วันนี้ เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 7 ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ เขตจตุจักร พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการแถลงยุทธศาสตร์ชาติ เรื่อง การเสริมสร้างอุดมการณ์ความรักชาติ ที่เสนอปัญหาของชาติในภาพรวมและแผนการแก้ปัญหาระยะยาว ของนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ.2548 เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความสมานฉันท์ เสนอแนวความคิดที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนนำเสนอข้อเสนอแนะทางวิชาการสำหรับให้ทุกภาคส่วนนำไปกำหนดวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาองค์กร
พลโท ปิติ กัมพูพงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ในนามของคณะนักศึกษา วปอ. 2548 ได้กล่าวรายงาน โดยสรุปว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนจัดการศึกษา หลังจากที่นักศึกษาได้รับฟังการบรรยายในหัวข้อวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตร และเดินทางไปตรวจสอบสภาวะแวดล้อม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศแล้ว ได้รวบรวมข้อมูล ความรู้และประสบการณ์มาประเมินและวิเคราะห์ เพื่อกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การป้องกันประเทศ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยปีการศึกษา 2548 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรได้ให้ความสำคัญของยุทธศาสตร์เฉพาะด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ คือ เรื่อง “การเสริมสร้างอุดมการณ์ความรักชาติ” ซึ่งนับเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนควรจะได้นำไปกำหนดวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาองค์กรของตน ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเห็นแนวความคิดที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถใช้เป็นข้อเสนอแนะทางวิชาการสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสาธารณชนผู้สนใจทั่วไป
ภายหลังการนำเสนอยุทธศาสตร์ชาติของคณะนักศึกษา วปอ. 2548 นายกรัฐมนตรีได้กล่าวให้ข้อเสนอแนะต่อยุทธศาสตร์ชาติฯ ของนักศึกษา วปอ.2548 สรุปสาระสำคัญว่า การได้มีโอกาสมาอยู่ท่ามกลางคณะนักศึกษา วปอ.อีกครั้งหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกย้อนไปประมาณ 10 ปีว่า แทนที่จะเป็นขิงแก่ก็เป็นขิงที่กำลังพอดี ๆ พอเป็นขิงแก่ก็เกิดความรู้สึกหลากหลายว่าเวลาที่มีอยู่ของขิงแก่นั้นได้น้อยลงทุกที ฉะนั้นจึงมีความรู้สึกส่วนหนึ่งว่าเวลาที่เหลือจึงอยากทำอะไรที่เป็นประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมืองบ้าง แต่ความรู้สึกที่ว่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้มีกำลังใจ มีความรู้สึกว่ามองเห็นแสงไฟ แสงสว่าง อยู่ที่ปลายอุโมงค์บ้าง ไม่ได้เป็นความมืดมิดจนกระทั่งไม่เห็นเลยว่าโอกาสข้างหน้าเป็นอย่างไร โดยยุทธศาสตร์ชาติของนักศึกษา วปอ.ที่ได้นำเสนอในวันนี้ เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสิ่งที่รัฐบาลได้พยายามจะนำเสนอสู่ประชาชน ซึ่งการทำงานของรัฐบาลในลำดับแรกคือความต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องแรกที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญที่จะมีการร่างในเวลาอันใกล้ ที่จะต้องเริ่มกันตั้งแต่วันนี้
“ ขอให้ลองคิดดูว่าต้องการอยากได้รัฐธรรมนูญแบบไหน แบบยาว 300 — 400 มาตรา หรือแบบสั้นที่มีกฎหมายลูกมารองรับ ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับแบบที่แก้ไขได้ง่ายหรือยาก นี่เป็นแนวคิดในเบื้องต้น ผมไม่ได้เป็นนักกฎหมายมหาชน แต่มองแบบชาวบ้าน ๆ ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญถ้ามากจนกระทั่งทำความเข้าใจยาก อ่านมาตราข้างหน้าแล้วต้องไปอ่านมาตราข้างหลัง ว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร สิ่งเหล่านี้จึงอยากให้ช่วยกันพิจารณา ให้ข้อคิดเห็น เพราะว่าเมื่อมีสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จะได้ไม่ต้องเสียเวลา นี่คือข้อคิดเห็นส่วนหนึ่งของประชาชน” นายกรัฐมนตรีกล่าว
สำหรับเรื่องที่สองที่ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องแรกคือ สังคมไทยยังขาดความเป็นธรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พูดเรื่องนี้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยเรื่องดังกล่าวได้สะท้อนสู่ปัญหาทางการเมืองของไทย และปัญหาสถานการณ์ทางภาคใต้ ซึ่งสิ่งที่คณะนักศึกษาวปอ. ได้พูดถึง ตลอดจนปัจจัยประกอบต่าง ๆ ทั้งด้านวัฒนธรรม ศาสนา ก็เป็นส่วนประกอบ หนึ่ง แต่ลึก ๆ ลงไปแล้วความรู้สึกเกลียดและกลัวนั้นเกิดขึ้นเพราะไม่มีความเป็นธรรม
“ ผมมีความรู้สึกในเรื่องนี้มานานมากแล้วว่าสังคมของเราไม่ค่อยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เลย ทำอย่างไรที่เราจะแก้ไขกระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองของเรา ให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นมา นี่เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ ถ้าเราสามารถให้ความเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นคนพุทธ คนมุสลิม คนคริสต์ จะไม่มีข้อแตกต่างในทางศาสนาเลย เพราะเบื้องลึกในทางศาสนาคือการสร้างคนให้มีคุณธรรม รักสันติ ใฝ่สันติ มีชีวิตที่อยู่อย่างสงบเรียบง่าย จึงขอฝากคณะนักศึกษา วปอ. ว่าจะช่วยกันทำอะไรในระยะเวลาสั้น ๆ ที่มีอยู่ ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าการที่จะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจนั้น สื่อ มีความสำคัญ เพราะสื่อมีอิทธิพลกระทบต่อความรู้สึกของคนค่อนข้างมาก แต่จะต้องหาความสมดุลความพอดีในเรื่องการใช้สื่อ แน่นอนว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้สื่อเพื่อกระตุ้นการบริโภค เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากจะมีการสัมมนาสื่อมวลชนเกิดขึ้น ขอให้ร่วมกันพิจารณาหาความพอดี ในลักษณะที่มีความถูกต้องในช่วงเวลานำเสนอ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า ผู้ที่นำเสนอแนวคิดเป็นแนวคิดที่น่าสรรเสริญ โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปรียบเทียบตัวเองว่านายกรัฐมนตรีก็คือโจรกลับใจ ที่กลับใจเลิกดื่มสุราเมื่ออายุ 60 ปีแล้ว เพราะตระหนักด้วยตัวเองแล้วว่าไม่มีประโยชน์ คนเราจะเห็นอะไรก็ต่อเมื่อได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง ได้มีการทดลองปฏิบัติจึงจะตัดสินใจได้ เหมือนกับโครงการโรงเรียนวิถีพุทธเพื่อสังคมไทย ที่เป็นโครงการรองรับยุทธศาสตร์ของนักศึกษา วปอ. ที่เด็กนักเรียนในโครงการดังกล่าวเป็นเด็กที่โชคดี สามารถถือศีล 5 ได้ตั้งแต่ยังเด็ก ขณะที่นายกรัฐมนตรีมีความตั้งใจถือศีล 5 ให้ครบเมื่ออายุ 60 ปี ซึ่งเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นโจรกลับใจ หากกลับใจไม่ได้ก็คงลำบาก
“ เรื่องการนำคุณธรรมมาสู่ระบบการศึกษาเป็นเรื่องหนึ่งที่จะต้องพูดถึงเป็นอย่างมาก แต่ไม่อยากให้มีการจำกัดกรอบแคบ ๆ ว่าจะต้องเป็นวิถีพุทธเท่านั้น ควรเปิดกว้างเพราะคนในชาติมีหลายเชื้อชาติ ศาสนา มองภาพรวม ทำอย่างไรให้มีแนวทางชัดเจนในการสอดแทรกคุณธรรมในระบบการศึกษาของเราได้ ไม่เช่นนั้นความรู้สึกที่ยังคงมีอยู่ในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา จะแก้ไขได้ยาก ในเรื่องคุณธรรมจะต้องมีการปฏิบัติสอดแทรกไปด้วย ซึ่งผู้ที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดคือครูที่จะเป็นตัวอย่างความศรัทธาให้นักเรียนสามารถปรับตัวตามที่ครูสอน แต่จะฝากเรื่องคุณธรรมไว้กับครูฝ่ายเดียวคงไม่ได้ พ่อแม่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะต้องช่วยกันทำให้ลูกมีความคิด แนวคิดที่ถูกต้องด้วย ทั้งนี้ เรื่องคุณธรรมในระบบการศึกษาถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันในภาพรวมของระบบการศึกษา จะต้องหาแนวทางสอดแทรกคุณธรรมในระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา “ นายกรัฐมนตรีกล่าว
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าความคิดของนายกรัฐมนตรีอาจจะมีความแตกต่างในมุมมองกับนักศึกษาวปอ. ไปบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการขัดกัน อยากให้ทุกอย่างไปด้วยกันได้แล้วหาทางว่าจะแก้ไขกันอย่างไร ซึ่งความเห็นของนายกรัฐมนตรีอาจจะคลาดเคลื่อน แต่ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับเสมอว่า ตัวเองไม่ได้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากมายอะไรนัก เป็นเพียงคนธรรมดาที่มองภาพของสังคมไทยและนำเสนอออกมา
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวฝากคณะนักศึกษา วปอ.ถึงคำว่า “ Logistics” ที่คณะนักศึกษาวปอ. ได้แถลง ซึ่งทางทหารได้มีคำแปลมานานแล้วว่า “ระบบการส่งกำลังบำรุง” จึงอยากให้ฝ่ายพลเรือนได้ช่วยกันคิดคำใหม่ แทนคำว่า “ Logistics” โดยได้ฝากเรื่องนี้กับนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปแล้ว และขอให้เป็นคำที่ฟังแล้วรู้ได้ว่าพูดถึงอะไร ซึ่งในร่างแถลงนโยบายของรัฐบาล จะมีคำที่ค่อนข้างยาวที่จะแถลงให้ฟังว่ารัฐบาลนึกถึงเรื่องนี้อย่างไร แต่อยากให้มีการระดมความคิดของทุกคนที่อยู่ในวงการต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ เมื่อมีการนำศัพท์ทางยุทธศาสตร์ทหารมาใช้ บางครั้งจึงทำให้เกิดความรู้สึกว่าจะไปรบกับใคร แต่จริง ๆ แล้วเป็นการกำหนดแนวนโยบายต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ว่า เป็นเรื่องที่สำคัญเร่งด่วนพอ ๆ กับเรื่องการเมือง ซึ่งจากการที่ได้หารือกับนายอับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเมื่อวานนี้ ก็เห็นว่าเรามีโอกาสในการแก้ปัญหา เพราะมาเลเซียได้แสดงท่าทีที่ชัดเจน ที่พร้อมจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือ ทั้งนี้ ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาภายในประเทศไทยที่เราจะต้องหาทางแก้ไข และนายกรัฐมนตรีมาเลเซียก็พร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นความปราถนาดีและความเอื้อเฟื้อของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียที่แสดงออกมาชัดเจนว่ามีเรื่องอะไรก็สามารถยกหูโทรศัพท์บอกกันได้ และได้บอกกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียว่า ขอให้ช่วยทำความเข้าใจกับประเทศมุสลิมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของไทย โดยมีเงื่อนไขว่าให้รอดูการทำงานของรัฐบาลไทยในช่วง 2 -3 เดือนนี้ก่อน แล้วค่อยไปทำความเข้าใจกับประเทศมุสลิมจำนวนหลายสิบประเทศ
“ เราพยายามแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี แต่ก็มีคนที่นิยมความรุนแรงอยู่ ทั้งจากฝ่ายภาครัฐและผู้ที่ต้องการสร้างให้เกิดปัญหา ซึ่งอาจจะเป็นแนวความคิดเก่า ๆ ที่อยากแบ่งแยกดินแดน แต่คิดว่าเป็นเรื่องของคนจำนวนไม่มากนัก ดังนั้น การสร้างความเข้าใจก็อยู่ที่คนส่วนใหญ่ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือการปรับความเข้าใจ พูดคุย ซึ่งรัฐบาลและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคงต้องทำงานหนัก ในการลงไปพูดคุย ทำความเข้าใจกับคนส่วนใหญ่ที่ยังเกิดความลังเล ไม่มั่นใจในการแก้ปัญหา เราจะพยายามลงไปพูดกับเยาวชน ผู้นำศาสนา เจ้าของโรงเรียนสอนศาสนา เมื่อเกิดความเข้าใจแล้วว่าเรามีเจตนาที่ดีตามแนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ก็จะทำไปพร้อม ๆ กันด้วย “ นายกรัฐมนตรีกล่าว
อนึ่ง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงของประเทศ ที่ประศาสน์วิชาด้านการป้องกันประเทศให้กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของภาครัฐ นักธุรกิจเอกชน และนักการเมือง โดยมุ่งเน้นการศึกษาเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติและนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ในขณะเดียวกันยังเป็นแหล่งระดมสมอง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ อีกทั้ง ยังเป็นการเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างกัน ทั้งนี้ นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ.2548 ประกอบด้วย หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 48 หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ 18 และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐ เอกชน และการเมือง (วปม.) รุ่นที่ 3
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
พลโท ปิติ กัมพูพงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ในนามของคณะนักศึกษา วปอ. 2548 ได้กล่าวรายงาน โดยสรุปว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนจัดการศึกษา หลังจากที่นักศึกษาได้รับฟังการบรรยายในหัวข้อวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตร และเดินทางไปตรวจสอบสภาวะแวดล้อม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศแล้ว ได้รวบรวมข้อมูล ความรู้และประสบการณ์มาประเมินและวิเคราะห์ เพื่อกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การป้องกันประเทศ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยปีการศึกษา 2548 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรได้ให้ความสำคัญของยุทธศาสตร์เฉพาะด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ คือ เรื่อง “การเสริมสร้างอุดมการณ์ความรักชาติ” ซึ่งนับเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนควรจะได้นำไปกำหนดวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาองค์กรของตน ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเห็นแนวความคิดที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถใช้เป็นข้อเสนอแนะทางวิชาการสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสาธารณชนผู้สนใจทั่วไป
ภายหลังการนำเสนอยุทธศาสตร์ชาติของคณะนักศึกษา วปอ. 2548 นายกรัฐมนตรีได้กล่าวให้ข้อเสนอแนะต่อยุทธศาสตร์ชาติฯ ของนักศึกษา วปอ.2548 สรุปสาระสำคัญว่า การได้มีโอกาสมาอยู่ท่ามกลางคณะนักศึกษา วปอ.อีกครั้งหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกย้อนไปประมาณ 10 ปีว่า แทนที่จะเป็นขิงแก่ก็เป็นขิงที่กำลังพอดี ๆ พอเป็นขิงแก่ก็เกิดความรู้สึกหลากหลายว่าเวลาที่มีอยู่ของขิงแก่นั้นได้น้อยลงทุกที ฉะนั้นจึงมีความรู้สึกส่วนหนึ่งว่าเวลาที่เหลือจึงอยากทำอะไรที่เป็นประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมืองบ้าง แต่ความรู้สึกที่ว่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้มีกำลังใจ มีความรู้สึกว่ามองเห็นแสงไฟ แสงสว่าง อยู่ที่ปลายอุโมงค์บ้าง ไม่ได้เป็นความมืดมิดจนกระทั่งไม่เห็นเลยว่าโอกาสข้างหน้าเป็นอย่างไร โดยยุทธศาสตร์ชาติของนักศึกษา วปอ.ที่ได้นำเสนอในวันนี้ เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสิ่งที่รัฐบาลได้พยายามจะนำเสนอสู่ประชาชน ซึ่งการทำงานของรัฐบาลในลำดับแรกคือความต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องแรกที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญที่จะมีการร่างในเวลาอันใกล้ ที่จะต้องเริ่มกันตั้งแต่วันนี้
“ ขอให้ลองคิดดูว่าต้องการอยากได้รัฐธรรมนูญแบบไหน แบบยาว 300 — 400 มาตรา หรือแบบสั้นที่มีกฎหมายลูกมารองรับ ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับแบบที่แก้ไขได้ง่ายหรือยาก นี่เป็นแนวคิดในเบื้องต้น ผมไม่ได้เป็นนักกฎหมายมหาชน แต่มองแบบชาวบ้าน ๆ ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญถ้ามากจนกระทั่งทำความเข้าใจยาก อ่านมาตราข้างหน้าแล้วต้องไปอ่านมาตราข้างหลัง ว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร สิ่งเหล่านี้จึงอยากให้ช่วยกันพิจารณา ให้ข้อคิดเห็น เพราะว่าเมื่อมีสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จะได้ไม่ต้องเสียเวลา นี่คือข้อคิดเห็นส่วนหนึ่งของประชาชน” นายกรัฐมนตรีกล่าว
สำหรับเรื่องที่สองที่ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องแรกคือ สังคมไทยยังขาดความเป็นธรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พูดเรื่องนี้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยเรื่องดังกล่าวได้สะท้อนสู่ปัญหาทางการเมืองของไทย และปัญหาสถานการณ์ทางภาคใต้ ซึ่งสิ่งที่คณะนักศึกษาวปอ. ได้พูดถึง ตลอดจนปัจจัยประกอบต่าง ๆ ทั้งด้านวัฒนธรรม ศาสนา ก็เป็นส่วนประกอบ หนึ่ง แต่ลึก ๆ ลงไปแล้วความรู้สึกเกลียดและกลัวนั้นเกิดขึ้นเพราะไม่มีความเป็นธรรม
“ ผมมีความรู้สึกในเรื่องนี้มานานมากแล้วว่าสังคมของเราไม่ค่อยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เลย ทำอย่างไรที่เราจะแก้ไขกระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองของเรา ให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นมา นี่เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ ถ้าเราสามารถให้ความเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นคนพุทธ คนมุสลิม คนคริสต์ จะไม่มีข้อแตกต่างในทางศาสนาเลย เพราะเบื้องลึกในทางศาสนาคือการสร้างคนให้มีคุณธรรม รักสันติ ใฝ่สันติ มีชีวิตที่อยู่อย่างสงบเรียบง่าย จึงขอฝากคณะนักศึกษา วปอ. ว่าจะช่วยกันทำอะไรในระยะเวลาสั้น ๆ ที่มีอยู่ ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าการที่จะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจนั้น สื่อ มีความสำคัญ เพราะสื่อมีอิทธิพลกระทบต่อความรู้สึกของคนค่อนข้างมาก แต่จะต้องหาความสมดุลความพอดีในเรื่องการใช้สื่อ แน่นอนว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้สื่อเพื่อกระตุ้นการบริโภค เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากจะมีการสัมมนาสื่อมวลชนเกิดขึ้น ขอให้ร่วมกันพิจารณาหาความพอดี ในลักษณะที่มีความถูกต้องในช่วงเวลานำเสนอ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า ผู้ที่นำเสนอแนวคิดเป็นแนวคิดที่น่าสรรเสริญ โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปรียบเทียบตัวเองว่านายกรัฐมนตรีก็คือโจรกลับใจ ที่กลับใจเลิกดื่มสุราเมื่ออายุ 60 ปีแล้ว เพราะตระหนักด้วยตัวเองแล้วว่าไม่มีประโยชน์ คนเราจะเห็นอะไรก็ต่อเมื่อได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง ได้มีการทดลองปฏิบัติจึงจะตัดสินใจได้ เหมือนกับโครงการโรงเรียนวิถีพุทธเพื่อสังคมไทย ที่เป็นโครงการรองรับยุทธศาสตร์ของนักศึกษา วปอ. ที่เด็กนักเรียนในโครงการดังกล่าวเป็นเด็กที่โชคดี สามารถถือศีล 5 ได้ตั้งแต่ยังเด็ก ขณะที่นายกรัฐมนตรีมีความตั้งใจถือศีล 5 ให้ครบเมื่ออายุ 60 ปี ซึ่งเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นโจรกลับใจ หากกลับใจไม่ได้ก็คงลำบาก
“ เรื่องการนำคุณธรรมมาสู่ระบบการศึกษาเป็นเรื่องหนึ่งที่จะต้องพูดถึงเป็นอย่างมาก แต่ไม่อยากให้มีการจำกัดกรอบแคบ ๆ ว่าจะต้องเป็นวิถีพุทธเท่านั้น ควรเปิดกว้างเพราะคนในชาติมีหลายเชื้อชาติ ศาสนา มองภาพรวม ทำอย่างไรให้มีแนวทางชัดเจนในการสอดแทรกคุณธรรมในระบบการศึกษาของเราได้ ไม่เช่นนั้นความรู้สึกที่ยังคงมีอยู่ในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา จะแก้ไขได้ยาก ในเรื่องคุณธรรมจะต้องมีการปฏิบัติสอดแทรกไปด้วย ซึ่งผู้ที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดคือครูที่จะเป็นตัวอย่างความศรัทธาให้นักเรียนสามารถปรับตัวตามที่ครูสอน แต่จะฝากเรื่องคุณธรรมไว้กับครูฝ่ายเดียวคงไม่ได้ พ่อแม่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะต้องช่วยกันทำให้ลูกมีความคิด แนวคิดที่ถูกต้องด้วย ทั้งนี้ เรื่องคุณธรรมในระบบการศึกษาถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันในภาพรวมของระบบการศึกษา จะต้องหาแนวทางสอดแทรกคุณธรรมในระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา “ นายกรัฐมนตรีกล่าว
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าความคิดของนายกรัฐมนตรีอาจจะมีความแตกต่างในมุมมองกับนักศึกษาวปอ. ไปบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการขัดกัน อยากให้ทุกอย่างไปด้วยกันได้แล้วหาทางว่าจะแก้ไขกันอย่างไร ซึ่งความเห็นของนายกรัฐมนตรีอาจจะคลาดเคลื่อน แต่ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับเสมอว่า ตัวเองไม่ได้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากมายอะไรนัก เป็นเพียงคนธรรมดาที่มองภาพของสังคมไทยและนำเสนอออกมา
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวฝากคณะนักศึกษา วปอ.ถึงคำว่า “ Logistics” ที่คณะนักศึกษาวปอ. ได้แถลง ซึ่งทางทหารได้มีคำแปลมานานแล้วว่า “ระบบการส่งกำลังบำรุง” จึงอยากให้ฝ่ายพลเรือนได้ช่วยกันคิดคำใหม่ แทนคำว่า “ Logistics” โดยได้ฝากเรื่องนี้กับนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปแล้ว และขอให้เป็นคำที่ฟังแล้วรู้ได้ว่าพูดถึงอะไร ซึ่งในร่างแถลงนโยบายของรัฐบาล จะมีคำที่ค่อนข้างยาวที่จะแถลงให้ฟังว่ารัฐบาลนึกถึงเรื่องนี้อย่างไร แต่อยากให้มีการระดมความคิดของทุกคนที่อยู่ในวงการต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ เมื่อมีการนำศัพท์ทางยุทธศาสตร์ทหารมาใช้ บางครั้งจึงทำให้เกิดความรู้สึกว่าจะไปรบกับใคร แต่จริง ๆ แล้วเป็นการกำหนดแนวนโยบายต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ว่า เป็นเรื่องที่สำคัญเร่งด่วนพอ ๆ กับเรื่องการเมือง ซึ่งจากการที่ได้หารือกับนายอับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเมื่อวานนี้ ก็เห็นว่าเรามีโอกาสในการแก้ปัญหา เพราะมาเลเซียได้แสดงท่าทีที่ชัดเจน ที่พร้อมจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือ ทั้งนี้ ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาภายในประเทศไทยที่เราจะต้องหาทางแก้ไข และนายกรัฐมนตรีมาเลเซียก็พร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นความปราถนาดีและความเอื้อเฟื้อของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียที่แสดงออกมาชัดเจนว่ามีเรื่องอะไรก็สามารถยกหูโทรศัพท์บอกกันได้ และได้บอกกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียว่า ขอให้ช่วยทำความเข้าใจกับประเทศมุสลิมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของไทย โดยมีเงื่อนไขว่าให้รอดูการทำงานของรัฐบาลไทยในช่วง 2 -3 เดือนนี้ก่อน แล้วค่อยไปทำความเข้าใจกับประเทศมุสลิมจำนวนหลายสิบประเทศ
“ เราพยายามแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี แต่ก็มีคนที่นิยมความรุนแรงอยู่ ทั้งจากฝ่ายภาครัฐและผู้ที่ต้องการสร้างให้เกิดปัญหา ซึ่งอาจจะเป็นแนวความคิดเก่า ๆ ที่อยากแบ่งแยกดินแดน แต่คิดว่าเป็นเรื่องของคนจำนวนไม่มากนัก ดังนั้น การสร้างความเข้าใจก็อยู่ที่คนส่วนใหญ่ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือการปรับความเข้าใจ พูดคุย ซึ่งรัฐบาลและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคงต้องทำงานหนัก ในการลงไปพูดคุย ทำความเข้าใจกับคนส่วนใหญ่ที่ยังเกิดความลังเล ไม่มั่นใจในการแก้ปัญหา เราจะพยายามลงไปพูดกับเยาวชน ผู้นำศาสนา เจ้าของโรงเรียนสอนศาสนา เมื่อเกิดความเข้าใจแล้วว่าเรามีเจตนาที่ดีตามแนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ก็จะทำไปพร้อม ๆ กันด้วย “ นายกรัฐมนตรีกล่าว
อนึ่ง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงของประเทศ ที่ประศาสน์วิชาด้านการป้องกันประเทศให้กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของภาครัฐ นักธุรกิจเอกชน และนักการเมือง โดยมุ่งเน้นการศึกษาเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติและนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ในขณะเดียวกันยังเป็นแหล่งระดมสมอง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ อีกทั้ง ยังเป็นการเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างกัน ทั้งนี้ นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ.2548 ประกอบด้วย หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 48 หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ 18 และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐ เอกชน และการเมือง (วปม.) รุ่นที่ 3
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--