นายกรัฐมนตรีประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ระบุต่างประเทศพอใจกระบวนการลงประชามติรัฐธรรมนูญของไทย ที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นภายในสิ้นปีนี้
เมื่อเวลา 11.30 น. ที่กระทรวงการต่างประเทศ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ประจำปี 2550 ว่า การประชุมในวันนี้ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างฝ่ายบริหารและเอกอัครราชทูต รวมทั้งกงสุลใหญ่จากหลายประเทศ รวมทั้งหมด 93 คน ประเด็นหลักคือเรื่องมุมมองของประเทศต่างๆ ที่เอกอัครราชทูตได้ไปทำหน้าที่ในประเทศนั้นๆ ได้สะท้อนมุมมองของรัฐบาลและประชาชนของประเทศเหล่านั้นให้รับทราบ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการดำเนินการสร้างความเข้าใจอันดีต่อไป โดยภาพรวมสรุปได้ว่า ทั้งในส่วนของทวีปอเมริกา ยุโรป แอฟริกา ต่างมองการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของรัฐบาล หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือการดำเนินการลงประชามติของเรา เห็นว่าการดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งถือเป็นความพอใจของทุก ๆ ประเทศในระดับที่ดีขึ้นกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ก็คงต้องรอการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทั่วประเทศอีกครั้ง และในบ่ายวันนี้ ( 27 ส.ค.) คงสามารถกำหนดวันเลือกตั้งที่คาดว่าจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระราชทานกำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งคงเป็นภายในสิ้นปีนี้ พร้อมทั้งได้ชี้แจงให้บรรดาเอกอัครราชทูตทราบถึงการดำเนินการหลักๆ ทั้งเรื่องสถานการณ์ในภาคใต้ เรื่องเศรษฐกิจ ที่ได้ดำเนินการมาในช่วง 8 เดือน และสิ่งที่เราคาดคิดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในอีก 4-5 เดือนข้างหน้า
ผู้สื่อข่าวถามว่า สรุปว่าต่างประเทศมีมุมมองเรื่องของสถานการณ์การเมืองของไทยดีขึ้นหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต่างประเทศมองว่าเราได้ดำเนินการไปตามกำหนดเวลาที่ได้พูดกันไว้ คือมีการลงประชามติ ซึ่งเมื่อผ่านการลงประชามติแล้ว ต่างประเทศก็เฝ้าดูว่าเราจะมีการเลือกตั้งตามที่ให้สัญญาไว้กับประชาชนหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของประเทศสหรัฐฯ มีมุมมองไม่ค่อยดีนัก โดยขอให้ไทยเร่งให้มีการเลือกตั้งและกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทำงานคงจะต้องมีขั้นตอน และเราพยายามดำเนินการอย่างดีที่สุด ให้สอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราดำเนินการในขณะนี้ คือการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลูก 3 ฉบับ และในส่วนของงานมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ หลังจากนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่เราสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มุมมองของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่มีต่อไทยดีขึ้นจริงหรือ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากการลงประชามติแล้วมุมมองดีขึ้น เพราะเราทำได้เร็วขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะมีการลงประชามติประมาณต้อนเดือนกันยายน
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังการลงประชามติในรัฐธรรมนูญแล้ว มุมมองต่างประเทศที่มองไทยดีขึ้นใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ต่างประเทศอยากเห็นเราก้าวไปข้างหน้า กลับไปสู่ครรลองของประชาธิปไตย หากเราทำได้ตามที่เราพูดไว้คิดว่าความคิดเห็นของประชาคมโลกที่มีต่อการพัฒนาการเมืองของประเทศไทยก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่าในระหว่างการเดินทางไปร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่ถูกปฏิเสธ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้ขอเข้าพบ แต่จะมีการพบปะกันในระหว่างการประชุมเอเปคที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ก่อนที่จะเดินทางไปสหรัฐฯ และจะอาศัยช่วงเวลาช่วงนั้นได้พบปะพูดคุยกัน เราคงไม่ได้เดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อจะไปขอพบปะ ซึ่งในส่วนดังกล่าวจะเป็นการพบปะกับประเทศอื่นๆ ที่มาร่วมประชุมที่สหประชาชาติมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับสหรัฐฯ หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาสหรัฐฯ มีมุมมองที่ไม่ดีกับไทย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าคงไม่ต้องทำความเข้าใจ เพราะสหรัฐฯ ก็มองอยู่ว่าเราทำตามที่พูดไว้หรือไม่ ถ้าเราทำตามสิ่งที่พูดไว้ก็จะเป็นการพิสูจน์อย่างดี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 11.30 น. ที่กระทรวงการต่างประเทศ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ประจำปี 2550 ว่า การประชุมในวันนี้ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างฝ่ายบริหารและเอกอัครราชทูต รวมทั้งกงสุลใหญ่จากหลายประเทศ รวมทั้งหมด 93 คน ประเด็นหลักคือเรื่องมุมมองของประเทศต่างๆ ที่เอกอัครราชทูตได้ไปทำหน้าที่ในประเทศนั้นๆ ได้สะท้อนมุมมองของรัฐบาลและประชาชนของประเทศเหล่านั้นให้รับทราบ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการดำเนินการสร้างความเข้าใจอันดีต่อไป โดยภาพรวมสรุปได้ว่า ทั้งในส่วนของทวีปอเมริกา ยุโรป แอฟริกา ต่างมองการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของรัฐบาล หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือการดำเนินการลงประชามติของเรา เห็นว่าการดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งถือเป็นความพอใจของทุก ๆ ประเทศในระดับที่ดีขึ้นกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ก็คงต้องรอการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทั่วประเทศอีกครั้ง และในบ่ายวันนี้ ( 27 ส.ค.) คงสามารถกำหนดวันเลือกตั้งที่คาดว่าจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระราชทานกำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งคงเป็นภายในสิ้นปีนี้ พร้อมทั้งได้ชี้แจงให้บรรดาเอกอัครราชทูตทราบถึงการดำเนินการหลักๆ ทั้งเรื่องสถานการณ์ในภาคใต้ เรื่องเศรษฐกิจ ที่ได้ดำเนินการมาในช่วง 8 เดือน และสิ่งที่เราคาดคิดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในอีก 4-5 เดือนข้างหน้า
ผู้สื่อข่าวถามว่า สรุปว่าต่างประเทศมีมุมมองเรื่องของสถานการณ์การเมืองของไทยดีขึ้นหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต่างประเทศมองว่าเราได้ดำเนินการไปตามกำหนดเวลาที่ได้พูดกันไว้ คือมีการลงประชามติ ซึ่งเมื่อผ่านการลงประชามติแล้ว ต่างประเทศก็เฝ้าดูว่าเราจะมีการเลือกตั้งตามที่ให้สัญญาไว้กับประชาชนหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของประเทศสหรัฐฯ มีมุมมองไม่ค่อยดีนัก โดยขอให้ไทยเร่งให้มีการเลือกตั้งและกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทำงานคงจะต้องมีขั้นตอน และเราพยายามดำเนินการอย่างดีที่สุด ให้สอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราดำเนินการในขณะนี้ คือการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลูก 3 ฉบับ และในส่วนของงานมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ หลังจากนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่เราสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มุมมองของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่มีต่อไทยดีขึ้นจริงหรือ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากการลงประชามติแล้วมุมมองดีขึ้น เพราะเราทำได้เร็วขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะมีการลงประชามติประมาณต้อนเดือนกันยายน
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังการลงประชามติในรัฐธรรมนูญแล้ว มุมมองต่างประเทศที่มองไทยดีขึ้นใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ต่างประเทศอยากเห็นเราก้าวไปข้างหน้า กลับไปสู่ครรลองของประชาธิปไตย หากเราทำได้ตามที่เราพูดไว้คิดว่าความคิดเห็นของประชาคมโลกที่มีต่อการพัฒนาการเมืองของประเทศไทยก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่าในระหว่างการเดินทางไปร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่ถูกปฏิเสธ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้ขอเข้าพบ แต่จะมีการพบปะกันในระหว่างการประชุมเอเปคที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ก่อนที่จะเดินทางไปสหรัฐฯ และจะอาศัยช่วงเวลาช่วงนั้นได้พบปะพูดคุยกัน เราคงไม่ได้เดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อจะไปขอพบปะ ซึ่งในส่วนดังกล่าวจะเป็นการพบปะกับประเทศอื่นๆ ที่มาร่วมประชุมที่สหประชาชาติมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับสหรัฐฯ หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาสหรัฐฯ มีมุมมองที่ไม่ดีกับไทย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าคงไม่ต้องทำความเข้าใจ เพราะสหรัฐฯ ก็มองอยู่ว่าเราทำตามที่พูดไว้หรือไม่ ถ้าเราทำตามสิ่งที่พูดไว้ก็จะเป็นการพิสูจน์อย่างดี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--