แท็ก
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
กระทรวงอุตสาหกรรม
สุรยุทธ์ จุลานนท์
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
เมื่อเวลา 12.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงผลการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการหารือร่างนโยบายรัฐบาลที่นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะทำงานร่างนโยบายรัฐบาลได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และมีการปรับจากร่างเบื้องต้น เพราะบางกระทรวงยังไม่ได้ส่งข้อความสำคัญในการที่จะร่วมอยู่ในคำแถลงนโยบายด้วย จึงจำเป็นต้องปรับและนำเข้าคณะรัฐมนตรีอีกครั้งในวันอังคารที่ 24 ตุลาคมนี้ ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างนโยบายรัฐบาลจะครอบคลุมเป้าหมายการทำงานภายใน 1 ปี ว่า รัฐบาลจะทำอะไรบ้าง โดยมองทั้งด้านต่างประเทศ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในด้านการเมืองนั้นจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะเปิดโอกาสและรับข้อคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อสำคัญ 3 เรื่องในขณะนี้ คือ 1.ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะหรือแนวคิดในการที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 2. แนวคิดที่จะมีการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม และ 3.แนวคิดที่จะปรับปรุงการศึกษา เพื่อให้มีการนำคุณธรรมเข้ามาอยู่ในระบบการศึกษาของเราตั้งแต่เบื้องต้นให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ นั่นคือ 3 เรื่องที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแต่ติดอยู่ที่ประเด็นในเรื่องของประกาศของคณะปฏิรูป ฉบับที่ 7 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ จึงเห็นว่าการที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมนั้น จำเป็นจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สถานที่ที่จะประชุมและสามารถที่จะประชุมกันเกินกว่า 5 คน ได้ ซึ่งจะนำเรื่องนี้ไปประชุมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติในบ่ายวันนี้ และจะขอปรับแก้ประกาศคณะปฏิรูป ฉบับที่ 7 ซึ่งมีบทลงโทษทางอาญาด้วย เพราะขณะนี้ถือว่าเป็นพระราชบัญญัติไปแล้ว ก็จะขอปรับแก้โดยจะทำเรื่องแก้ไขผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจะเปิดประชุมในเร็ว ๆ นี้ แต่โดยหลักการ ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเห็นด้วยในหลักการที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และใช้สถานที่ชุมนุมหรือพบปะเจรจากัน โดยไม่ได้ใช้สถานที่สาธารณะ หมายถึงใช้สถานที่ตามมหาวิทยาลัย หอประชุม หรือสถานที่ที่สามารถจัดการประชุมได้เพื่อดำเนินการในเรื่องเหล่านี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปรับแก้ประกาศคณะปฏิรูป ฉบับที่ 7 ดังกล่าว หมายถึงเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองได้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเด็นที่หารือกันคือจะไม่ให้ใช้สถานที่ที่เป็นสาธารณะคือตามท้องถนน หรือพื้นที่ต่าง ๆ อย่าเพิ่งไปดำเนินกิจกรรมใด ๆ แต่ถ้าจะทำในพื้นที่ที่เป็นพรรคการเมือง หรือที่ประชุมของพรรคก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ขอให้เป็นไปในลักษณะเชิงสร้างสรรค์ที่จะมาช่วยกันแก้ไขปัญหาเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของบ้านเมือง
ต่อข้อถามว่า หากมีการฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า บทลงโทษเป็นเรื่องทางกฎหมายซึ่งในขณะนี้กฎอัยการศึกยังประกาศใช้อยู่ ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคงมีสิทธิที่จะดำเนินการตามกฎหมายได้เช่นกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่ามีการประเมินแล้วใช่หรือไม่ว่าบรรดาคลื่นใต้น้ำต่าง ๆ สงบแล้วใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่ รัฐบาลเพียงแต่ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากกว่า และอยากรับฟังข้อคิดเห็นใน 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่สำคัญ ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดว่าการผ่อนปรนในจุดนี้จะทำให้สายตาต่างประเทศมองประเทศไทยดีขึ้นใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้มองเรื่องต่างประเทศ แต่มองว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมอย่างไร ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญอันดับแรกสุดในความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรี ส่วนการยกเลิกกฎอัยการศึกนั้น ยังไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร คงจะมีการหารือกันต่อไป เพราะสถานการณ์จะเป็นเครื่องกำหนดว่าควรมีการยกเลิกเมื่อไร ซึ่งสื่อมวลชนคงทราบดีว่ามีความเคลื่อนไหวอะไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตราบใดที่กฎอัยการศึกยังไม่มีการยกเลิก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนนั้นคงไม่เกี่ยวกัน แต่อยู่ที่การพูดจาทำความเข้าใจกันมากกว่า การกลับมาไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องกฎอัยการศึก
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในด้านการเมืองนั้นจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะเปิดโอกาสและรับข้อคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อสำคัญ 3 เรื่องในขณะนี้ คือ 1.ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะหรือแนวคิดในการที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 2. แนวคิดที่จะมีการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม และ 3.แนวคิดที่จะปรับปรุงการศึกษา เพื่อให้มีการนำคุณธรรมเข้ามาอยู่ในระบบการศึกษาของเราตั้งแต่เบื้องต้นให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ นั่นคือ 3 เรื่องที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแต่ติดอยู่ที่ประเด็นในเรื่องของประกาศของคณะปฏิรูป ฉบับที่ 7 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ จึงเห็นว่าการที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมนั้น จำเป็นจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สถานที่ที่จะประชุมและสามารถที่จะประชุมกันเกินกว่า 5 คน ได้ ซึ่งจะนำเรื่องนี้ไปประชุมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติในบ่ายวันนี้ และจะขอปรับแก้ประกาศคณะปฏิรูป ฉบับที่ 7 ซึ่งมีบทลงโทษทางอาญาด้วย เพราะขณะนี้ถือว่าเป็นพระราชบัญญัติไปแล้ว ก็จะขอปรับแก้โดยจะทำเรื่องแก้ไขผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจะเปิดประชุมในเร็ว ๆ นี้ แต่โดยหลักการ ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเห็นด้วยในหลักการที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และใช้สถานที่ชุมนุมหรือพบปะเจรจากัน โดยไม่ได้ใช้สถานที่สาธารณะ หมายถึงใช้สถานที่ตามมหาวิทยาลัย หอประชุม หรือสถานที่ที่สามารถจัดการประชุมได้เพื่อดำเนินการในเรื่องเหล่านี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การปรับแก้ประกาศคณะปฏิรูป ฉบับที่ 7 ดังกล่าว หมายถึงเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองได้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเด็นที่หารือกันคือจะไม่ให้ใช้สถานที่ที่เป็นสาธารณะคือตามท้องถนน หรือพื้นที่ต่าง ๆ อย่าเพิ่งไปดำเนินกิจกรรมใด ๆ แต่ถ้าจะทำในพื้นที่ที่เป็นพรรคการเมือง หรือที่ประชุมของพรรคก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ขอให้เป็นไปในลักษณะเชิงสร้างสรรค์ที่จะมาช่วยกันแก้ไขปัญหาเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของบ้านเมือง
ต่อข้อถามว่า หากมีการฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า บทลงโทษเป็นเรื่องทางกฎหมายซึ่งในขณะนี้กฎอัยการศึกยังประกาศใช้อยู่ ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคงมีสิทธิที่จะดำเนินการตามกฎหมายได้เช่นกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่ามีการประเมินแล้วใช่หรือไม่ว่าบรรดาคลื่นใต้น้ำต่าง ๆ สงบแล้วใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่ รัฐบาลเพียงแต่ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากกว่า และอยากรับฟังข้อคิดเห็นใน 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่สำคัญ ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดว่าการผ่อนปรนในจุดนี้จะทำให้สายตาต่างประเทศมองประเทศไทยดีขึ้นใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้มองเรื่องต่างประเทศ แต่มองว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมอย่างไร ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญอันดับแรกสุดในความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรี ส่วนการยกเลิกกฎอัยการศึกนั้น ยังไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร คงจะมีการหารือกันต่อไป เพราะสถานการณ์จะเป็นเครื่องกำหนดว่าควรมีการยกเลิกเมื่อไร ซึ่งสื่อมวลชนคงทราบดีว่ามีความเคลื่อนไหวอะไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตราบใดที่กฎอัยการศึกยังไม่มีการยกเลิก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนนั้นคงไม่เกี่ยวกัน แต่อยู่ที่การพูดจาทำความเข้าใจกันมากกว่า การกลับมาไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องกฎอัยการศึก
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--