ในช่วงบ่าย คณะทูตานุทูตจากกลุ่มทวีปอเมริกา แปซิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี คิวบา เม็กซิโก ปานามา เปรู ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คณะทูตานุทูตจากกลุ่มทวีปยุโรป และรัสเซีย ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม เช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมันี กรีซ ฮังการี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส สโลวาเนีย สวีเดน สเปน สหราชอาณาจักร โรมาเนีย บัลแกเรีย นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี ยูเครน วาติกัน รัสเซีย และผู้แทนจากกลุ่มองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ ESCAP FAO ICAO ILO UNDP UNFPA UNHCR UNICEF UNIDO UNIFEM WHO UNESCO OHCHR UNAIDS UNODC ICRC IOM และ WFP ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ตามลำดับ โดยผลการหารือสรุปได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณ คณะทูตานุทูต และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ ที่เข้าใจสถานการณ์ประเทศไทย และในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง แนวทางการดำเนินงานที่นายกรัฐมนตรีได้มอบแก่คณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน ใน สี่ แนวทางที่สำคัญ คือ โปร่งใส ประหยัด เป็นธรรม และประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินงานในโครงการต่างๆ ของรัฐบาล รวมถึงโครงการ Mega Projects ที่สำคัญ และจำเป็นต่อประเทศและประชาชน เช่น การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่งมวลชน ก็จะยึดหลักแนวทางดังกล่าวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ภาระหน้าที่สำคัญในการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น มี สองประการคือ การสร้างรักสามัคคีของประชาชนคนไทย และการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลได้น้อมรับแนวทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะเน้นให้ประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต แต่ทั้งนี้ เศรษฐกิจระหว่างประเทศยังเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยจะคงดำเนินและสานต่อนโยบายต่างประเทศต่อไป พร้อมกับการให้ความสำคัญกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
ในโอกาสนี้ คณะทูตานุทูต และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ ได้แสดงความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับ กรอบเวลาการยกร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดเวลาการเลือกตั้ง การยกเลิกกฏอัยการศึก การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การแก้ปัญหาภาคใต้ รวมถึงทิศทางและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว โดยได้ย้ำว่า รัฐบาลจะพยายามอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหา และบริหารบ้านเมืองในกรอบเวลา 1 ปี ตามที่กำหนดไว้ ส่วนการยกเลิกฏอัยการศึกนั้น รัฐบาลจะปรึกษากับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อยกเลิกกฎอัยการศึกโดยเร็ว หากสถานการณ์ต่างๆเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สำหรับการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น รัฐบาลจะเน้นการพบปะและสัมผัสกับประชาชนโดยตรง การพัฒนาระบบการศึกษา และการสร้างความเป็นธรรม ด้านนโยบายเศรษฐกิจนั้น ขณะนี้กำลังยกร่าง และจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณ คณะทูตานุทูต และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ ที่เข้าใจสถานการณ์ประเทศไทย และในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง แนวทางการดำเนินงานที่นายกรัฐมนตรีได้มอบแก่คณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน ใน สี่ แนวทางที่สำคัญ คือ โปร่งใส ประหยัด เป็นธรรม และประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินงานในโครงการต่างๆ ของรัฐบาล รวมถึงโครงการ Mega Projects ที่สำคัญ และจำเป็นต่อประเทศและประชาชน เช่น การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่งมวลชน ก็จะยึดหลักแนวทางดังกล่าวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ภาระหน้าที่สำคัญในการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น มี สองประการคือ การสร้างรักสามัคคีของประชาชนคนไทย และการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลได้น้อมรับแนวทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะเน้นให้ประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต แต่ทั้งนี้ เศรษฐกิจระหว่างประเทศยังเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยจะคงดำเนินและสานต่อนโยบายต่างประเทศต่อไป พร้อมกับการให้ความสำคัญกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
ในโอกาสนี้ คณะทูตานุทูต และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ ได้แสดงความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับ กรอบเวลาการยกร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดเวลาการเลือกตั้ง การยกเลิกกฏอัยการศึก การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การแก้ปัญหาภาคใต้ รวมถึงทิศทางและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว โดยได้ย้ำว่า รัฐบาลจะพยายามอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหา และบริหารบ้านเมืองในกรอบเวลา 1 ปี ตามที่กำหนดไว้ ส่วนการยกเลิกฏอัยการศึกนั้น รัฐบาลจะปรึกษากับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อยกเลิกกฎอัยการศึกโดยเร็ว หากสถานการณ์ต่างๆเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สำหรับการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น รัฐบาลจะเน้นการพบปะและสัมผัสกับประชาชนโดยตรง การพัฒนาระบบการศึกษา และการสร้างความเป็นธรรม ด้านนโยบายเศรษฐกิจนั้น ขณะนี้กำลังยกร่าง และจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--