พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครั้งที่ 1/2551ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุม กองบัญชาการกองทัพไทย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครั้งที่ 1/2551ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(คชอ.) โดยมีปลัดกระทรวง/หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่อำนวยการกำกับ ติดตาม ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย การฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณประโยชน์ และจำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบสถานการอุทกภัยประจำวันที่ 27 กันยายน 2551 ตามที่ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เสนอดังนี้
พื้นที่ประสบภัย รวม 24 จังหวัด 142 อำเภอ 775 ตำบล 4,753 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด และจันทบุรี
ความเสียหาย มีผู้เสียชีวิต 19 คน ผู้สูญหาย 1 คน (จังหวัดพิษณุโลก) และราษฎรได้รับความเดือนร้อน 282,554 ครัวเรือน 839,573 คน ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง บางส่วน 1,887 หลัง สะพาน 38 แห่ง ทำนบ/ฝาย 251 แห่ง ถนน 951 สาย วัด 16 แห่ง โรงเรียน 10 แห่ง สถานที่ราชการ 11 แห่ง ปศุสัตว์ 173 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 6,273 บ่อ ท่อระบายน้ำ 36 แห่ง พื้นที่การเกษตร 297,862 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น ประมาณ 114,957,778 บาท
ซึ่งขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายแล้วใน 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ตาก นครนายก เลย สุโขทัย ฉะเชิงเทรา ตราด ชลบุรี พิจิตร สระบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ แม่ฮ่องสอน และจันทบุรี แต่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น และปราจีนบุรี คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1 สัปดาห์ ยกเว้นอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี คาดว่าระดับน้ำจะลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2551 มีปริมาตรน้ำในอ่างทั้งหมด รวม 55,657 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 77 ของความจุอ่างขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด (น้อยกว่าปี 2550 55,734 ล้านลูกบาศก์เมตร)
ลักษณะอากาศตอนบนของประเทศในเดือนตุลาคม 2551 เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝน เข้าสู่ฤดูหนาว ลักษณะอากาศจะแปรปรวนโดยในระยะครึ่งแรกของเดือน ยังคงมีฝนตกหนัก ส่วนมากบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก และในระยะครึ่งหลังของเดือนปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง โดยในบางช่วงจะมีบริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ทางตอนเหนือของภาคเริ่มมีอากาศเย็นในตอนเช้า ปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย
ในการนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดของส่วนราชการที่รับผิดชอบดังนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ ในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด ในวงเงิน 50 ล้านบาท โดยกำหนดแนวทางการช่วยเหลือไว้ 9 ด้าน เช่น ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 15,000 บาท กรณีผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวให้ช่วยเหลืออีกไม่เกิน 25,000 บาท รวมเป็นเงิน 40,000 บาทต่อราย ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายบางส่วนหลังละไม่เกิน 2 หมื่นบาท ค่าจัดวางกระสอบทรายสำหรับแนวป้องกันน้ำท่วมตามความจำเป็นที่จ่ายจริง ค่าชดเชยพืชผล ไร่นา ปศุสัตว์ บ่อปลา ที่ได้รับความเสียหาย เป็นต้น
โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งให้จังหวัดพิจารณาใช้จ่ายเงินทดรองราชการ โดยคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วน ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเฉพาะหน้า ด้านการช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ ปัจจัยสี่เป็นลำดับแรก และให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม สิ่งจำเป็นต่อการยังชีพ รวมถึงการซ่อมแซมถนน สะพาน เหมือง ฝายที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว หากวงเงินในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เพียงพอ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสามารถให้ความช่วยเหลือได้อีกในวงเงิน 50 ล้านบาท และหากวงเงินภายใต้อำนาจของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยยังไม่เพียงพอ สามารถใช้จ่ายจากวงเงินในอำนาจปลัดกระทรวงมหาดไทยเพิ่มเติม ในวงเงิน 50 ล้านบาท และหากภัยพิบัติมีความรุนแรง นายกรัฐมนตรีสามารถอนุมัติวงเงินช่วยเหลือได้อีก 100 ล้านบาท
สำหรับหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ฉบับที่2)พ.ศ.2551 ลงวันที่ 1กันยายน 2551(ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม2551) กรณีพืชเสียหาย ให้ช่วยเหลือดังนี้ 1.ข้าว หลักเกณฑ์ เดิมอัตราไร่ละ414 บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ606 บาท 2.พืชไร่ หลักเกณฑ์ เดิมอัตราไร่ละ579 บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ 837 บาท 3. พืชสวนและอื่นๆหลักเกณฑ์ เดิมอัตราไร่ละ 786 บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ 912 บาท กรณีพืชที่ปลูกได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทำให้ชะงักการเจริญเติบโตแต่ไม่ตายและยังอยู่ในสภาพฟื้นฟูให้กลับสูสภาพเดิมได้ให้ช่วยเหลือดังนี้ 1.ข้าว หลักเกณฑ์เดิมอัตราไร่ละ 142 บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ 197 บาท 2. พืชไร่ หลักเกณฑ์เดิมอัตราไร่ละ161บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ 287 บาท และ 3.พืชสวนและอื่นๆหลักเกณฑ์เดิมอัตราไร่ละ 161 บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ 287 บาท
ในส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องน้ำสะอาดโดยการผลิตน้ำประปาในพื้นที่แล้ว ยังได้จัดเตรียมดำเนินโครงการป้องกันและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ต้นน้ำให้คงสภาพนิเวศสมบูรณ์ เพื่อป้องกันน้ำท่วมใน 3 โครงการคือ โครงการฟื้นฟูสภาพป่าและระบบนิเวศต้นน้ำ โครงการก่อสร้างฝายต้นน้ำ โครงการปลูกหญ้าแฝก พร้อมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องการเตือนภัยน้ำท่วมให้ประชาชนได้รับทราบก่อนภายใน 5 วัน
โอกาสนี้รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นเตรียมการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนหรือระยะสั้นก่อน ส่วนการวางแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะกลาง และระยะยาวจะมีการเตรียมการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป พร้อมกล่าวว่าได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการสำรวจความเสียหายในพื้นที่ประสบอุทกภัยโดยเร่งด่วน เพื่อจะได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันทวงที และเป็นไปด้วยความเรียบร้อยทั้งในเรื่องด้านการเงิน การฟื้นฟูอาชีพ รวมทั้งปรับปรุงการประกอบอาชีพในระยะยาว ฯลฯ ทั้งนี้รายละเอียดของการประชุมในครั้งนี้จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับฯ อีกครั้ง เพื่อเตรียมดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันศุกร์ที่จะถึงนี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุม กองบัญชาการกองทัพไทย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครั้งที่ 1/2551ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(คชอ.) โดยมีปลัดกระทรวง/หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่อำนวยการกำกับ ติดตาม ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย การฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณประโยชน์ และจำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบสถานการอุทกภัยประจำวันที่ 27 กันยายน 2551 ตามที่ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เสนอดังนี้
พื้นที่ประสบภัย รวม 24 จังหวัด 142 อำเภอ 775 ตำบล 4,753 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด และจันทบุรี
ความเสียหาย มีผู้เสียชีวิต 19 คน ผู้สูญหาย 1 คน (จังหวัดพิษณุโลก) และราษฎรได้รับความเดือนร้อน 282,554 ครัวเรือน 839,573 คน ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง บางส่วน 1,887 หลัง สะพาน 38 แห่ง ทำนบ/ฝาย 251 แห่ง ถนน 951 สาย วัด 16 แห่ง โรงเรียน 10 แห่ง สถานที่ราชการ 11 แห่ง ปศุสัตว์ 173 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 6,273 บ่อ ท่อระบายน้ำ 36 แห่ง พื้นที่การเกษตร 297,862 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น ประมาณ 114,957,778 บาท
ซึ่งขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายแล้วใน 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ตาก นครนายก เลย สุโขทัย ฉะเชิงเทรา ตราด ชลบุรี พิจิตร สระบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ แม่ฮ่องสอน และจันทบุรี แต่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น และปราจีนบุรี คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1 สัปดาห์ ยกเว้นอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี คาดว่าระดับน้ำจะลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2551 มีปริมาตรน้ำในอ่างทั้งหมด รวม 55,657 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 77 ของความจุอ่างขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด (น้อยกว่าปี 2550 55,734 ล้านลูกบาศก์เมตร)
ลักษณะอากาศตอนบนของประเทศในเดือนตุลาคม 2551 เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝน เข้าสู่ฤดูหนาว ลักษณะอากาศจะแปรปรวนโดยในระยะครึ่งแรกของเดือน ยังคงมีฝนตกหนัก ส่วนมากบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก และในระยะครึ่งหลังของเดือนปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง โดยในบางช่วงจะมีบริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ทางตอนเหนือของภาคเริ่มมีอากาศเย็นในตอนเช้า ปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย
ในการนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดของส่วนราชการที่รับผิดชอบดังนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ ในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด ในวงเงิน 50 ล้านบาท โดยกำหนดแนวทางการช่วยเหลือไว้ 9 ด้าน เช่น ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 15,000 บาท กรณีผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวให้ช่วยเหลืออีกไม่เกิน 25,000 บาท รวมเป็นเงิน 40,000 บาทต่อราย ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายบางส่วนหลังละไม่เกิน 2 หมื่นบาท ค่าจัดวางกระสอบทรายสำหรับแนวป้องกันน้ำท่วมตามความจำเป็นที่จ่ายจริง ค่าชดเชยพืชผล ไร่นา ปศุสัตว์ บ่อปลา ที่ได้รับความเสียหาย เป็นต้น
โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งให้จังหวัดพิจารณาใช้จ่ายเงินทดรองราชการ โดยคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วน ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเฉพาะหน้า ด้านการช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ ปัจจัยสี่เป็นลำดับแรก และให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม สิ่งจำเป็นต่อการยังชีพ รวมถึงการซ่อมแซมถนน สะพาน เหมือง ฝายที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว หากวงเงินในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เพียงพอ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสามารถให้ความช่วยเหลือได้อีกในวงเงิน 50 ล้านบาท และหากวงเงินภายใต้อำนาจของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยยังไม่เพียงพอ สามารถใช้จ่ายจากวงเงินในอำนาจปลัดกระทรวงมหาดไทยเพิ่มเติม ในวงเงิน 50 ล้านบาท และหากภัยพิบัติมีความรุนแรง นายกรัฐมนตรีสามารถอนุมัติวงเงินช่วยเหลือได้อีก 100 ล้านบาท
สำหรับหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ฉบับที่2)พ.ศ.2551 ลงวันที่ 1กันยายน 2551(ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม2551) กรณีพืชเสียหาย ให้ช่วยเหลือดังนี้ 1.ข้าว หลักเกณฑ์ เดิมอัตราไร่ละ414 บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ606 บาท 2.พืชไร่ หลักเกณฑ์ เดิมอัตราไร่ละ579 บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ 837 บาท 3. พืชสวนและอื่นๆหลักเกณฑ์ เดิมอัตราไร่ละ 786 บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ 912 บาท กรณีพืชที่ปลูกได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทำให้ชะงักการเจริญเติบโตแต่ไม่ตายและยังอยู่ในสภาพฟื้นฟูให้กลับสูสภาพเดิมได้ให้ช่วยเหลือดังนี้ 1.ข้าว หลักเกณฑ์เดิมอัตราไร่ละ 142 บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ 197 บาท 2. พืชไร่ หลักเกณฑ์เดิมอัตราไร่ละ161บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ 287 บาท และ 3.พืชสวนและอื่นๆหลักเกณฑ์เดิมอัตราไร่ละ 161 บาท หลักเกณฑ์ใหม่ให้ปรับเป็นอัตราไร่ละ 287 บาท
ในส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องน้ำสะอาดโดยการผลิตน้ำประปาในพื้นที่แล้ว ยังได้จัดเตรียมดำเนินโครงการป้องกันและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ต้นน้ำให้คงสภาพนิเวศสมบูรณ์ เพื่อป้องกันน้ำท่วมใน 3 โครงการคือ โครงการฟื้นฟูสภาพป่าและระบบนิเวศต้นน้ำ โครงการก่อสร้างฝายต้นน้ำ โครงการปลูกหญ้าแฝก พร้อมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องการเตือนภัยน้ำท่วมให้ประชาชนได้รับทราบก่อนภายใน 5 วัน
โอกาสนี้รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นเตรียมการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนหรือระยะสั้นก่อน ส่วนการวางแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะกลาง และระยะยาวจะมีการเตรียมการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป พร้อมกล่าวว่าได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการสำรวจความเสียหายในพื้นที่ประสบอุทกภัยโดยเร่งด่วน เพื่อจะได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันทวงที และเป็นไปด้วยความเรียบร้อยทั้งในเรื่องด้านการเงิน การฟื้นฟูอาชีพ รวมทั้งปรับปรุงการประกอบอาชีพในระยะยาว ฯลฯ ทั้งนี้รายละเอียดของการประชุมในครั้งนี้จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับฯ อีกครั้ง เพื่อเตรียมดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันศุกร์ที่จะถึงนี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--