รัฐบาลได้จัดพิมพ์เอกสารรายงานผลการดำเนินการตาม นโยบายของคณะรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่จะแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยเนื้อหาประกอบด้วย 4 ส่วน 154 หน้า จัดพิมพ์จำนวน 1,500 เล่ม โดยได้จัดส่งให้กับคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อนำไปทำความเข้าใจก่อนที่จะมีการแถลง นอกจากนี้ยังเผยแพร่รายงานฉบับนี้ผ่านทาง www.thaigov.go.th, www.cabinet.thaigov.go.th,www.nesdb.go.th ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์ทั่วไปของประเทศในช่วงระหว่างปี 2548-2549 มีความผันผวนสูง โดยประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทำให้สถานการณ์โดยทั่วไปของประเทศในช่วงก่อนการเข้ามาบริหารงานของรัฐบาลอยู่ในภาวะที่ขาดเสถียรภาพ ทั้งในด้านเศรษฐกิจที่เกิดภาวะการชะลอตัวการลงทุน และผลกระทบจากราคาน้ำมัน ด้านสังคมที่มีความแตกแยกทางความคิดในสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศและด้านการเมืองที่ขาดเสถียรภาพ มีการชุมนุมประท้วงในทางการเมืองของภาคประชาชนเป็นจำนวนมาก และนำมาสู่การปฏิรูปการปกครองในวันที่ 19 กันยายน 2549
2. นโยบายการปฎิรูปการเมือง การปกครองและการบริหาร สรุปว่า รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศภายหลังจากการปฏิรูปการปกครองและเป็นช่วงเวลาที่ประเทศประสบปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาความขัดแย้งในสังคม ปัญหาความเชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ และปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลมีจำกัด รัฐบาลได้มุ่งเน้นการวางรากฐาน การพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวควบคู่กับการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาการบริหารงาน นอกจากนี้ รัฐบาลได้ตระหนักว่าสถานการณ์ทางการเมืองและการบริหารในช่วงเวลาที่ผ่านมาเกิดวิกฤตศรัทธาของประชาชน ดังนั้น รัฐบาลจึงเร่งแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าว ด้วยการสนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร และให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองที่เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญทุกระดับ การเสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
3. นโยบายเศรษฐกิจ สรุปว่า รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ และผลักดันให้เกิดการปฏิบัติในสังคมไทย โดยใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเปรียบเสมือนรากแก้วของประเทศ เศรษฐกิจระบบตลาดและเศรษฐกิจส่วนรวมให้มีส่วนร่วมในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบความยั่งยืนและความพอดี โดยเน้นให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำและผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ
4. นโยบายสังคม สรุปว่า รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมเข้มแข็งให้คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์บนพื้นฐานของคุณธรรม ในช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชาติ โดยจัดทำแผนปฏิรูปสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันที่เน้นการสร้างสังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมเข้มแข็งและสังคมคุณธรรม ดำเนินการขับเคลื่อนด้วยกระบวนการระดมความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง และมุ่งลดความไม่เป็นธรรมในสังคม พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยเฉพาะครูให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่บูรณาการกับความมั่นคง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ศาสนาและชาติพันธุ์ พัฒนาสุขภาวะของประชาชน มุ่งพัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างต่อเนื่อง
5. นโยบายการต่างประเทศ สรุปว่า รัฐบาลได้ดำเนินบทบาทเชิงรุกในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีในด้านการต่างประเทศ ทั้งในด้านการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อโลกมุสลิม และให้ความช่วยเหลือกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมให้เกิดมิตรภาพและความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และระหว่างภูมิภาค เสริมสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน ดำเนินบทบาทสร้างสรรค์ในกรอบสหประชาชาติและกรอบพหุภาคีอื่น ๆ
6. นโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ สรุปว่า จากสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงโลกของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้การรักษาความมั่นคงของรัฐเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาวิกฤตความไม่สงบที่เกิดขึ้นสามารถแพร่กระจายความรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว และอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบสุขของประชาชนโดยรวม รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการป้องกันประเทศ การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดระบบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการดำเนินการต่อผู้หลบหนีเข้าเมือง รวมทั้งมุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพ
7. วาระแห่งชาติและวาระสำคัญของรัฐบาล สรุปว่า การจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 การผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันและปรามปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ การให้และอาสาช่วยเหลือสังคม การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักสำคัญในการดำเนินงาน การสร้างสมานฉันท์ในสังคม การแก้ไขปัญหาการเมืองที่หลายฝ่ายอาจมีแนวคิดที่แตกต่างกัน โดยให้ความสำคัญในการจัดเวทีประชาธิปไตยชุมชนเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ในระดับอำเภอทั่วประเทศ การแก้ไขปัญหาสถานการณ์สินค้าเกษตร การจัดทำแผนแม่บทการบรรเทาอุทกภัยระยะกลางและระยะยาว
8. แนวทางการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีในระยะ 6 เดือนต่อไป สรุปได้ว่า รัฐบาลจะเร่งดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร ที่เน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ เน้นการให้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย เพื่อข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นการร่างรัฐธรรมนูญ ตลอดจนผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและดำเนินการให้สามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็วที่สุด ดำเนินนโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลาย เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างความชัดเจนในแผนการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยการขยายตลาด “รายการนำเที่ยวสืบสานโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เร่งรัดการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา และการจัดทำแผนแม่บทการเสริมสร้างประสิทธิภาพแห่งชาติ รวมทั้งผลักดันการปฏิรูปสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ผลักดันการปฏิรูประบบยุติธรรม โดยเร่งรัดการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
1. สถานการณ์ทั่วไปของประเทศในช่วงระหว่างปี 2548-2549 มีความผันผวนสูง โดยประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทำให้สถานการณ์โดยทั่วไปของประเทศในช่วงก่อนการเข้ามาบริหารงานของรัฐบาลอยู่ในภาวะที่ขาดเสถียรภาพ ทั้งในด้านเศรษฐกิจที่เกิดภาวะการชะลอตัวการลงทุน และผลกระทบจากราคาน้ำมัน ด้านสังคมที่มีความแตกแยกทางความคิดในสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศและด้านการเมืองที่ขาดเสถียรภาพ มีการชุมนุมประท้วงในทางการเมืองของภาคประชาชนเป็นจำนวนมาก และนำมาสู่การปฏิรูปการปกครองในวันที่ 19 กันยายน 2549
2. นโยบายการปฎิรูปการเมือง การปกครองและการบริหาร สรุปว่า รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศภายหลังจากการปฏิรูปการปกครองและเป็นช่วงเวลาที่ประเทศประสบปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาความขัดแย้งในสังคม ปัญหาความเชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ และปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลมีจำกัด รัฐบาลได้มุ่งเน้นการวางรากฐาน การพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวควบคู่กับการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาการบริหารงาน นอกจากนี้ รัฐบาลได้ตระหนักว่าสถานการณ์ทางการเมืองและการบริหารในช่วงเวลาที่ผ่านมาเกิดวิกฤตศรัทธาของประชาชน ดังนั้น รัฐบาลจึงเร่งแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าว ด้วยการสนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร และให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองที่เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญทุกระดับ การเสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
3. นโยบายเศรษฐกิจ สรุปว่า รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ และผลักดันให้เกิดการปฏิบัติในสังคมไทย โดยใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเปรียบเสมือนรากแก้วของประเทศ เศรษฐกิจระบบตลาดและเศรษฐกิจส่วนรวมให้มีส่วนร่วมในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบความยั่งยืนและความพอดี โดยเน้นให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำและผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ
4. นโยบายสังคม สรุปว่า รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมเข้มแข็งให้คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์บนพื้นฐานของคุณธรรม ในช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชาติ โดยจัดทำแผนปฏิรูปสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันที่เน้นการสร้างสังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมเข้มแข็งและสังคมคุณธรรม ดำเนินการขับเคลื่อนด้วยกระบวนการระดมความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง และมุ่งลดความไม่เป็นธรรมในสังคม พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยเฉพาะครูให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่บูรณาการกับความมั่นคง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ศาสนาและชาติพันธุ์ พัฒนาสุขภาวะของประชาชน มุ่งพัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างต่อเนื่อง
5. นโยบายการต่างประเทศ สรุปว่า รัฐบาลได้ดำเนินบทบาทเชิงรุกในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีในด้านการต่างประเทศ ทั้งในด้านการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อโลกมุสลิม และให้ความช่วยเหลือกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมให้เกิดมิตรภาพและความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และระหว่างภูมิภาค เสริมสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน ดำเนินบทบาทสร้างสรรค์ในกรอบสหประชาชาติและกรอบพหุภาคีอื่น ๆ
6. นโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ สรุปว่า จากสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงโลกของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้การรักษาความมั่นคงของรัฐเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาวิกฤตความไม่สงบที่เกิดขึ้นสามารถแพร่กระจายความรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว และอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบสุขของประชาชนโดยรวม รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการป้องกันประเทศ การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดระบบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการดำเนินการต่อผู้หลบหนีเข้าเมือง รวมทั้งมุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพ
7. วาระแห่งชาติและวาระสำคัญของรัฐบาล สรุปว่า การจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 การผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันและปรามปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ การให้และอาสาช่วยเหลือสังคม การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักสำคัญในการดำเนินงาน การสร้างสมานฉันท์ในสังคม การแก้ไขปัญหาการเมืองที่หลายฝ่ายอาจมีแนวคิดที่แตกต่างกัน โดยให้ความสำคัญในการจัดเวทีประชาธิปไตยชุมชนเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ในระดับอำเภอทั่วประเทศ การแก้ไขปัญหาสถานการณ์สินค้าเกษตร การจัดทำแผนแม่บทการบรรเทาอุทกภัยระยะกลางและระยะยาว
8. แนวทางการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีในระยะ 6 เดือนต่อไป สรุปได้ว่า รัฐบาลจะเร่งดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร ที่เน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ เน้นการให้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย เพื่อข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นการร่างรัฐธรรมนูญ ตลอดจนผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและดำเนินการให้สามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็วที่สุด ดำเนินนโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลาย เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างความชัดเจนในแผนการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยการขยายตลาด “รายการนำเที่ยวสืบสานโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เร่งรัดการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา และการจัดทำแผนแม่บทการเสริมสร้างประสิทธิภาพแห่งชาติ รวมทั้งผลักดันการปฏิรูปสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ผลักดันการปฏิรูประบบยุติธรรม โดยเร่งรัดการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--