เมื่อเวลา 11.50 น. ที่ศูนย์แรกรับเด็กและเยาวชนชาย บ้านเมตตาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีที่พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และพลเอก วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช. เข้าพบเมื่อวานนี้ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ส่วนใหญ่ได้พูดกันถึงเรื่องการที่จะทำงานต่อไปในอนาคต เพราะเหลือเวลาอีกไม่มากนัก ว่าทำอย่างไรที่จะให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตั้งในปลายปีนี้ให้ได้ ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ ทุกคนทราบแล้วว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญจะเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกในวันที่ 26 เมษายน หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการรวบรวมความคิดเห็น เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จเป็นร่างรัฐธรรมนูญร่างที่สองได้ประมาณปลายเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตามปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ อาจจะมีบ้าง ตามที่ได้หารือกันจะพยายามหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ด้วยแนวทางที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่
ต่อข้อถามว่า ได้หารือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงหรือไม่ เพราะประธาน คมช. มีความเห็นว่าควรจะมีตำแหน่งดังกล่าว เพื่อให้การทำงานประสานกันระหว่างรัฐบาลกับคมช.เป็นไปด้วยดี นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มีการพูดกัน และสิ่งที่ได้แจ้งให้ประธาน คมช. ทราบคือในช่วงเวลานี้คงเป็นช่วงที่ต้องทำงานกันต่อเนื่องกันต่อไป คงไม่จำเป็นจะต้องมีรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลด้านความมั่นคง เพราะทุกคนทำงานปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไปคือการขอความร่วมมือในเรื่องต่างๆ จากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่ต้องมีการเตรียมการว่าจะต้องดำเนินการกันต่อไปในอนาคตอย่างไรบ้าง
ส่วนกรณีกลุ่ม 12 องค์กรต่อต้านรัฐบาลและคมช. ขู่จะออกมาเคลื่อนไหวคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาลและคมช. มีความกังวลเรื่องนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าสิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปนั้นสอดคล้องกับความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามดำเนินการในช่วงระยะเวลาต่อไป ก็คงต้องรอดู รวมทั้งบุคคลที่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ก็ต้องดูด้วยความเป็นธรรม ดูด้วยจิตใจที่มองในลักษณะที่มุ่งจะสร้างสิ่งที่ดีงามให้แก่บ้านเมืองต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ต่อข้อถามว่า ได้หารือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงหรือไม่ เพราะประธาน คมช. มีความเห็นว่าควรจะมีตำแหน่งดังกล่าว เพื่อให้การทำงานประสานกันระหว่างรัฐบาลกับคมช.เป็นไปด้วยดี นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มีการพูดกัน และสิ่งที่ได้แจ้งให้ประธาน คมช. ทราบคือในช่วงเวลานี้คงเป็นช่วงที่ต้องทำงานกันต่อเนื่องกันต่อไป คงไม่จำเป็นจะต้องมีรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลด้านความมั่นคง เพราะทุกคนทำงานปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไปคือการขอความร่วมมือในเรื่องต่างๆ จากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่ต้องมีการเตรียมการว่าจะต้องดำเนินการกันต่อไปในอนาคตอย่างไรบ้าง
ส่วนกรณีกลุ่ม 12 องค์กรต่อต้านรัฐบาลและคมช. ขู่จะออกมาเคลื่อนไหวคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาลและคมช. มีความกังวลเรื่องนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าสิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปนั้นสอดคล้องกับความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามดำเนินการในช่วงระยะเวลาต่อไป ก็คงต้องรอดู รวมทั้งบุคคลที่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ก็ต้องดูด้วยความเป็นธรรม ดูด้วยจิตใจที่มองในลักษณะที่มุ่งจะสร้างสิ่งที่ดีงามให้แก่บ้านเมืองต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--