วันนี้ เวลา 17.25 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีว่า ขอถือโอกาสนี้เรียนผ่านสื่อมวลชนไปยังพี่น้องประชาชนทั่วประเทศด้วย เพราะว่าเป็นโอกาสแรก ซึ่งตระหนักดีว่าการมาเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้บริหารในครั้งนี้ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการ แต่งตั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งคงเป็นปัญหาหลัก ๆ 2 ประการ ประการแรก คงเป็นปัญหาเรื่องทางการเมือง ประการที่สอง คงเป็นปัญหาในเรื่องของภาคใต้ จึงตระหนักดีว่าปัญหาทั้งสองปัญหานี้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญ และต้องการความปรองดอง ความเข้าใจ ที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของเรา เหตุหลัก ๆ ที่พอจะประมวลได้น่าจะเกิดจากความไม่เป็นธรรมในสังคมของเรา ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งการเมืองและสถานการณ์ในภาคใต้ ดังนั้น จึงขอเรียนวิงวอนต่อพี่น้องประชาชนทุกคนว่า ใคร่ขอความร่วมมือที่จะร่วมกันช่วยแก้ไขปัญหาทั้งสอง การที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาทั้งสองเรื่องนี้ ก็อยู่ที่ความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดองของพวกเราทุกคน ที่จะร่วมมือกันแก้ไข
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในหน้าที่ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารคงจะพยายามทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถภายในกรอบระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวได้กำหนดไว้ คือประมาณ 1 ปี และเมื่อจบสิ้นวาระแล้วก็เป็นหน้าที่ของพี่น้องประชาชนทุกคนที่จะได้มีการเลือกตั้ง เพื่อสรรหาฝ่ายบริหารที่เหมาะสมเข้ามาทำหน้าที่ตามความต้องการของพี่น้องประชาชนทุกคน
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ เกี่ยวกับการจะสร้างความมั่นใจให้กับการลงทุนด้านเศรษฐกิจได้อย่างไร และจะมีบุคคลใดอยู่ในทีมเศรษฐกิจบ้าง โดยนายกรัฐมนตรีตอบว่า ขณะนี้ยังไม่มีตัวบุคคล คงจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากนี้ในการที่จะเลือกบุคคลที่จะมาร่วมในคณะรัฐมนตรีชั่วคราว หลังจากนั้นจะได้มีการชี้แจงนโยบายในเรื่องที่จะสร้างความมั่นใจในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคงจะต้องมีการหารือกันก่อน เพราะคงไม่ได้เป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว คงเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีที่จะต้องช่วยกันพิจารณาในการบริหารงาน
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะร่วมทีมหรือไม่ นายกรัฐมนตรีตอบเพียงว่า ขอพิจารณาก่อน ส่วนเหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เนื่องจากพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้มาพบ และอธิบายถึงเหตุผลที่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการในการเข้ามาปฏิรูปการปกครองในช่วงนี้ เมื่อได้รับฟังแล้ว ได้มีการหารือกันว่าความเหมาะสมเป็นอย่างไรบ้าง มีบุคคลอื่นที่ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้ไปพบหรือได้หารือไว้ในใจอย่างไรบ้าง โดยประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติบอกว่า ในทุก ๆ ด้านแล้วอยากจะให้นายกรัฐมนตรีเข้ามารับภาระ แต่ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีไม่ได้มีความคิดที่จะรับหน้าที่ในการบริหารครั้งนี้ แต่ว่าด้วยความจำเป็นก็จำเป็นต้องรับเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมือง และมองถึงปัญหาในระยะยาวของบ้านเมืองของเรา เพราะถ้าหากว่าเราร่วมมือกันและแก้ไขได้ ก็เหมือนกับว่าเราผ่านช่วงเวลาวิกฤตอันนี้ไปแล้ว และสามารถที่จะฟันผ่าอุปสรรค เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของบ้านเมืองของเรา
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ และคิดอย่างไรในเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติที่ผ่านมา และไม่มีความต้องการหรือมีความคิดที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด อย่างไร ก็ตามเมื่อได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็พร้อมที่จะรับใช้ชาติในยามจำเป็น
ต่อข้อถามที่ว่า นายกรัฐมนตรีคิดว่าสามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แค่ไหน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงตอบไม่ได้ขึ้นอยู่กับมุมมองและสถานการณ์ที่ต่างกัน อย่างไรก็ดีที่เข้ามารับหน้าที่ เนื่องจากเป็นพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนการพิจารณาสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ จะพยายามเลือกบุคคลที่จะมาร่วมงานในลักษณะที่มีความเป็นกลาง มีความรู้มีความสามารถ และมีความเต็มใจที่จะมาร่วมกันแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีนั้นคงเป็นตัวของตัวเองคือ พยายามที่จะเป็นกันเองกับทุก ๆ ส่วน พยายามที่จะลงไปรับข้อมูลจากทุก ๆ ภาคส่วน และถ้าเป็นไปได้ คงมีโอกาสไปพบปะกับพี่น้องประชาชนในทุก ๆ ภาค ทุก ๆ ส่วน ให้มากที่สุด เท่าที่เวลาจะอำนวย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ใน 1 ปีของการบริหารประเทศ คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยบ้าง นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คงยังไม่สามารถที่จะพูดถึงอนาคตข้างหน้าได้ แต่อยากจะขอความร่วมมือจากทุก ๆ คนเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ในการทำงานจะยืนอยู่บนระบบของคุณธรรม สร้างความเป็นธรรม ในระบบการบริหารงานเป็นหลัก ซึ่งระบบคุณธรรมหมายถึงว่า เราจะดูในเรื่องของความสามารถ ประสิทธิภาพ ความซื่อตรง เป็นหลักที่สำคัญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของเศรษฐกิจรัฐบาลชุดที่แล้วเน้นตัวเลขเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก รัฐบาลชุดนี้จะเน้นเรื่องใด นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงจะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน เพราะคงไม่ได้มุ่งในเรื่องของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมากนัก แต่คงจะดูในเรื่องของตัวชี้วัดความผาสุกของพี่น้องประชาชนมากกว่า
ส่วนเรื่องการปราบปรามการทุจริตนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของฝ่ายบริหารจะให้ความร่วมมือให้มากที่สุด เพราะในเรื่องของการดำเนินการนั้นคงจะยืนอยู่บนหลักของความยุติธรรมโดยใช้กฎหมาย และองค์กรอิสระหรือหน่วยงานทางด้านความยุติธรรมต่าง ๆ คงมีหน้าที่ดำเนินการไป ถ้าหากว่าต้องการการสนับสนุน เช่น หลักฐาน เอกสารต่าง ๆ รัฐบาลก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนใน ทุก ๆ เรื่อง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในหน้าที่ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารคงจะพยายามทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถภายในกรอบระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวได้กำหนดไว้ คือประมาณ 1 ปี และเมื่อจบสิ้นวาระแล้วก็เป็นหน้าที่ของพี่น้องประชาชนทุกคนที่จะได้มีการเลือกตั้ง เพื่อสรรหาฝ่ายบริหารที่เหมาะสมเข้ามาทำหน้าที่ตามความต้องการของพี่น้องประชาชนทุกคน
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ เกี่ยวกับการจะสร้างความมั่นใจให้กับการลงทุนด้านเศรษฐกิจได้อย่างไร และจะมีบุคคลใดอยู่ในทีมเศรษฐกิจบ้าง โดยนายกรัฐมนตรีตอบว่า ขณะนี้ยังไม่มีตัวบุคคล คงจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากนี้ในการที่จะเลือกบุคคลที่จะมาร่วมในคณะรัฐมนตรีชั่วคราว หลังจากนั้นจะได้มีการชี้แจงนโยบายในเรื่องที่จะสร้างความมั่นใจในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคงจะต้องมีการหารือกันก่อน เพราะคงไม่ได้เป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว คงเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีที่จะต้องช่วยกันพิจารณาในการบริหารงาน
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะร่วมทีมหรือไม่ นายกรัฐมนตรีตอบเพียงว่า ขอพิจารณาก่อน ส่วนเหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เนื่องจากพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้มาพบ และอธิบายถึงเหตุผลที่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการในการเข้ามาปฏิรูปการปกครองในช่วงนี้ เมื่อได้รับฟังแล้ว ได้มีการหารือกันว่าความเหมาะสมเป็นอย่างไรบ้าง มีบุคคลอื่นที่ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้ไปพบหรือได้หารือไว้ในใจอย่างไรบ้าง โดยประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติบอกว่า ในทุก ๆ ด้านแล้วอยากจะให้นายกรัฐมนตรีเข้ามารับภาระ แต่ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีไม่ได้มีความคิดที่จะรับหน้าที่ในการบริหารครั้งนี้ แต่ว่าด้วยความจำเป็นก็จำเป็นต้องรับเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมือง และมองถึงปัญหาในระยะยาวของบ้านเมืองของเรา เพราะถ้าหากว่าเราร่วมมือกันและแก้ไขได้ ก็เหมือนกับว่าเราผ่านช่วงเวลาวิกฤตอันนี้ไปแล้ว และสามารถที่จะฟันผ่าอุปสรรค เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของบ้านเมืองของเรา
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ และคิดอย่างไรในเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติที่ผ่านมา และไม่มีความต้องการหรือมีความคิดที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด อย่างไร ก็ตามเมื่อได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็พร้อมที่จะรับใช้ชาติในยามจำเป็น
ต่อข้อถามที่ว่า นายกรัฐมนตรีคิดว่าสามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แค่ไหน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงตอบไม่ได้ขึ้นอยู่กับมุมมองและสถานการณ์ที่ต่างกัน อย่างไรก็ดีที่เข้ามารับหน้าที่ เนื่องจากเป็นพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนการพิจารณาสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ จะพยายามเลือกบุคคลที่จะมาร่วมงานในลักษณะที่มีความเป็นกลาง มีความรู้มีความสามารถ และมีความเต็มใจที่จะมาร่วมกันแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีนั้นคงเป็นตัวของตัวเองคือ พยายามที่จะเป็นกันเองกับทุก ๆ ส่วน พยายามที่จะลงไปรับข้อมูลจากทุก ๆ ภาคส่วน และถ้าเป็นไปได้ คงมีโอกาสไปพบปะกับพี่น้องประชาชนในทุก ๆ ภาค ทุก ๆ ส่วน ให้มากที่สุด เท่าที่เวลาจะอำนวย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ใน 1 ปีของการบริหารประเทศ คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยบ้าง นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คงยังไม่สามารถที่จะพูดถึงอนาคตข้างหน้าได้ แต่อยากจะขอความร่วมมือจากทุก ๆ คนเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ในการทำงานจะยืนอยู่บนระบบของคุณธรรม สร้างความเป็นธรรม ในระบบการบริหารงานเป็นหลัก ซึ่งระบบคุณธรรมหมายถึงว่า เราจะดูในเรื่องของความสามารถ ประสิทธิภาพ ความซื่อตรง เป็นหลักที่สำคัญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของเศรษฐกิจรัฐบาลชุดที่แล้วเน้นตัวเลขเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก รัฐบาลชุดนี้จะเน้นเรื่องใด นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงจะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน เพราะคงไม่ได้มุ่งในเรื่องของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมากนัก แต่คงจะดูในเรื่องของตัวชี้วัดความผาสุกของพี่น้องประชาชนมากกว่า
ส่วนเรื่องการปราบปรามการทุจริตนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของฝ่ายบริหารจะให้ความร่วมมือให้มากที่สุด เพราะในเรื่องของการดำเนินการนั้นคงจะยืนอยู่บนหลักของความยุติธรรมโดยใช้กฎหมาย และองค์กรอิสระหรือหน่วยงานทางด้านความยุติธรรมต่าง ๆ คงมีหน้าที่ดำเนินการไป ถ้าหากว่าต้องการการสนับสนุน เช่น หลักฐาน เอกสารต่าง ๆ รัฐบาลก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนใน ทุก ๆ เรื่อง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--