นายพลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวในรายการ “สายตรงทำเนียบ” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง11 กรมประชาสัมพันธ์ ถึงแนวโน้มของผู้สูงอายุในประเทศไทยว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าแนวโน้มผู้สูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้น และจะมีผู้สูงอายุบางส่วนเกิดเจ็บป่วยและพิการ ดังนั้น เราจึงต้องเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้สูงอายุเหล่านี้ เพื่อให้ช่วยเหลือตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ขณะเดียวกันยังมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่ถูกทอดทิ้งและอยู่คนเดียว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงมีนโยบายช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยมี “โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน” นำร่องไปแล้วจังหวัดละ 1 ตำบลทั่วประเทศ ใช้วิธีการอบรมอาสาสมัครในชุมชนดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ขาดการดูแล ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ซึ่งได้ผลดีมาก และในปี 2551 จะขยายให้มีโครงการนี้เกิดขึ้นทุกตำบลภายใต้งบประมาณ 60 ล้านบาท โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน วิชาการ และงบประมาณ (ระยะ 2ปีแรก) ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.หรือเทศบาล) หลังจากนั้นการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใช้งบประมาณของท้องถิ่นจะเป็นผู้ดำเนินงาน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปี 2550 ซึ่งตรงกับวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา เป็นปีแห่งการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ แล้ว โดยในวันวิสาขบูชาที่จะถึงนี้จะมีพิธีกรรมใหญ่ทางศาสนา ขณะเดียวกันเราจะเชื่อมโยงนักธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่ก่อตัวขึ้นมาเป็น CSR ประมาณ 200-300 บริษัทที่อาสาเข้ามาช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ จะเชื่อมระหว่างบริษัทที่เป็น CSR กับหอการค้าจังหวัด โรตารี่ไลอ้อนจังหวัด และจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคมในทุกจังหวัด เพื่อคอยสนับสนุนระบบอาสาสมัครที่คอยดูแลผู้สูงอายุและเด็ก ซึ่งจะกลายเป็นเครื่องมือของสังคมในการทำงานต่อไป
นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่สำคัญ 2 ฉบับที่กำลังเร่งผลักดัน ได้แก่ 1. ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น ที่เน้นให้โอกาสสถานภาพขององค์กรชุมชน ท้องถิ่นใดมีความพร้อมก็สามารขอจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นได้ ซึ่งสภานี้จะเป็นสภาที่ไม่มีอำนาจ มุ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนชุมชน แผนแม่บทชุมชนท้องถิ่นต่างๆ เมื่อจัดทำแผนเสร็จแล้วจะส่งต่อไปยังองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล เพื่อใช้ดุลยพินิจต่อไป ทั้งนี้ จะไม่ทำงานซ้ำซ้อนกับสภาท้องถิ่น แต่จะเป็นตัวสะท้อนความคิดความต้องการของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง 2.ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมในการพัฒนา จะสนับสนุนอาสาสมัครในเรื่องการให้ มูลนิธิ บริษัทห้างร้าน สมาคมต่าง ๆ จะทำให้การจดทะเบียนมูลนิธิ สมาคม ง่ายขึ้น และการได้รับการลดหย่อนภาษีกว้างขวางขึ้น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ CSR หรือบริษัทห้างร้านต่าง ๆ มาบริจาคและได้รับการลดหย่อนภาษี และยังมีกฎหมายอื่นอีก ๆ เช่น ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ร่างพระราชส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ร่างพระราชบัญญัติคนขอทาน เป็นต้น
"สิ่งที่คาดหวังในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาลคือภาคประชาชน ในเรื่องของสวัสดิการท้องถิ่น การดูแลผู้ยากลำบาก สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน ตรงนี้จะมีการวางรากฐานเพื่อการทำงานต่อในระยะยาวได้อย่างครอบคลุมและมีหลักประกัน อย่างในเรื่องของสวัสดิการชุมชนจะมีการวางรากฐานถักทอกันทั้งประเทศ เป็นฐานรากที่แข็งแรงของสังคม ทั้งฐานรากในการขับเคลื่อนสังคมไม่ทอดทิ้งกัน เข้มแข็งและสังคมที่มีคุณธรรม และอยากเห็นกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นกระทรวงเล็ก ๆ ที่มีความเข้มแข็งและแข็งแรง ทั้งในเชิงเนื้องาน ภาพพจน์ สถานภาพ เครดิตของสังคม รวมทั้งมีภาคีพันธมิตรของกระทรวงที่เข้มแข็ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือของสังคมที่จะทำให้สังคมเข้มแข็ง มีคุณธรรมและไม่ทอดทิ้งกัน" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปี 2550 ซึ่งตรงกับวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา เป็นปีแห่งการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ แล้ว โดยในวันวิสาขบูชาที่จะถึงนี้จะมีพิธีกรรมใหญ่ทางศาสนา ขณะเดียวกันเราจะเชื่อมโยงนักธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่ก่อตัวขึ้นมาเป็น CSR ประมาณ 200-300 บริษัทที่อาสาเข้ามาช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ จะเชื่อมระหว่างบริษัทที่เป็น CSR กับหอการค้าจังหวัด โรตารี่ไลอ้อนจังหวัด และจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคมในทุกจังหวัด เพื่อคอยสนับสนุนระบบอาสาสมัครที่คอยดูแลผู้สูงอายุและเด็ก ซึ่งจะกลายเป็นเครื่องมือของสังคมในการทำงานต่อไป
นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่สำคัญ 2 ฉบับที่กำลังเร่งผลักดัน ได้แก่ 1. ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น ที่เน้นให้โอกาสสถานภาพขององค์กรชุมชน ท้องถิ่นใดมีความพร้อมก็สามารขอจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นได้ ซึ่งสภานี้จะเป็นสภาที่ไม่มีอำนาจ มุ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนชุมชน แผนแม่บทชุมชนท้องถิ่นต่างๆ เมื่อจัดทำแผนเสร็จแล้วจะส่งต่อไปยังองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล เพื่อใช้ดุลยพินิจต่อไป ทั้งนี้ จะไม่ทำงานซ้ำซ้อนกับสภาท้องถิ่น แต่จะเป็นตัวสะท้อนความคิดความต้องการของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง 2.ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมในการพัฒนา จะสนับสนุนอาสาสมัครในเรื่องการให้ มูลนิธิ บริษัทห้างร้าน สมาคมต่าง ๆ จะทำให้การจดทะเบียนมูลนิธิ สมาคม ง่ายขึ้น และการได้รับการลดหย่อนภาษีกว้างขวางขึ้น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ CSR หรือบริษัทห้างร้านต่าง ๆ มาบริจาคและได้รับการลดหย่อนภาษี และยังมีกฎหมายอื่นอีก ๆ เช่น ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ร่างพระราชส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ร่างพระราชบัญญัติคนขอทาน เป็นต้น
"สิ่งที่คาดหวังในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาลคือภาคประชาชน ในเรื่องของสวัสดิการท้องถิ่น การดูแลผู้ยากลำบาก สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน ตรงนี้จะมีการวางรากฐานเพื่อการทำงานต่อในระยะยาวได้อย่างครอบคลุมและมีหลักประกัน อย่างในเรื่องของสวัสดิการชุมชนจะมีการวางรากฐานถักทอกันทั้งประเทศ เป็นฐานรากที่แข็งแรงของสังคม ทั้งฐานรากในการขับเคลื่อนสังคมไม่ทอดทิ้งกัน เข้มแข็งและสังคมที่มีคุณธรรม และอยากเห็นกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นกระทรวงเล็ก ๆ ที่มีความเข้มแข็งและแข็งแรง ทั้งในเชิงเนื้องาน ภาพพจน์ สถานภาพ เครดิตของสังคม รวมทั้งมีภาคีพันธมิตรของกระทรวงที่เข้มแข็ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือของสังคมที่จะทำให้สังคมเข้มแข็ง มีคุณธรรมและไม่ทอดทิ้งกัน" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--