นายกรัฐมนตรีระบุนพ.เหวง โตจิราการ คปพร. เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกฎหมาย รัฐบาลคงไม่ไปก้าวก่าย เพราะเป็นเรื่องของสภา
วันนี้ (3 ต.ค.) ที่รัฐสภา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงท่าทีของนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นผู้นัดหารือ 4 ฝ่าย เพื่อหารือแนวทางในการปฏิรูปทางการเมือง แต่ได้บรรจุร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 (คปพร.) ที่เสนอโดย นพ.เหวง โตจิราการ ในระเบียบวาระการประชุมสภาฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้นว่า เป็นคนละเรื่อง เพราะตามหลักการของรัฐธรรมนูญปี 50 ประชาชนมีสิทธิ์เข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งนพ.เหวงฯ ก็เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย คือ มาตรา 291 ที่เขียนไว้ว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขได้ด้วยวิธีการใดบ้าง คือ 1.โดยครม. 2.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวนเท่าไร และ 3.ประชาชน 50,000 รายชื่อเข้าชื่อกัน เท่าที่ดูเห็นว่าคณะของนพ.เหวงฯ ก็ทำตามกฎหมาย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ในลักษณะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 3 (ส.ส.ร.) ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่ต้องปรับปรุงมาตรา 291 ก่อนจึงจะเข้าสู่กระบวนการต่างๆได้ อย่างไรก็ตาม การมาร่วมประชุมครั้งนี้เป็นไปตามคำเชิญของประธานสภาฯ ซึ่งไม่ทราบว่าจะมีการหารือกันเรื่องอะไร แต่คงไม่ใช่เรื่องการเอาร่างรัฐธรรมนูญเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ ก่อน เพราะเรื่องนั้นถือว่าเป็นกระบวนการที่ประชาชนทำตามกฎหมายอยู่แล้ว โดยจะดำเนินการอย่างไรเป็นเรื่องของสภาฯ และประธานสภาฯ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะคุยกับนพ.เหวงฯ ให้ถอนร่างออกไปก่อนเพื่อเปิดทางให้กลไกของ ส.ส.ร. 3 เดินต่อไปได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นพ.เหวงฯ ทำไปตามกฎหมาย รัฐบาลคงไปก้าวก่ายไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิ์ตามกฎหมายของประชาชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ประธานสภาฯ นำร่าง คปพร. บรรจุในวาระการประชุมสภาฯ เท่ากับเป็นการตบหน้านายกรัฐมนตรีหรือไม่ เพราะอาจไม่พอใจที่กลุ่มเพื่อนเนวินได้ตำแหน่งรัฐมนตรีน้อย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เขาจะตบหน้าทำไม ก็ยังดีกันอยู่ ไม่มีอะไร ไม่ใช่เรื่องตบหน้าหรือไม่ตบหน้า ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นการทำตามกฎหมายตามปกติ ไม่มีใครมีความรู้สึกอะไรทั้งสิ้น และตนก็เคารพการทำงานตามกฎหมาย ไม่มีปัญหาอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคพลังประชาชนจะมีการพูดคุยกันหรือไม่ว่าจะลงมติในร่างดังกล่าวอย่างไรเพื่อไม่ให้ขัดขากันเอง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เวลาประชุมในพรรคก็หารือกันแต่อย่าลืมว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ได้กำหนดให้ ส.ส.มีอิสระในการตัดสินใจ ดังนั้นคงจะพูดกันได้ แต่จะไปกำหนดกฎเกณฑ์ทำให้เขาไม่มีอิสระคงไม่ได้ คงจะไปพูดว่าให้ชะลอร่างหรือไม่รับหลักการของร่างนี้คงไม่ได้ เพราะไม่อยากก้าวก่ายสภาฯ อย่างไรก็ตามขณะนี้คิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่ทางพรรคจะคุยกันในเรื่องนี้ เพราะถ้าจะทำอะไรที่เป็นไปตามกฎหมายก็คงไม่มีใครไปห้ามได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากปล่อยให้ร่างดังกล่าวเข้าสู่สภาฯ รัฐบาลอาจถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะร่างของ นพ.เหวงฯ ไม่มีมาตรา 237 และ 309 นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่เห็นร่าง และถือว่าเป็นเรื่องของสภาฯ ไม่ได้ผ่านรัฐบาล รัฐบาลไม่มีส่วนเขียนร่างดังกล่าว จึงไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (3 ต.ค.) ที่รัฐสภา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงท่าทีของนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นผู้นัดหารือ 4 ฝ่าย เพื่อหารือแนวทางในการปฏิรูปทางการเมือง แต่ได้บรรจุร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 (คปพร.) ที่เสนอโดย นพ.เหวง โตจิราการ ในระเบียบวาระการประชุมสภาฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้นว่า เป็นคนละเรื่อง เพราะตามหลักการของรัฐธรรมนูญปี 50 ประชาชนมีสิทธิ์เข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งนพ.เหวงฯ ก็เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย คือ มาตรา 291 ที่เขียนไว้ว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขได้ด้วยวิธีการใดบ้าง คือ 1.โดยครม. 2.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวนเท่าไร และ 3.ประชาชน 50,000 รายชื่อเข้าชื่อกัน เท่าที่ดูเห็นว่าคณะของนพ.เหวงฯ ก็ทำตามกฎหมาย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ในลักษณะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 3 (ส.ส.ร.) ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่ต้องปรับปรุงมาตรา 291 ก่อนจึงจะเข้าสู่กระบวนการต่างๆได้ อย่างไรก็ตาม การมาร่วมประชุมครั้งนี้เป็นไปตามคำเชิญของประธานสภาฯ ซึ่งไม่ทราบว่าจะมีการหารือกันเรื่องอะไร แต่คงไม่ใช่เรื่องการเอาร่างรัฐธรรมนูญเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ ก่อน เพราะเรื่องนั้นถือว่าเป็นกระบวนการที่ประชาชนทำตามกฎหมายอยู่แล้ว โดยจะดำเนินการอย่างไรเป็นเรื่องของสภาฯ และประธานสภาฯ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะคุยกับนพ.เหวงฯ ให้ถอนร่างออกไปก่อนเพื่อเปิดทางให้กลไกของ ส.ส.ร. 3 เดินต่อไปได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นพ.เหวงฯ ทำไปตามกฎหมาย รัฐบาลคงไปก้าวก่ายไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิ์ตามกฎหมายของประชาชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ประธานสภาฯ นำร่าง คปพร. บรรจุในวาระการประชุมสภาฯ เท่ากับเป็นการตบหน้านายกรัฐมนตรีหรือไม่ เพราะอาจไม่พอใจที่กลุ่มเพื่อนเนวินได้ตำแหน่งรัฐมนตรีน้อย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เขาจะตบหน้าทำไม ก็ยังดีกันอยู่ ไม่มีอะไร ไม่ใช่เรื่องตบหน้าหรือไม่ตบหน้า ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นการทำตามกฎหมายตามปกติ ไม่มีใครมีความรู้สึกอะไรทั้งสิ้น และตนก็เคารพการทำงานตามกฎหมาย ไม่มีปัญหาอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคพลังประชาชนจะมีการพูดคุยกันหรือไม่ว่าจะลงมติในร่างดังกล่าวอย่างไรเพื่อไม่ให้ขัดขากันเอง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เวลาประชุมในพรรคก็หารือกันแต่อย่าลืมว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ได้กำหนดให้ ส.ส.มีอิสระในการตัดสินใจ ดังนั้นคงจะพูดกันได้ แต่จะไปกำหนดกฎเกณฑ์ทำให้เขาไม่มีอิสระคงไม่ได้ คงจะไปพูดว่าให้ชะลอร่างหรือไม่รับหลักการของร่างนี้คงไม่ได้ เพราะไม่อยากก้าวก่ายสภาฯ อย่างไรก็ตามขณะนี้คิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่ทางพรรคจะคุยกันในเรื่องนี้ เพราะถ้าจะทำอะไรที่เป็นไปตามกฎหมายก็คงไม่มีใครไปห้ามได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากปล่อยให้ร่างดังกล่าวเข้าสู่สภาฯ รัฐบาลอาจถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะร่างของ นพ.เหวงฯ ไม่มีมาตรา 237 และ 309 นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่เห็นร่าง และถือว่าเป็นเรื่องของสภาฯ ไม่ได้ผ่านรัฐบาล รัฐบาลไม่มีส่วนเขียนร่างดังกล่าว จึงไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--