พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบป้ายและธงสัญลักษณ์แก่หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช และปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ 3 เดือนเข้าพรรษาชาวพุทธควรศึกษาปฏิบัติตามหลักธรรมพุทธศาสนาอย่างไร” ในงานการประกาศเจตนารมณ์หมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช เนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษา ประจำปี 2550
วันนี้ เวลา 14.50 น. ณ อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ ชั้น 3 วัดยานนาวา เขตสาธร กรุงเทพมหานคร พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบป้ายและธงสัญลักษณ์แก่หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช และปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ 3 เดือนเข้าพรรษาชาวพุทธควรศึกษาปฏิบัติตามหลักธรรมพุทธศาสนาอย่างไร” ในงานการประกาศเจตนารมณ์หมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช เนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษา ประจำปี 2550 โดยผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย คณะสงฆ์ นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และตัวแทนแกนนำหมู่บ้านจาก 106 หมู่บ้าน ที่ร่วมโครงการหมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช
เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางถึงได้กราบนมัสการพระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ก่อนเป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วพระพรหมวชิรญาณ กล่าวสัมโมทนียกถา อนุโมทนาการจัดโครงการงดเหล้าพรรษา จากนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานเครือข่ายงดเหล้า และประธานคนที่ 2 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้กล่าวรายงานโดยสรุปว่า ในโอกาสวันเข้าพรรษาปี 2550 สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) พร้อมด้วยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เครือข่ายงดเหล้าทั่วประเทศ ได้จัด การรณรงค์ในโครงการ “งดเหล้า เข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง” ขึ้น ซึ่งได้จัดรณรงค์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2546 โดยการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา เป็นอีกหนึ่งมาตรการด้านการปรับสภาพแวดล้อมและการส่งเสริมจิตสำนึก ซึ่งจากการรณรงค์อย่างต่อเนื่องพบว่า ประชาชนมีแนวโน้มลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเข้าพรรษาเพิ่มขึ้น จากที่ในปี 2546 ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้งดเหล้าเข้าพรรษารวมร้อยละ 55.9 และในปี 2549 ที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ที่งดเหล้าเข้าพรรษารวมร้อยละ 63.0 (ตลอดสามเดือนร้อยละ 35.3 และไม่ถึง 3 เดือนร้อยละ 27.5) นอกจากนั้น ยังพบว่าประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ต่างขานรับโครงการ ได้นำไปรณรงค์กันเองอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีว่าสังคมไทยได้ตระหนักและให้ความสำคัญว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าที่อันตราย สมควรมีการรณรงค์ทั้งในส่วนของผู้ที่ยังดื่มอยู่และในส่วนของนักดื่มหน้าใหม่ และด้วยการรณรงค์อย่างเข้มข้นที่ผ่านมา ในปีนี้การรณรงค์เชิญชวนให้ลด ละ เลิก เข้าพรรษาทำความดี ยังทำต่อเนื่องเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระชนมพรรษา 80 พรรษา
นอกจากนั้นยังได้ทำงานเชิงคุณภาพ มีหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง สามารถรณรงค์ให้สมาชิกในหมู่บ้านทุกคนปฏิญาณตนงดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งในปี 2550 นี้ โครงการมีเป้าหมายว่าจะมีหมู่บ้านที่สามารถประกาศงดเหล้าเข้าพรรษาทุกคน ได้ถึง 80 หมู่บ้าน แต่ขณะนี้มีหมู่บ้านที่สามารถทำได้ถึง 106 หมู่บ้าน และหากทำต่อเนื่อง จะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น อันหมายถึงความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหานี้จะต้องอาศัยมาตรการด้านกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญ โดยผ่านร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ที่ขณะนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และมาตรการด้านภาษี ที่มีการเตรียมการปรับเพดานภาษีใหม่อยู่ในขณะนี้ ซึ่งเครือข่ายองค์กรงดเหล้าขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญดังกล่าว
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ 3 เดือนเข้าพรรษาชาวพุทธควรศึกษาปฏิบัติตามหลักธรรมพุทธศาสนาอย่างไร” สรุปสาระสำคัญว่า ประเทศไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองพุทธ มีคนไทยนับถือพุทธศาสนาจำนวนมากกว่าร้อยละ 90 พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองในประเทศไทยมายาวนาน และเป็นที่น่ายินดีที่ขณะนี้พระพุทธศาสนาได้เป็นที่สนใจรับรู้ของคนทั่วโลก เพราะพุทธศาสนามีแก่นธรรมที่เป็นธรรมชาติ เป็นสากล ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น ในโอกาสที่วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา เวียนมาบรรจบครบรอบปีอีกครั้งหนึ่ง จึงควรที่ชาวพุทธจะให้ความสำคัญและร่วมกันปฏิบัติธรรมเป็นพุทธบูชา สืบต่อพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดความงอกงามในธรรมขึ้นในจิตใจของทุกคนสืบต่อไป
“ ในโอกาสเข้าพรรษาปีนี้ เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ผมจึงขอเชิญชวนชาวพุทธทุกคน ได้น้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะการรักษาศีลและการรักษาธรรม 5 ข้อ ที่เรียกว่า เบญจศีลและเบญจธรรม เพื่อทำจิตใจให้หนักแน่นมั่นคง ไม่อ่อนแอ โลเลไปตามกิเลส หรือความอยากมีอยากได้และอยากเป็น พิจารณาตนเองให้เป็นผู้ที่มีสำนึกรู้ดีชั่ว และรู้วิธีการขัดเกลาตนเอง เพื่อให้เกิดความเจริญในจิตใจและเกิดความสงบสันติขึ้นในสังคมของเราอย่างยั่งยืนยาวนานสืบต่อไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการงดเหล้าว่าเป็นการปฏิบัติศีลข้อ 5 คือเป็นเจตนาที่จะงดเว้นจากการดื่มเครื่องมึนเมาทุกชนิด เพราะเครื่องมึนเมาเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท น้ำเมาทั้งหลายอาจกล่าวได้ว่าเป็นน้ำผลาญสติ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าการมีสติหรือความไม่ประมาทเป็นเรื่องยอดแห่งธรรมทั้งปวง เพราะเราได้เห็นมามากแล้วว่าผู้ที่เมาและขาดสติ ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์อันน่าสลดและสังเวชใจมาแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งสามารถทำร้ายลูก ภรรยา บิดามารดาบังเกิดเกล้า บางครั้งถึงขั้นกระทำปิตุฆาต หรือทำความผิดร้ายแรงอื่นๆ ด้วยฤทธิ์ของความเมา ความขาดสติและขาดหิริโอตตัปปะ และได้มีการกล่าวไว้ว่าเมื่อผิดศีลข้อ 5 เพียงข้อเดียว ก็จะทำให้ผิดศีลทุกข้อไปด้วย
“ ดังนั้น ประเพณีที่ดีงามของชาวพุทธ เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจึงเป็นเสมือนโอกาสหยุดทบทวนความหมายคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ผมเห็นว่าสังคมไทยของเราโดยเฉพาะในชนบท ยังพบว่ามีการจัดงานถือศีลอุโบสถทั้งคนแก่และคนหนุ่มสาวยังนิยมถือศีลนุ่งขาวห่มขาว ฝึกภาวนา ขัดเกลากิเลสกันอยู่ไม่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรรักษาวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ต่อๆ ไป เพราะนอกจากจะเป็นการฝึกตนและฝึกใจแล้ว ยังเป็นการเชื่อมพลังทางสังคมและชุมชน สร้างค่านิยมความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นวิถีชีวิตที่งดงามของชาวพุทธ ส่วนในเมืองก็จะมีการจัดกิจกรรมเวียนเทียนฟังธรรม หรือจัดไหว้พระตามวัดต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เหมาะกับวิถีชีวิตของคนเมืองอีกแบบหนึ่งส่วนเด็กเยาวชนนั้น ก็ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ เช่น การจัดการประกวดแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ การเข้าค่ายปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะผู้ใหญ่ทั้งหลายควรเป็นแบบอย่างที่ดี ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมให้แก่เด็กเยาวชน หรือจะให้เด็กๆ และเยาวชน คิดเองทำเอง โดยผู้ใหญ่เป็นพี่เลี้ยงก็ได้ ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับยุคสมัยนี้เช่นเดียวกัน” นายกรัฐมนตรีกล่าว
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนชุมชนหรือหมู่บ้านทั่วประเทศ ได้น้อมนำศึกษา และปฏิบัติตามธรรมะของพระพุทธเจ้า โดย ลด ละ เลิกอบายมุขต่าง ๆ หันมายึดหลักเบญจศีลเบญจธรรม หรือจัด “ปวารณา” คือ ยินดีที่จะให้ว่ากล่าวตักเตือน และเมื่อเห็นว่าเป็นจริงก็พร้อมจะยอมรับและขอปรับปรุงตนเอง ดังเช่นที่คณะสงฆ์ได้ปฏิบัติกันสืบมา โดยเฉพาะการปฏิญาณตนที่จะงดเหล้าในโอกาสการเข้าพรรษา เพื่อเป็นการทำความดีต่อตนเอง และทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ให้สมกับที่พระองค์ท่านได้ทำความดีเพื่อชาวไทยทุกคนมาด้วยความเหนื่อยยาก และได้ทรงปฏิบัติความดีให้เป็นแบบอย่างแก่พสกนิกร ตลอดระยะเวลาอันยาว นานที่ผ่านมา
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณทุกคนที่ได้ริเริ่มรณรงค์ให้ความสำคัญกับวันเข้า พรรษา และสนับสนุนให้มีการทำความดีตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อมั่นว่าผลบุญกุศลที่ทุกคนได้ร่วมกันทำในครั้งนี้ จะส่งผลดีทั้งต่อตัวเองและสังคมโดยรวมต่อไป พร้อมกับหวังว่ากิจกรรมที่มีคุณค่านี้ จะได้รับการนำไปขยายต่อยังประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ประชาชนและพร้อมจะนำพาสังคมไทยไปสู่สังคมที่มีความเข้มแข็งทางคุณธรรม เพื่อให้เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศให้มั่นคงและยั่งยืนยาวนานสืบต่อไป
ต่อจากนั้น พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา มอบป้ายสัญลักษณ์หมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษา แด่ตัวแทนพระสงฆ์ นายกรัฐมนตรีมอบธงสัญลักษณ์หมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษา แก่ตัวแทนผู้นำชุมชน นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และศาสตราจารย์นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานเครือข่ายงดเหล้าฯ มอบกระปุกออมสินสัญลักษณ์หมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษา แก่ผู้นำชุมชนที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช จากนั้น นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประกาศเจตนารมรณ์งดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช ด้วยการลงนามปฏิญาณตน งดเหล้าเข้าพรรษาในแผ่นใบปฏิญาณตนขนาดใหญ่ ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะได้ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าอาวาสวัดยานนาวา คณะสงฆ์ และตัวแทนแกนนำหมู่บ้าน ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 3
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.50 น. ณ อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ ชั้น 3 วัดยานนาวา เขตสาธร กรุงเทพมหานคร พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบป้ายและธงสัญลักษณ์แก่หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช และปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ 3 เดือนเข้าพรรษาชาวพุทธควรศึกษาปฏิบัติตามหลักธรรมพุทธศาสนาอย่างไร” ในงานการประกาศเจตนารมณ์หมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช เนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษา ประจำปี 2550 โดยผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย คณะสงฆ์ นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และตัวแทนแกนนำหมู่บ้านจาก 106 หมู่บ้าน ที่ร่วมโครงการหมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช
เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางถึงได้กราบนมัสการพระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ก่อนเป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วพระพรหมวชิรญาณ กล่าวสัมโมทนียกถา อนุโมทนาการจัดโครงการงดเหล้าพรรษา จากนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานเครือข่ายงดเหล้า และประธานคนที่ 2 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้กล่าวรายงานโดยสรุปว่า ในโอกาสวันเข้าพรรษาปี 2550 สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) พร้อมด้วยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เครือข่ายงดเหล้าทั่วประเทศ ได้จัด การรณรงค์ในโครงการ “งดเหล้า เข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง” ขึ้น ซึ่งได้จัดรณรงค์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2546 โดยการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา เป็นอีกหนึ่งมาตรการด้านการปรับสภาพแวดล้อมและการส่งเสริมจิตสำนึก ซึ่งจากการรณรงค์อย่างต่อเนื่องพบว่า ประชาชนมีแนวโน้มลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเข้าพรรษาเพิ่มขึ้น จากที่ในปี 2546 ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้งดเหล้าเข้าพรรษารวมร้อยละ 55.9 และในปี 2549 ที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ที่งดเหล้าเข้าพรรษารวมร้อยละ 63.0 (ตลอดสามเดือนร้อยละ 35.3 และไม่ถึง 3 เดือนร้อยละ 27.5) นอกจากนั้น ยังพบว่าประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ต่างขานรับโครงการ ได้นำไปรณรงค์กันเองอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีว่าสังคมไทยได้ตระหนักและให้ความสำคัญว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าที่อันตราย สมควรมีการรณรงค์ทั้งในส่วนของผู้ที่ยังดื่มอยู่และในส่วนของนักดื่มหน้าใหม่ และด้วยการรณรงค์อย่างเข้มข้นที่ผ่านมา ในปีนี้การรณรงค์เชิญชวนให้ลด ละ เลิก เข้าพรรษาทำความดี ยังทำต่อเนื่องเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระชนมพรรษา 80 พรรษา
นอกจากนั้นยังได้ทำงานเชิงคุณภาพ มีหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง สามารถรณรงค์ให้สมาชิกในหมู่บ้านทุกคนปฏิญาณตนงดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งในปี 2550 นี้ โครงการมีเป้าหมายว่าจะมีหมู่บ้านที่สามารถประกาศงดเหล้าเข้าพรรษาทุกคน ได้ถึง 80 หมู่บ้าน แต่ขณะนี้มีหมู่บ้านที่สามารถทำได้ถึง 106 หมู่บ้าน และหากทำต่อเนื่อง จะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น อันหมายถึงความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหานี้จะต้องอาศัยมาตรการด้านกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญ โดยผ่านร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ที่ขณะนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และมาตรการด้านภาษี ที่มีการเตรียมการปรับเพดานภาษีใหม่อยู่ในขณะนี้ ซึ่งเครือข่ายองค์กรงดเหล้าขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญดังกล่าว
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ 3 เดือนเข้าพรรษาชาวพุทธควรศึกษาปฏิบัติตามหลักธรรมพุทธศาสนาอย่างไร” สรุปสาระสำคัญว่า ประเทศไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองพุทธ มีคนไทยนับถือพุทธศาสนาจำนวนมากกว่าร้อยละ 90 พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองในประเทศไทยมายาวนาน และเป็นที่น่ายินดีที่ขณะนี้พระพุทธศาสนาได้เป็นที่สนใจรับรู้ของคนทั่วโลก เพราะพุทธศาสนามีแก่นธรรมที่เป็นธรรมชาติ เป็นสากล ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น ในโอกาสที่วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา เวียนมาบรรจบครบรอบปีอีกครั้งหนึ่ง จึงควรที่ชาวพุทธจะให้ความสำคัญและร่วมกันปฏิบัติธรรมเป็นพุทธบูชา สืบต่อพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดความงอกงามในธรรมขึ้นในจิตใจของทุกคนสืบต่อไป
“ ในโอกาสเข้าพรรษาปีนี้ เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ผมจึงขอเชิญชวนชาวพุทธทุกคน ได้น้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะการรักษาศีลและการรักษาธรรม 5 ข้อ ที่เรียกว่า เบญจศีลและเบญจธรรม เพื่อทำจิตใจให้หนักแน่นมั่นคง ไม่อ่อนแอ โลเลไปตามกิเลส หรือความอยากมีอยากได้และอยากเป็น พิจารณาตนเองให้เป็นผู้ที่มีสำนึกรู้ดีชั่ว และรู้วิธีการขัดเกลาตนเอง เพื่อให้เกิดความเจริญในจิตใจและเกิดความสงบสันติขึ้นในสังคมของเราอย่างยั่งยืนยาวนานสืบต่อไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการงดเหล้าว่าเป็นการปฏิบัติศีลข้อ 5 คือเป็นเจตนาที่จะงดเว้นจากการดื่มเครื่องมึนเมาทุกชนิด เพราะเครื่องมึนเมาเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท น้ำเมาทั้งหลายอาจกล่าวได้ว่าเป็นน้ำผลาญสติ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าการมีสติหรือความไม่ประมาทเป็นเรื่องยอดแห่งธรรมทั้งปวง เพราะเราได้เห็นมามากแล้วว่าผู้ที่เมาและขาดสติ ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์อันน่าสลดและสังเวชใจมาแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งสามารถทำร้ายลูก ภรรยา บิดามารดาบังเกิดเกล้า บางครั้งถึงขั้นกระทำปิตุฆาต หรือทำความผิดร้ายแรงอื่นๆ ด้วยฤทธิ์ของความเมา ความขาดสติและขาดหิริโอตตัปปะ และได้มีการกล่าวไว้ว่าเมื่อผิดศีลข้อ 5 เพียงข้อเดียว ก็จะทำให้ผิดศีลทุกข้อไปด้วย
“ ดังนั้น ประเพณีที่ดีงามของชาวพุทธ เมื่อถึงวันเข้าพรรษาจึงเป็นเสมือนโอกาสหยุดทบทวนความหมายคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ผมเห็นว่าสังคมไทยของเราโดยเฉพาะในชนบท ยังพบว่ามีการจัดงานถือศีลอุโบสถทั้งคนแก่และคนหนุ่มสาวยังนิยมถือศีลนุ่งขาวห่มขาว ฝึกภาวนา ขัดเกลากิเลสกันอยู่ไม่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรรักษาวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ต่อๆ ไป เพราะนอกจากจะเป็นการฝึกตนและฝึกใจแล้ว ยังเป็นการเชื่อมพลังทางสังคมและชุมชน สร้างค่านิยมความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นวิถีชีวิตที่งดงามของชาวพุทธ ส่วนในเมืองก็จะมีการจัดกิจกรรมเวียนเทียนฟังธรรม หรือจัดไหว้พระตามวัดต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เหมาะกับวิถีชีวิตของคนเมืองอีกแบบหนึ่งส่วนเด็กเยาวชนนั้น ก็ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ เช่น การจัดการประกวดแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ การเข้าค่ายปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะผู้ใหญ่ทั้งหลายควรเป็นแบบอย่างที่ดี ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมให้แก่เด็กเยาวชน หรือจะให้เด็กๆ และเยาวชน คิดเองทำเอง โดยผู้ใหญ่เป็นพี่เลี้ยงก็ได้ ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับยุคสมัยนี้เช่นเดียวกัน” นายกรัฐมนตรีกล่าว
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนชุมชนหรือหมู่บ้านทั่วประเทศ ได้น้อมนำศึกษา และปฏิบัติตามธรรมะของพระพุทธเจ้า โดย ลด ละ เลิกอบายมุขต่าง ๆ หันมายึดหลักเบญจศีลเบญจธรรม หรือจัด “ปวารณา” คือ ยินดีที่จะให้ว่ากล่าวตักเตือน และเมื่อเห็นว่าเป็นจริงก็พร้อมจะยอมรับและขอปรับปรุงตนเอง ดังเช่นที่คณะสงฆ์ได้ปฏิบัติกันสืบมา โดยเฉพาะการปฏิญาณตนที่จะงดเหล้าในโอกาสการเข้าพรรษา เพื่อเป็นการทำความดีต่อตนเอง และทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ให้สมกับที่พระองค์ท่านได้ทำความดีเพื่อชาวไทยทุกคนมาด้วยความเหนื่อยยาก และได้ทรงปฏิบัติความดีให้เป็นแบบอย่างแก่พสกนิกร ตลอดระยะเวลาอันยาว นานที่ผ่านมา
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณทุกคนที่ได้ริเริ่มรณรงค์ให้ความสำคัญกับวันเข้า พรรษา และสนับสนุนให้มีการทำความดีตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อมั่นว่าผลบุญกุศลที่ทุกคนได้ร่วมกันทำในครั้งนี้ จะส่งผลดีทั้งต่อตัวเองและสังคมโดยรวมต่อไป พร้อมกับหวังว่ากิจกรรมที่มีคุณค่านี้ จะได้รับการนำไปขยายต่อยังประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ประชาชนและพร้อมจะนำพาสังคมไทยไปสู่สังคมที่มีความเข้มแข็งทางคุณธรรม เพื่อให้เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศให้มั่นคงและยั่งยืนยาวนานสืบต่อไป
ต่อจากนั้น พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา มอบป้ายสัญลักษณ์หมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษา แด่ตัวแทนพระสงฆ์ นายกรัฐมนตรีมอบธงสัญลักษณ์หมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษา แก่ตัวแทนผู้นำชุมชน นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และศาสตราจารย์นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานเครือข่ายงดเหล้าฯ มอบกระปุกออมสินสัญลักษณ์หมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษา แก่ผู้นำชุมชนที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช จากนั้น นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประกาศเจตนารมรณ์งดเหล้าเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช ด้วยการลงนามปฏิญาณตน งดเหล้าเข้าพรรษาในแผ่นใบปฏิญาณตนขนาดใหญ่ ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะได้ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าอาวาสวัดยานนาวา คณะสงฆ์ และตัวแทนแกนนำหมู่บ้าน ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 3
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--