วันนี้ เวลา 10.30 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 4 ของชมรมศัลยแพทย์มะเร็ง (ประเทศไทย) ณ โรงแรมรีเจ้นท์ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีแพทย์และศัลยแพทย์มะเร็งเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก และยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเวชภัณฑ์เกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคมะเร็งจำนวน 25 บู้ธ ด้วย
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ ประธานชมรมศัลยแพทย์มะเร็ง (ประเทศไทย) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวิชาการฯ สรุปว่า การประชุมวิชาการประจำปีของชมรมศัลยแพทย์มะเร็ง (ประเทศไทย) ครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ในหัวข้อการประชุมว่า Innovative Cancer Therapy มีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเพื่อจะนำวิทยาการใหม่ ๆ และยาใหม่ ๆ ในการรักษาโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในขณะนี้มานำเสนอให้ศัลยแพทย์ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบ ซึ่งเป็นการให้ความรู้ในเชิงลึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามชมรมศัลยแพทย์มะเร็งได้จัดประชุมวิชาการประจำปีทุก ๆ ปี มาเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน และได้มีการจัดอบรมระยะสั้นในระหว่างปีนี้อีกด้วย เพื่อให้แพทย์ได้มีความรู้ทั้งในแนวกว้างและเชิงลึกในการป้องกันโรค และการรักษาโรคมะเร็ง อีกทั้งยังให้ความร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการจัดทำแนวทางการรักษาพยาบาลของโรคมะเร็งหลาย ๆ โรคขึ้น รวมทั้งผลักดันให้แพทยสภาอนุมัติหลักสูตรการฝึกอบรมศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแขนงศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยาอีกด้วย
จากนั้นพันเอก นายแพทย์ปริญญา ทวีชัยการ เหรัญญิกชมรมศัลยแพทย์มะเร็ง (ประเทศไทย) ได้นำรายได้ส่วนหนึ่งจากการประชุม มอบแด่นายกรัฐมนตรี เพื่อสมทบทุนช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดการประชุมวิชาการฯ ว่า โรคมะเร็งเป็นภยันตรายอย่างร้ายแรงที่คุกคามสุขภาพของประชาชน และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ดังนั้น ปัญหาโรคมะเร็งจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหา ทั้งด้านการป้องกันโรค เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและการรักษาพยาบาลที่ได้ผล เพื่อลดอัตราการพิการหรือเสียชีวิตลงไป ซึ่งขณะนี้ความก้าวหน้าของวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยโรค การผ่าตัดรักษา และยาใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์จะต้องติดตามเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ทัน และรอบรู้อย่างลึกซึ้ง เพื่อจะได้นำมาประยุกต์และพัฒนาให้เข้ากับสภาวะความเป็นอยู่ของคนไทย ซึ่งการประชุมวิชาการเป็นวิธีการที่ได้ผลดีวิธีหนึ่งในการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ไปสู่คนหมู่มาก อีกทั้งยังทำให้แพทย์เกิดความเข้าใจแตกฉานยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งด้านความรู้ ความสามัคคีในหมู่แพทย์ ตลอดจนสามารถปฏิบัติภารกิจให้ประเทศชาติสำเร็จลุล่วงไปได้
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ที่จะนำมาใช้เพื่อให้การบริหารทางการแพทย์ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการป้องกันโรค การให้บริการทางการแพทย์ หรือการกู้ชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ แพทย์จึงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในเรื่องของการวิจัยและการพัฒนาทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ระบบแพทย์ของกองทัพขณะนี้ยังมีปัญหา ทั้งในเรื่องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการบริหาร เพราะเมื่อแพทย์ทหารไม่ได้รับการดูแลเรื่องสวัสดิการ ยศ ตำแหน่ง ก็มักจะออกไปทำงานอยู่ในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งต่อไปนี้ต้องการให้แพทย์ทหารสามารถโยกย้ายไปทำงานระหว่างหน่วยงานในกองทัพได้ รวมทั้งมีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพและสามารถทำงานให้กับกองทัพได้ต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์ถือเป็นผู้มีความรู้ มีสมองเป็นเลิศของประเทศ ในขณะที่แวดวงทางการแพทย์ของไทยก็มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน หากมีการบริหารจัดการที่ดีในอนาคต ก็สามารถรวมแผนการรักษาเข้ากับการท่องเที่ยว คือ ให้ผู้ที่ต้องการมารักษาในประเทศไทยสามารถทำสิ่งอื่น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การท่องเที่ยว หลังจากที่เข้ารับการรักษาพยาบาลแล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายตัวด้านต่าง ๆ มากขึ้น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีขอให้แพทย์ที่เข้าร่วมประชุมได้แสดงความเอื้อเฟื้อมีน้ำใจต่อคนไข้ที่มารักษา เนื่องจากแนวคิดจากทางตะวันตกเริ่มระบาดมาสู่ประเทศไทย โดยมีการเรียกร้องค่าเสียหายจากแพทย์ที่ดูแลรักษาไม่ดี ถ้าหากแพทย์เริ่มต้นรักษา โดยมีใจที่จะให้การรักษาอย่างเต็มที่แล้ว คิดว่าเรื่องการฟ้องร้องเหล่านี้คงไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ และจะต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกณฑ์เฉลี่ยอายุของประชากรในประเทศเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งงานวิจัยและการติดตามเรื่องของต่างประเทศหรือในประเทศก็ดี ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้วงการแพทย์ประสบความสำเร็จและเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ ประธานชมรมศัลยแพทย์มะเร็ง (ประเทศไทย) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวิชาการฯ สรุปว่า การประชุมวิชาการประจำปีของชมรมศัลยแพทย์มะเร็ง (ประเทศไทย) ครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ในหัวข้อการประชุมว่า Innovative Cancer Therapy มีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเพื่อจะนำวิทยาการใหม่ ๆ และยาใหม่ ๆ ในการรักษาโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในขณะนี้มานำเสนอให้ศัลยแพทย์ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบ ซึ่งเป็นการให้ความรู้ในเชิงลึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามชมรมศัลยแพทย์มะเร็งได้จัดประชุมวิชาการประจำปีทุก ๆ ปี มาเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน และได้มีการจัดอบรมระยะสั้นในระหว่างปีนี้อีกด้วย เพื่อให้แพทย์ได้มีความรู้ทั้งในแนวกว้างและเชิงลึกในการป้องกันโรค และการรักษาโรคมะเร็ง อีกทั้งยังให้ความร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการจัดทำแนวทางการรักษาพยาบาลของโรคมะเร็งหลาย ๆ โรคขึ้น รวมทั้งผลักดันให้แพทยสภาอนุมัติหลักสูตรการฝึกอบรมศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแขนงศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยาอีกด้วย
จากนั้นพันเอก นายแพทย์ปริญญา ทวีชัยการ เหรัญญิกชมรมศัลยแพทย์มะเร็ง (ประเทศไทย) ได้นำรายได้ส่วนหนึ่งจากการประชุม มอบแด่นายกรัฐมนตรี เพื่อสมทบทุนช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดการประชุมวิชาการฯ ว่า โรคมะเร็งเป็นภยันตรายอย่างร้ายแรงที่คุกคามสุขภาพของประชาชน และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ดังนั้น ปัญหาโรคมะเร็งจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหา ทั้งด้านการป้องกันโรค เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและการรักษาพยาบาลที่ได้ผล เพื่อลดอัตราการพิการหรือเสียชีวิตลงไป ซึ่งขณะนี้ความก้าวหน้าของวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยโรค การผ่าตัดรักษา และยาใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์จะต้องติดตามเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ทัน และรอบรู้อย่างลึกซึ้ง เพื่อจะได้นำมาประยุกต์และพัฒนาให้เข้ากับสภาวะความเป็นอยู่ของคนไทย ซึ่งการประชุมวิชาการเป็นวิธีการที่ได้ผลดีวิธีหนึ่งในการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ไปสู่คนหมู่มาก อีกทั้งยังทำให้แพทย์เกิดความเข้าใจแตกฉานยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งด้านความรู้ ความสามัคคีในหมู่แพทย์ ตลอดจนสามารถปฏิบัติภารกิจให้ประเทศชาติสำเร็จลุล่วงไปได้
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ที่จะนำมาใช้เพื่อให้การบริหารทางการแพทย์ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการป้องกันโรค การให้บริการทางการแพทย์ หรือการกู้ชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ แพทย์จึงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในเรื่องของการวิจัยและการพัฒนาทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ระบบแพทย์ของกองทัพขณะนี้ยังมีปัญหา ทั้งในเรื่องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการบริหาร เพราะเมื่อแพทย์ทหารไม่ได้รับการดูแลเรื่องสวัสดิการ ยศ ตำแหน่ง ก็มักจะออกไปทำงานอยู่ในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งต่อไปนี้ต้องการให้แพทย์ทหารสามารถโยกย้ายไปทำงานระหว่างหน่วยงานในกองทัพได้ รวมทั้งมีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพและสามารถทำงานให้กับกองทัพได้ต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์ถือเป็นผู้มีความรู้ มีสมองเป็นเลิศของประเทศ ในขณะที่แวดวงทางการแพทย์ของไทยก็มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน หากมีการบริหารจัดการที่ดีในอนาคต ก็สามารถรวมแผนการรักษาเข้ากับการท่องเที่ยว คือ ให้ผู้ที่ต้องการมารักษาในประเทศไทยสามารถทำสิ่งอื่น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การท่องเที่ยว หลังจากที่เข้ารับการรักษาพยาบาลแล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายตัวด้านต่าง ๆ มากขึ้น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีขอให้แพทย์ที่เข้าร่วมประชุมได้แสดงความเอื้อเฟื้อมีน้ำใจต่อคนไข้ที่มารักษา เนื่องจากแนวคิดจากทางตะวันตกเริ่มระบาดมาสู่ประเทศไทย โดยมีการเรียกร้องค่าเสียหายจากแพทย์ที่ดูแลรักษาไม่ดี ถ้าหากแพทย์เริ่มต้นรักษา โดยมีใจที่จะให้การรักษาอย่างเต็มที่แล้ว คิดว่าเรื่องการฟ้องร้องเหล่านี้คงไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ และจะต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกณฑ์เฉลี่ยอายุของประชากรในประเทศเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งงานวิจัยและการติดตามเรื่องของต่างประเทศหรือในประเทศก็ดี ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้วงการแพทย์ประสบความสำเร็จและเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--