นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีโอนเงินโครงการ SML ให้กับหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศอย่างเป็นทางการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,385,300,000 บาท
เมื่อวานนี้ (29 เม.ย.) เวลา 17.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีโอนเงินโครงการ SML ให้กับหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศอย่างเป็นทางการ จำนวน 5,881 หมู่บ้าน จำนวน 7,006 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,385,300,000 บาท โดยมี นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และกลุ่มภาคีทั้ง 6 ได้แก่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมทั้งตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 1,500 คน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551 โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 10,000 ล้านบาทเพื่อดำเนินโครงการฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำประชาคมเป็นความสำเร็จของความคิดของคนที่คิดว่า พื้นที่ที่อยู่ไกลและแห้งแล้งต้องการการพัฒนา
ทั้งนี้ โครงการ SML เกิดจากนิยายเรื่องไอศกรีมกับชาวชนบท ที่รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องการให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลได้รับประทานไอศกรีม จึงทำไอศกรีมที่ทำเนียบรัฐบาล กว่าจะไปถึงประชาชนที่อยู่ห่างไกล ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ชิมไอศกรีมจนเหลือติดปลายไม้ ดังนั้น รัฐบาลชุดที่ผ่านมาจึงเห็นว่าควรทำไอศกรีมที่หมู่บ้าน จึงได้ริเริ่มโครงการ SML ขึ้น โดยให้แต่ละหมู่บ้านทำประชาคมที่มีชาวบ้านอายุเกิน 15 ปี มาร่วมระดมความคิดและคัดเลือกโครงการของหมู่บ้านที่จะดำเนินการ จนประสบความสำเร็จ เช่น โครงการทำลูกก้อนเพื่อปลูกเห็ด เป็นต้น
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้พูดคุยกับตัวแทนหมู่บ้าน/ชุมชนที่ประสบความสำเร็จในดำเนินโครงการ SML ผ่านระบบ Tele Conference รวม 5 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดลำพูน จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดสงขลา
หลังจากนั้น ประธานคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้มอบโล่ให้แก่หมู่บ้านตัวอย่างดีเด่น จำนวน 15 หมู่บ้าน ซึ่งผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 1) การบริหารจัดการที่ดี โดยโครงการดังกล่าวจะต้องก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง รวมใจ และการระดมทุนของชาวบ้านในชุมชน 2) ความสำเร็จ โดยจะประเมินจากการสร้างงาน รายได้ และลดรายจ่าย รวมทั้งความสามารถในการจัดสรรรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) ความยั่งยืน โดยจะต้องก่อนให้เกิดความต่อเนื่องและขยายผลของโครงการไปสู่โครงการอื่นๆ
ภายในงานได้มีการจัดแสดงตลาดนัดความรู้ SML เพื่อให้ตัวแทนชุมชนที่มาร่วมงานครั้งนี้ได้ศึกษาและนำไปพัฒนาต่อยอดโครงการของหมู่บ้านตนเอง โดยแสดงตัวอย่างโครงการการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน อาทิ ผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โครงการ SML ที่ประสบความสำเร็จจากชุมชนต่างๆ รวม 15 โครงการ อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ศูนย์ทดลองวิชาการพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน คลินิกเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนจากมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน สำนักอำนวยการคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อวานนี้ (29 เม.ย.) เวลา 17.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีโอนเงินโครงการ SML ให้กับหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศอย่างเป็นทางการ จำนวน 5,881 หมู่บ้าน จำนวน 7,006 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,385,300,000 บาท โดยมี นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และกลุ่มภาคีทั้ง 6 ได้แก่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมทั้งตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 1,500 คน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551 โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 10,000 ล้านบาทเพื่อดำเนินโครงการฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำประชาคมเป็นความสำเร็จของความคิดของคนที่คิดว่า พื้นที่ที่อยู่ไกลและแห้งแล้งต้องการการพัฒนา
ทั้งนี้ โครงการ SML เกิดจากนิยายเรื่องไอศกรีมกับชาวชนบท ที่รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องการให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลได้รับประทานไอศกรีม จึงทำไอศกรีมที่ทำเนียบรัฐบาล กว่าจะไปถึงประชาชนที่อยู่ห่างไกล ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ชิมไอศกรีมจนเหลือติดปลายไม้ ดังนั้น รัฐบาลชุดที่ผ่านมาจึงเห็นว่าควรทำไอศกรีมที่หมู่บ้าน จึงได้ริเริ่มโครงการ SML ขึ้น โดยให้แต่ละหมู่บ้านทำประชาคมที่มีชาวบ้านอายุเกิน 15 ปี มาร่วมระดมความคิดและคัดเลือกโครงการของหมู่บ้านที่จะดำเนินการ จนประสบความสำเร็จ เช่น โครงการทำลูกก้อนเพื่อปลูกเห็ด เป็นต้น
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้พูดคุยกับตัวแทนหมู่บ้าน/ชุมชนที่ประสบความสำเร็จในดำเนินโครงการ SML ผ่านระบบ Tele Conference รวม 5 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดลำพูน จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดสงขลา
หลังจากนั้น ประธานคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้มอบโล่ให้แก่หมู่บ้านตัวอย่างดีเด่น จำนวน 15 หมู่บ้าน ซึ่งผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 1) การบริหารจัดการที่ดี โดยโครงการดังกล่าวจะต้องก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง รวมใจ และการระดมทุนของชาวบ้านในชุมชน 2) ความสำเร็จ โดยจะประเมินจากการสร้างงาน รายได้ และลดรายจ่าย รวมทั้งความสามารถในการจัดสรรรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) ความยั่งยืน โดยจะต้องก่อนให้เกิดความต่อเนื่องและขยายผลของโครงการไปสู่โครงการอื่นๆ
ภายในงานได้มีการจัดแสดงตลาดนัดความรู้ SML เพื่อให้ตัวแทนชุมชนที่มาร่วมงานครั้งนี้ได้ศึกษาและนำไปพัฒนาต่อยอดโครงการของหมู่บ้านตนเอง โดยแสดงตัวอย่างโครงการการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน อาทิ ผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โครงการ SML ที่ประสบความสำเร็จจากชุมชนต่างๆ รวม 15 โครงการ อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ศูนย์ทดลองวิชาการพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน คลินิกเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนจากมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน สำนักอำนวยการคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--