วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ โรงแรมแชงกรีล่า พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดการประชุมการบินนานาชาติและกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “ประเทศและความหลากหลายทางเศรษฐกิจของเอเชีย” (Thailand and Asia’s Economic Dynamic) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานครบรอบ 10 ปี การก่อตั้งกลุ่มสายการบินพันธมิตร (Star Alliance) และเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ล่าสุดในภูมิภาค เมื่อปี 1997 การบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติ ร่วมกับ 4 สายการบินชั้นนำ คือ Lufthansa United Airlines Scandinavian Airlines System และ Air Canada ก่อตั้งกลุ่มสายการบินพันธมิตรอย่างเป็นทางการหรือ Star Alliance เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการคมนาคมทางอากาศทั่วโลก และเป็นการสะท้อนวิสัยทัศน์รูปแบบอุตสาหกรรมการบินไทย ซึ่งไม่เพียงขยายเครือข่ายการเดินอากาศ ยังเพิ่มศักยภาพสมาชิกสายการบินให้มีความสามารถทางการแข่งขัน ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่ทุกฝ่ายจะเป็นผู้ชนะร่วมกัน สมาชิกขยายจาก 4 สายการบินเป็น 19 สายการบิน ครอบคลุม 6 ทวีปทั่วโลก ซึ่งอุตสาหกรรมอื่นๆของไทยและภูมิภาคสามารถรียนรู้จากความสำเร็จของกลุ่มสายการบินพันธมิตรดังกล่าวได้
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า ทุกวันนี้อุตสาหกรรมการบินต้องดำเนินกิจกรรมท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างจากเดิมในอดีต เพราะโลกาภิวัตน์ทำให้เศรษฐกิจต่างๆในโลกเชื่อมโยงกัน การติดต่อกันทางธุรกิจและความต้องการแสวงหาประสบการณ์และวัฒนธรรมใหม่ในโลกเพิ่มมากขึ้น เราจึงไม่สามารถที่จะมองอุตสากรรมการบินในรูปแบบเดิมๆ ที่เป็นเพียงเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการเดินทาง ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันได้สร้างโอกาสและความสัมพันธ์ใหม่ๆ ระหว่างอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น การบินยุคใหม่ สายการบิน รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต่างยินดีต่อโอกาสทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว การขนส่งและสันทนาการ
อย่างไรก็ตาม ยังมีภัยคุกคามและโอกาสต่างๆ ที่อุตสาหกรรมการบินต้องเผชิญ ภัยคุกคามแรก คือ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อันดับสองคือ ความมั่นคง ในปี 2544 จากเหตุการณ์ 11 กันยายน ทุกประเทศได้เพิ่มมาตรการเพื่อความปลอดภัยด้านการบิน ทำให้ต้นทุนดำเนินการเพิ่มสูงขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของประชาชนอย่างเสรี ภัยประการที่สามคือ ภาวะโลกร้อน มาตรฐานมลพิษต่อระยะไมล์การเดินทาง ชี้ให้เห็นว่า การคมนาคมทางอากาศ เป็นรูปแบบการเดินทางที่ไม่เป็นมิตรต่อบรรยากาศโลก ขณะที่มีการเตรียมการอย่างดีต่อภัยที่หนึ่งและที่สอง แต่โลกเพิ่งรับทราบภัยที่สาม อย่างไรก็ตาม ความพยายามและความร่วมมือต่อปัญหาดังกล่าว เป็นสัญญาณทางบวก
สำหรับโอกาสของอุตาสหกรรมทางการบินในภูมิภาค อันดับแรก คือ หลายๆ ประเทศในภูมิภาคในอดีต มีพื้นที่การบินที่จำกัด แต่ความร่วมมือของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนำไปสู่การเปิดน่านฟ้า และไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายการเปิดเสรีน่านฟ้า ประการที่สอง เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เครื่องบินสามารถใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพ วัสดุที่มีน้ำหนักเบาทำให้สามารถขยายตัวเครื่อง และรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้นและพลังงานถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประการที่สามและสำคัญที่สุด คือ เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตสูงสุด และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญที่สุดของโลก
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ความหลากหลายทางเศรษฐกิจของเอเชียมีส่วนช่วยกำหนดอนาคตด้านการบินและการดำเนินยุทธศาสตร์ในปีต่อๆ ไป ทั้งนี้ เอเชียได้หลุดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 และเศรษฐกิจมีการเติบโตถึงร้อยละ 6.5 และเชื่อว่าจะเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะถูกขับเคลื่อนโดยการค้า การรวมตัวและความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ ประเทศเอเชียได้มีการส่งเสริมการค้า อำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนต่างๆ จากการทำข้อตกลงทวิภาคีและกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาค อาทิ อาเซียน BIMSTEC และเอเปค ด้วยความร่วมมือดังกล่าว ทำให้เราสามารถรอดพ้นจากการเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ซาร์ส และไข้หวัดนก และจะทำให้เราสามารถจัดการวิกฤตพลังงานและความท้าทายใหม่ๆ
การขยายตัวของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย เป็นปัจจัยสำคัญของความหลากหลายในเอเชีย ด้วยความสามารถทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ทั้งสองประเทศได้เชื่อมโยงตัวเองกับโลกอย่างลึกซึ้งซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน โดยเห็นได้จากตัวเลขต่างๆ อาทิ การจราจรทางอากาศของจีนเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 7.6 ต่อปี และคาดว่าจะเป็นตลาดการบินนอกประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใหญ่ที่สุดตลอดระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า การค้าระหว่างประเทศของจีนเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตของการขนส่งทางอากาศ ขณะที่การจราจรทางอากาศของอินเดียก็เติบโตมาตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ผู้โดยสารสายการบินทั่วไปเติบโตสูงสุดแห่งหนึ่งของโลกถึงร้อยละ 20 นอกจากนี้ ธุรกิจนอกพื้นที่ย่านธุรกิจต่างๆ ทำให้เกิดความต้องการการบริการทางอากาศใหม่ๆ อีกด้วย
เป็นที่ชัดเจนว่า การค้าและการติดต่อของจีนและอินเดียกับประเทศอื่นในโลก มีส่วนช่วยกำหนดอนาคตการบินในภูมิภาค นอกจากนี้ รายได้เฉลี่ยในเอเชียที่เพิ่มขึ้น ประชาชนเดินทางเพิ่มมากขึ้นทั้งภายในภูมิภาค และระหว่างภูมิภาค ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า การขนส่งทางอากาศภายในภูมิภาคเอเชียจะมีการขยายตัวถึงร้อยละ 8.4 ต่อปีตลอดจนถึงปี 2564 และระหว่างเอเชียกับตลาดอเมริกา ที่ร้อยละ 7.5 และระหว่างเอเชียกับตลาดยุโรปที่ร้อยละ 7 ตามลำดับ
นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคำถามว่า ประเทศไทยจะอยู่ตรงไหนของการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินเอเชียเป็น เชื่อว่าประเทศไทยยังมีโอกาสในด้านอุตสาหกรรมการบินอีกมาก การบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติและเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มสายการบินพัธมิตร ถือเป็นสายการบินที่มีเครือข่ายทั่วโลก รวมทั้งมีสินค้าและบริการที่หลากหลาย ทั้งยังได้รับรางวัลมากมายในด้านความเชี่ยวชาญทางการบินและบริการที่มีคุณภาพจากสถาบันนานาชาติ และได้มีการพัฒนาด้านบริการและอากาศยานอย่างต่อเนื่อง การบินไทยจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาลเพื่อก้าวไปสู่การเป็นสายการบินชั้นนำ
ขณะเดียวกันสายการบินต้นทุนต่ำได้เข้ามาสู่ตลาดของไทยในปี 2546 ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้จำนวนผู้โดยสารจึงเพิ่มขึ้นถึง 44 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเพิ่มเฉลี่ยอีกประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ใน 5 ปีข้างหน้า
ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เป็นทางผ่านของเส้นทางการบินทั้งในและนอกภูมิภาค ซึ่งในปัจจุบันไทยมีท่าอากาศยานหลัก 2 แห่งคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของสายการบินต้นทุนต่ำ และเป็นจุดเชื่อมต่อของการบินในประเทศ ในขณะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นสนามบินหลักในการขนส่งทางอากาศทั้งในและนอกประเทศ สนามบินทั้งสองนี้สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 80 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้ยังมีการขยายการบริการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและเสริมโอกาสให้แก่อุตสาหกรรมการบินอีกด้วย
นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวแสดงความมั่นใจเศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าว่า เศรษฐกิจไทยจะเริ่มเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจในปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 5 แม้ว่าจะต้องเผชิญอุปสรรคต่างๆ ทั้ง การขึ้นราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และความไม่แน่นอนทางการเมือง สำหรับในปีนี้ เศรษฐกิจในไตรมาสแรกมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.3 และคาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมในปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4-4.5
ตลอดเดือนข้างหน้าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลมีแผนที่จะพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และจะดำเนินการทุกอย่างด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม รัฐบาลได้อนุมัติแผนแม่บทพัฒนาการขนส่ง ได้มีการจัดสรรงบประมาณเบื้องต้นจำนวน 2,600ล้านบาท จากงบประมาณของปี 2551
การลงทุนจะช่วยยกระดับโครงสร้างการขนส่ง อาทิ การสร้างรถไฟรางคู่ และการปรับปรุงท่าเรือ นอกจากนี้การลงทุนขนาดใหญ่ก็จะเป็นการลงทุนในระบบขนส่งมวลชน โดยเส้นทางใหม่จะมีระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 100 กิโลเมตร และมีมูลค่าลงทุนเป็นเงิน 2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ การเสนอราคาก่อสร้างเส้นทางสองสายแรกจะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งการลงทุนเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นการขยายเครือข่ายการคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านและถือเป็นการเชื่อมโยงการเจริญเติบโตของจีนและอินเดีย
ในขณะนี้ รัฐบาลกำลังขยายโอกาสการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและประเทศอื่นผ่านกรอบความร่วมมือในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยไทยได้บรรลุความตกลงในข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น หรือ JTEPA ซึ่งจะเป็นการขยายการหมุนเวียนของสินค้า การลงทุนและบริการ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายของประชาชนทั้งสองประเทศด้วย นายกรัฐมนตรียังได้มีการสนทนากับฝ่ายอินเดียถึงแนวทางในการเร่งบรรลุข้อตกลงกับอินเดีย ซึ่งจะช่วยขยายความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนและความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าไทยจะสนับสนุนการเดินทางและการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ โดยจำนวนของนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นถึง 13.8 ล้านคนในปี 2549 โดยในปี 2550 นี้ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาถึง 14.8 ล้านคน นอกจากนี้ การเดินทางเพื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ได้เพิ่มสูงขึ้น โดยมีโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงหลายแห่งที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยต่างชาติ และสถานที่ท่องเที่ยวใหม่กำลังได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ พร้อมกันนี้จะมีการเฉลิมฉลองตลอดทั้งปี เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาในปีนี้ นอกจากนี้ ไทยยังขอร่วมสนับสนุนและร่วมมือกับประเทศเอเชียอื่นเพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมในโอกาสการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนในปี 2551 นี้ด้วย
นายกรัฐมนตรีแสดงความเชื่อมั่นว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะกลับมา ซึ่งกำลังดำเนินไปพร้อมกับกรอบระยะเวลาตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฉบับแรกได้ผ่านการรับฟังความเห็นและแก้ไข ซึ่งนายกรัฐมนตรีคาดว่าร่างฉบับที่สองจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อให้มีการทำประชามติที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ทุ่มเทเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยภายในปีนี้
นายกรัฐมนตรีเน้นว่าภายในปีนี้ประเทศไทยจะกลับมามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงต่างๆในเอเชียอีกครั้ง โดยอนาคตและความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นหากพื้นฐานทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมีความเข้มแข็ง เท่าเทียม และยั่งยืนมากขึ้น นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังกล่าวอีกว่าจะสานต่อความปรารถนาดีและความร่วมมือระหว่างประเทศหุ้นส่วนทั้งจากภาคธุรกิจและรัฐบาล ในการนี้นายกรัฐมนตรีได้จบการกล่าวสุนทรพจน์ด้วยแนวคิดของบริษัทการบินไทยจำกัด “ร่วมบินไปด้วยกัน” หรือ “Let’s Fly Together”
ท้ายสุด นายกรัฐมนตรีปรารถนาให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี และเชื่อมั่นว่าผู้ร่วมประชุมจะได้รับประโยชน์จากการอภิปรายต่างๆ ที่น่าสนใจอย่างเต็มที่ และแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างความร่วมมือซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมการบินของภูมิภาคเดินหน้าต่อไป โดยในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีขอเปิดการประชุมเอเชียประจำปี 2550 อย่างเป็นทางการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานครบรอบ 10 ปี การก่อตั้งกลุ่มสายการบินพันธมิตร (Star Alliance) และเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ล่าสุดในภูมิภาค เมื่อปี 1997 การบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติ ร่วมกับ 4 สายการบินชั้นนำ คือ Lufthansa United Airlines Scandinavian Airlines System และ Air Canada ก่อตั้งกลุ่มสายการบินพันธมิตรอย่างเป็นทางการหรือ Star Alliance เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการคมนาคมทางอากาศทั่วโลก และเป็นการสะท้อนวิสัยทัศน์รูปแบบอุตสาหกรรมการบินไทย ซึ่งไม่เพียงขยายเครือข่ายการเดินอากาศ ยังเพิ่มศักยภาพสมาชิกสายการบินให้มีความสามารถทางการแข่งขัน ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่ทุกฝ่ายจะเป็นผู้ชนะร่วมกัน สมาชิกขยายจาก 4 สายการบินเป็น 19 สายการบิน ครอบคลุม 6 ทวีปทั่วโลก ซึ่งอุตสาหกรรมอื่นๆของไทยและภูมิภาคสามารถรียนรู้จากความสำเร็จของกลุ่มสายการบินพันธมิตรดังกล่าวได้
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า ทุกวันนี้อุตสาหกรรมการบินต้องดำเนินกิจกรรมท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างจากเดิมในอดีต เพราะโลกาภิวัตน์ทำให้เศรษฐกิจต่างๆในโลกเชื่อมโยงกัน การติดต่อกันทางธุรกิจและความต้องการแสวงหาประสบการณ์และวัฒนธรรมใหม่ในโลกเพิ่มมากขึ้น เราจึงไม่สามารถที่จะมองอุตสากรรมการบินในรูปแบบเดิมๆ ที่เป็นเพียงเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการเดินทาง ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันได้สร้างโอกาสและความสัมพันธ์ใหม่ๆ ระหว่างอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น การบินยุคใหม่ สายการบิน รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต่างยินดีต่อโอกาสทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว การขนส่งและสันทนาการ
อย่างไรก็ตาม ยังมีภัยคุกคามและโอกาสต่างๆ ที่อุตสาหกรรมการบินต้องเผชิญ ภัยคุกคามแรก คือ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อันดับสองคือ ความมั่นคง ในปี 2544 จากเหตุการณ์ 11 กันยายน ทุกประเทศได้เพิ่มมาตรการเพื่อความปลอดภัยด้านการบิน ทำให้ต้นทุนดำเนินการเพิ่มสูงขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของประชาชนอย่างเสรี ภัยประการที่สามคือ ภาวะโลกร้อน มาตรฐานมลพิษต่อระยะไมล์การเดินทาง ชี้ให้เห็นว่า การคมนาคมทางอากาศ เป็นรูปแบบการเดินทางที่ไม่เป็นมิตรต่อบรรยากาศโลก ขณะที่มีการเตรียมการอย่างดีต่อภัยที่หนึ่งและที่สอง แต่โลกเพิ่งรับทราบภัยที่สาม อย่างไรก็ตาม ความพยายามและความร่วมมือต่อปัญหาดังกล่าว เป็นสัญญาณทางบวก
สำหรับโอกาสของอุตาสหกรรมทางการบินในภูมิภาค อันดับแรก คือ หลายๆ ประเทศในภูมิภาคในอดีต มีพื้นที่การบินที่จำกัด แต่ความร่วมมือของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนำไปสู่การเปิดน่านฟ้า และไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายการเปิดเสรีน่านฟ้า ประการที่สอง เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เครื่องบินสามารถใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพ วัสดุที่มีน้ำหนักเบาทำให้สามารถขยายตัวเครื่อง และรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้นและพลังงานถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประการที่สามและสำคัญที่สุด คือ เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตสูงสุด และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญที่สุดของโลก
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ความหลากหลายทางเศรษฐกิจของเอเชียมีส่วนช่วยกำหนดอนาคตด้านการบินและการดำเนินยุทธศาสตร์ในปีต่อๆ ไป ทั้งนี้ เอเชียได้หลุดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 และเศรษฐกิจมีการเติบโตถึงร้อยละ 6.5 และเชื่อว่าจะเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะถูกขับเคลื่อนโดยการค้า การรวมตัวและความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ ประเทศเอเชียได้มีการส่งเสริมการค้า อำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนต่างๆ จากการทำข้อตกลงทวิภาคีและกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาค อาทิ อาเซียน BIMSTEC และเอเปค ด้วยความร่วมมือดังกล่าว ทำให้เราสามารถรอดพ้นจากการเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ซาร์ส และไข้หวัดนก และจะทำให้เราสามารถจัดการวิกฤตพลังงานและความท้าทายใหม่ๆ
การขยายตัวของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย เป็นปัจจัยสำคัญของความหลากหลายในเอเชีย ด้วยความสามารถทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ทั้งสองประเทศได้เชื่อมโยงตัวเองกับโลกอย่างลึกซึ้งซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน โดยเห็นได้จากตัวเลขต่างๆ อาทิ การจราจรทางอากาศของจีนเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 7.6 ต่อปี และคาดว่าจะเป็นตลาดการบินนอกประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใหญ่ที่สุดตลอดระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า การค้าระหว่างประเทศของจีนเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตของการขนส่งทางอากาศ ขณะที่การจราจรทางอากาศของอินเดียก็เติบโตมาตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ผู้โดยสารสายการบินทั่วไปเติบโตสูงสุดแห่งหนึ่งของโลกถึงร้อยละ 20 นอกจากนี้ ธุรกิจนอกพื้นที่ย่านธุรกิจต่างๆ ทำให้เกิดความต้องการการบริการทางอากาศใหม่ๆ อีกด้วย
เป็นที่ชัดเจนว่า การค้าและการติดต่อของจีนและอินเดียกับประเทศอื่นในโลก มีส่วนช่วยกำหนดอนาคตการบินในภูมิภาค นอกจากนี้ รายได้เฉลี่ยในเอเชียที่เพิ่มขึ้น ประชาชนเดินทางเพิ่มมากขึ้นทั้งภายในภูมิภาค และระหว่างภูมิภาค ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า การขนส่งทางอากาศภายในภูมิภาคเอเชียจะมีการขยายตัวถึงร้อยละ 8.4 ต่อปีตลอดจนถึงปี 2564 และระหว่างเอเชียกับตลาดอเมริกา ที่ร้อยละ 7.5 และระหว่างเอเชียกับตลาดยุโรปที่ร้อยละ 7 ตามลำดับ
นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคำถามว่า ประเทศไทยจะอยู่ตรงไหนของการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินเอเชียเป็น เชื่อว่าประเทศไทยยังมีโอกาสในด้านอุตสาหกรรมการบินอีกมาก การบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติและเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มสายการบินพัธมิตร ถือเป็นสายการบินที่มีเครือข่ายทั่วโลก รวมทั้งมีสินค้าและบริการที่หลากหลาย ทั้งยังได้รับรางวัลมากมายในด้านความเชี่ยวชาญทางการบินและบริการที่มีคุณภาพจากสถาบันนานาชาติ และได้มีการพัฒนาด้านบริการและอากาศยานอย่างต่อเนื่อง การบินไทยจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาลเพื่อก้าวไปสู่การเป็นสายการบินชั้นนำ
ขณะเดียวกันสายการบินต้นทุนต่ำได้เข้ามาสู่ตลาดของไทยในปี 2546 ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้จำนวนผู้โดยสารจึงเพิ่มขึ้นถึง 44 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเพิ่มเฉลี่ยอีกประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ใน 5 ปีข้างหน้า
ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เป็นทางผ่านของเส้นทางการบินทั้งในและนอกภูมิภาค ซึ่งในปัจจุบันไทยมีท่าอากาศยานหลัก 2 แห่งคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของสายการบินต้นทุนต่ำ และเป็นจุดเชื่อมต่อของการบินในประเทศ ในขณะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นสนามบินหลักในการขนส่งทางอากาศทั้งในและนอกประเทศ สนามบินทั้งสองนี้สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 80 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้ยังมีการขยายการบริการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและเสริมโอกาสให้แก่อุตสาหกรรมการบินอีกด้วย
นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวแสดงความมั่นใจเศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าว่า เศรษฐกิจไทยจะเริ่มเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจในปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 5 แม้ว่าจะต้องเผชิญอุปสรรคต่างๆ ทั้ง การขึ้นราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และความไม่แน่นอนทางการเมือง สำหรับในปีนี้ เศรษฐกิจในไตรมาสแรกมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.3 และคาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมในปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4-4.5
ตลอดเดือนข้างหน้าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลมีแผนที่จะพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และจะดำเนินการทุกอย่างด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม รัฐบาลได้อนุมัติแผนแม่บทพัฒนาการขนส่ง ได้มีการจัดสรรงบประมาณเบื้องต้นจำนวน 2,600ล้านบาท จากงบประมาณของปี 2551
การลงทุนจะช่วยยกระดับโครงสร้างการขนส่ง อาทิ การสร้างรถไฟรางคู่ และการปรับปรุงท่าเรือ นอกจากนี้การลงทุนขนาดใหญ่ก็จะเป็นการลงทุนในระบบขนส่งมวลชน โดยเส้นทางใหม่จะมีระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 100 กิโลเมตร และมีมูลค่าลงทุนเป็นเงิน 2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ การเสนอราคาก่อสร้างเส้นทางสองสายแรกจะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งการลงทุนเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นการขยายเครือข่ายการคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านและถือเป็นการเชื่อมโยงการเจริญเติบโตของจีนและอินเดีย
ในขณะนี้ รัฐบาลกำลังขยายโอกาสการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและประเทศอื่นผ่านกรอบความร่วมมือในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยไทยได้บรรลุความตกลงในข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น หรือ JTEPA ซึ่งจะเป็นการขยายการหมุนเวียนของสินค้า การลงทุนและบริการ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายของประชาชนทั้งสองประเทศด้วย นายกรัฐมนตรียังได้มีการสนทนากับฝ่ายอินเดียถึงแนวทางในการเร่งบรรลุข้อตกลงกับอินเดีย ซึ่งจะช่วยขยายความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนและความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าไทยจะสนับสนุนการเดินทางและการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ โดยจำนวนของนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นถึง 13.8 ล้านคนในปี 2549 โดยในปี 2550 นี้ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาถึง 14.8 ล้านคน นอกจากนี้ การเดินทางเพื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ได้เพิ่มสูงขึ้น โดยมีโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงหลายแห่งที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยต่างชาติ และสถานที่ท่องเที่ยวใหม่กำลังได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ พร้อมกันนี้จะมีการเฉลิมฉลองตลอดทั้งปี เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาในปีนี้ นอกจากนี้ ไทยยังขอร่วมสนับสนุนและร่วมมือกับประเทศเอเชียอื่นเพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมในโอกาสการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนในปี 2551 นี้ด้วย
นายกรัฐมนตรีแสดงความเชื่อมั่นว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะกลับมา ซึ่งกำลังดำเนินไปพร้อมกับกรอบระยะเวลาตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฉบับแรกได้ผ่านการรับฟังความเห็นและแก้ไข ซึ่งนายกรัฐมนตรีคาดว่าร่างฉบับที่สองจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อให้มีการทำประชามติที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ทุ่มเทเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยภายในปีนี้
นายกรัฐมนตรีเน้นว่าภายในปีนี้ประเทศไทยจะกลับมามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงต่างๆในเอเชียอีกครั้ง โดยอนาคตและความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นหากพื้นฐานทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมีความเข้มแข็ง เท่าเทียม และยั่งยืนมากขึ้น นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังกล่าวอีกว่าจะสานต่อความปรารถนาดีและความร่วมมือระหว่างประเทศหุ้นส่วนทั้งจากภาคธุรกิจและรัฐบาล ในการนี้นายกรัฐมนตรีได้จบการกล่าวสุนทรพจน์ด้วยแนวคิดของบริษัทการบินไทยจำกัด “ร่วมบินไปด้วยกัน” หรือ “Let’s Fly Together”
ท้ายสุด นายกรัฐมนตรีปรารถนาให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี และเชื่อมั่นว่าผู้ร่วมประชุมจะได้รับประโยชน์จากการอภิปรายต่างๆ ที่น่าสนใจอย่างเต็มที่ และแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างความร่วมมือซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมการบินของภูมิภาคเดินหน้าต่อไป โดยในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีขอเปิดการประชุมเอเชียประจำปี 2550 อย่างเป็นทางการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--