พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว และได้นำประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
วันนี้ เวลา 16.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำ นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ นางสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนางมธุรส โลจายะ เลขานุการประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสืบไป
เมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ในเวลา 17.25 น. นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมเจ้าหน้าที่ได้เชิญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับดังกล่าว มายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประทับพระราชลัญจกร โดยทั้ง 3 ฉบับ ประทับพระราชลัญจกรฉบับละ 4 องค์ ประกอบด้วย พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ทองคำประจำรัชกาล ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ส่วนด้านบน (ในพับเดียวกันแต่คนละหน้า) ประทับพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินอีก 3 องค์ เรียงจากซ้ายไปขวาตามลำดับ ได้แก่ พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอราพต องค์ใหญ่ และพระราชลัญจกรหงสพิมาน เป็นองค์สุดท้าย จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมดจำนวน 592 หน้า จำนวน 2,368 บรรทัด มีน้ำหนัก 7 กิโลกรัม ลงรักปิดทองปกหน้าและปกหลัง ตลอดจนด้านข้างของสมุดไทย พร้อมทั้งติดพระครุฑพ่าห์บนหน้าปกรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ใช้เจ้าหน้าที่ลิขิต สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน 8 คน ในการเขียนหรือที่โบราณเรียกว่า “ชุบ” โดยใช้เวลาเขียน 41 วัน ใช้ลายมือแบบอาลักษณ์หรือที่เรียกว่า ลายมือแบบรัตนโกสินทร์ จัดทำไว้จำนวน 3 ฉบับ แยกกันเก็บรักษา ฉบับที่ทำด้วยทองคำแท้ จะเก็บไว้ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่วนอีก 2 ฉบับ ทำด้วยเงินกะไหล่ทอง เก็บไว้ที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 16.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำ นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ นางสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนางมธุรส โลจายะ เลขานุการประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสืบไป
เมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ในเวลา 17.25 น. นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมเจ้าหน้าที่ได้เชิญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับดังกล่าว มายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประทับพระราชลัญจกร โดยทั้ง 3 ฉบับ ประทับพระราชลัญจกรฉบับละ 4 องค์ ประกอบด้วย พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ทองคำประจำรัชกาล ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ส่วนด้านบน (ในพับเดียวกันแต่คนละหน้า) ประทับพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินอีก 3 องค์ เรียงจากซ้ายไปขวาตามลำดับ ได้แก่ พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอราพต องค์ใหญ่ และพระราชลัญจกรหงสพิมาน เป็นองค์สุดท้าย จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมดจำนวน 592 หน้า จำนวน 2,368 บรรทัด มีน้ำหนัก 7 กิโลกรัม ลงรักปิดทองปกหน้าและปกหลัง ตลอดจนด้านข้างของสมุดไทย พร้อมทั้งติดพระครุฑพ่าห์บนหน้าปกรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ใช้เจ้าหน้าที่ลิขิต สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน 8 คน ในการเขียนหรือที่โบราณเรียกว่า “ชุบ” โดยใช้เวลาเขียน 41 วัน ใช้ลายมือแบบอาลักษณ์หรือที่เรียกว่า ลายมือแบบรัตนโกสินทร์ จัดทำไว้จำนวน 3 ฉบับ แยกกันเก็บรักษา ฉบับที่ทำด้วยทองคำแท้ จะเก็บไว้ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่วนอีก 2 ฉบับ ทำด้วยเงินกะไหล่ทอง เก็บไว้ที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--