นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและกล่าวสุนทรพจน์พิธีเปิดประชุม Business Summit ไทย-สหรัฐฯ ในโอกาสครบรอบ 175 ปี ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีที่ได้ต้อนรับเหล่านักธุรกิจชั้นนำและมิตรสหายของประเทศไทยที่ได้มาพบกันในเวลาอันเหมาะสมในวันนี้ และถือโอกาสนี้ แสดงความขอบคุณ นาย Chris Padilla ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ที่ได้นำผู้แทนจากสหรัฐฯมาเยือนไทย US-ASEAN Business Council และ the American Chamber of Commerce หรือ สภาหอการค้าสหรัฐฯ ที่ช่วยกันจัดงานในวันนี้ รวมทั้ง นาย Eric John เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า การอภิปรายซึ่งใช้เวลา 2 วันนี้ จะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์รวมทั้งความเป็นพันธมิตรที่เหนี่ยวแน่นยิ่งขึ้น
เนื่องในปีนี้ เป็นปีที่ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ครบรอบ 175 ปี ประเทศไทยได้วางแผนการจัดกิจกรรมหลายอย่างเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการเริ่มต้นที่ดี ประเทศไทยได้จัดทำตราสัญลักษณ์ในโอกาสพิเศษนี้ขึ้น ดังที่ทุกคนได้เห็นในที่นี้ ในปีนี้ยังเป็นปีที่ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปีนี้ ซึ่งถือเป็นโอกาสพิเศษยิ่งขึ้นไปอีกเป็นสองเท่า สำหรับการกระชับความสัมพันธ์ทั้งในระดับทวิภาคีและความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-อาเซียน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีมีความยินดีที่ได้ทราบว่า ล่าสุด สภาสหรัฐฯ ได้แต่งตั้ง เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำอาเซียนคนแรก ณ กรุงจาการ์ต้า
อย่างไรก็ตาม ปีนี้ เป็นปีที่มีความสำคัญหลายประการ- กล่าวคือ ประเทศไทยได้ก้าวกลับสู่ประชาธิปไตยและมีเป้าหมายที่แน่ชัดว่าจะเดินไปข้างหน้า แม้ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เช่นเดียวกับประเทศอื่นในโลก ดังที่ทราบกันดีว่า ปีนี้เศรษฐกิจโลกไม่ค่อยจะสดใสนักเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับราคาอาหาร ภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้ง การเพิ่มขึ้นของค่าแรงทั้งในจีน เวียดนามและอินเดีย
แม้ว่า ประเทศไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์ ของสหรัฐฯ อย่างเต็มที่ แต่นี้ก็ทำให้ภาคการเงินของไทยอ่อนแอลง อย่างไรก็ดี รัฐบาลได้พยายามควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามไปสู่ภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมของประเทศ
นายกรัฐมนตรี ย้ำถึง สิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการเพื่อต่อต้านเศรษฐกิจโลกที่กำลังถดถอยรวมทั้งคงศักยภาพด้านการลงทุนสำหรับชาวต่างชาติต่อไป ประการแรก รัฐบาลจะเร่งเดินหน้าโครงการขนส่งมวลชน สร้างรถไฟรางคู่เพื่อเชื่อมเมืองใหญ่ ท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและบริการ รวมทั้งปรับปรุงโครงข่ายผู้ค้าทั้งระบบเพื่อกระตุ้นการลงทุนในประเทศ
สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลประกาศลดภาษีเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ รักษาความแข็งแรงของตลาด และปกป้องรากหญ้าจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ โครงการ SML ได้ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านทั้ง ขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของชุมชนและบรรเทาภาระหนี้ของชาวนา สำหรับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องนี้และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ
ขณะที่รักษาตลาดภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง ประเทศไทยยังคงเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ ไม่ใช้มาตรการการควบคุมทางการเงิน หรือจำกัดความเป็นเจ้าของกิจการของชาวต่างชาติแต่อย่างใด ทั้งนี้ ยินดีที่แจ้งถึงข่าวดีที่ว่า ขณะนี้ ประเทศไทยได้มีการผ่อนปรนกฎระเบียบเพื่อเอื้อต่อการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น รวมถึง ความเป็นเจ้าของธุรกิจวาณิชย์ธนกิจ การเช่า การจ้างผลิตตามสัญญา ธุรกิจนายหน้าต่างๆ สำหรับธุรกิจเกี่ยวกับการทำโฆษณา การบริหารจัดการโรงแรม ธุรกิจค้าปลีกเครื่องดื่มและอาหาร การให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ การให้บริการด้านการควบคุมโกดังสินค้า และธุรกิจบันเทิงต่างๆ ขณะนี้ ก็อยู่ใน รายการ ANNEX III ด้วยเงื่อนไขที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเชี่อว่า ข่าวดีนี้ ด้วยตัวของมันเองแล้ว คงทำให้รัฐบาลไม่ต้องบอกว่า ประเทศให้ความสำคัญกับการเปิดสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศมากแค่ไหน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปีนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตของประเทศไทยอย่างระมังระวัง อยู่ที่ร้อยละ 5 อย่างไรก็ดี รัฐบาลเชื่อว่า ประเทศไทยสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.5 เนื่องจากมีสัญญาณที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแรงและสามารถควบคุมได้ เห็นได้จาก เงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งทำให้มีช่องว่างมากพอสำหรับการลดภาษี หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารอยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกับ จำนวนหนี้เสียและภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยได้ปัดกวาดบ้านไว้เป็นอย่างดีและพร้อมแล้วที่จะต้อนรับแขกผู้มาเยือน
เมื่อปีที่แล้วการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 % เนื่องมาจากสถานการณ์ทางการเมือง ในปีนี้มีสิ่งใหม่ๆ เริ่มขึ้น ไทยพร้อมต้อนรับนักลงทุนชาวอเมริกันที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต ซึ่งประเทศไทยและอาเซียนนั้นถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและความมั่นคง
ปัจจุบัน ไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนที่มีตลาดขนาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย สินค้า บริการและประชาชนไหลเวียนผ่านประเทศไทย ไทยเป็นประเทศที่เอื้อประโยชน์และให้อิสระต่อนักลงทุนต่างประเทศ ภูมิภาคมีความเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวหน้า ประเทศไทยได้ทำ FTA กับญี่ปุ่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ไม่นานนี้ ASEAN ได้มีการลงนามความร่วมมือกับญี่ปุ่นไปและกำลังจะลงนามกับเกาหลีใต้ในเวลาต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเกี่ยวกับโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS ว่าให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น การสร้างถนนเพื่อเชื่อมโยงเส้นทาง การขยายเครือข่ายด้านการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงการขยายขอบเขตด้านการค้า และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งโครงการเหล่านี้ต้องการความร่วมมือจากนานาประเทศ
เมื่อเดือนที่แล้ว นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุม GMS ที่ลาว ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการวางแผนเชื่อมโยงเส้นทางการเดินทางระหว่างภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและการเรียนรู้ของภูมิภาค โดยเน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่นสถาบันแม่โขง (MI) ในจังหวัดขอนแก่น และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ที่กรุงเทพ ซึ่งได้มีความร่วมมือกับสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ความร่วมมือที่มีขอบเขตกว้างกว่า GMS คือ ASEAN ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย ASEAN ได้พยายามสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้น และไทยในฐานะประธาน ASEAN จะทำข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศคู่พันธมิตรให้มากขึ้น
ความร่วมมือจากสหรัฐฯจะช่วยให้ ASEAN บรรลุเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากต่างประเทศจะช่วยแก้ไขปัญหาในพม่า การพัฒนาทางด้านการค้าและเศรษฐกิจจะช่วยเปลี่ยนแปลงให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้น ธุรกิจอเมริกันสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ ASEAN และความก้าวหน้าของ ASEAN ก็ช่วยเกื้อหนุนเศรษฐกิจของสหรัฐฯเช่นเดียวกัน
ประเทศไทยและสหรัฐฯได้มีความสัมพันธ์ร่วมกันตั้งแต่ชาวอเมริกันได้เดินเรือมายังประเทศไทยเมื่อปี 1821 การทำธุรกิจและการค้าก็ได้เริ่มขึ้น อาจกล่าวได้ว่าสนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเมื่อปี 1833 (The Treaty of Amity and Commerce) และความสัมพันธ์ทางการเมืองได้สร้างประโยชน์ให้แก่ทั้งสองประเทศ มิตรภาพระหว่างไทย-สหรัฐฯได้สร้างเสถียรภาพและความมั่งคั่ง สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัย การป้องกันการก่อการร้าย การขาดแคลนพลังงาน การลักลอบค้ายาเสพติดและมนุษย์
ประเทศไทยยังคงให้ความสนใจในการค้าและการลงทุนของสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค สหรัฐฯเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่ง ของอาเซียนเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และ บ่อยครั้งที่เป็นประเทศคู่ค้าอันดับ หนึ่งของประเทศไทยเช่นกัน
เรื่องราวความสำเร็จนี้ได้พิสูจน์ถึงความเข้มแข็ง การพลิกฟื้นและความมั่นใจของเครือข่ายการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ พิสูจน์ให้เห็นว่าธุรกิจของสหรัฐฯ เป็นผู้อุปถัมป์ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และทั้งสองฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากการคงไว้ซึ่งระดับ การติดต่อและปฏิสัมพันธ์นี้
เมื่อถามว่าเพื่อนชาวอเมริกันจะสามารถช่วยเหลือประเทศไทยได้อย่างไร อาจกล่าวได้ว่า นอกจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่เหมาะแก่การค้าและการลงทุนแล้ว ประเทศไทยยังมี ความประสงค์ให้สหรัฐฯ คงไว้ซึ่งระดับการมีปฏิสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและมองประเทศไทยว่าเป็นสะพานและช่องทางที่จะเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ธุรกิจของสหรัฐฯจะยังคงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในพลวัตร ความทันสมัยและในภูมิภาคที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะร่วมแบ่งปันสันติภาพและความมั่งคั่งกับสหรัฐฯต่อไป นายกรัฐมนตรีกล่าวปิดท้ายด้วยความหวังและมุมมองในเชิงบวกต่ออาเซียนภายใต้บทบาทการเป็นประธานของประเทศไทยว่า จะสร้างสรรค์วิถีทางของอาเซียนเพื่อให้ทุกประเทศได้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันสร้างประโยชน์ของการร่วมมือระหว่างสหรัฐฯและอาเซียน นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและธุรกิจกำลังมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการเผชิญความท้าทายและร่วมมือกันเพื่อจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดี ประเทศไทยและสหรัฐฯ ได้เป็นมิตรต่อกันมาเกือบ 2 ศตวรรษ และความสัมพันธ์ดังกล่าวจะแน่นแฟ้นขึ้นในโอกาสต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีที่ได้ต้อนรับเหล่านักธุรกิจชั้นนำและมิตรสหายของประเทศไทยที่ได้มาพบกันในเวลาอันเหมาะสมในวันนี้ และถือโอกาสนี้ แสดงความขอบคุณ นาย Chris Padilla ปลัดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ที่ได้นำผู้แทนจากสหรัฐฯมาเยือนไทย US-ASEAN Business Council และ the American Chamber of Commerce หรือ สภาหอการค้าสหรัฐฯ ที่ช่วยกันจัดงานในวันนี้ รวมทั้ง นาย Eric John เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า การอภิปรายซึ่งใช้เวลา 2 วันนี้ จะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์รวมทั้งความเป็นพันธมิตรที่เหนี่ยวแน่นยิ่งขึ้น
เนื่องในปีนี้ เป็นปีที่ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ครบรอบ 175 ปี ประเทศไทยได้วางแผนการจัดกิจกรรมหลายอย่างเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการเริ่มต้นที่ดี ประเทศไทยได้จัดทำตราสัญลักษณ์ในโอกาสพิเศษนี้ขึ้น ดังที่ทุกคนได้เห็นในที่นี้ ในปีนี้ยังเป็นปีที่ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปีนี้ ซึ่งถือเป็นโอกาสพิเศษยิ่งขึ้นไปอีกเป็นสองเท่า สำหรับการกระชับความสัมพันธ์ทั้งในระดับทวิภาคีและความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-อาเซียน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีมีความยินดีที่ได้ทราบว่า ล่าสุด สภาสหรัฐฯ ได้แต่งตั้ง เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำอาเซียนคนแรก ณ กรุงจาการ์ต้า
อย่างไรก็ตาม ปีนี้ เป็นปีที่มีความสำคัญหลายประการ- กล่าวคือ ประเทศไทยได้ก้าวกลับสู่ประชาธิปไตยและมีเป้าหมายที่แน่ชัดว่าจะเดินไปข้างหน้า แม้ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เช่นเดียวกับประเทศอื่นในโลก ดังที่ทราบกันดีว่า ปีนี้เศรษฐกิจโลกไม่ค่อยจะสดใสนักเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับราคาอาหาร ภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้ง การเพิ่มขึ้นของค่าแรงทั้งในจีน เวียดนามและอินเดีย
แม้ว่า ประเทศไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์ ของสหรัฐฯ อย่างเต็มที่ แต่นี้ก็ทำให้ภาคการเงินของไทยอ่อนแอลง อย่างไรก็ดี รัฐบาลได้พยายามควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามไปสู่ภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมของประเทศ
นายกรัฐมนตรี ย้ำถึง สิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการเพื่อต่อต้านเศรษฐกิจโลกที่กำลังถดถอยรวมทั้งคงศักยภาพด้านการลงทุนสำหรับชาวต่างชาติต่อไป ประการแรก รัฐบาลจะเร่งเดินหน้าโครงการขนส่งมวลชน สร้างรถไฟรางคู่เพื่อเชื่อมเมืองใหญ่ ท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและบริการ รวมทั้งปรับปรุงโครงข่ายผู้ค้าทั้งระบบเพื่อกระตุ้นการลงทุนในประเทศ
สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลประกาศลดภาษีเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ รักษาความแข็งแรงของตลาด และปกป้องรากหญ้าจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ โครงการ SML ได้ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านทั้ง ขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของชุมชนและบรรเทาภาระหนี้ของชาวนา สำหรับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องนี้และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ
ขณะที่รักษาตลาดภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง ประเทศไทยยังคงเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ ไม่ใช้มาตรการการควบคุมทางการเงิน หรือจำกัดความเป็นเจ้าของกิจการของชาวต่างชาติแต่อย่างใด ทั้งนี้ ยินดีที่แจ้งถึงข่าวดีที่ว่า ขณะนี้ ประเทศไทยได้มีการผ่อนปรนกฎระเบียบเพื่อเอื้อต่อการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น รวมถึง ความเป็นเจ้าของธุรกิจวาณิชย์ธนกิจ การเช่า การจ้างผลิตตามสัญญา ธุรกิจนายหน้าต่างๆ สำหรับธุรกิจเกี่ยวกับการทำโฆษณา การบริหารจัดการโรงแรม ธุรกิจค้าปลีกเครื่องดื่มและอาหาร การให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ การให้บริการด้านการควบคุมโกดังสินค้า และธุรกิจบันเทิงต่างๆ ขณะนี้ ก็อยู่ใน รายการ ANNEX III ด้วยเงื่อนไขที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเชี่อว่า ข่าวดีนี้ ด้วยตัวของมันเองแล้ว คงทำให้รัฐบาลไม่ต้องบอกว่า ประเทศให้ความสำคัญกับการเปิดสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศมากแค่ไหน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปีนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตของประเทศไทยอย่างระมังระวัง อยู่ที่ร้อยละ 5 อย่างไรก็ดี รัฐบาลเชื่อว่า ประเทศไทยสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.5 เนื่องจากมีสัญญาณที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแรงและสามารถควบคุมได้ เห็นได้จาก เงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งทำให้มีช่องว่างมากพอสำหรับการลดภาษี หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารอยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกับ จำนวนหนี้เสียและภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยได้ปัดกวาดบ้านไว้เป็นอย่างดีและพร้อมแล้วที่จะต้อนรับแขกผู้มาเยือน
เมื่อปีที่แล้วการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 % เนื่องมาจากสถานการณ์ทางการเมือง ในปีนี้มีสิ่งใหม่ๆ เริ่มขึ้น ไทยพร้อมต้อนรับนักลงทุนชาวอเมริกันที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต ซึ่งประเทศไทยและอาเซียนนั้นถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและความมั่นคง
ปัจจุบัน ไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนที่มีตลาดขนาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย สินค้า บริการและประชาชนไหลเวียนผ่านประเทศไทย ไทยเป็นประเทศที่เอื้อประโยชน์และให้อิสระต่อนักลงทุนต่างประเทศ ภูมิภาคมีความเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวหน้า ประเทศไทยได้ทำ FTA กับญี่ปุ่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ไม่นานนี้ ASEAN ได้มีการลงนามความร่วมมือกับญี่ปุ่นไปและกำลังจะลงนามกับเกาหลีใต้ในเวลาต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเกี่ยวกับโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS ว่าให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น การสร้างถนนเพื่อเชื่อมโยงเส้นทาง การขยายเครือข่ายด้านการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงการขยายขอบเขตด้านการค้า และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งโครงการเหล่านี้ต้องการความร่วมมือจากนานาประเทศ
เมื่อเดือนที่แล้ว นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุม GMS ที่ลาว ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการวางแผนเชื่อมโยงเส้นทางการเดินทางระหว่างภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและการเรียนรู้ของภูมิภาค โดยเน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่นสถาบันแม่โขง (MI) ในจังหวัดขอนแก่น และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ที่กรุงเทพ ซึ่งได้มีความร่วมมือกับสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ความร่วมมือที่มีขอบเขตกว้างกว่า GMS คือ ASEAN ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย ASEAN ได้พยายามสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้น และไทยในฐานะประธาน ASEAN จะทำข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศคู่พันธมิตรให้มากขึ้น
ความร่วมมือจากสหรัฐฯจะช่วยให้ ASEAN บรรลุเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือจากต่างประเทศจะช่วยแก้ไขปัญหาในพม่า การพัฒนาทางด้านการค้าและเศรษฐกิจจะช่วยเปลี่ยนแปลงให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้น ธุรกิจอเมริกันสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ ASEAN และความก้าวหน้าของ ASEAN ก็ช่วยเกื้อหนุนเศรษฐกิจของสหรัฐฯเช่นเดียวกัน
ประเทศไทยและสหรัฐฯได้มีความสัมพันธ์ร่วมกันตั้งแต่ชาวอเมริกันได้เดินเรือมายังประเทศไทยเมื่อปี 1821 การทำธุรกิจและการค้าก็ได้เริ่มขึ้น อาจกล่าวได้ว่าสนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเมื่อปี 1833 (The Treaty of Amity and Commerce) และความสัมพันธ์ทางการเมืองได้สร้างประโยชน์ให้แก่ทั้งสองประเทศ มิตรภาพระหว่างไทย-สหรัฐฯได้สร้างเสถียรภาพและความมั่งคั่ง สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัย การป้องกันการก่อการร้าย การขาดแคลนพลังงาน การลักลอบค้ายาเสพติดและมนุษย์
ประเทศไทยยังคงให้ความสนใจในการค้าและการลงทุนของสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค สหรัฐฯเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่ง ของอาเซียนเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และ บ่อยครั้งที่เป็นประเทศคู่ค้าอันดับ หนึ่งของประเทศไทยเช่นกัน
เรื่องราวความสำเร็จนี้ได้พิสูจน์ถึงความเข้มแข็ง การพลิกฟื้นและความมั่นใจของเครือข่ายการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ พิสูจน์ให้เห็นว่าธุรกิจของสหรัฐฯ เป็นผู้อุปถัมป์ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และทั้งสองฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากการคงไว้ซึ่งระดับ การติดต่อและปฏิสัมพันธ์นี้
เมื่อถามว่าเพื่อนชาวอเมริกันจะสามารถช่วยเหลือประเทศไทยได้อย่างไร อาจกล่าวได้ว่า นอกจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่เหมาะแก่การค้าและการลงทุนแล้ว ประเทศไทยยังมี ความประสงค์ให้สหรัฐฯ คงไว้ซึ่งระดับการมีปฏิสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและมองประเทศไทยว่าเป็นสะพานและช่องทางที่จะเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ธุรกิจของสหรัฐฯจะยังคงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในพลวัตร ความทันสมัยและในภูมิภาคที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะร่วมแบ่งปันสันติภาพและความมั่งคั่งกับสหรัฐฯต่อไป นายกรัฐมนตรีกล่าวปิดท้ายด้วยความหวังและมุมมองในเชิงบวกต่ออาเซียนภายใต้บทบาทการเป็นประธานของประเทศไทยว่า จะสร้างสรรค์วิถีทางของอาเซียนเพื่อให้ทุกประเทศได้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันสร้างประโยชน์ของการร่วมมือระหว่างสหรัฐฯและอาเซียน นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและธุรกิจกำลังมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการเผชิญความท้าทายและร่วมมือกันเพื่อจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดี ประเทศไทยและสหรัฐฯ ได้เป็นมิตรต่อกันมาเกือบ 2 ศตวรรษ และความสัมพันธ์ดังกล่าวจะแน่นแฟ้นขึ้นในโอกาสต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--