แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ทำเนียบรัฐบาล
ตึกสันติไมตรี
นายกรัฐมนตรี
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี 2550 และถวายเกียรติบัตรแด่พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันเปตองผู้สูงอายุ ผู้ชนะการประกวดคำขวัญผู้สูงอายุแห่งชาติ ผู้ชนะการประกวดสุนทรพจน์ และผู้ชนะการประกวดตราสัญลักษณ์กองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดขึ้น โดยมีผู้ร่วมงานประมาณ 600 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชนสาขาต่างๆ และผู้แทนจากชมรมผู้สูงอายุทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวรายงานว่าคณะอนุกรรมการจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อผู้สูงอายุ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “ผู้สูงวัยช่วยสังคมไทยอยู่เย็นเป็นสุข” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักในคุณค่า แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้สูงอายุในฐานะเป็นปูชนียบุคคลที่ได้ประกอบคุณงามความดีและทำคุณประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในฐานะผู้ทรงภูมิปัญญา มีภูมิความรู้ และประสบการณ์ที่หลากหลาย
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความสำคัญของผู้สูงอายุว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการทำคุณประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมือง อย่างไรก็ตามยังมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่มีความทุกข์ยาก ซึ่งข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2549 ระบุว่ามีผู้สูงอายุทั่วประเทศทั้งหมดประมาณ 6,400,000 คน และเป็นผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียวมากถึง 459,149 คน หรือ 7.1% ของผู้สูงอายุทั่วประเทศ และในอีก 15 ปีข้างหน้าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 10 เป็น 18 ของจำนวนประชากร ซึ่งจะมีมากกว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ดังนั้นสังคมในอนาคตจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society ซึ่งมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทจะถูกทอดทิ้งมากขึ้น เพราะลูกหลานจะทิ้งอาชีพเกษตรกรไปประกอบอาชีพอื่นในเมือง
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้มีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2545-2564 เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการทั้งภาครัฐและภาคสังคม โดยมีแนวทางสำคัญในการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพและดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วยการร่วมมือของกลไกหลักรวม 5 ภาคี คือ เครือข่ายผู้สูงอายุทั่วประเทศ ชุมชนที่เข้มแข็ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สังคมในวงกว้างที่ควรมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และภาครัฐ
ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดทำ “โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน” ตามนโยบายสังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างอาสาสมัครในชุมชนดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ขาดการดูแล ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และมีปัญหาความทุกข์ยากอย่างถึงตัว ถึงบ้านพัก โดยมีโครงการนำร่องทั่วประเทศจังหวัดละ 1 ตำบล โดยในปี 2550 จะขยายโครงการดังกล่าวไปทุกตำบลภายใต้งบประมาณ 60 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดจะให้การสนับสนุนการดำเนินงาน วิชาการ และงบประมาณช่วง 2 ปีแรก ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) จากนั้น ท้องถิ่นจะเป็นผู้ดำเนินการ ดูแลงบประมาณที่จะไปจัดฝึกอบรมอาสาสมัครและจัดกิจกรรมต่างๆ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวรายงานว่าคณะอนุกรรมการจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อผู้สูงอายุ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “ผู้สูงวัยช่วยสังคมไทยอยู่เย็นเป็นสุข” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักในคุณค่า แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้สูงอายุในฐานะเป็นปูชนียบุคคลที่ได้ประกอบคุณงามความดีและทำคุณประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในฐานะผู้ทรงภูมิปัญญา มีภูมิความรู้ และประสบการณ์ที่หลากหลาย
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความสำคัญของผู้สูงอายุว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการทำคุณประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมือง อย่างไรก็ตามยังมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่มีความทุกข์ยาก ซึ่งข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2549 ระบุว่ามีผู้สูงอายุทั่วประเทศทั้งหมดประมาณ 6,400,000 คน และเป็นผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียวมากถึง 459,149 คน หรือ 7.1% ของผู้สูงอายุทั่วประเทศ และในอีก 15 ปีข้างหน้าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 10 เป็น 18 ของจำนวนประชากร ซึ่งจะมีมากกว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ดังนั้นสังคมในอนาคตจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society ซึ่งมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทจะถูกทอดทิ้งมากขึ้น เพราะลูกหลานจะทิ้งอาชีพเกษตรกรไปประกอบอาชีพอื่นในเมือง
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้มีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2545-2564 เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการทั้งภาครัฐและภาคสังคม โดยมีแนวทางสำคัญในการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพและดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วยการร่วมมือของกลไกหลักรวม 5 ภาคี คือ เครือข่ายผู้สูงอายุทั่วประเทศ ชุมชนที่เข้มแข็ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สังคมในวงกว้างที่ควรมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และภาครัฐ
ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดทำ “โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน” ตามนโยบายสังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างอาสาสมัครในชุมชนดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ขาดการดูแล ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และมีปัญหาความทุกข์ยากอย่างถึงตัว ถึงบ้านพัก โดยมีโครงการนำร่องทั่วประเทศจังหวัดละ 1 ตำบล โดยในปี 2550 จะขยายโครงการดังกล่าวไปทุกตำบลภายใต้งบประมาณ 60 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดจะให้การสนับสนุนการดำเนินงาน วิชาการ และงบประมาณช่วง 2 ปีแรก ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) จากนั้น ท้องถิ่นจะเป็นผู้ดำเนินการ ดูแลงบประมาณที่จะไปจัดฝึกอบรมอาสาสมัครและจัดกิจกรรมต่างๆ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--