอังกฤษ โดยมีรายการต่าง ๆ อาทิ การทำอาหาร รายการกีฬา ท่องเที่ยว และละคร เป็นต้น ซึ่งจะจัดทำโดยหลายชาติจากอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย และส่งไปให้คนทั้งภูมิภาคอาเซียน 550 ล้านคน ส่วนสถานีโทรทัศน์กีฬาจะมุ่งส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมกีฬา เพื่อที่กระตุ้นให้คนออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้ง
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเวลาของสถานีโทรทัศน์ NBT ในช่วงเวลาเที่ยงคืนครึ่งจนถึงเวลาประมาณตีสามว่า จะเป็นเวลาสำหรับกลุ่มเด็กที่นอนไม่หลับ หรือเด็กที่ติดอินเตอร์เน็ท โดยจะจัดทำรายการที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ที่ไม่จำกัดรูปแบบ อาทิ การแสดงงานศิลปะ ประกวดภาพเขียน ประกวดเว็บบอร์ด ประกวดหนังสั้น เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์อีกทางหนึ่ง และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเหมาะสมระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งทั้งสองก็จะได้รับประโยชน์ระหว่างกันมากขึ้น คือผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้พลังสร้างสรรค์ของเด็กได้มาก ส่วนเด็กก็จะได้เรียนรู้ภูมิปัญญาและประสบการณ์จากผู้ใหญ่ได้มากเช่นเดียวกัน
สำหรับการประชุมฯ ในช่วงเช้า ผศ.ดร.สุทิน นพเกตุ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมมีการอภิปรายเพื่อหาแนวทางความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายเคลื่อนไหวสังคมคุณธรรม และแนวทางในการดูแลเฝ้าระวัง สำรวจ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชนและครอบครัวอย่างสร้างสรรค์ โดยได้มีการนำข้อสรุปเสนอ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาในการสนับสนุนการดำเนินการ ดังกล่าวให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้อง 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง"สื่อ...ความหวังของเด็ก เยาวชนและ ครอบครัว" ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมกำหนดยุทธศาสตร์สื่อกับการร่วมสร้างวัฒนธรรมครอบครัวคุณธรรม โดยมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน ภาคธุรกิจ สภาเยาวชน ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟัง
โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า นับเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ผู้แทนจากองค์กรและหน่วยงานทุกภาคส่วนได้มีโอกาสมาหารือร่วมกันในเรื่องสื่อกับการสร้าง วัฒนธรรมคุณธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน และครอบครัว ซึ่งการประชุมครั้งนี้ เกิดจากการตระหนักร่วมกันของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและผศ.ดร.สุทิน นพเกตุ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่เห็นตรงกันถึงปัญหาของสื่อที่มีอิทธิพลต่อสังคม โดยเฉพาะผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ค่านิยมด้านการบริโภค ซึ่งล้วนเกิดจากความรู้ไม่เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชน ถึงเวลาแล้วที่สังคมจะต้องมีการตื่นตัว และตระหนักถึงผลที่นำไปสู่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในวัยต่าง ๆ ในทางที่ไม่เหมาะสมและน่าห่วงใยเป็นอย่างมาก
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาสังคมไทยเป็นสังคมที่ เอาตัวรอด คือรักลูกตัวเองมากกว่าลูกคนอื่น เพราะฉะนั้นการสร้างจิตสำนึกให้รักลูกคนอื่นให้เสมือนลูกหลานของตัวเอง จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันคิดและหาแนวทาง โดยเริ่มต้นจากจิตสำนึกก่อน และร่วมกันวางระบบสังคมไม่ใช่เป็นผู้ปฏิบัติการอย่างเดียว จากนั้นต้องมีการเตรียมการองค์ความรู้ทั้งในเชิงกระบวนการการทำงานผ่านสื่อภาครัฐที่มีเป็นจำนวนมาก ให้ทุกคนได้นำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาช่วยสนับสนุนในการทำกิจกรรมผ่านสื่อ โดยให้กิจกรรมมีการขับเคลื่อนด้วยสติปัญญาและองค์ความรู้ ไม่ใช่สัญชาตญาณของผู้ที่เกี่ยวข้องแต่เพียงอย่างเดียว รวมทั้งการขอความร่วมมือจากสื่อภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันจะต้องมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสื่อไทยและสื่อระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ระหว่างกันทั้งสองฝ่าย
พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า นอกจากรัฐบาลได้มีการปรับปรุงพัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ให้เป็นสถานีโทรทัศน์ NBT แล้ว ยังมีแนวคิดที่จะจัดตั้งสถานีโทรทัศน์กีฬา และสถานีโทรทัศน์อาเซียน ซึ่งสถานีโทรทัศน์อาเซียนจะดำเนินการด้านอาเซียน เป็นช่องวาไรตี้ ภาคภาษาอังกฤษ โดยมีรายการต่าง ๆ อาทิ การทำอาหาร รายการกีฬา ท่องเที่ยว และละคร เป็นต้น ซึ่งจะจัดทำโดยหลายชาติจากอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย และส่งไปให้คนทั้งภูมิภาคอาเซียน 550 ล้านคน ส่วนสถานีโทรทัศน์กีฬาจะมุ่งส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมกีฬา เพื่อที่กระตุ้นให้คนออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้ง
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเวลาของสถานีโทรทัศน์ NBT ในช่วงเวลาเที่ยงคืนครึ่งจนถึงเวลาประมาณตีสามว่า จะเป็นเวลาสำหรับกลุ่มเด็กที่นอนไม่หลับ หรือเด็กที่ติดอินเตอร์เน็ท โดยจะจัดทำรายการที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ที่ไม่จำกัดรูปแบบ อาทิ การแสดงงานศิลปะ ประกวดภาพเขียน ประกวดเว็บบอร์ด ประกวดหนังสั้น เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์อีกทางหนึ่ง และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเหมาะสมระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งทั้งสองก็จะได้รับประโยชน์ระหว่างกันมากขึ้น คือผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้พลังสร้างสรรค์ของเด็กได้มาก ส่วนเด็กก็จะได้เรียนรู้ภูมิปัญญาและประสบการณ์จากผู้ใหญ่ได้มากเช่นเดียวกัน
สำหรับการประชุมฯ ในช่วงเช้า ผศ.ดร.สุทิน นพเกตุ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมมีการอภิปรายเพื่อหาแนวทางความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายเคลื่อนไหวสังคมคุณธรรม และแนวทางในการดูแลเฝ้าระวัง สำรวจ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชนและครอบครัวอย่างสร้างสรรค์ โดยได้มีการนำข้อสรุปเสนอ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาในการสนับสนุนการดำเนินการ ดังกล่าวให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--