วันที่ 26 มิถุนายน 2550 เวลา 12.30 — 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ซึ่งช้ากว่ากรุงเทพฯ 1.30 ชั่วโมง) ณ โรงแรม Taj - Mahal กรุงนิวเดลี อินเดีย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมผู้นำนักธุรกิจอินเดีย— ไทย (India — Thailand Business Summit) ในโอกาสเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2550 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเหตุผลสำคัญของการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งนี้ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี ของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย — อินเดีย ที่มีมาอย่างใกล้ชิดและแนบแน่น ความเหมือนและการเชื่อมโยงในภูมิภาค ภาษา วัฒนธรรมของ 2 ประเทศ ได้ฝังลึกในปฏิสัมพันธ์และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ มีชาวอินเดียหลายคนที่มีบทบาทสำคัญในสังคมและเศรษฐกิจของไทย จวบจนวันนี้ความสัมพันธ์และการติดต่อระหว่างประชาชนได้เติบโตอย่างรวดเร็วและพัฒนาสัมพันธภาพในมิติต่างๆรวมถึงการแลกเปลี่ยนในระดับสูง
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงศักยภาพของอินเดียและการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย — อินเดีย ในอนาคตว่าไทยถือว่าอินเดียเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สำคัญ มีความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในทุกส่วน ทั้งการค้า การลงทุน ความมั่นคง การขนส่ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน และวัฒนธรรม ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนที่เติบโตขึ้นนี้เป็นผลพวงมาจากการรวมพลังระหว่างนโยบาย “Look East” ของอินเดีย และนโยบาย “Look West” ของไทย ซึ่งต่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันละกัน
ในส่วนของภูมิภาค ความเป็นหุ้นส่วนได้รับการสร้างเสริมให้แข็งแรงขึ้นจากกรอบการดำเนินการต่างๆ เช่น BIMSTEC, ASEAN — India Dialogue และ ARF เป็นต้น ซึ่งไทยซาบซึ้งในการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของอินเดียมาโดยตลอด นอกจากนี้ ไทยเห็นว่าอินเดียเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเอเชีย มีบุคคลากรและผู้ประกอบการธุรกิจที่ช่วยขับเคลื่อนเอเซียสู่สังคมฐานความรู้ ไทยเชื่อว่าปฏิสัมพันธ์ของสินทรัพย์เหล่านี้ผนวกกับพลวัตรการเติบโตของเอเชียในฐานะภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของโลก
อินเดียมีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่น่ายกย่อง ก่อให้เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วและกว้างขวางของเศรษฐกิจ ปัจจุบันอินเดียเป็นระบบประชาธิปไตยตลาดเปิดที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก และเป็นที่น่ายินดีที่ไทยและอินเดียต่างมีวิสัยทัศน์ที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ขณะที่อินเดียผลักดันสู่ชุมชนเศรษฐกิจเอเชีย และเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชีย (Pan — Asia Free Trade Area)
ไทยมุ่งมั่นพัฒนาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ASEAN ที่กำลังเติบโต กับหุ้นส่วนความร่วมมืออื่นๆ เช่น กับชุมชนเอเชียตะวันออก และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ดังนั้น ทั้ง 2 ประเทศจึงต่างมีเป้าหมายเพื่อทวีปของเรา
ปัจจุบันไทยและอินเดียกำลังจะบรรลุผลการจัดทำ FTA ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะนำไปสู่ประโยชน์ร่วมกันในระยะยาวทั้งด้านการค้าและการลงทุน อีกทั้งอินเดียเป็นตลาดที่มีพลวัตรสูง และเป็นจุดหมายปลายทางของการลงทุน ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียกลายเป็นตลาดใหม่ของไทย และเป็นผู้ค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้ อีกทั้งมียอดการค้าระหว่างกันที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ไทยยินดีต้อนรับการลงทุนจากอินเดีย โดยเฉพาะในสาขาที่อินเดียมีความเชี่ยวชาญ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ และเวชภัณฑ์
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงทิศทางทางการเมือง และเศรษฐกิจของไทย ว่าปัจจุบันไทยกำลังเร่งดำเนินไปสู่ประชาธิปไตยตามความคาดหวังของประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่างการแก้ไขและรับฟังความเห็น จากนั้นจะมีการทำประชามติในเดือนกันยายนนี้ และพยายามให้มีการเลือกตั้งภายในสิ้นปี แต่ทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามครรลองของกฎหมาย
ในด้านเศรษฐกิจรัฐบาลใช้แนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นนโยบายสำคัญ โดยมีหลักดำเนินการที่สำคัญ คือ โปร่งใส เป็นธรรม ประสิทธิภาพ และประหยัด ซึ่งในปี 2007 นี้ รัฐบาลพยายามเร่งขยายโอกาสทางธุรกิจอีกทั้งดำเนินการปูรากฐานสำคัญเพื่อศักยภาพการแข่งขันของประเทศในระยะยาว โดยการพัฒนาคุณภาพของต้นทุนบุคลากร ต้นทุนทางกายภาพ และเทคโนโลยี ขณะเดียวกันหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ชุมชน และผู้ประกอบการเพื่อพร้อมเผชิญกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้น ไทยยังคงเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแบบตลาดเปิด และเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งเร่งก้าวไปสู่อีกขั้นหนึ่งของการเปิดโลกเสรีทางเศรษฐกิจ พร้อมกับแก้ไขปรับปรุงเงื่อนไขต่างๆ สำหรับการค้าและการลงทุน
นอกจากนี้ไทยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเร่งการจัดทำ FTA ของภูมิภาคในกรอบการดำเนินงานของ ASEAN และ BIMSTEC ให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงความตกลงทวิภาคีต่างๆ เช่น FTA กับอินเดียเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่การค้าและการลงทุน ในการนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การแก้ไขกฎหมายธุรกิจต่างด้าว เพื่อส่งเสริม สนับสนุนความโปร่งใส
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทยว่า ยังคงเป็นไปในทางบวก เงินบาทแข็งค่ามากยิ่งขึ้น และชุมชนนักธุรกิจต่างมีความมั่นใจมากขึ้น ในไตรมาสแรกของปีนี้ เศรษฐกิจ เติบโตร้อยละ 4.3 เป็นผลจากการส่งออกที่เติบโตถึงร้อยละ 20.86 ในเดือนที่ผ่านมา และเชื่อมั่นว่า GDP จะโตที่ร้อยละ 4-4.5
การลงทุนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยลดลง และการลงทุนภาคเอกชนที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีการส่งเสริมการลงทุนใหม่ๆ ในหลายๆ ส่วน เช่น สาธารณูปโภค ยานยนต์ พลังงานและอิเลกทรอนิกส์
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำถึง การเพิ่มความเข้มแข็งและการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของไทยและอินเดีย ในการมุ่งแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในโลกโลกาภิวัตร์ และจะต้องพยายามสร้างความเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งและใช้ความได้เปรียบให้มากที่สุด ซึ่งภาคเอกชนก็เช่นเดียวกัน จึงขอเชิญชวนให้ภาคธุรกิจไทยและอินเดีย ร่วมสร้างความเป็นหุ้นส่วนให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเหตุผลสำคัญของการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งนี้ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี ของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย — อินเดีย ที่มีมาอย่างใกล้ชิดและแนบแน่น ความเหมือนและการเชื่อมโยงในภูมิภาค ภาษา วัฒนธรรมของ 2 ประเทศ ได้ฝังลึกในปฏิสัมพันธ์และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ มีชาวอินเดียหลายคนที่มีบทบาทสำคัญในสังคมและเศรษฐกิจของไทย จวบจนวันนี้ความสัมพันธ์และการติดต่อระหว่างประชาชนได้เติบโตอย่างรวดเร็วและพัฒนาสัมพันธภาพในมิติต่างๆรวมถึงการแลกเปลี่ยนในระดับสูง
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงศักยภาพของอินเดียและการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย — อินเดีย ในอนาคตว่าไทยถือว่าอินเดียเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สำคัญ มีความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในทุกส่วน ทั้งการค้า การลงทุน ความมั่นคง การขนส่ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน และวัฒนธรรม ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนที่เติบโตขึ้นนี้เป็นผลพวงมาจากการรวมพลังระหว่างนโยบาย “Look East” ของอินเดีย และนโยบาย “Look West” ของไทย ซึ่งต่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันละกัน
ในส่วนของภูมิภาค ความเป็นหุ้นส่วนได้รับการสร้างเสริมให้แข็งแรงขึ้นจากกรอบการดำเนินการต่างๆ เช่น BIMSTEC, ASEAN — India Dialogue และ ARF เป็นต้น ซึ่งไทยซาบซึ้งในการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของอินเดียมาโดยตลอด นอกจากนี้ ไทยเห็นว่าอินเดียเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเอเชีย มีบุคคลากรและผู้ประกอบการธุรกิจที่ช่วยขับเคลื่อนเอเซียสู่สังคมฐานความรู้ ไทยเชื่อว่าปฏิสัมพันธ์ของสินทรัพย์เหล่านี้ผนวกกับพลวัตรการเติบโตของเอเชียในฐานะภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของโลก
อินเดียมีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่น่ายกย่อง ก่อให้เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วและกว้างขวางของเศรษฐกิจ ปัจจุบันอินเดียเป็นระบบประชาธิปไตยตลาดเปิดที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก และเป็นที่น่ายินดีที่ไทยและอินเดียต่างมีวิสัยทัศน์ที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ขณะที่อินเดียผลักดันสู่ชุมชนเศรษฐกิจเอเชีย และเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชีย (Pan — Asia Free Trade Area)
ไทยมุ่งมั่นพัฒนาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ASEAN ที่กำลังเติบโต กับหุ้นส่วนความร่วมมืออื่นๆ เช่น กับชุมชนเอเชียตะวันออก และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ดังนั้น ทั้ง 2 ประเทศจึงต่างมีเป้าหมายเพื่อทวีปของเรา
ปัจจุบันไทยและอินเดียกำลังจะบรรลุผลการจัดทำ FTA ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะนำไปสู่ประโยชน์ร่วมกันในระยะยาวทั้งด้านการค้าและการลงทุน อีกทั้งอินเดียเป็นตลาดที่มีพลวัตรสูง และเป็นจุดหมายปลายทางของการลงทุน ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียกลายเป็นตลาดใหม่ของไทย และเป็นผู้ค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้ อีกทั้งมียอดการค้าระหว่างกันที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ไทยยินดีต้อนรับการลงทุนจากอินเดีย โดยเฉพาะในสาขาที่อินเดียมีความเชี่ยวชาญ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ และเวชภัณฑ์
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงทิศทางทางการเมือง และเศรษฐกิจของไทย ว่าปัจจุบันไทยกำลังเร่งดำเนินไปสู่ประชาธิปไตยตามความคาดหวังของประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่างการแก้ไขและรับฟังความเห็น จากนั้นจะมีการทำประชามติในเดือนกันยายนนี้ และพยายามให้มีการเลือกตั้งภายในสิ้นปี แต่ทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามครรลองของกฎหมาย
ในด้านเศรษฐกิจรัฐบาลใช้แนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นนโยบายสำคัญ โดยมีหลักดำเนินการที่สำคัญ คือ โปร่งใส เป็นธรรม ประสิทธิภาพ และประหยัด ซึ่งในปี 2007 นี้ รัฐบาลพยายามเร่งขยายโอกาสทางธุรกิจอีกทั้งดำเนินการปูรากฐานสำคัญเพื่อศักยภาพการแข่งขันของประเทศในระยะยาว โดยการพัฒนาคุณภาพของต้นทุนบุคลากร ต้นทุนทางกายภาพ และเทคโนโลยี ขณะเดียวกันหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ชุมชน และผู้ประกอบการเพื่อพร้อมเผชิญกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้น ไทยยังคงเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแบบตลาดเปิด และเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งเร่งก้าวไปสู่อีกขั้นหนึ่งของการเปิดโลกเสรีทางเศรษฐกิจ พร้อมกับแก้ไขปรับปรุงเงื่อนไขต่างๆ สำหรับการค้าและการลงทุน
นอกจากนี้ไทยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเร่งการจัดทำ FTA ของภูมิภาคในกรอบการดำเนินงานของ ASEAN และ BIMSTEC ให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงความตกลงทวิภาคีต่างๆ เช่น FTA กับอินเดียเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่การค้าและการลงทุน ในการนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การแก้ไขกฎหมายธุรกิจต่างด้าว เพื่อส่งเสริม สนับสนุนความโปร่งใส
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทยว่า ยังคงเป็นไปในทางบวก เงินบาทแข็งค่ามากยิ่งขึ้น และชุมชนนักธุรกิจต่างมีความมั่นใจมากขึ้น ในไตรมาสแรกของปีนี้ เศรษฐกิจ เติบโตร้อยละ 4.3 เป็นผลจากการส่งออกที่เติบโตถึงร้อยละ 20.86 ในเดือนที่ผ่านมา และเชื่อมั่นว่า GDP จะโตที่ร้อยละ 4-4.5
การลงทุนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยลดลง และการลงทุนภาคเอกชนที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีการส่งเสริมการลงทุนใหม่ๆ ในหลายๆ ส่วน เช่น สาธารณูปโภค ยานยนต์ พลังงานและอิเลกทรอนิกส์
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำถึง การเพิ่มความเข้มแข็งและการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของไทยและอินเดีย ในการมุ่งแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในโลกโลกาภิวัตร์ และจะต้องพยายามสร้างความเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งและใช้ความได้เปรียบให้มากที่สุด ซึ่งภาคเอกชนก็เช่นเดียวกัน จึงขอเชิญชวนให้ภาคธุรกิจไทยและอินเดีย ร่วมสร้างความเป็นหุ้นส่วนให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--