แท็ก
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กองบัญชาการทหารสูงสุด
กระทรวงมหาดไทย
ทำเนียบรัฐบาล
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พลโท พลางกูร กล้าหาญ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และรองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพงศ์เผ่า เกษทอง รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และร้อยเอกยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันแถลงข่าวการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สรุปสาระสำคัญดังนี้
รัฐบาลมีความห่วงใยในปัญหาอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่ง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และได้เพิ่มงบประมาณให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์จำนวน 20 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่ได้จากการบริจาคของภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือในเรื่องจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ และกำชับว่าให้ใช้จ่ายอย่างโปร่งใส นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ฝากให้นำแนวคิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการซ่อมสร้างหรือ ก่อสร้างที่พักอาศัยใหม่ ๆ ขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการโยกย้ายสิ่งของไปไว้ชั้นบนของบ้าน หากเกิดอุทกภัยในอนาคตอีก รวมทั้งให้พิจารณาการสร้างพนังกั้นน้ำเพื่อให้รับแรงดันน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือดังนี้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สรุปความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยว่า ส่งผลกระทบใน 46 จังหวัด 305 อำเภอ 19 กิ่งอำเภอ 1,856 ตำบล 10,411 หมู่บ้าน ซึ่งกระทบต่อประชาชนประมาณ 2,920,973 คน และมีผู้เสียชีวิต จำนวน 77 คน สำหรับการให้ความช่วยเหลือในส่วนภูมิภาค กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้มอบเงินให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบอุทกภัยจังหวัดละ 50 ล้านบาท เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ส่วนการให้ความช่วยเหลือในกรุงเทพมหานครนั้น กรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน 23 เขต จำนวน 100 ล้านบาท นอกจากนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มอบเงินให้แก่ครอบครัว ผู้เสียชีวิตรายละ 15,000 บาท และถ้าหากพิสูจน์ทราบว่าเป็นเจ้าบ้านจะมอบเงินให้จำนวน 40,000 บาท รวมทั้งอยู่ระหว่างการตรวจพิสูจน์ว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย เพื่อมอบเงินให้ครอบครัวละ 2,000 บาท
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในด้านความเสียหายทางด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกรมชลประทานมีหน้าที่โดยตรงในการดำเนินการป้องกันน้ำท่วม ทั้งนี้ เกษตรกรที่ปลูกข้าวบางส่วนบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ได้อนุญาตให้กรมชลประทานปล่อยน้ำเข้าท่วมพื้นที่นา เพื่อป้องกันมิให้น้ำไหลเข้าท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งกรมชลประทานต้องการพื้นที่จำนวน 1.38 ล้านไร่ เพื่อรองรับน้ำ 518 ลูกบาศก์เมตร โดยกรมชลประทานจะปล่อยน้ำเข้าพื้นที่นาดังกล่าวไม่เกินวันละ 5 เซนติเมตร ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่าควรชดเชยให้เกษตรกรกลุ่มดังกล่าวโดยสะท้อนจากความเป็นจริงต่อไป
กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ดำเนินการด้านการป้องกันโดยได้จัดหาพื้นที่รองรับน้ำ ซึ่งกองทัพไทยได้สำรวจผลปรากฏว่า หน่วยกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กองทัพบก สามารถ รองรับน้ำได้ 300,000 ลูกบาศก์เมตร กรมทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ และกองพันทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ สามารถรองรับน้ำได้ประมาณ 100,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะสามารถบรรเทา สถานการณ์น้ำท่วมได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ ได้มีการประสานแจ้งเตือนดำเนินการร่วมกับส่วนราชการของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
รัฐบาลมีความห่วงใยในปัญหาอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่ง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และได้เพิ่มงบประมาณให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์จำนวน 20 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่ได้จากการบริจาคของภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือในเรื่องจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ และกำชับว่าให้ใช้จ่ายอย่างโปร่งใส นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ฝากให้นำแนวคิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการซ่อมสร้างหรือ ก่อสร้างที่พักอาศัยใหม่ ๆ ขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการโยกย้ายสิ่งของไปไว้ชั้นบนของบ้าน หากเกิดอุทกภัยในอนาคตอีก รวมทั้งให้พิจารณาการสร้างพนังกั้นน้ำเพื่อให้รับแรงดันน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือดังนี้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สรุปความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยว่า ส่งผลกระทบใน 46 จังหวัด 305 อำเภอ 19 กิ่งอำเภอ 1,856 ตำบล 10,411 หมู่บ้าน ซึ่งกระทบต่อประชาชนประมาณ 2,920,973 คน และมีผู้เสียชีวิต จำนวน 77 คน สำหรับการให้ความช่วยเหลือในส่วนภูมิภาค กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้มอบเงินให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบอุทกภัยจังหวัดละ 50 ล้านบาท เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ส่วนการให้ความช่วยเหลือในกรุงเทพมหานครนั้น กรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน 23 เขต จำนวน 100 ล้านบาท นอกจากนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มอบเงินให้แก่ครอบครัว ผู้เสียชีวิตรายละ 15,000 บาท และถ้าหากพิสูจน์ทราบว่าเป็นเจ้าบ้านจะมอบเงินให้จำนวน 40,000 บาท รวมทั้งอยู่ระหว่างการตรวจพิสูจน์ว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย เพื่อมอบเงินให้ครอบครัวละ 2,000 บาท
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในด้านความเสียหายทางด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกรมชลประทานมีหน้าที่โดยตรงในการดำเนินการป้องกันน้ำท่วม ทั้งนี้ เกษตรกรที่ปลูกข้าวบางส่วนบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ได้อนุญาตให้กรมชลประทานปล่อยน้ำเข้าท่วมพื้นที่นา เพื่อป้องกันมิให้น้ำไหลเข้าท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งกรมชลประทานต้องการพื้นที่จำนวน 1.38 ล้านไร่ เพื่อรองรับน้ำ 518 ลูกบาศก์เมตร โดยกรมชลประทานจะปล่อยน้ำเข้าพื้นที่นาดังกล่าวไม่เกินวันละ 5 เซนติเมตร ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่าควรชดเชยให้เกษตรกรกลุ่มดังกล่าวโดยสะท้อนจากความเป็นจริงต่อไป
กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ดำเนินการด้านการป้องกันโดยได้จัดหาพื้นที่รองรับน้ำ ซึ่งกองทัพไทยได้สำรวจผลปรากฏว่า หน่วยกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กองทัพบก สามารถ รองรับน้ำได้ 300,000 ลูกบาศก์เมตร กรมทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ และกองพันทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ สามารถรองรับน้ำได้ประมาณ 100,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะสามารถบรรเทา สถานการณ์น้ำท่วมได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ ได้มีการประสานแจ้งเตือนดำเนินการร่วมกับส่วนราชการของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--