แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ทำเนียบรัฐบาล
โรคไข้หวัดนก
นายกรัฐมนตรี
ไข้หวัดใหญ่
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก และการเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ครั้งที่ 3 / 2550 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศไทย ปัจจุบัน (1มิถุนายน 2550) ไม่มีรายงานการเกิดโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยเป็นเวลา 78 วัน (นับจากได้มีการทำลายสัตว์ปีกและพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550) และสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 1 มิถุนายน 2550 มีรายงานการพบโรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 ใน 20 ประเทศ ดังนี้ ทวีปเอเชีย อาทิ ประเทศจีน คูเวต เวียดนาม พม่า ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลาว อัฟกานิสถาน ปากีสถาน ฯลฯ ทวีปยุโรป อาทิ ประเทศอังการี อังกฤษ รัสเซีย ฯลฯ และทวีปแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไนจีเรีย แอลจีเรียและกาน่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X —Ray) ครั้งที่ 2/2550 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ของกรมปศุสัตว์ที่ได้กำหนดให้มีการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม — 15 มิถุนายน 2550 ในพื้นที่จังหวัดเสี่ยง 31 จังหวัด อาทิ กรุงเทพมหานคร อ่างทอง นนทบุรี ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น นครพนม ฯลฯ เพื่อค้นหาเชื้อไข้หวัดนกที่ยังอาจแฝงตัวอยู่และทำการควบคุมและกำจัดโดยเร็ว รวมทั้งเพื่อศึกษาและประเมินภาวะโรคในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนควบคุมโรคต่อไป ทั้งนี้จะดำเนินการเฉพาะการเฝ้าระวังเชิงรุกทางอาการ ด้วยวิธีเยี่ยมบ้าน โดยใช้เครือข่ายระดับพื้นที่ หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและดำเนินการควบคุมโรคที่สั่งการไปแล้วทันทีโดยไม่ต้องรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งให้สำรวจและสังเกตแหล่งที่มีนกธรรมชาติจำนวนมาก หากพบนกป่วยตายผิดปกติให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ พร้อมเฝ้าระวังสัตว์ปีกในบริเวณทันที
พร้อมนี้ที่ประชุมเห็นชอบ(ร่าง)แผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 — 2553 ที่ปรับปรุงแล้ว ซึ่งยุทธศาสตร์หลักของแผนยุทธศาสตร์ ฯ ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การจัดระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์ปีก อาทิ ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการเลี้ยงสัตว์ปีก ในการจัดระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกพื้นเมือง เป็ดไล่ทุ่ง ไก่ชน และสัตว์ปีกพาณิขย์ โดยเน้นระบบการเลี้ยงแบบแยกส่วน ควบคุมและตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก โดยตั้งจุดตรวจ ทั่วประเทศ พัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและลูกจ้างในกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก 2. ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ทั้งในสัตว์และคน อาทิ พัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมบุคลากร ในการฝึกอบรมแพทย์ สัตวแพทย์และทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก พัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการเพื่อการชันสูตรโรคในสัตว์และคน ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค พัฒนาศักยภาพในการดูแลวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก โดยพัฒนาแนวทางและมาตรฐานในการดูแล วินิจฉัย และรักษาผู้ป่วย พัฒนาผลิตภัณฑ์เฝ้าระวังและควบคุมโรค ในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ สำหรับการระบาดใหญ่ ยาต้านไวรัสไข้หวัดนก ชุดทดสอบเชื้อไข้หวัดนก และยาฆ่าเชื้อโรค พัฒนาองค์ความรู้ เกี่ยวกับการระบาดและการกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดนกทั้งในคนและในสัตว์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาด เฝ้าระวังโรคในสัตว์ปีก โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในระยะฉุกเฉิน สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังในพื้นที่ พร้อมทั้งรณรงค์ค้นหาโรคเชิงรุก 3.ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ อาทิ พัฒนาระบบปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ในการพัฒนาทีมแพทย์และพยาบาลในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข พัฒนาระบบการดูแลรักษาพยาบาล การควบคุม และป้องกันโรค ทั้งด้านองค์ความรู้ของบุคลากรในทุกระดับ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงเตรียมความพร้อมของสถานบริการ และ4. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน ภาคธุรกิจ และนานาประเทศ อาทิ พัฒนาเครือข่ายภาคประชาชน โดยส่งเสริมบทบาทของภาคประชาชนในการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวัง โรคไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ พร้อมทั้งรณรงค์การปรับพฤติกรรมอนามัย สนับสนุนการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรายย่อย เพื่อความเข้มแข็งของเกษตรกร ทั้งด้านการผลิตและการตลาด พัฒนาความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ในการเตรียมความพร้อม เมื่อมีการระบาดใหญ่ทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสารของสถานการณ์ไข้หวัดนก พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ โดยเน้นการสนับสนุนเวชภัณฑ์และอุปกรณ์จากสต๊อกในระดับภูมิภาค พัฒนาระบบบริหารจัดการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการประสานและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการป้องกันโรคไข้หวัดนก ในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ ศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในกรอบทวีภาคีและพหุภาคี และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ โดยนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องทันต่อเหตุการณ์ ต่อประชาชนและแนวทางความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบต่อแนวทางการบริหารจัดการและการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ฯ และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. ....) พิจารณาองค์ประกอบและภารกิจของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ฯ และแนวทางการจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อรองรับคณะกรรมการอำนวยการ ฯ แล้วนำเสนอคณะกรรมการต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศไทย ปัจจุบัน (1มิถุนายน 2550) ไม่มีรายงานการเกิดโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยเป็นเวลา 78 วัน (นับจากได้มีการทำลายสัตว์ปีกและพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550) และสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 1 มิถุนายน 2550 มีรายงานการพบโรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 ใน 20 ประเทศ ดังนี้ ทวีปเอเชีย อาทิ ประเทศจีน คูเวต เวียดนาม พม่า ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลาว อัฟกานิสถาน ปากีสถาน ฯลฯ ทวีปยุโรป อาทิ ประเทศอังการี อังกฤษ รัสเซีย ฯลฯ และทวีปแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไนจีเรีย แอลจีเรียและกาน่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X —Ray) ครั้งที่ 2/2550 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ของกรมปศุสัตว์ที่ได้กำหนดให้มีการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม — 15 มิถุนายน 2550 ในพื้นที่จังหวัดเสี่ยง 31 จังหวัด อาทิ กรุงเทพมหานคร อ่างทอง นนทบุรี ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น นครพนม ฯลฯ เพื่อค้นหาเชื้อไข้หวัดนกที่ยังอาจแฝงตัวอยู่และทำการควบคุมและกำจัดโดยเร็ว รวมทั้งเพื่อศึกษาและประเมินภาวะโรคในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนควบคุมโรคต่อไป ทั้งนี้จะดำเนินการเฉพาะการเฝ้าระวังเชิงรุกทางอาการ ด้วยวิธีเยี่ยมบ้าน โดยใช้เครือข่ายระดับพื้นที่ หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและดำเนินการควบคุมโรคที่สั่งการไปแล้วทันทีโดยไม่ต้องรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งให้สำรวจและสังเกตแหล่งที่มีนกธรรมชาติจำนวนมาก หากพบนกป่วยตายผิดปกติให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ พร้อมเฝ้าระวังสัตว์ปีกในบริเวณทันที
พร้อมนี้ที่ประชุมเห็นชอบ(ร่าง)แผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 — 2553 ที่ปรับปรุงแล้ว ซึ่งยุทธศาสตร์หลักของแผนยุทธศาสตร์ ฯ ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การจัดระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์ปีก อาทิ ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการเลี้ยงสัตว์ปีก ในการจัดระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกพื้นเมือง เป็ดไล่ทุ่ง ไก่ชน และสัตว์ปีกพาณิขย์ โดยเน้นระบบการเลี้ยงแบบแยกส่วน ควบคุมและตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก โดยตั้งจุดตรวจ ทั่วประเทศ พัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและลูกจ้างในกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก 2. ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ทั้งในสัตว์และคน อาทิ พัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมบุคลากร ในการฝึกอบรมแพทย์ สัตวแพทย์และทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก พัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการเพื่อการชันสูตรโรคในสัตว์และคน ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค พัฒนาศักยภาพในการดูแลวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก โดยพัฒนาแนวทางและมาตรฐานในการดูแล วินิจฉัย และรักษาผู้ป่วย พัฒนาผลิตภัณฑ์เฝ้าระวังและควบคุมโรค ในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ สำหรับการระบาดใหญ่ ยาต้านไวรัสไข้หวัดนก ชุดทดสอบเชื้อไข้หวัดนก และยาฆ่าเชื้อโรค พัฒนาองค์ความรู้ เกี่ยวกับการระบาดและการกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดนกทั้งในคนและในสัตว์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาด เฝ้าระวังโรคในสัตว์ปีก โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในระยะฉุกเฉิน สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังในพื้นที่ พร้อมทั้งรณรงค์ค้นหาโรคเชิงรุก 3.ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ อาทิ พัฒนาระบบปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ในการพัฒนาทีมแพทย์และพยาบาลในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข พัฒนาระบบการดูแลรักษาพยาบาล การควบคุม และป้องกันโรค ทั้งด้านองค์ความรู้ของบุคลากรในทุกระดับ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงเตรียมความพร้อมของสถานบริการ และ4. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน ภาคธุรกิจ และนานาประเทศ อาทิ พัฒนาเครือข่ายภาคประชาชน โดยส่งเสริมบทบาทของภาคประชาชนในการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวัง โรคไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ พร้อมทั้งรณรงค์การปรับพฤติกรรมอนามัย สนับสนุนการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรายย่อย เพื่อความเข้มแข็งของเกษตรกร ทั้งด้านการผลิตและการตลาด พัฒนาความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ในการเตรียมความพร้อม เมื่อมีการระบาดใหญ่ทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสารของสถานการณ์ไข้หวัดนก พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ โดยเน้นการสนับสนุนเวชภัณฑ์และอุปกรณ์จากสต๊อกในระดับภูมิภาค พัฒนาระบบบริหารจัดการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการประสานและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการป้องกันโรคไข้หวัดนก ในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ ศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในกรอบทวีภาคีและพหุภาคี และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ โดยนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องทันต่อเหตุการณ์ ต่อประชาชนและแนวทางความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบต่อแนวทางการบริหารจัดการและการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ฯ และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. ....) พิจารณาองค์ประกอบและภารกิจของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ฯ และแนวทางการจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อรองรับคณะกรรมการอำนวยการ ฯ แล้วนำเสนอคณะกรรมการต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--