พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (คชอ.) ครั้งที่ 2/2551
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารกองบัญชาการ กองทัพไทย เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (คชอ.) ครั้งที่ 2/2551 โดยมีหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมด้วย ผลการประชุมสรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบรายงานสรุปสถานการณ์การเกิดอุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ รายงานแผนงาน/โครงการ/งบประมาณการให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนและโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย กระทรวงการคลัง รายงานความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยของกระทรวงการคลังและสถาบันการเงิน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รายงานความเสียหายของวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานการเตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัย วาตภัยและดินถล่มในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาแผนงาน/โครงการและกรอบวงเงินงบประมาณการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านการเกษตร ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม — 30 กันยายน 2551 และขอรับการสนับสนุนงบประมาณงบกลาง ปี 2552 รายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรดังนี้ 1) พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร จำนวน 51 จังหวัด 2) ด้านพืช เกษตรกร 408,488 ราย พื้นที่เสียหาย 3,805,451 ไร่ ประมาณมูลค่าการช่วยเหลือ 2,513,410,827 บาท 3) ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 64,661 ราย ประมาณมูลค่าการช่วยเหลือ 61,147,855 บาท 4) ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 31 จังหวัด เกษตรกร 62,023 ราย ประมาณมูลค่าการช่วยเหลือ 266,666,702 บาท รวมกรอบงบประมาณการช่วยเหลือทั้งสิ้น จำนวน 2,841,225,384 บาท ทั้งนี้ การประมาณการมูลค่าการช่วยเหลือเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2459 และหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
สำหรับแผนงาน/โครงการ/และกรอบวงเงินงบประมาณการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านสาธารณสุขนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาการขอรับการสนับสนุนงบประมาณปี 2552 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 500,000,000 บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ในการฟื้นฟูควบคุมโรค การปรับปรุงซ่อมแซมหน่วยบริการที่ได้รับความเสียหายหลังภาวะน้ำลด เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารกองบัญชาการ กองทัพไทย เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (คชอ.) ครั้งที่ 2/2551 โดยมีหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมด้วย ผลการประชุมสรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบรายงานสรุปสถานการณ์การเกิดอุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ รายงานแผนงาน/โครงการ/งบประมาณการให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนและโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย กระทรวงการคลัง รายงานความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยของกระทรวงการคลังและสถาบันการเงิน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รายงานความเสียหายของวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานการเตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัย วาตภัยและดินถล่มในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาแผนงาน/โครงการและกรอบวงเงินงบประมาณการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านการเกษตร ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม — 30 กันยายน 2551 และขอรับการสนับสนุนงบประมาณงบกลาง ปี 2552 รายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรดังนี้ 1) พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร จำนวน 51 จังหวัด 2) ด้านพืช เกษตรกร 408,488 ราย พื้นที่เสียหาย 3,805,451 ไร่ ประมาณมูลค่าการช่วยเหลือ 2,513,410,827 บาท 3) ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 64,661 ราย ประมาณมูลค่าการช่วยเหลือ 61,147,855 บาท 4) ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 31 จังหวัด เกษตรกร 62,023 ราย ประมาณมูลค่าการช่วยเหลือ 266,666,702 บาท รวมกรอบงบประมาณการช่วยเหลือทั้งสิ้น จำนวน 2,841,225,384 บาท ทั้งนี้ การประมาณการมูลค่าการช่วยเหลือเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2459 และหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
สำหรับแผนงาน/โครงการ/และกรอบวงเงินงบประมาณการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านสาธารณสุขนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาการขอรับการสนับสนุนงบประมาณปี 2552 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 500,000,000 บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ในการฟื้นฟูควบคุมโรค การปรับปรุงซ่อมแซมหน่วยบริการที่ได้รับความเสียหายหลังภาวะน้ำลด เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--