ไทย-พม่า พร้อมกระชับความร่วมมือเศรษฐกิจ พลังงาน คมนาคมและท่าเรือน้ำลึก
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และพลเอกเต็ง เส่ง (Gen. Thein Sein) นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า (Prime Minister of the Union of Myanmar) ร่วมพิธีต้อนรับในโอกาสนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 29 เมษายน -1 พฤษภาคม 2551
หลังจากนั้น เวลา 10.00 น. นายกรัฐมนตรีเชิญนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ไปยังตึกสันติไมตรีหลังใน เพื่อหารือข้อราชการแบบเต็มคณะ ประกอบด้วย บุคคลระดับสูงทั้งฝ่ายไทยและสหภาพพม่า อาทิ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ฝ่ายพม่าประกอบด้วย นาย ญาณ วิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายโซ ทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนแห่งชาติและการพัฒนาเศรษฐกิจ พลตรี เต็ง ส่วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงขนส่ง นาย อ่อง จี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พลจัตวา มิ้นท์ เต็ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงก่อสร้าง พลจัตวา โพง ส่วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สรุปสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้
1) ความคืบหน้ากระบวนการประชาธิปไตยในพม่า นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่ากล่าวเกี่ยวกับความก้าวหน้ากระบวนการประชาธิปไตยในพม่าว่า สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ กำหนดให้มีการจัดการลงประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 10 พฤษภาคม ศกนี้ และจะใช้เวลาอีก 2 ปี เพื่อพรรคการเมืองจะได้มีเวลาเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป หลังจากนั้น รัฐบาลทหารก็จะส่งต่อการบริหารประเทศให้กับรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง หากมีอุปสรรคไม่ว่าจะจากภายในหรือภายนอก อาจจะทำให้กำหนดการดังกล่าวมีความล่าช้าได้ ซึ่งพม่าจำเป็นต้องอาศัยความสนับสนุนจากเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลพม่ายังยืนยันว่า จะไม่ยินยอมให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ใช้ดินแดนพม่าสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ดำเนินนโยบายให้ผู้ต่อต้านรัฐบาลเข้ามาร่วมพัฒนาประเทศ แต่ยังมีกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่เหลือ อาทิ KNU เป็นต้น ซึ่งอาจมีผลต่อการความมั่นคงตามบริเวณชายแดน และปัญหายาเสพติด
2) ความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-พม่า เน้นพลังงาน คมนาคม นายกรัฐมนตรีพม่ากล่าวถึงเงื่อนไข 3 ประการเพื่อการพัฒนาประเทศของสหภาพพม่าว่า พม่าให้ความสำคัญต่อความมั่นคงภายในประเทศ ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยวางเป้าหมายในการพัฒนา 3 ระดับ คือ พัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ พื้นที่ชนบทและพื้นที่ชายแดน การพัฒนาเศรษฐกิจระยะสั้นที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยเศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังเสนอให้ เวียดนาม สปป. ลาว กัมพูชา พม่าและไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวให้มีความร่วมมือกันในกันอย่างใกล้ชิด จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางราคาข้าวในตลาดโลกได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรของประเทศโดยตรง
3) ความร่วมมือด้านพลังงาน นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความชื่นชม ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศ โดยบริษัท ปตท.สพ. ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติที่แปลง M 9 ได้ ไทยจะได้ช่วยพัฒนาการวางท่อก๊าซรวมทั้งการพัฒนาพลังงานด้านอื่น โดยเฉพาะความร่วมมือด้านพลังงานจากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำท่าซาง ซึ่งอาจมีการยกระดับความร่วมมือในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมได้เร็วยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ
4) การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย นายกรัฐมนตรีขอบคุณพม่าที่สนับสนุนบริษัทเอกชนของไทย และเร่งดำเนินการให้มีความก้าวหน้า รวมทั้งจะได้มีการพัฒนาต่อเนื่อง ทั้งการสร้างนิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาเส้นทางรถไฟ การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศ 4 ประเทศจากจีน ลาว ไทย พม่า ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวไทยยังเห็นว่า อาจมีการพัฒนาเมืองทวายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งจะเป็นการเปิดประตูพม่าสู่นานาประเทศได้อีกทางหนึ่ง
5) การพัฒนาเส้นทางคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการติดต่อระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศและการส่งเสริมการค้า ซึ่งจะมีการส่งมอบถนนช่วงจาก อ. แม่สอด ไปถึงเชิงเขาตะนาวศรี ระยะทาง 18 กิโลเมตร ให้พม่า และทั้งสองประเทศจะได้มีการหารือเรื่องการสร้างถนนต่อเนื่องถึงเมืองกอระเร็ก และเมืองเมาะลำไย ทั้งทางถนนและรถไฟ เพื่อช่วยในการส่งสินค้าและเชื่อมต่อไปยังจีนและอินเดียด้วย
6) การแก้ไขปัญหาแรงงานและการต่อต้านการค้ามนุษย์ ทั้งสองประเทศได้เสียความเสียใจต่อ จากเหตุการณ์การเสียชีวิตของแรงงานลักลอบ 54 ศพ รัฐบาลทั้งสองจะเร่งรัดให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเร็ว รวมทั้งการจัดทำการพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้แรงงานผิดกฎหมายสามารถเข้าสู่ระบบ เพื่อความปลอดภัยทั้งฝ่ายนายจ้างชาวไทยและลูกจ้างเอง
7) ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด นายกรัฐมนตรีพม่าและไทย ยังได้เห็นพ้องกระชับความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด โดยนายกรัฐมนตรีพม่าได้กล่าวว่า ได้กำหนดให้การปราบปรามยาเสพติดในพม่าเป็นวาระแห่งชาติ และมีการดำเนินการมาโดยตลอด ทำให้ปริมาณการปลูกฝิ่นลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามปัญหายาบ้าในพม่ามีความรุนแรงขึ้น ซึ่งพม่าไม่สามารถผลิตสารตั้งต้นในการผลิตยาบ้า ทำให้มีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ไทยและพม่าจำเป็นต้องร่วมมือกับไทยเพื่อยุติการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้ มีการจัดการประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC) ครั้งที่ 7 ซึ่งเป็นวาระที่พม่าจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้เชิญนายกรัฐมนตรีพม่าเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปลายปีนี้ ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีที่พม่าจะได้พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และพลเอกเต็ง เส่ง (Gen. Thein Sein) นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า (Prime Minister of the Union of Myanmar) ร่วมพิธีต้อนรับในโอกาสนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 29 เมษายน -1 พฤษภาคม 2551
หลังจากนั้น เวลา 10.00 น. นายกรัฐมนตรีเชิญนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ไปยังตึกสันติไมตรีหลังใน เพื่อหารือข้อราชการแบบเต็มคณะ ประกอบด้วย บุคคลระดับสูงทั้งฝ่ายไทยและสหภาพพม่า อาทิ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ฝ่ายพม่าประกอบด้วย นาย ญาณ วิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายโซ ทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนแห่งชาติและการพัฒนาเศรษฐกิจ พลตรี เต็ง ส่วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงขนส่ง นาย อ่อง จี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พลจัตวา มิ้นท์ เต็ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงก่อสร้าง พลจัตวา โพง ส่วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สรุปสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้
1) ความคืบหน้ากระบวนการประชาธิปไตยในพม่า นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่ากล่าวเกี่ยวกับความก้าวหน้ากระบวนการประชาธิปไตยในพม่าว่า สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ กำหนดให้มีการจัดการลงประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 10 พฤษภาคม ศกนี้ และจะใช้เวลาอีก 2 ปี เพื่อพรรคการเมืองจะได้มีเวลาเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป หลังจากนั้น รัฐบาลทหารก็จะส่งต่อการบริหารประเทศให้กับรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง หากมีอุปสรรคไม่ว่าจะจากภายในหรือภายนอก อาจจะทำให้กำหนดการดังกล่าวมีความล่าช้าได้ ซึ่งพม่าจำเป็นต้องอาศัยความสนับสนุนจากเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลพม่ายังยืนยันว่า จะไม่ยินยอมให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ใช้ดินแดนพม่าสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ดำเนินนโยบายให้ผู้ต่อต้านรัฐบาลเข้ามาร่วมพัฒนาประเทศ แต่ยังมีกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่เหลือ อาทิ KNU เป็นต้น ซึ่งอาจมีผลต่อการความมั่นคงตามบริเวณชายแดน และปัญหายาเสพติด
2) ความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-พม่า เน้นพลังงาน คมนาคม นายกรัฐมนตรีพม่ากล่าวถึงเงื่อนไข 3 ประการเพื่อการพัฒนาประเทศของสหภาพพม่าว่า พม่าให้ความสำคัญต่อความมั่นคงภายในประเทศ ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยวางเป้าหมายในการพัฒนา 3 ระดับ คือ พัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ พื้นที่ชนบทและพื้นที่ชายแดน การพัฒนาเศรษฐกิจระยะสั้นที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยเศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังเสนอให้ เวียดนาม สปป. ลาว กัมพูชา พม่าและไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวให้มีความร่วมมือกันในกันอย่างใกล้ชิด จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางราคาข้าวในตลาดโลกได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรของประเทศโดยตรง
3) ความร่วมมือด้านพลังงาน นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความชื่นชม ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศ โดยบริษัท ปตท.สพ. ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติที่แปลง M 9 ได้ ไทยจะได้ช่วยพัฒนาการวางท่อก๊าซรวมทั้งการพัฒนาพลังงานด้านอื่น โดยเฉพาะความร่วมมือด้านพลังงานจากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำท่าซาง ซึ่งอาจมีการยกระดับความร่วมมือในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมได้เร็วยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ
4) การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย นายกรัฐมนตรีขอบคุณพม่าที่สนับสนุนบริษัทเอกชนของไทย และเร่งดำเนินการให้มีความก้าวหน้า รวมทั้งจะได้มีการพัฒนาต่อเนื่อง ทั้งการสร้างนิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาเส้นทางรถไฟ การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศ 4 ประเทศจากจีน ลาว ไทย พม่า ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวไทยยังเห็นว่า อาจมีการพัฒนาเมืองทวายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งจะเป็นการเปิดประตูพม่าสู่นานาประเทศได้อีกทางหนึ่ง
5) การพัฒนาเส้นทางคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการติดต่อระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศและการส่งเสริมการค้า ซึ่งจะมีการส่งมอบถนนช่วงจาก อ. แม่สอด ไปถึงเชิงเขาตะนาวศรี ระยะทาง 18 กิโลเมตร ให้พม่า และทั้งสองประเทศจะได้มีการหารือเรื่องการสร้างถนนต่อเนื่องถึงเมืองกอระเร็ก และเมืองเมาะลำไย ทั้งทางถนนและรถไฟ เพื่อช่วยในการส่งสินค้าและเชื่อมต่อไปยังจีนและอินเดียด้วย
6) การแก้ไขปัญหาแรงงานและการต่อต้านการค้ามนุษย์ ทั้งสองประเทศได้เสียความเสียใจต่อ จากเหตุการณ์การเสียชีวิตของแรงงานลักลอบ 54 ศพ รัฐบาลทั้งสองจะเร่งรัดให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเร็ว รวมทั้งการจัดทำการพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้แรงงานผิดกฎหมายสามารถเข้าสู่ระบบ เพื่อความปลอดภัยทั้งฝ่ายนายจ้างชาวไทยและลูกจ้างเอง
7) ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด นายกรัฐมนตรีพม่าและไทย ยังได้เห็นพ้องกระชับความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด โดยนายกรัฐมนตรีพม่าได้กล่าวว่า ได้กำหนดให้การปราบปรามยาเสพติดในพม่าเป็นวาระแห่งชาติ และมีการดำเนินการมาโดยตลอด ทำให้ปริมาณการปลูกฝิ่นลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามปัญหายาบ้าในพม่ามีความรุนแรงขึ้น ซึ่งพม่าไม่สามารถผลิตสารตั้งต้นในการผลิตยาบ้า ทำให้มีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ไทยและพม่าจำเป็นต้องร่วมมือกับไทยเพื่อยุติการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้ มีการจัดการประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC) ครั้งที่ 7 ซึ่งเป็นวาระที่พม่าจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้เชิญนายกรัฐมนตรีพม่าเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปลายปีนี้ ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีที่พม่าจะได้พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--