วันนี้ เวลา 10.00 น.ที่โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมรับมือกับการชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการที่ประกาศจะชุมนุมใหญ่วันที่ 16 มิถุนายนว่า ได้มอบนโยบายไปแล้ว อย่างที่ได้หารือกับทางผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และแม่ทัพภาคที่ 1 ซึ่งจะมีการเจรจาทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ชุมนุม หากเป็นการชุมนุมโดยที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น ไม่ทำให้เกิดความวุ่นวายก็สามารถทำได้ตามปกติ แต่อะไรที่จะทำให้เกิดความวุ่นวาย เราคงไม่สามารถยินยอมที่จะทำให้เกิดขึ้นได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าแนวทางการเจรจาจะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมากลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนมาที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงต้องคุยกัน เพราะหากไม่พูดจากัน คงไปสู่ความรุนแรง แต่นายกรัฐมนตรีคงไม่เป็นผู้ไปเจรจาเอง เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในส่วนราชการเท่านั้น ซึ่งได้พูดกับหลายฝ่าย เพื่อให้เห็นแก่ความสงบสุขของชาติบ้านเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มผู้ชุมนุมยื่นเงื่อนไขให้พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)ลาออกภายใน 7 วัน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้ประธาน คมช.ได้ตอบไปแล้ว ในบ้านเมืองเราคงไม่มีอะไรที่จะไม่สามารถพูดกันได้ ส่วนที่มีการมองกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลังกลุ่มผู้ชุมนุม จะมีการเจรจากับ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ได้หรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายได้ทำอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่คิดว่าดีที่หลาย ๆ ฝ่ายพยายามที่จะสร้างความดีให้กับบ้านเมืองของเรา เพียงแต่ไม่อยากแสดงตัวออกมา แต่พยายามช่วย ๆ กันอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเจรจากับแกนนำผู้ชุมนุมจะทำได้เมื่อไร เพราะมีการประกาศว่าจะรวมตัวครั้งใหญ่ในสัปดาห์หน้า นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเจรจาเราทำอย่างต่อเนื่องมาตลอด ซึ่งคิดว่าการเจรจาจะทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรอบคอบ และคงไม่ลงไปในรายละเอียดในการพูดคุยกัน เพราะเป็นหน้าที่ของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเจรจาพูดคุยได้เริ่มดำเนินการอยู่แล้ว เราต้องรอดูกันต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่เจตนาของผู้ชุมนุมต้องการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงมากกว่าจุดประสงค์ทางการเมือง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นการตีความกันไป แต่สิ่งที่เราอยากทำคือจะชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นผลดีกับบ้านเมืองของเรา ถ้าทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นมา จะทำให้ชาติบ้านเมืองของเรายุ่งยากต่อไปอีก เศรษฐกิจที่ทำท่าว่าจะดีขึ้น ก็คงไม่สามารถจะดีอย่างที่ควรจะเป็นไปได้ ตามแรงผลักดันของเศรษฐกิจอื่น ๆ เพราะทุกคนกังวลกับปัญหาทางการเมือง อย่างไรก็ตามรัฐบาลคงไม่มีมาตรการที่เข้มข้นอะไรเพื่อไม่ให้การชุมนุมบานปลาย แต่สิ่งที่ควรจะเข้มข้นคือการพูดคุยกันให้เข้าใจกันมากขึ้น คนเราถ้าพูดจาทำความเข้าใจกันได้ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ก็คิดว่าตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ลุล่วงไปด้วยดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่มีความจำเป็น เพราะยังไม่เกิดเหตุการณ์ที่รุนแรง แต่ถ้าสถานการณ์รุนแรงกฎหมายก็มีอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมมีธงไว้แล้วการเจรจาจะได้ผลหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยู่ที่วิธีการและเหตุผล ที่เราจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเจรจา ซึ่งการเจรจามีวิธีการหลายอย่างที่เราจะนำไปใช้ได้ ส่วนที่ประชาชนเกรงว่าการชุมนุมจะบานปลาย จนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งในปีนี้ได้นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พวกเราต้องช่วยกัน ทำให้เกิดความสงบขึ้นมาให้ได้ และคิดว่าน่าจะเป็นแนวทางที่เราจะเดินร่วมกันไปมากกว่าที่จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากับชาติบ้านเมือง
ขณะที่ ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า การชุมนุมของกลุ่มดังกล่าว จะต้องมีการพูดคุยกันโดยเฉพาะกับกลุ่มแกนนำต่าง ๆ เพราะเหตุการณ์ที่มีกลุ่มคนมารวมกัน ความไม่ปลอดภัยจากการมีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวพัน หรือการยั่วยุที่อาจจะทำให้เกิดความรุนแรง เป็นสิ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
“ ขอขอบคุณหน่วยงานความมั่นคงและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้ดูแลความสงบ และใช้ความอดทนอย่างมากในการดูแสสถานการณ์เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น และต้องขอแสดงความเป็นห่วงอาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกผู้ร่วมชุมนุมได้ใช้ความรุนแรง ขอฝากเป็นคำขอร้องไปยังกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ว่าการใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งที่ประชาชนไม่ต้องการเห็น และจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนพบว่า ประชาชนมีความเป็นห่วงการชุมนุมทางการเมืองเช่นนี้ กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์บานปลาย หรืออาจจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการประชาธิปไตยที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้น อยากจะฝากถึงกลุ่มต่าง ๆ ที่มีการวางแผนที่จะเคลื่อนไหวต่อไปว่า ขอให้ยึดกฎหมายบ้านเมืองเป็นหลัก ขอให้ชุมนุมอยู่ในความสงบ เพราะถ้าหากแกนนำหรือสมาชิกใช้คำพูดที่ยั่วยุ อาจจะทำให้สถานการณ์บานปลายได้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่อาจจะใช้คำพูดที่ยั่วยุหรือว่าใช้ความรุนแรงไปในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้ช่วยตระหนักในเรื่องนี้รวมทั้งใช้ดุลพินิจด้วย เพราะสิ่งที่ได้ทำอยู่นี้อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงตามมา ซึ่งคนที่จะต้องรับผิดชอบก็คือคนที่ไปยั่วยุหรือเป็นคนจุดประกายให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมา และขอฝากแกนนำต่าง ๆ ให้ดูแลคนที่นำมาให้อยู่ในความสงบได้จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าไม่สามารถควบคุมได้จะอันตรายมาก เราไม่ต้องการเห็นความรุนแรงเกิดขึ้น ทุกอย่างสามารถพูดคุยกันได้ บรรลุข้อตกลงความเข้าใจกันได้ เหมือนอย่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้พูดไปแล้ว” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผู้ที่ได้พูดสร้างกระแสยั่วยุ หรือผู้ที่ได้ใช้ความรุนแรงต่ออาจารย์ไกรศักดิ์ ฯ เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงได้เก็บข้อมูลไว้หมดแล้ว ซึ่งความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ทางฝ่ายความมั่นคงจะติดตามอย่างใกล้ชิด และจะมีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา ส่วนการออกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น เป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ ถ้ามีความจำเป็น แต่ในขณะนี้สถานการณ์ยังไม่ถึงระดับนั้น ทั้งนี้ อะไรก็แล้วแต่ที่รัฐบาลจะดำเนินการ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและกรอบของกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลยึดหลักนิติธรรม นิติรัฐเป็นหลัก
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าแนวทางการเจรจาจะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมากลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนมาที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงต้องคุยกัน เพราะหากไม่พูดจากัน คงไปสู่ความรุนแรง แต่นายกรัฐมนตรีคงไม่เป็นผู้ไปเจรจาเอง เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในส่วนราชการเท่านั้น ซึ่งได้พูดกับหลายฝ่าย เพื่อให้เห็นแก่ความสงบสุขของชาติบ้านเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มผู้ชุมนุมยื่นเงื่อนไขให้พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)ลาออกภายใน 7 วัน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้ประธาน คมช.ได้ตอบไปแล้ว ในบ้านเมืองเราคงไม่มีอะไรที่จะไม่สามารถพูดกันได้ ส่วนที่มีการมองกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลังกลุ่มผู้ชุมนุม จะมีการเจรจากับ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ได้หรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายได้ทำอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่คิดว่าดีที่หลาย ๆ ฝ่ายพยายามที่จะสร้างความดีให้กับบ้านเมืองของเรา เพียงแต่ไม่อยากแสดงตัวออกมา แต่พยายามช่วย ๆ กันอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเจรจากับแกนนำผู้ชุมนุมจะทำได้เมื่อไร เพราะมีการประกาศว่าจะรวมตัวครั้งใหญ่ในสัปดาห์หน้า นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเจรจาเราทำอย่างต่อเนื่องมาตลอด ซึ่งคิดว่าการเจรจาจะทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรอบคอบ และคงไม่ลงไปในรายละเอียดในการพูดคุยกัน เพราะเป็นหน้าที่ของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเจรจาพูดคุยได้เริ่มดำเนินการอยู่แล้ว เราต้องรอดูกันต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่เจตนาของผู้ชุมนุมต้องการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงมากกว่าจุดประสงค์ทางการเมือง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นการตีความกันไป แต่สิ่งที่เราอยากทำคือจะชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นผลดีกับบ้านเมืองของเรา ถ้าทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นมา จะทำให้ชาติบ้านเมืองของเรายุ่งยากต่อไปอีก เศรษฐกิจที่ทำท่าว่าจะดีขึ้น ก็คงไม่สามารถจะดีอย่างที่ควรจะเป็นไปได้ ตามแรงผลักดันของเศรษฐกิจอื่น ๆ เพราะทุกคนกังวลกับปัญหาทางการเมือง อย่างไรก็ตามรัฐบาลคงไม่มีมาตรการที่เข้มข้นอะไรเพื่อไม่ให้การชุมนุมบานปลาย แต่สิ่งที่ควรจะเข้มข้นคือการพูดคุยกันให้เข้าใจกันมากขึ้น คนเราถ้าพูดจาทำความเข้าใจกันได้ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ก็คิดว่าตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ลุล่วงไปด้วยดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่มีความจำเป็น เพราะยังไม่เกิดเหตุการณ์ที่รุนแรง แต่ถ้าสถานการณ์รุนแรงกฎหมายก็มีอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมมีธงไว้แล้วการเจรจาจะได้ผลหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยู่ที่วิธีการและเหตุผล ที่เราจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเจรจา ซึ่งการเจรจามีวิธีการหลายอย่างที่เราจะนำไปใช้ได้ ส่วนที่ประชาชนเกรงว่าการชุมนุมจะบานปลาย จนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งในปีนี้ได้นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พวกเราต้องช่วยกัน ทำให้เกิดความสงบขึ้นมาให้ได้ และคิดว่าน่าจะเป็นแนวทางที่เราจะเดินร่วมกันไปมากกว่าที่จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากับชาติบ้านเมือง
ขณะที่ ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า การชุมนุมของกลุ่มดังกล่าว จะต้องมีการพูดคุยกันโดยเฉพาะกับกลุ่มแกนนำต่าง ๆ เพราะเหตุการณ์ที่มีกลุ่มคนมารวมกัน ความไม่ปลอดภัยจากการมีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวพัน หรือการยั่วยุที่อาจจะทำให้เกิดความรุนแรง เป็นสิ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
“ ขอขอบคุณหน่วยงานความมั่นคงและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้ดูแลความสงบ และใช้ความอดทนอย่างมากในการดูแสสถานการณ์เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น และต้องขอแสดงความเป็นห่วงอาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกผู้ร่วมชุมนุมได้ใช้ความรุนแรง ขอฝากเป็นคำขอร้องไปยังกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ว่าการใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งที่ประชาชนไม่ต้องการเห็น และจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนพบว่า ประชาชนมีความเป็นห่วงการชุมนุมทางการเมืองเช่นนี้ กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์บานปลาย หรืออาจจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการประชาธิปไตยที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้น อยากจะฝากถึงกลุ่มต่าง ๆ ที่มีการวางแผนที่จะเคลื่อนไหวต่อไปว่า ขอให้ยึดกฎหมายบ้านเมืองเป็นหลัก ขอให้ชุมนุมอยู่ในความสงบ เพราะถ้าหากแกนนำหรือสมาชิกใช้คำพูดที่ยั่วยุ อาจจะทำให้สถานการณ์บานปลายได้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่อาจจะใช้คำพูดที่ยั่วยุหรือว่าใช้ความรุนแรงไปในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้ช่วยตระหนักในเรื่องนี้รวมทั้งใช้ดุลพินิจด้วย เพราะสิ่งที่ได้ทำอยู่นี้อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงตามมา ซึ่งคนที่จะต้องรับผิดชอบก็คือคนที่ไปยั่วยุหรือเป็นคนจุดประกายให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมา และขอฝากแกนนำต่าง ๆ ให้ดูแลคนที่นำมาให้อยู่ในความสงบได้จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าไม่สามารถควบคุมได้จะอันตรายมาก เราไม่ต้องการเห็นความรุนแรงเกิดขึ้น ทุกอย่างสามารถพูดคุยกันได้ บรรลุข้อตกลงความเข้าใจกันได้ เหมือนอย่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้พูดไปแล้ว” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผู้ที่ได้พูดสร้างกระแสยั่วยุ หรือผู้ที่ได้ใช้ความรุนแรงต่ออาจารย์ไกรศักดิ์ ฯ เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงได้เก็บข้อมูลไว้หมดแล้ว ซึ่งความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ทางฝ่ายความมั่นคงจะติดตามอย่างใกล้ชิด และจะมีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา ส่วนการออกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น เป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ ถ้ามีความจำเป็น แต่ในขณะนี้สถานการณ์ยังไม่ถึงระดับนั้น ทั้งนี้ อะไรก็แล้วแต่ที่รัฐบาลจะดำเนินการ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและกรอบของกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลยึดหลักนิติธรรม นิติรัฐเป็นหลัก
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--