วันนี้ เวลา 11.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประกาศให้ “น้ำ” เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 “พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ” ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมการประกาศให้ “น้ำ” เป็นวาระแห่งชาติ จำนวน 550 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนสถาบันศึกษา องค์กรลุ่มน้ำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และผู้แทนภาคประชาชน
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสหากหรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประกาศให้ “น้ำ” เป็นวาระแห่งชาติ ดังนี้ 1) เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 “พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ” โดยกำหนดเรื่องน้ำเป็นวาระแห่งชาติ 2) สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง “น้ำ” ให้แก่ประชาชน ทั้งในด้านความสำคัญของน้ำ ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง น้ำเสีย ตลอดจนยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการแก้ไขปัญหา 3) ผลักดันให้ “วาระน้ำแห่งชาติ” เป็นนโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตามมาตรการแผนงาน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาร่วมการประชุมเพื่อร่วมกันประกาศวาระแห่งชาติเรื่อง “น้ำ” ในวันนี้ เนื่องจากรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของน้ำดังที่ได้มีพระราชดำรัสว่า “น้ำคือชีวิต” จึงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การจัดการลุ่มน้ำแบบบูรณาการ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายในวาระแห่งชาติ “น้ำ” ดังนี้ 1) ด้านการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ กำหนดให้ทุกหมู่บ้านของประเทศ เขตนิคมอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ และพื้นที่เกษตรชลประทาน ต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอกับความต้องการ 2) ด้านการแก้ไขปัญหาอุทกภัย กำหนดให้พื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจหลัก ต้องมีระบบป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม รวมทั้งให้มีระบบเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย 3) ด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย กำหนดให้แม่น้ำ คูคลองสายหลัก ต้องได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ให้อยู่ในสภาพที่ดี มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี 4) ด้านการบริหารจัดการ กำหนดให้มีการพัฒนาองค์กร กฎหมาย ระบบฐานข้อมูล รวมทั้งเครื่องมือและกลไกในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้สังคมมีน้ำกิน และน้ำใช้อย่างพอเพียง เป็นธรรมและมีความยั่งยืน รวมทั้งมีความสมานฉันท์ในการใช้น้ำร่วมกันระหว่างลุ่มน้ำ และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการบริหารจัดการ
ดังนั้น การประกาศวาระแห่งชาติเรื่อง “น้ำ” จึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นเพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน องค์กรลุ่มน้ำ และภาคประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมยั่งยืนตลอดไป
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบธงสัญลักษณ์การประกาศวาระน้ำแห่งชาติ ให้แก่หน่วยงานหลัก 25 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการลุ่มน้ำแห่งชาติ เป็นต้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสหากหรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประกาศให้ “น้ำ” เป็นวาระแห่งชาติ ดังนี้ 1) เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 “พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ” โดยกำหนดเรื่องน้ำเป็นวาระแห่งชาติ 2) สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง “น้ำ” ให้แก่ประชาชน ทั้งในด้านความสำคัญของน้ำ ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง น้ำเสีย ตลอดจนยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการแก้ไขปัญหา 3) ผลักดันให้ “วาระน้ำแห่งชาติ” เป็นนโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตามมาตรการแผนงาน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาร่วมการประชุมเพื่อร่วมกันประกาศวาระแห่งชาติเรื่อง “น้ำ” ในวันนี้ เนื่องจากรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของน้ำดังที่ได้มีพระราชดำรัสว่า “น้ำคือชีวิต” จึงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การจัดการลุ่มน้ำแบบบูรณาการ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายในวาระแห่งชาติ “น้ำ” ดังนี้ 1) ด้านการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ กำหนดให้ทุกหมู่บ้านของประเทศ เขตนิคมอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ และพื้นที่เกษตรชลประทาน ต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอกับความต้องการ 2) ด้านการแก้ไขปัญหาอุทกภัย กำหนดให้พื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจหลัก ต้องมีระบบป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม รวมทั้งให้มีระบบเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย 3) ด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย กำหนดให้แม่น้ำ คูคลองสายหลัก ต้องได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ให้อยู่ในสภาพที่ดี มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี 4) ด้านการบริหารจัดการ กำหนดให้มีการพัฒนาองค์กร กฎหมาย ระบบฐานข้อมูล รวมทั้งเครื่องมือและกลไกในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้สังคมมีน้ำกิน และน้ำใช้อย่างพอเพียง เป็นธรรมและมีความยั่งยืน รวมทั้งมีความสมานฉันท์ในการใช้น้ำร่วมกันระหว่างลุ่มน้ำ และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการบริหารจัดการ
ดังนั้น การประกาศวาระแห่งชาติเรื่อง “น้ำ” จึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นเพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน องค์กรลุ่มน้ำ และภาคประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมยั่งยืนตลอดไป
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบธงสัญลักษณ์การประกาศวาระน้ำแห่งชาติ ให้แก่หน่วยงานหลัก 25 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการลุ่มน้ำแห่งชาติ เป็นต้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--