นายกรัฐมนตรีเผยเมนูอาหารค่ำที่จัดเตรียมไว้เพื่อเลี้ยงต้อนรับพลเอก เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า พร้อมจัดพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการที่ทำเนียบรัฐบาลวันพรุ่งนี้
วันนี้ เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการเปิดบ้านพักย่านนวมินทร์ เพื่อเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับพลเอก เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ว่า ได้เตรียมทำอาหารให้รับประทาน เป็นแกงเผ็ดลูกชิ้นปลากรายกับขนนจีน ไข่เค็ม หมูแดดเดียว ปลาสลิดทอด ปลาทับทิม 3 รส ห่อหมกจากร้านบ้านจันทร์เพ็ญ นอกจากนี้ยังมีสลัดไก่อบทำเอง และสตูลิ้นที่ซื้อจากร้านสไปซ์ สตรอรีย์ ที่สยามพารากอน ของหวานจะเป็นข้าวเหนียวมะม่วง ผลไม้จะมีเงาะ ลางสาด ลองกองและสละ รวมทั้งน้ำชากาแฟ เพื่อให้รัฐมนตรี 7 คนและ 1 นายกรัฐมนตรีของไทย และจากพม่าอีก 8 คน รวมทั้งคณะอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดจะประมาณ 20 คน แต่ไม่ได้เป็นคนลงมือปรุงอาหารเอง เพราะมีภารกิจมาก พอเสร็จจากภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาลประมาณ 17.00 น. ก็ต้องรีบกลับไปเตรียมตัวทันที
ผู้สื่อข่าวถามว่า การพบปะกับนายกรัฐมนตรีพม่า จะมีประเด็นหารือพิเศษหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะเป็นการสนทนากันเป็นการส่วนตัว และจะไม่มีการแถลงข่าว ซึ่งเมื่อวันที่ 30 —31 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ไปประชุมที่ประเทศลาวนั้น นายกรัฐมนตรี 6 ประเทศได้พูดคุยกันแล้ว และในวันที่ 14 ธันวาคม จะมี 10 นายกรัฐมนตรีอาเซียนมาคุยกันอีก ซึ่งตนจะพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีพม่าหลายเรื่อง แต่จะไม่มีการคุยนอกเรื่อง เพราะกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้กำหนดท่าทีของประเทศไทย แต่ก่อนหน้านี้ ก็ได้คุยกับหลายคนที่อยากจะรู้เรื่องความเป็นมาเป็นไปของพม่าหลายรายแล้วในประเทศไทย แต่อยู่ในฐานะของนายสมัคร สุนทรเวช ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีประเทศไทย โดยส่วนมากเป็นการปิดประตูคุย ซึ่งจะมีการปิดประตูคุยกันอีกในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเดินทางเยือนของนายกรัฐมนตรีพม่า เป็นการเดินทางเยือนอย่างเป็นทางการหรือส่วนตัว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่ส่วนตัว รัฐบาลไทยเชิญนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า มาเอง ซึ่งเวลาที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนประเทศสหภาพพม่า เขาก็ต้องเชิญนายกรัฐมนตรี เป็นธรรมเนียม กระทรวงการต่างประเทศก็ต้องติดต่อ ไปสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ ซึ่งวันพรุ่งนี้ (30 เม.ย.) เวลา 09.00 น. จะมีพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมทั้งเลี้ยงอาหารกลางวันด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากนายกรัฐมนตรีไทยชวนนายกรัฐมนตรีพม่า แล้วมีใครไปประท้วงบ้านเมืองนี้ก็ไม่น่าอยู่แล้ว เพราะนายกรัฐมนตรีพม่าก็เป็นคนธรรมดา ซึ่งมีหนังสือพิมพ์ต่างชาติมาวิจารณ์ตน ตอนที่บอกว่าพลเอก เต็ง เส่ง เป็นคนธรรมะธัมโม และหากมีการมาเคลื่อนไหวต่อต้านที่บ้านนายกฯ นั้นจะไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพไปหน่อยหรือ
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 30 เมษายน จะมีการพูดคุยกันถึงเรื่องท่าเรือน้ำลึกที่ทวาย และเรื่องรถไฟที่จะเชื่อมต่อกัน จากนั้นจะมีการพูดคุยกับรัฐบาลจีนเรื่องรถไฟอีก เพราะเส้นทางนั้นจะมาจากคุนหมิง ผ่านลาว หนองคาย มามาบตาพุด บ้านภาชี หนองปลาดุก ไปกาญจนบุรี แล้วไปท่าเรือที่เรากำลังจะก่อสร้างโดยร่วมมือกับพม่า ซึ่งจะมีการต่อท่อก๊าชกันด้วย ถ้าไม่คบหาสมาคมกันแล้วจะพัฒนาอย่างไร อย่างรถไฟเราจะไปถลุงเหล็กที่ลาว ซึ่งจะต้องมีการขนส่งผ่านทางนี้
ผู้สื่อข่าวถามถึงการทำประชามติรัฐธรรมนูญของพม่า นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้คุยไม่ได้ เพราะจะมีคนหาว่านายกฯ เป็นปากกระบอกให้พม่า แต่หลังจากมีประชามติกันแล้วจะมีพรรคการเมือง 3 พรรคของพลเรือนมาสู้กัน แล้วผู้นำทหารทั้งหลายจะอยู่เป็นทหาร โดยเริ่มต้นเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบเหมือนประเทศไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ที่ผ่านมาไทยเคยเสนอให้ความช่วยเหลือการจัดทำประชามติไปแล้ว เพราะไทยมีความพร้อม แต่พม่าไม่ได้ออกปากมาว่าอย่างไร
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการเปิดบ้านพักย่านนวมินทร์ เพื่อเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับพลเอก เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ว่า ได้เตรียมทำอาหารให้รับประทาน เป็นแกงเผ็ดลูกชิ้นปลากรายกับขนนจีน ไข่เค็ม หมูแดดเดียว ปลาสลิดทอด ปลาทับทิม 3 รส ห่อหมกจากร้านบ้านจันทร์เพ็ญ นอกจากนี้ยังมีสลัดไก่อบทำเอง และสตูลิ้นที่ซื้อจากร้านสไปซ์ สตรอรีย์ ที่สยามพารากอน ของหวานจะเป็นข้าวเหนียวมะม่วง ผลไม้จะมีเงาะ ลางสาด ลองกองและสละ รวมทั้งน้ำชากาแฟ เพื่อให้รัฐมนตรี 7 คนและ 1 นายกรัฐมนตรีของไทย และจากพม่าอีก 8 คน รวมทั้งคณะอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดจะประมาณ 20 คน แต่ไม่ได้เป็นคนลงมือปรุงอาหารเอง เพราะมีภารกิจมาก พอเสร็จจากภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาลประมาณ 17.00 น. ก็ต้องรีบกลับไปเตรียมตัวทันที
ผู้สื่อข่าวถามว่า การพบปะกับนายกรัฐมนตรีพม่า จะมีประเด็นหารือพิเศษหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะเป็นการสนทนากันเป็นการส่วนตัว และจะไม่มีการแถลงข่าว ซึ่งเมื่อวันที่ 30 —31 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ไปประชุมที่ประเทศลาวนั้น นายกรัฐมนตรี 6 ประเทศได้พูดคุยกันแล้ว และในวันที่ 14 ธันวาคม จะมี 10 นายกรัฐมนตรีอาเซียนมาคุยกันอีก ซึ่งตนจะพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีพม่าหลายเรื่อง แต่จะไม่มีการคุยนอกเรื่อง เพราะกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้กำหนดท่าทีของประเทศไทย แต่ก่อนหน้านี้ ก็ได้คุยกับหลายคนที่อยากจะรู้เรื่องความเป็นมาเป็นไปของพม่าหลายรายแล้วในประเทศไทย แต่อยู่ในฐานะของนายสมัคร สุนทรเวช ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีประเทศไทย โดยส่วนมากเป็นการปิดประตูคุย ซึ่งจะมีการปิดประตูคุยกันอีกในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเดินทางเยือนของนายกรัฐมนตรีพม่า เป็นการเดินทางเยือนอย่างเป็นทางการหรือส่วนตัว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่ส่วนตัว รัฐบาลไทยเชิญนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า มาเอง ซึ่งเวลาที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนประเทศสหภาพพม่า เขาก็ต้องเชิญนายกรัฐมนตรี เป็นธรรมเนียม กระทรวงการต่างประเทศก็ต้องติดต่อ ไปสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ ซึ่งวันพรุ่งนี้ (30 เม.ย.) เวลา 09.00 น. จะมีพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมทั้งเลี้ยงอาหารกลางวันด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากนายกรัฐมนตรีไทยชวนนายกรัฐมนตรีพม่า แล้วมีใครไปประท้วงบ้านเมืองนี้ก็ไม่น่าอยู่แล้ว เพราะนายกรัฐมนตรีพม่าก็เป็นคนธรรมดา ซึ่งมีหนังสือพิมพ์ต่างชาติมาวิจารณ์ตน ตอนที่บอกว่าพลเอก เต็ง เส่ง เป็นคนธรรมะธัมโม และหากมีการมาเคลื่อนไหวต่อต้านที่บ้านนายกฯ นั้นจะไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพไปหน่อยหรือ
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 30 เมษายน จะมีการพูดคุยกันถึงเรื่องท่าเรือน้ำลึกที่ทวาย และเรื่องรถไฟที่จะเชื่อมต่อกัน จากนั้นจะมีการพูดคุยกับรัฐบาลจีนเรื่องรถไฟอีก เพราะเส้นทางนั้นจะมาจากคุนหมิง ผ่านลาว หนองคาย มามาบตาพุด บ้านภาชี หนองปลาดุก ไปกาญจนบุรี แล้วไปท่าเรือที่เรากำลังจะก่อสร้างโดยร่วมมือกับพม่า ซึ่งจะมีการต่อท่อก๊าชกันด้วย ถ้าไม่คบหาสมาคมกันแล้วจะพัฒนาอย่างไร อย่างรถไฟเราจะไปถลุงเหล็กที่ลาว ซึ่งจะต้องมีการขนส่งผ่านทางนี้
ผู้สื่อข่าวถามถึงการทำประชามติรัฐธรรมนูญของพม่า นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้คุยไม่ได้ เพราะจะมีคนหาว่านายกฯ เป็นปากกระบอกให้พม่า แต่หลังจากมีประชามติกันแล้วจะมีพรรคการเมือง 3 พรรคของพลเรือนมาสู้กัน แล้วผู้นำทหารทั้งหลายจะอยู่เป็นทหาร โดยเริ่มต้นเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบเหมือนประเทศไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ที่ผ่านมาไทยเคยเสนอให้ความช่วยเหลือการจัดทำประชามติไปแล้ว เพราะไทยมีความพร้อม แต่พม่าไม่ได้ออกปากมาว่าอย่างไร
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--