วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2) สนามเป้า กรุงเทพฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ประกอบด้วยนายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอก พงศ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายพงศ์พโยม วาศภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ จากพล.ม.2 ไปยังวัดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เพื่อตรวจเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยและติดตามการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า
ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางกลับมาถึงพล.ม.2 ในเวลา 12.00 น. และได้แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมพื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรีในวันนี้ ซึ่งระดับน้ำในพื้นที่โดยรวมลดลงไปประมาณ 30-40 เซ็นติเมตร แต่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐมยังคงมีน้ำท่วมอยู่ค่อนข้างมาก สามารถระบายได้ในขณะนี้ ไม่ว่าจะออกทางแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และบางส่วนที่ผ่านกรุงเทพฯ ลงไปทางคลองมหาสวัสดิ์ รวมประมาณ 30 ล้านคิวบิกเมตรต่อวัน หากสามารถรักษาการระบายน้ำในระดับนี้ได้ทางกรมชลประทานชี้แจงว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 15-20 วันน้ำจึงจะลดลงสู่ระดับปกติ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสนใจ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ชี้แจงให้ชาวบ้านเข้าใจถึงการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทย ที่ได้กำหนดเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ไว้แล้ว และได้ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปแล้ว การช่วยเหลือขณะนี้สามารถใช้งบประมาณส่วนหนึ่งดำเนินการไปได้ แต่ส่วนใหญ่ต้องรองบประมาณ ปี 2550 ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อน และในช่วงเดือนมกราคม 2550 จึงจะสามารถให้ความช่วยเหลือด้านการเงินส่วนใหญ่ได้ทั้งหมด ซึ่งได้ชี้แจงให้ประชาชนรับทราบแล้ว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในเรื่องของการให้การรักษาโรค อาการเจ็บป่วย เท่าที่ได้รับข้อมูลจากชุดแพทย์ที่เข้าดูแลประชาชนในพื้นที่ทราบว่า ประชาชนเริ่มมีความเครียดมากขึ้น มีความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น ตรงนั้นเป็นส่วนที่จะต้องเยียวยากันต่อไป ซึ่งทางสาธารณสุขจังหวัดได้ดำเนินการให้ยาเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านมาอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่าประชาชนมักร้องเรียนว่ารัฐบาลยังให้ความช่วยเหลือล่าช้าจะดำเนินการอย่างไรให้เร็วขึ้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในขณะนี้ได้เร่งรัดอย่างเต็มที่อยู่แล้ว เท่าที่ได้รับทราบจากผู้ว่าราชการจังหวัดทราบว่าการให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าโดยการแจกถุงยังชีพนั้นสามารถทำได้ 5 วันครั้ง ส่วนการบริการอื่น ๆ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่วนเรื่องเงินช่วยเหลือยังต้องคอยการตรวจสอบอีกระยะ เนื่องจากรัฐบาลต้องการความโปร่งใส และเมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตรวจสอบแล้วการดำเนินการจะเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการช่วยเหลือตามช่องทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทยก็มีวิธีการดำเนินการอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งจะนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในครั้งหน้า เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาวงเงินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน โดยรัฐบาลประเมินวงเงินการให้ความช่วยเหลือไว้ว่าเป็นวงเงิน 10,000 ล้านบาทที่จะต้องให้ทั้ง 2 กระทรวง และยังมีส่วนของกระทรวงคมนาคมอีกส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องฟื้นฟูอีกด้วย เพราะขณะนี้น้ำยังลดลงไม่หมด การสำรวจในเรื่องการซ่อมแซมจึงยังทำได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นจึงเป็นตัวเลขคร่าวๆ ว่าประมาณ 10,000 ล้านบาท ที่จะให้ความช่วยเหลือในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคกลางตอนล่าง
ผู้สื่อข่าวถามว่าอุปสรรคที่ทำให้การสำรวจความเสียหายล่าช้าเนื่องมาจากเหตุใด นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ล่าช้าเนื่องจากยังเข้าไปไม่ถึงจุดที่เสียหายจริง ๆ เนื่องจากน้ำท่วม ทำให้น้ำยังขังอยู่ และยังสำรวจไม่ได้ เช่น บ่อปลา บ่อกุ้ง เพียงแต่รู้ว่าตรงนี้เป็นบ่อ แต่ความสูญเสียสำรวจยังไม่ได้แต่น้ำท่วมไปแล้ว คงต้องรออีกนิดเดียว ประมาณ 2 สัปดาห์ - 20 วัน แล้วน้ำคงจะลดลงไป พอที่จะให้ทำการสำรวจความเสียได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่ายังมีพื้นที่วิกฤตหรือน่าเป็นห่วงที่รัฐบาลต้องเข้าดูแลเป็นพิเศษหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้คงเป็นพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง เพราะน้ำจากด้านบนค่อย ๆ ไหลลงมาอยู่ที่จังหวัดนครปฐม และสุพรรณบุรีเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยานั้นคงไม่มีปัญหา จะมีเฉพาะด้านตะวันตกหรือทางลุ่มแม่น้ำท่าจีนเป็นส่วนใหญ่
ผู้สื่อข่าวถามว่าการให้ความช่วยเหลือและชดเชยนาข้าวจะมีการทบทวนตัวเลขหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การชดเชยนั้นทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีวิธีการที่จะดำเนินการแล้ว โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมมาสำรวจ เพื่อให้ประมาณพื้นที่ได้ แต่ว่าความเสียหายจริงๆ นั้นคงต้องลงไปประเมินอย่างจริงจังในพื้นที่
ผู้สื่อข่าวถามว่าแต่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความช่วยเหลือในตัวเลขค่าชดเชยเพียง 50 เปอร์เซนต์เท่านั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเกณฑ์เฉลี่ยตามลักษณะความเสียหาย ซึ่งพื้นที่เสียหายนั้นเป็นแสนๆ ไร่ ลองคูณตัวเลขดูว่าจะออกมาเป็นเท่าไร ถ้าเราจ่ายเต็มที่จะต้องดูว่าเสียหายเท่าไร เรื่องเงินนั้นรัฐบาลพยายามชดเชยให้ตามความเสียหาย ตามความจำเป็นอย่างเต็มที่อยู่แล้ว
ขณะที่ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “สายตรงทำเนียบ" ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับมาตรการในการให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ว่า รัฐบาลได้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเป็น 2 ประเภท คือ 1. ในพื้นที่ที่เสียหายไม่รุนแรงได้ปรับอัตราชดเชย ดังนี้ นาข้าว 414 บาทต่อไร่ พืชไร่ 579 บาทต่อไร่ พืชสวน 786 บาทต่อไร่ และ 2. พื้นที่ที่เสียหายอย่างรุนแรง 10 จังหวัดเฉพาะด้านพืชได้แก่ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐมและสุพรรณบุรี โดยจะชดเชยร้อยละ 50 ของรายได้ที่เกษตรกรจะได้รับ เช่น นาข้าว 1,321 บาทต่อไร่ พืชไร่ 1,520 บาทต่อไร่ พืชสวนและไม้ผลอื่น ๆ 2,429 บาทต่อไร่ นอกจากนั้นรัฐบาลยังให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำประมง ปศุสัตว์ ตามหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือด้วย ซึ่งขณะนี้การให้ความช่วยเหลือและจ่ายค่าชดเชยนั้นเข้าสู่กระบวนการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแล้ว โดยก่อนหน้านี้ทางเกษตรจังหวัดได้ทำการสำรวจความเสียหายเกือบครบทุกพื้นที่แล้ว เหลือเพียงพื้นที่ที่น้ำยังท่วมขัง
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้ารัฐบาลจะโอนเงินงวดไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งต่อไปยังจังหวัด และทางจังหวัดจะโอนเงินไปยังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำไปจ่ายให้กับเกษตรกรต่อไป ซึ่งจะมีความโปร่งใส และถึงมือเกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะฉะนั้นพื้นที่ที่ทำการสำรวจเรียบร้อยแล้ว เงินน่าจะถึงมือเกษตรกรภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ ส่วนพื้นที่ที่จะต้องมีการสำรวจความเสียหายนั้นจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะ สำหรับการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายนั้น ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เตรียมงบประมาณสำหรับจัดหาที่พักถาวร ซ่อมแซมบ้านเรือน จำนวน 1,192 ล้านบาท และงบประมาณในการฟื้นฟูวิถีชุมชน 440 ล้านบาท นอกจากนั้นกองทัพยังเข้ามาช่วยเหลือในการซ่อมแซมด้วย
ส่วนเกษตรกรที่เป็นหนี้สินกับ ธ.ก.ส. นั้น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีเสียชีวิตถือเป็นหนี้สูญมีทั้งหมด 12 ราย ธ.ก.ส. จะรับผิดชอบจำนวน 1.9 ล้านบาท กรณีไม่เสียชีวิตถ้าหากเป็นหนี้เงินกู้เดิมจะขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป 3 ปี และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้ และจะมีเงินกู้ใหม่เพื่อการฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยให้กู้รายละไม่เกิน 30,000 บาท และลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ธนาคารเรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้าร้อยละ 3 ต่อปี ก็จะลดดอกเบี้ยเงินกู้ไปเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นอกจากนั้นจะกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้าด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางกลับมาถึงพล.ม.2 ในเวลา 12.00 น. และได้แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมพื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรีในวันนี้ ซึ่งระดับน้ำในพื้นที่โดยรวมลดลงไปประมาณ 30-40 เซ็นติเมตร แต่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐมยังคงมีน้ำท่วมอยู่ค่อนข้างมาก สามารถระบายได้ในขณะนี้ ไม่ว่าจะออกทางแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และบางส่วนที่ผ่านกรุงเทพฯ ลงไปทางคลองมหาสวัสดิ์ รวมประมาณ 30 ล้านคิวบิกเมตรต่อวัน หากสามารถรักษาการระบายน้ำในระดับนี้ได้ทางกรมชลประทานชี้แจงว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 15-20 วันน้ำจึงจะลดลงสู่ระดับปกติ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสนใจ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ชี้แจงให้ชาวบ้านเข้าใจถึงการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทย ที่ได้กำหนดเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ไว้แล้ว และได้ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปแล้ว การช่วยเหลือขณะนี้สามารถใช้งบประมาณส่วนหนึ่งดำเนินการไปได้ แต่ส่วนใหญ่ต้องรองบประมาณ ปี 2550 ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อน และในช่วงเดือนมกราคม 2550 จึงจะสามารถให้ความช่วยเหลือด้านการเงินส่วนใหญ่ได้ทั้งหมด ซึ่งได้ชี้แจงให้ประชาชนรับทราบแล้ว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในเรื่องของการให้การรักษาโรค อาการเจ็บป่วย เท่าที่ได้รับข้อมูลจากชุดแพทย์ที่เข้าดูแลประชาชนในพื้นที่ทราบว่า ประชาชนเริ่มมีความเครียดมากขึ้น มีความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น ตรงนั้นเป็นส่วนที่จะต้องเยียวยากันต่อไป ซึ่งทางสาธารณสุขจังหวัดได้ดำเนินการให้ยาเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านมาอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่าประชาชนมักร้องเรียนว่ารัฐบาลยังให้ความช่วยเหลือล่าช้าจะดำเนินการอย่างไรให้เร็วขึ้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในขณะนี้ได้เร่งรัดอย่างเต็มที่อยู่แล้ว เท่าที่ได้รับทราบจากผู้ว่าราชการจังหวัดทราบว่าการให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าโดยการแจกถุงยังชีพนั้นสามารถทำได้ 5 วันครั้ง ส่วนการบริการอื่น ๆ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่วนเรื่องเงินช่วยเหลือยังต้องคอยการตรวจสอบอีกระยะ เนื่องจากรัฐบาลต้องการความโปร่งใส และเมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตรวจสอบแล้วการดำเนินการจะเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการช่วยเหลือตามช่องทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทยก็มีวิธีการดำเนินการอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งจะนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในครั้งหน้า เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาวงเงินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน โดยรัฐบาลประเมินวงเงินการให้ความช่วยเหลือไว้ว่าเป็นวงเงิน 10,000 ล้านบาทที่จะต้องให้ทั้ง 2 กระทรวง และยังมีส่วนของกระทรวงคมนาคมอีกส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องฟื้นฟูอีกด้วย เพราะขณะนี้น้ำยังลดลงไม่หมด การสำรวจในเรื่องการซ่อมแซมจึงยังทำได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นจึงเป็นตัวเลขคร่าวๆ ว่าประมาณ 10,000 ล้านบาท ที่จะให้ความช่วยเหลือในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคกลางตอนล่าง
ผู้สื่อข่าวถามว่าอุปสรรคที่ทำให้การสำรวจความเสียหายล่าช้าเนื่องมาจากเหตุใด นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ล่าช้าเนื่องจากยังเข้าไปไม่ถึงจุดที่เสียหายจริง ๆ เนื่องจากน้ำท่วม ทำให้น้ำยังขังอยู่ และยังสำรวจไม่ได้ เช่น บ่อปลา บ่อกุ้ง เพียงแต่รู้ว่าตรงนี้เป็นบ่อ แต่ความสูญเสียสำรวจยังไม่ได้แต่น้ำท่วมไปแล้ว คงต้องรออีกนิดเดียว ประมาณ 2 สัปดาห์ - 20 วัน แล้วน้ำคงจะลดลงไป พอที่จะให้ทำการสำรวจความเสียได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่ายังมีพื้นที่วิกฤตหรือน่าเป็นห่วงที่รัฐบาลต้องเข้าดูแลเป็นพิเศษหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้คงเป็นพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง เพราะน้ำจากด้านบนค่อย ๆ ไหลลงมาอยู่ที่จังหวัดนครปฐม และสุพรรณบุรีเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยานั้นคงไม่มีปัญหา จะมีเฉพาะด้านตะวันตกหรือทางลุ่มแม่น้ำท่าจีนเป็นส่วนใหญ่
ผู้สื่อข่าวถามว่าการให้ความช่วยเหลือและชดเชยนาข้าวจะมีการทบทวนตัวเลขหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การชดเชยนั้นทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีวิธีการที่จะดำเนินการแล้ว โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมมาสำรวจ เพื่อให้ประมาณพื้นที่ได้ แต่ว่าความเสียหายจริงๆ นั้นคงต้องลงไปประเมินอย่างจริงจังในพื้นที่
ผู้สื่อข่าวถามว่าแต่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความช่วยเหลือในตัวเลขค่าชดเชยเพียง 50 เปอร์เซนต์เท่านั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเกณฑ์เฉลี่ยตามลักษณะความเสียหาย ซึ่งพื้นที่เสียหายนั้นเป็นแสนๆ ไร่ ลองคูณตัวเลขดูว่าจะออกมาเป็นเท่าไร ถ้าเราจ่ายเต็มที่จะต้องดูว่าเสียหายเท่าไร เรื่องเงินนั้นรัฐบาลพยายามชดเชยให้ตามความเสียหาย ตามความจำเป็นอย่างเต็มที่อยู่แล้ว
ขณะที่ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “สายตรงทำเนียบ" ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับมาตรการในการให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ว่า รัฐบาลได้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเป็น 2 ประเภท คือ 1. ในพื้นที่ที่เสียหายไม่รุนแรงได้ปรับอัตราชดเชย ดังนี้ นาข้าว 414 บาทต่อไร่ พืชไร่ 579 บาทต่อไร่ พืชสวน 786 บาทต่อไร่ และ 2. พื้นที่ที่เสียหายอย่างรุนแรง 10 จังหวัดเฉพาะด้านพืชได้แก่ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐมและสุพรรณบุรี โดยจะชดเชยร้อยละ 50 ของรายได้ที่เกษตรกรจะได้รับ เช่น นาข้าว 1,321 บาทต่อไร่ พืชไร่ 1,520 บาทต่อไร่ พืชสวนและไม้ผลอื่น ๆ 2,429 บาทต่อไร่ นอกจากนั้นรัฐบาลยังให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำประมง ปศุสัตว์ ตามหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือด้วย ซึ่งขณะนี้การให้ความช่วยเหลือและจ่ายค่าชดเชยนั้นเข้าสู่กระบวนการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแล้ว โดยก่อนหน้านี้ทางเกษตรจังหวัดได้ทำการสำรวจความเสียหายเกือบครบทุกพื้นที่แล้ว เหลือเพียงพื้นที่ที่น้ำยังท่วมขัง
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้ารัฐบาลจะโอนเงินงวดไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งต่อไปยังจังหวัด และทางจังหวัดจะโอนเงินไปยังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำไปจ่ายให้กับเกษตรกรต่อไป ซึ่งจะมีความโปร่งใส และถึงมือเกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะฉะนั้นพื้นที่ที่ทำการสำรวจเรียบร้อยแล้ว เงินน่าจะถึงมือเกษตรกรภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ ส่วนพื้นที่ที่จะต้องมีการสำรวจความเสียหายนั้นจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะ สำหรับการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายนั้น ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เตรียมงบประมาณสำหรับจัดหาที่พักถาวร ซ่อมแซมบ้านเรือน จำนวน 1,192 ล้านบาท และงบประมาณในการฟื้นฟูวิถีชุมชน 440 ล้านบาท นอกจากนั้นกองทัพยังเข้ามาช่วยเหลือในการซ่อมแซมด้วย
ส่วนเกษตรกรที่เป็นหนี้สินกับ ธ.ก.ส. นั้น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีเสียชีวิตถือเป็นหนี้สูญมีทั้งหมด 12 ราย ธ.ก.ส. จะรับผิดชอบจำนวน 1.9 ล้านบาท กรณีไม่เสียชีวิตถ้าหากเป็นหนี้เงินกู้เดิมจะขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป 3 ปี และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้ และจะมีเงินกู้ใหม่เพื่อการฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยให้กู้รายละไม่เกิน 30,000 บาท และลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ธนาคารเรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้าร้อยละ 3 ต่อปี ก็จะลดดอกเบี้ยเงินกู้ไปเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นอกจากนั้นจะกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้าด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--