นายกรัฐมนตรีเชิญประธาน กกต. และประธานพีเน็ต หารือเตรียมการเลือกตั้งที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม ส่วนการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนต้องรอหลังจากลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญผ่านไปก่อน พร้อมย้ำรัฐบาลไม่เคยคาดโทษใคร เพราะเปิดกว้างในการรับฟังความคิดจากทุกภาคส่วน
วันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ได้เชิญนายอภิชาต สุขคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ พลเอก สายหยุด เกิดผล ประธานองค์กรกลางเพื่อการเลือกตั้ง (พีเน็ต) มาหารือกันที่ทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ในเรื่องการเตรียมการที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ก็ถือเป็นแนวทางที่เราต้องเตรียมการตั้งแต่เบื้องต้น ผลประโยชน์ที่ได้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของการลงประชามติ ซึ่งเป็นการเตรียมการในเบื้องต้นที่จะให้ประชาชนได้ออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุดเท่าที่เราจะสามารถดำเนินการได้ หลังจากนั้นจะเป็นเรื่องของการเตรียมการเลือกตั้งที่จะดำเนินการต่อไป สำหรับการกำหนดวันเลือกตั้งนั้นจะสามารถกำหนดวันที่แน่ชัดได้หลังจากการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญผ่านไปก่อน เพราะเมื่อประชามติผ่านหรือไม่ผ่าน เราจึงจะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้อีกครั้งหนึ่ง
ต่อข้อถามว่า หลายฝ่ายเป็นห่วงการกำหนดโทษที่มากเกินไปสำหรับผู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ จะกระทบต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ประชามติอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งทาง สนช. คงจะดูให้เกิดความรอบคอบและเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
ต่อข้อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่ารัฐบาลคาดโทษผู้ว่าราชการจังหวัด หากการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านนั้นจริงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลนี้ไม่เคยคาดโทษใคร รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่เปิดกว้างและยอมรับในความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ เราไม่เคยคาดโทษใครแม้กระทั่งผู้ที่ตกอยู่ในข่ายเป็นผู้ต้องหา ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม รัฐบาลก็ไม่เคยไปคาดโทษว่าจะต้องทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราถือว่ากระบวนการยุติธรรมเป็นกระบวนการที่จะดำเนินไปตามระบบจริงๆ นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลต้องการจะทำ เราไม่ได้คิดที่จะก้าวล่วงไปในข้อพิจารณาของประชาชน เพราะเราตระหนักดีว่าข้อพิจารณาของประชาชนนั้นเป็นสิทธิเป็นความคิดเห็นของแต่ละคนเอง เราตระหนักในสิ่งนี้ รัฐบาลจึงได้พยายามดำเนินการต่าง ๆ ในแต่ละช่วงที่ผ่านมา โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนมากที่สุดในทุกๆ ขั้นตอน
ต่อข้อถามว่า รัฐบาลมีปัจจัยอะไรที่จะเชิญชวนประชาชนออกมาร่วมลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สิ่งที่คิดว่าเป็นประเด็นหลักคือเป็นขั้นต้นของการที่จะไปสู่การเลือกตั้ง ถ้าหากว่าเรามีรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับ ขณะนี้ผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องดำเนินการเป็นการลงประชามติ ถ้าผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ครบถ้วนก็จะนำไปสู่การเลือกตั้งได้ตามที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความหวังที่อยากจะเห็นการเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่เกินปลายปีนี้ ซึ่งรัฐบาลคิดว่าคงไม่จำเป็นจะต้องไปรณรงค์มากมาย เพียงแต่ทำความเข้าใจว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่จำเป็นที่ทุกคนจะต้องออกมาใช้สิทธิ์ ก็น่าจะเพียงพอที่ทำให้การทำงานสามารถเดินหน้าต่อไปได้ด้วยดี
ต่อข้อถามว่า จะทำความเข้าใจกับบรรดาอาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เตรียมออกไปเชิญชวนอาจารย์นิติศาสตร์ทั่วประเทศคว่ำร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ต้องไปทำความเข้าใจ คิดว่าประชาชนมีวิจารณญาณที่ดีพอว่าเราจะช่วยกันแก้ไขปัญหาของเรากันอย่างไร รัฐธรรมนูญที่ผ่านการรับรองจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาแล้ว ถือว่าได้แก้ไขปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญปี 2540 และพยายามแก้ไขให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การออกกฎหมาย การตรวจสอบ และในการถ่วงดุลมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เราได้พยายามแก้ไขปรับปรุงให้ดีอยู่แล้ว
"ถ้าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ ในส่วนของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้ระบุไว้แล้วว่าสามารถที่จะนำรัฐธรรมนูญฉบับเก่ามาปรับปรุงแก้ไขให้สามารถนำไปใช้ในการเลือกตั้งได้ ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าไร หรือจะสามารถทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในปีนี้ได้หรือไม่ จึงอยากเรียนตรงนี้ว่ารัฐบาลอยากจะเห็นการแก้ไขปัญหาในช่วงนี้ให้ผ่านลุล่วงไป อย่างที่ได้เคยพูดไว้แล้วว่าเราศึกษาจากสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราได้มีการวิพากวิจารณ์กัน แล้วไปใช้สิทธิ์ ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด” นายกรัฐมนตรี กล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ได้เชิญนายอภิชาต สุขคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ พลเอก สายหยุด เกิดผล ประธานองค์กรกลางเพื่อการเลือกตั้ง (พีเน็ต) มาหารือกันที่ทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ในเรื่องการเตรียมการที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ก็ถือเป็นแนวทางที่เราต้องเตรียมการตั้งแต่เบื้องต้น ผลประโยชน์ที่ได้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของการลงประชามติ ซึ่งเป็นการเตรียมการในเบื้องต้นที่จะให้ประชาชนได้ออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุดเท่าที่เราจะสามารถดำเนินการได้ หลังจากนั้นจะเป็นเรื่องของการเตรียมการเลือกตั้งที่จะดำเนินการต่อไป สำหรับการกำหนดวันเลือกตั้งนั้นจะสามารถกำหนดวันที่แน่ชัดได้หลังจากการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญผ่านไปก่อน เพราะเมื่อประชามติผ่านหรือไม่ผ่าน เราจึงจะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้อีกครั้งหนึ่ง
ต่อข้อถามว่า หลายฝ่ายเป็นห่วงการกำหนดโทษที่มากเกินไปสำหรับผู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ จะกระทบต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ประชามติอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งทาง สนช. คงจะดูให้เกิดความรอบคอบและเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
ต่อข้อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่ารัฐบาลคาดโทษผู้ว่าราชการจังหวัด หากการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านนั้นจริงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลนี้ไม่เคยคาดโทษใคร รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่เปิดกว้างและยอมรับในความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ เราไม่เคยคาดโทษใครแม้กระทั่งผู้ที่ตกอยู่ในข่ายเป็นผู้ต้องหา ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม รัฐบาลก็ไม่เคยไปคาดโทษว่าจะต้องทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราถือว่ากระบวนการยุติธรรมเป็นกระบวนการที่จะดำเนินไปตามระบบจริงๆ นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลต้องการจะทำ เราไม่ได้คิดที่จะก้าวล่วงไปในข้อพิจารณาของประชาชน เพราะเราตระหนักดีว่าข้อพิจารณาของประชาชนนั้นเป็นสิทธิเป็นความคิดเห็นของแต่ละคนเอง เราตระหนักในสิ่งนี้ รัฐบาลจึงได้พยายามดำเนินการต่าง ๆ ในแต่ละช่วงที่ผ่านมา โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนมากที่สุดในทุกๆ ขั้นตอน
ต่อข้อถามว่า รัฐบาลมีปัจจัยอะไรที่จะเชิญชวนประชาชนออกมาร่วมลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สิ่งที่คิดว่าเป็นประเด็นหลักคือเป็นขั้นต้นของการที่จะไปสู่การเลือกตั้ง ถ้าหากว่าเรามีรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับ ขณะนี้ผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องดำเนินการเป็นการลงประชามติ ถ้าผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ครบถ้วนก็จะนำไปสู่การเลือกตั้งได้ตามที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความหวังที่อยากจะเห็นการเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่เกินปลายปีนี้ ซึ่งรัฐบาลคิดว่าคงไม่จำเป็นจะต้องไปรณรงค์มากมาย เพียงแต่ทำความเข้าใจว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่จำเป็นที่ทุกคนจะต้องออกมาใช้สิทธิ์ ก็น่าจะเพียงพอที่ทำให้การทำงานสามารถเดินหน้าต่อไปได้ด้วยดี
ต่อข้อถามว่า จะทำความเข้าใจกับบรรดาอาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เตรียมออกไปเชิญชวนอาจารย์นิติศาสตร์ทั่วประเทศคว่ำร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ต้องไปทำความเข้าใจ คิดว่าประชาชนมีวิจารณญาณที่ดีพอว่าเราจะช่วยกันแก้ไขปัญหาของเรากันอย่างไร รัฐธรรมนูญที่ผ่านการรับรองจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาแล้ว ถือว่าได้แก้ไขปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญปี 2540 และพยายามแก้ไขให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การออกกฎหมาย การตรวจสอบ และในการถ่วงดุลมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เราได้พยายามแก้ไขปรับปรุงให้ดีอยู่แล้ว
"ถ้าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ ในส่วนของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้ระบุไว้แล้วว่าสามารถที่จะนำรัฐธรรมนูญฉบับเก่ามาปรับปรุงแก้ไขให้สามารถนำไปใช้ในการเลือกตั้งได้ ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าไร หรือจะสามารถทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในปีนี้ได้หรือไม่ จึงอยากเรียนตรงนี้ว่ารัฐบาลอยากจะเห็นการแก้ไขปัญหาในช่วงนี้ให้ผ่านลุล่วงไป อย่างที่ได้เคยพูดไว้แล้วว่าเราศึกษาจากสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราได้มีการวิพากวิจารณ์กัน แล้วไปใช้สิทธิ์ ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด” นายกรัฐมนตรี กล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--