แท็ก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
งานมหกรรมพืชสวน
ราชดำเนิน
โปรดเกล้า
พืชสวนโลก
วันนี้ เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีเปิดงาน “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ราชพฤกษ์ 2549" ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ในการนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพันเอกหญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี เฝ้าฯ รับเสด็จ โดยมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ แม่ทัพภาคที่ 3 อธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ผู้บัญชาการตำรวจภาค 5 และคณะทูตานุทูตจากประเทศต่าง ๆ ที่นำพืชสวนมาจัดแสดง รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและ ประชาชนนับหมื่นคนที่เดินทางมาร่วมชมงาน ร่วมรอรับเสด็จฯ ด้วย
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงหอคำหลวง พันเอกหญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ถวายมาลัยพระกร จากนั้นนายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร เสร็จแล้วพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลเกี่ยวกับความเป็นมา วัตถุประสงค์และการจัดงาน สรุปว่า การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี 2549 และในมหามงคลสมัยทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญ พระราชกรณียกิจ พัฒนาการเกษตรกรรมทุกสาขา รวมทั้งการเกษตรพืชสวน ซึ่งอำนวยประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่แก่อาชีพเกษตรกรรม อันเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา
การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ ราชพฤกษ์ 2549 นี้ เป็นงานสำคัญด้านการเกษตรครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งได้รับการรับรองในระดับสูงมากจากองค์กรระดับโลก ได้แก่ สำนักงานมหกรรมโลก สำนักงานพืชสวนระหว่างประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากสมาพันธุ์ดอกไม้โลก และสมาคมพืชสวนนานาชาติ โดยการจัดงานนี้เป็นการแสดงศักยภาพในการเพาะปลูกพรรณไม้เขตร้อน และนวัตกรรมเทคโนโลยี ด้านการเกษตรของประเทศไทย รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเทคโนโลยีด้านพรรณไม้เขตร้อนทั่วโลก สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการเกษตร ภายใต้ประเด็นของงานคือ “เพื่อนำความรักสู่มนุษยชาติ"
งานนี้ใช้พื้นที่ในการจัดงาน 470 ไร่ ซึ่งจะรวมพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้น ที่นับได้ว่า เป็นความมหัศจรรย์ยอดเยี่ยมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีพรรณไม้หลากหลายมากที่สุดในโลก โดยในงานจะจัดแสดงพรรณไม้มากกว่า 2,200 ชนิด จำนวนกว่า 2 ล้าน 5 แสนต้น และภายในงานประกอบด้วยการจัดแสดงหลัก 4 ส่วน และส่วนการแสดงพิเศษอีก 13 ส่วน เช่น ลานราษฎร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีซุ้มเฉลิมพระเกียรติแสดงพระราชกรณียกิจ และพระบรมราโชวาท หอคำหลวง บนเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร จัดแสดงนิทรรศการ พระราชกรณียกิจและพระอัจฉริยภาพด้านเกษตรกรรม และความเป็นนักพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และด้วยเดชะพระบารมี เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยได้รับเกียรติจากนานาประเทศ รวม 33 ประเทศ จากทวีปต่าง ๆ 5 ทวีปทั่วโลก ร่วมจัดสวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ในนามของประมุข รัฐบาล และประชาชนของประเทศนั้น ๆ ซึ่งนอกจากจะแสดงพรรณไม้อันงดงามหลากหลาย เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการเกษตรพืชสวนแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศไทยและนานาประเทศ ซึ่งจะส่งผลไปสู่ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมของประชาชนชาวไทยและชาวโลกด้วย
นอกจากนี้ ในงานยังจัดแสดงสวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติจากองค์กรต่าง ๆ ในประเทศทั้งภาครัฐ และเอกชนรวม 22 องค์กร เป็นการนำทฤษฎีการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวคิดการจัดสวน ซึ่งมีทั้งการจัดสวนไทย สวนสมุนไพร สวนกล้วยไม้ สวนผลไม้ไทย อาคารโลกแมลง สวนใต้ร่มยาง ซึ่งจะเป็นแหล่งความรู้แก่เกษตรกร ประชาชน และนักท่องเที่ยว ในด้านการเกษตรพืชสวน อีกทั้งยังมีประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีประติมากรของไทยและศิลปินจากนานาชาติสี่ประเทศ ร่วมพลังศรัทธาเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติด้วย โดยรัฐบาลเชื่อมั่นว่า งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย ทั้งในด้านองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรมพืชสวน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ
จากนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดงาน “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ราชพฤกษ์ 2549" เสร็จแล้วทอดพระเนตรการแสดงโขนตอน “ชมราชพฤกษ์ สงบศึกสองโยธา" แล้วเสด็จฯ ประทับรถกอล์ฟเพื่อทอดพระเนตรสวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศตุรกี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศอินเดียสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศภูฏาน ฯลฯ และซุ้มเกษตรทฤษฎีใหม่ จากนั้นเสด็จฯ ไปยังสวนถวายพระพร เพื่อทรงลงพระนามาภิไธยบนแผ่นทองคำที่เป็นรูปใบโพธิ์ของต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดี เสร็จแล้วเสด็จฯ ทอดพระทอดเนตรจิตรกรรมฝาผนังพระราชประวัติ 6 ทศวรรษแห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บริเวณภายในหอคำหลวง และทอดพระเนตรนิทรรศการบริเวณชั้นล่างของหอคำหลวง เมื่อได้เวลาประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังท่าอากาศยานทหาร กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประทับเครื่องบินพระที่นั่งไปยังท่าอากาศยานกองบัญชาการกองทัพอากาศ เสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
สำหรับบรรยากาศการเปิดงานในวันแรกมีประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจำนวนมากมาเที่ยวชมงานกันอย่างเนืองแน่น โดยจุดที่ได้รับความสนใจมากคือหอคำหลวง สวนถวายพระพรซึ่งเป็นที่ตั้งของต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดี สวนนานาชาติ ซึ่งประชาชนสามารถเข้าชมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ : ราชพฤกษ์ 2549 ได้ตลอด 3 เดือน ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ บนเนื้อที่ 470 ไร่ ภายในงานประกอบด้วย 1. หอคำหลวง ตัวอาคารที่เป็นศิลปะล้านนาและใช้เป็นอาคารจัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ โดยชั้นบนจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังร่วมสมัยและมีสัญลักษณ์ต้นไม้แห่งทศพิธราชธรรม 21,915 ใบ เท่ากับจำนวนวันที่ทรงครองราชย์ (60 ปี) ส่วนด้านล่างเป็นการแสดงนิทรรศการ พระราชกรณียกิจ 2. ต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดี ณ สวนถวายพระพร ประชาชนจะได้ร่วมถวายความจงรักภักดีด้วยการติดใบโพธิ์ทองเหลืองที่จารึกชื่อตนเอง แล้วนำไปแขวนที่ ต้นโพธิ์ เพื่อนำไปหล่อเป็นองค์พระพุทธรูป และน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3. สวนนานาชาติ จาก 5 ทวีป (พื้นที่ประมาณ 15 ไร่) แบ่งเป็น 1) สวนนอกอาคาร มี 21 ประเทศ 22 สวน 2) สวนในอาคาร มี 6 ประเทศ 4. สวนเฉลิมพระเกียรติ (พื้นที่ประมาณ 25 ไร่) โดยองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 22 สวน โดยนำเอาแนวพระราชดำริมาเป็นแนวคิดในการจัดสวนด้วย 5. สวนพรรณไม้เขตร้อนชื้น (พื้นที่ประมาณ 80 ไร่) เป็นพื้นที่จัดแสดงพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้นที่มีความหลากหลายและใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนพรรณไม้มากกว่า 2,200 ชนิด จำนวนกว่า 2.5 ล้านต้น เช่น ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอก สมุนไพร ไม้ในกลุ่มต่าง ๆ : ไม้ด่าง ไม้น้ำ ไม้ในร่ม ไม้หอม ไม้ในวรรณคดี ไม้ประจำจังหวัด ฯลฯ รวมทั้งจัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นไทยในการแสดงสวนพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของแต่ละภาคของประเทศ 6.นิทรรศการภายในอาคารและการประกวด จัดแสดงนิทรรศการพันธุ์ไม้ เทคโนโลยี และการประกวดพันธุ์ไม้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการแสดงพันธุ์ไม้ถาวร 92 วัน ในอาคาร และนิทรรศการแสดงพันธุ์ไม้ชั่วคราว มี 2 อาคาร เป็นส่วนการจัดแสดงนิทรรศการพันธุ์ไม้สลับหมุนเวียนกันไม่ซ้ำกัน 7. นิทรรศการและประกวดกล้วยไม้ มีกล้วยไม้จากทั่วทุกมุมโลกไม่ว่าจะเป็นพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ลูกผสม รวมทั้งกล้วยไม้แปลก ใหม่และหายาก มาจัดแสดงถึง 10,000 พันธุ์ รวมกว่า 50,000 ต้น 8. การจัดประชุมวิชาการนานาชาติและสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ เป็นการจัดการเผยแพร่ความรู้วิชาการด้านพืชสวนเขตร้อน และเทคโนโลยีทางการเกษตรที่นักวิชาการของไทยมีความรู้ความสามารถในระดับนานาชาติ
นอกจากนี้ยังมีส่วนการแสดงพิเศษ ประกอบด้วย สวนสมุนไพร การแสดงศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งในและต่างประเทศ หมู่บ้านไทย 4 ภาคและชานพักเรือนไทย สวนกล้วยไม้ สวนสวัสดี อาคารไม้ผล โลกแมลง สวนใต้ร่มยาง บ้านหม่อนไหม สวนล้านนา ประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติฯ สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ และหอเกียรติยศพืชสวนไทย รวมทั้งงานด้านประติมากรรม งานประดับแสงสีบริเวณสวนและอาคาร
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ในการนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพันเอกหญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี เฝ้าฯ รับเสด็จ โดยมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ แม่ทัพภาคที่ 3 อธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ผู้บัญชาการตำรวจภาค 5 และคณะทูตานุทูตจากประเทศต่าง ๆ ที่นำพืชสวนมาจัดแสดง รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและ ประชาชนนับหมื่นคนที่เดินทางมาร่วมชมงาน ร่วมรอรับเสด็จฯ ด้วย
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงหอคำหลวง พันเอกหญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ถวายมาลัยพระกร จากนั้นนายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร เสร็จแล้วพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลเกี่ยวกับความเป็นมา วัตถุประสงค์และการจัดงาน สรุปว่า การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี 2549 และในมหามงคลสมัยทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญ พระราชกรณียกิจ พัฒนาการเกษตรกรรมทุกสาขา รวมทั้งการเกษตรพืชสวน ซึ่งอำนวยประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่แก่อาชีพเกษตรกรรม อันเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา
การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ ราชพฤกษ์ 2549 นี้ เป็นงานสำคัญด้านการเกษตรครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งได้รับการรับรองในระดับสูงมากจากองค์กรระดับโลก ได้แก่ สำนักงานมหกรรมโลก สำนักงานพืชสวนระหว่างประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากสมาพันธุ์ดอกไม้โลก และสมาคมพืชสวนนานาชาติ โดยการจัดงานนี้เป็นการแสดงศักยภาพในการเพาะปลูกพรรณไม้เขตร้อน และนวัตกรรมเทคโนโลยี ด้านการเกษตรของประเทศไทย รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเทคโนโลยีด้านพรรณไม้เขตร้อนทั่วโลก สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการเกษตร ภายใต้ประเด็นของงานคือ “เพื่อนำความรักสู่มนุษยชาติ"
งานนี้ใช้พื้นที่ในการจัดงาน 470 ไร่ ซึ่งจะรวมพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้น ที่นับได้ว่า เป็นความมหัศจรรย์ยอดเยี่ยมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีพรรณไม้หลากหลายมากที่สุดในโลก โดยในงานจะจัดแสดงพรรณไม้มากกว่า 2,200 ชนิด จำนวนกว่า 2 ล้าน 5 แสนต้น และภายในงานประกอบด้วยการจัดแสดงหลัก 4 ส่วน และส่วนการแสดงพิเศษอีก 13 ส่วน เช่น ลานราษฎร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีซุ้มเฉลิมพระเกียรติแสดงพระราชกรณียกิจ และพระบรมราโชวาท หอคำหลวง บนเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร จัดแสดงนิทรรศการ พระราชกรณียกิจและพระอัจฉริยภาพด้านเกษตรกรรม และความเป็นนักพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และด้วยเดชะพระบารมี เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยได้รับเกียรติจากนานาประเทศ รวม 33 ประเทศ จากทวีปต่าง ๆ 5 ทวีปทั่วโลก ร่วมจัดสวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ในนามของประมุข รัฐบาล และประชาชนของประเทศนั้น ๆ ซึ่งนอกจากจะแสดงพรรณไม้อันงดงามหลากหลาย เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการเกษตรพืชสวนแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศไทยและนานาประเทศ ซึ่งจะส่งผลไปสู่ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมของประชาชนชาวไทยและชาวโลกด้วย
นอกจากนี้ ในงานยังจัดแสดงสวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติจากองค์กรต่าง ๆ ในประเทศทั้งภาครัฐ และเอกชนรวม 22 องค์กร เป็นการนำทฤษฎีการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวคิดการจัดสวน ซึ่งมีทั้งการจัดสวนไทย สวนสมุนไพร สวนกล้วยไม้ สวนผลไม้ไทย อาคารโลกแมลง สวนใต้ร่มยาง ซึ่งจะเป็นแหล่งความรู้แก่เกษตรกร ประชาชน และนักท่องเที่ยว ในด้านการเกษตรพืชสวน อีกทั้งยังมีประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีประติมากรของไทยและศิลปินจากนานาชาติสี่ประเทศ ร่วมพลังศรัทธาเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติด้วย โดยรัฐบาลเชื่อมั่นว่า งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย ทั้งในด้านองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรมพืชสวน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ
จากนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดงาน “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ราชพฤกษ์ 2549" เสร็จแล้วทอดพระเนตรการแสดงโขนตอน “ชมราชพฤกษ์ สงบศึกสองโยธา" แล้วเสด็จฯ ประทับรถกอล์ฟเพื่อทอดพระเนตรสวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศตุรกี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศอินเดียสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศภูฏาน ฯลฯ และซุ้มเกษตรทฤษฎีใหม่ จากนั้นเสด็จฯ ไปยังสวนถวายพระพร เพื่อทรงลงพระนามาภิไธยบนแผ่นทองคำที่เป็นรูปใบโพธิ์ของต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดี เสร็จแล้วเสด็จฯ ทอดพระทอดเนตรจิตรกรรมฝาผนังพระราชประวัติ 6 ทศวรรษแห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บริเวณภายในหอคำหลวง และทอดพระเนตรนิทรรศการบริเวณชั้นล่างของหอคำหลวง เมื่อได้เวลาประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังท่าอากาศยานทหาร กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประทับเครื่องบินพระที่นั่งไปยังท่าอากาศยานกองบัญชาการกองทัพอากาศ เสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
สำหรับบรรยากาศการเปิดงานในวันแรกมีประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจำนวนมากมาเที่ยวชมงานกันอย่างเนืองแน่น โดยจุดที่ได้รับความสนใจมากคือหอคำหลวง สวนถวายพระพรซึ่งเป็นที่ตั้งของต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดี สวนนานาชาติ ซึ่งประชาชนสามารถเข้าชมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ : ราชพฤกษ์ 2549 ได้ตลอด 3 เดือน ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ บนเนื้อที่ 470 ไร่ ภายในงานประกอบด้วย 1. หอคำหลวง ตัวอาคารที่เป็นศิลปะล้านนาและใช้เป็นอาคารจัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ โดยชั้นบนจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังร่วมสมัยและมีสัญลักษณ์ต้นไม้แห่งทศพิธราชธรรม 21,915 ใบ เท่ากับจำนวนวันที่ทรงครองราชย์ (60 ปี) ส่วนด้านล่างเป็นการแสดงนิทรรศการ พระราชกรณียกิจ 2. ต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดี ณ สวนถวายพระพร ประชาชนจะได้ร่วมถวายความจงรักภักดีด้วยการติดใบโพธิ์ทองเหลืองที่จารึกชื่อตนเอง แล้วนำไปแขวนที่ ต้นโพธิ์ เพื่อนำไปหล่อเป็นองค์พระพุทธรูป และน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3. สวนนานาชาติ จาก 5 ทวีป (พื้นที่ประมาณ 15 ไร่) แบ่งเป็น 1) สวนนอกอาคาร มี 21 ประเทศ 22 สวน 2) สวนในอาคาร มี 6 ประเทศ 4. สวนเฉลิมพระเกียรติ (พื้นที่ประมาณ 25 ไร่) โดยองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 22 สวน โดยนำเอาแนวพระราชดำริมาเป็นแนวคิดในการจัดสวนด้วย 5. สวนพรรณไม้เขตร้อนชื้น (พื้นที่ประมาณ 80 ไร่) เป็นพื้นที่จัดแสดงพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้นที่มีความหลากหลายและใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนพรรณไม้มากกว่า 2,200 ชนิด จำนวนกว่า 2.5 ล้านต้น เช่น ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอก สมุนไพร ไม้ในกลุ่มต่าง ๆ : ไม้ด่าง ไม้น้ำ ไม้ในร่ม ไม้หอม ไม้ในวรรณคดี ไม้ประจำจังหวัด ฯลฯ รวมทั้งจัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นไทยในการแสดงสวนพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของแต่ละภาคของประเทศ 6.นิทรรศการภายในอาคารและการประกวด จัดแสดงนิทรรศการพันธุ์ไม้ เทคโนโลยี และการประกวดพันธุ์ไม้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการแสดงพันธุ์ไม้ถาวร 92 วัน ในอาคาร และนิทรรศการแสดงพันธุ์ไม้ชั่วคราว มี 2 อาคาร เป็นส่วนการจัดแสดงนิทรรศการพันธุ์ไม้สลับหมุนเวียนกันไม่ซ้ำกัน 7. นิทรรศการและประกวดกล้วยไม้ มีกล้วยไม้จากทั่วทุกมุมโลกไม่ว่าจะเป็นพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ลูกผสม รวมทั้งกล้วยไม้แปลก ใหม่และหายาก มาจัดแสดงถึง 10,000 พันธุ์ รวมกว่า 50,000 ต้น 8. การจัดประชุมวิชาการนานาชาติและสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ เป็นการจัดการเผยแพร่ความรู้วิชาการด้านพืชสวนเขตร้อน และเทคโนโลยีทางการเกษตรที่นักวิชาการของไทยมีความรู้ความสามารถในระดับนานาชาติ
นอกจากนี้ยังมีส่วนการแสดงพิเศษ ประกอบด้วย สวนสมุนไพร การแสดงศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งในและต่างประเทศ หมู่บ้านไทย 4 ภาคและชานพักเรือนไทย สวนกล้วยไม้ สวนสวัสดี อาคารไม้ผล โลกแมลง สวนใต้ร่มยาง บ้านหม่อนไหม สวนล้านนา ประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติฯ สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ และหอเกียรติยศพืชสวนไทย รวมทั้งงานด้านประติมากรรม งานประดับแสงสีบริเวณสวนและอาคาร
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--